เชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการเหมืองแร่ชาตรี ในพื้นที่หมู่ 9 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เผย หลัง คสช. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปิดกิจการ เมื่อปี 2559 ด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ขณะนี้เหมืองทองอัครากลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งแล้ว โดยเริ่มเปิดดำเนินการวันแรก เมื่อ 20 มีนาคม 2566 ภายหลังได้รับใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการครบถ้วน
สำหรับแผนดำเนินงาน บริษัทจะเริ่มผลิตจากโรงงานที่ 2 ที่เพิ่งทำการซ่อมแล้วเสร็จ เพียงแห่งเดียวไปก่อน โดยหลังจากนี้ก็จะเริ่มซ่อมโรงประกอบโลหกรรมที่ 1 ไปด้วย เพื่อเตรียมขยายงานต่อไป
สำหรับแผนดำเนินงาน บริษัทจะเริ่มผลิตจากโรงงานที่ 2 ที่เพิ่งทำการซ่อมแล้วเสร็จ เพียงแห่งเดียวไปก่อน โดยหลังจากนี้ก็จะเริ่มซ่อมโรงประกอบโลหกรรมที่ 1 ไปด้วย เพื่อเตรียมขยายงานต่อไป

การเปิดดำเนินการก็ทำให้มีการจ้างงานทั้งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง รวมประมาณ 250-260 คน และเมื่อโรงประกอบโลหกรรมทั้ง 2 แห่ง กลับมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็จะเปิดรับพนักงานเพิ่มเพื่อรองรับปริมาณงานที่มากขึ้นต่อไป โดยรวมแล้วจะก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งโดยตรงและผ่านผู้รับเหมาร่วม 1,000 อัตรา และจะมีผลผลิตทองคำประมาณปีละ 5.5 ล้านตันสินแร่
“ทันทีที่เรากดปุ่มเดินเครื่องจักร เท่ากับเป็นการกดปุ่มเดินหน้านำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในทันที โดยบริษัทฯ ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนจำนวน 4 กอง คิดเป็นร้อยละ 21 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทฯ ชำระให้กับรัฐบาล หรือรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 65 ล้านบาทต่อปี ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ซึ่งส่งผลให้มีเม็ดเงินจากกองทุนไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ในพื้นที่” เชิดศักดิ์ กล่าว
“ทันทีที่เรากดปุ่มเดินเครื่องจักร เท่ากับเป็นการกดปุ่มเดินหน้านำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในทันที โดยบริษัทฯ ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนจำนวน 4 กอง คิดเป็นร้อยละ 21 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทฯ ชำระให้กับรัฐบาล หรือรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 65 ล้านบาทต่อปี ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ซึ่งส่งผลให้มีเม็ดเงินจากกองทุนไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ในพื้นที่” เชิดศักดิ์ กล่าว

บริษัทฯ ได้รับหนังสือจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 แจ้งให้ทราบว่า ได้ออกใบอนุญาตการเปิดการทำเหมืองและการประกอบโลหกรรมให้แก่บริษัทฯ แล้ว และต่อมาวันที่ 16 มีนาคม 2566 บริษัทฯ ก็ได้รับหนังสืออนุญาตเปิดการทำเหมืองสำหรับประทานบัตรฝั่งเพชรบูรณ์ จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถเปิดดำเนินกิจการได้เต็มรูปแบบ โดยคงมาตรฐานการประกอบการในระดับสากลภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยึดหลักธรรมาภิบาลที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับบรรยากาศการเปิดเหมืองทองคำวันแรก เป็นไปอย่างคึกคัก พนักงานทั้งเก่าและใหม่ถือฤกษ์ดี กดปุ่มเดินเครื่องโรงงานขุดทอง ตามเป้าหมาย 5.5 ล้านตันสินแร่ ภายหลังต้องปิดดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ถึง 7 ปี ระบุ ชุมชนจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป
สำหรับบรรยากาศการเปิดเหมืองทองคำวันแรก เป็นไปอย่างคึกคัก พนักงานทั้งเก่าและใหม่ถือฤกษ์ดี กดปุ่มเดินเครื่องโรงงานขุดทอง ตามเป้าหมาย 5.5 ล้านตันสินแร่ ภายหลังต้องปิดดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ถึง 7 ปี ระบุ ชุมชนจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป

