สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสถานะเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้ต่อหัวสูงมาก ที่ 102,450 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2021) เทียบกับไทยที่ 18,530 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2021)
แต่ในขณะที่ไทยมีการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำและมักจะขั้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นระยะๆ (รวมถึงเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองด้วย) แต่สิงคโปร์กลับไม่พยายามกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้กำหนดให้ชัดเจนเหมือนนานาประเทศ แต่รัฐบาลก็จะอ้างเหตุผลต่างๆ นานาว่าสิงคโปร์ไม่เหมาะกับการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ
เหตุผลของรัฐบาลสิงคโปร์คืออะไร? ในเว็บไซต์ของกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลสิงคโปร์มีบทความอยู่ 2 บทความ บทความแรกเขียนโดย Hu Aini ในหนังสือพิมพ์ Lianhe Zaobao (23 January 2011) ในบทความนี่้วิจารณ์รัฐบาลว่าควรจะจัดการเรื่องค่าแรงขั้นต่ำให้ชัดเจน
ส่วนหนึ่งของบทความกล่าวว่า “ตามรายงานของสื่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน Gan Kim Yong แสดงจุดยืนของรัฐบาลอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนค่าแรงขั้นต่ำ รัฐบาลกังวลว่าการใช้ค่าแรงขั้นต่ำจะกีดกันคนงานในการยกระดับทักษะ เพิ่มต้นทุนกำลังคนของธุรกิจขนาดเล็ก และส่งผลให้เกิดการว่างงาน”
จากข้ออ้างของรัฐบาล ผู้เขียนบทความจึงแย้งว่า “บริษัทต่างๆ จะพยายามลดต้นทุนด้านกำลังคนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะมีค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ก็ตาม บริษัทต่างๆ จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดต้นทุนทางธุรกิจ เมื่อต้นทุนการดำเนินงาน (เช่น ค่าเช่า ค่าโสหุ้ยบริหาร ค่าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ) สูงขึ้น บริษัทต่างๆ จะให้ค่าจ้างเพิ่มหรือแม้แต่หยุดจ่ายค่าจ้างคนงานเพื่อปกป้องผลกำไร”
กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ให้เหตุผลเอาไว้ว่า “นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำจะทำลายหลักการของการรักษาค่านิยมเรื่องการทำงานหนักและวัฒนธรรมการพึ่งพาตนเองที่แข็งแกร่งของเรา เนื่องจากคนงานจะไม่ได้รับการจูงใจจากการไปฝึกอบรมและยกระดับ เนื่องจากพวกเขาได้รับการรับประกันค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่คำนึงถึงทักษะ ความสามารถ หรือประสิทธิภาพการทำงาน เรื่องนี้ขัดแย้งกับกลยุทธ์ในวงกว้างของเราในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในทุกระดับ”
พูดง่ายๆ ก็คือทัศนะนี้บอกว่าหากกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้แรงงาน “ขี้เกียจ” ไม่พัฒนาตัวเองเพราะมีค่าแรงตายตัวแล้ว
กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ชี้ว่าข้ออ้างที่ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะปกป้องคนงานจากการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างนั้นทางกระทรวงไม่เห็นด้วย “เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ขจัดการเอารัดเอาเปรียบ การเอารัดเอาเปรียบจะลดลงหากเราใช้แนวทางแบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายผ่าน Workfare ซึ่งทั้งคนงานและนายจ้างได้รับประโยชน์จากทักษะที่ดีขึ้นและผลผลิตที่สูงขึ้น”
กับความกังวลที่ว่าถ้าไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ภาคธุรกิจอาจจะโยกต้นทุนมาให้ลูกค้าแบกรับแทน เรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรมนุษย์โต้แย้งว่า การกำหนดค่าแรงนั่นแหละที่อาจทำให้บริษัทต่างๆ โยนภาระมาให้ผู้บริโภค เพราะ “บริษัทที่แบกรับต้นทุนด้านกำลังคนเพิ่มเติมอาจส่ง (ภาระ) ต่อให้ลูกค้าหรือเลือกที่จะ (ถอนธุรกิจ) ออกจากสิงคโปร์โดยสิ้นเชิง พร้อมกับนำเอาตำแหน่งงานไปจากชาวสิงคโปร์ แทนที่จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ คนงานที่เราพยายามช่วยเหลืออาจไม่ได้รับค่าจ้างเลย ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลเป็นผู้จ่าย Workfare และไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจหรือลูกค้า”
ก่อนจะไปสรุปกันว่าใครถูกใครผิด เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ รัฐบาลลงมาตอบคำถามด้วยตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมันก็จำเป็นจะต้องตอบแบบขวานผ่าซาก เพราะเป็นเรื่องของปากท้องและเกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนโดยตรง ไม่ควรจะตอบแบบอ้อมค้อมแบบน้ำท่วมทุ่ง นี่คือการทำงานของรัฐบาลสิงคโปร์ที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง
Workfare คือ โครงการของรัฐบาลที่เพิ่มศักยภาพของแรงงาน โดยแรงงานจะได้รับสวัสดิการหากพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ในสิงคโปร์แนวทางนี้เรียกว่า Workfare Income Supplement (WIS) จุดประสงค์ก็เพื่อเสริมค่าจ้างและเงินออมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่แรงงานสูงวัยที่มีค่าแรงต่ำ รวมทั้งส่งเสริมให้พวกเขามีงานทำต่อไปผ่านการยกระดับทักษะผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับปรุงการจ้างงาน ยกระดับงานที่ดีขึ้น และมีรายได้มากขึ้น
พูดง่ายก็คือรัฐบาลสิงคโปร์มีสวัสดิการให้แรงงานรายได้ต่ำและผู้สูงวัยที่หางานทำยาก เพียงแต่มันไม่ใช่การช่วยฟรี เพราะแรงงานต้องแลกด้วยการเข้าโครงการยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อทำให้พวกเขาไม่แบมือขออย่างเดียวแล้วกลายเป็นแรงงานที่ไร้ทักษะจนกระทั่งถูกทอดทิ้งจากตลาดแรงงาน
ด้วยวิธีการนี้แรงงานจะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ภาคธุรกิจก็จะได้ประโยชน์จากแรงงานที่เก่งขึ้น และรัฐบาลก็ทำหน้าที่ผู้โอบอุ้มประชาชนจริงๆ โดยให้เงินช่วยประชาชนไปด้วย และได้ประโยชน์จากตลาดแรงงานมีคุณภาพในเวลาเดียวกัน
วิธีนี้ตรงกับ “ค่านิยม” ที่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการ คือ ประชาชนที่ขยันขันแข็ง ขวนขวายยกระดับคุณภาพของตัวเอง และรัฐบาลยังสามารถสร้างโมเดลรัฐสวัสดิการแบบที่รัฐไม่ได้แจกอย่างเดียว แต่แจกโดยให้ประชาชนต้องมีอะไรมาแลกด้วย และสิ่งที่นำมาแลกนั้นคนทั้งชาติได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
กระทรวงทรัพย์ยากรมนุษย์สิงคโปร์จึงใช้คำว่า “วิน-วิน ด้วยกันทุกฝ่าย”
แต่ในขณะที่ไทยมีการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำและมักจะขั้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นระยะๆ (รวมถึงเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองด้วย) แต่สิงคโปร์กลับไม่พยายามกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้กำหนดให้ชัดเจนเหมือนนานาประเทศ แต่รัฐบาลก็จะอ้างเหตุผลต่างๆ นานาว่าสิงคโปร์ไม่เหมาะกับการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ
เหตุผลของรัฐบาลสิงคโปร์คืออะไร? ในเว็บไซต์ของกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลสิงคโปร์มีบทความอยู่ 2 บทความ บทความแรกเขียนโดย Hu Aini ในหนังสือพิมพ์ Lianhe Zaobao (23 January 2011) ในบทความนี่้วิจารณ์รัฐบาลว่าควรจะจัดการเรื่องค่าแรงขั้นต่ำให้ชัดเจน
ส่วนหนึ่งของบทความกล่าวว่า “ตามรายงานของสื่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน Gan Kim Yong แสดงจุดยืนของรัฐบาลอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนค่าแรงขั้นต่ำ รัฐบาลกังวลว่าการใช้ค่าแรงขั้นต่ำจะกีดกันคนงานในการยกระดับทักษะ เพิ่มต้นทุนกำลังคนของธุรกิจขนาดเล็ก และส่งผลให้เกิดการว่างงาน”
จากข้ออ้างของรัฐบาล ผู้เขียนบทความจึงแย้งว่า “บริษัทต่างๆ จะพยายามลดต้นทุนด้านกำลังคนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะมีค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ก็ตาม บริษัทต่างๆ จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดต้นทุนทางธุรกิจ เมื่อต้นทุนการดำเนินงาน (เช่น ค่าเช่า ค่าโสหุ้ยบริหาร ค่าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ) สูงขึ้น บริษัทต่างๆ จะให้ค่าจ้างเพิ่มหรือแม้แต่หยุดจ่ายค่าจ้างคนงานเพื่อปกป้องผลกำไร”
รัฐเชื่อว่าค่าแรงขั้นต่ำทำให้คนขี้เกียจ?
ต่อมากระทรวงทรัพยากรมนุษย์ได้ตอบโต้ผ่านบทความเรื่อง Minimum wage cannot work ในหนังสือพิมพ์ Lianhe Zaobao (27 January 2011) ซึ่งย้ำว่า “ค่าแรงขั้นต่ำมันไม่เวิร์ก”กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ให้เหตุผลเอาไว้ว่า “นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำจะทำลายหลักการของการรักษาค่านิยมเรื่องการทำงานหนักและวัฒนธรรมการพึ่งพาตนเองที่แข็งแกร่งของเรา เนื่องจากคนงานจะไม่ได้รับการจูงใจจากการไปฝึกอบรมและยกระดับ เนื่องจากพวกเขาได้รับการรับประกันค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่คำนึงถึงทักษะ ความสามารถ หรือประสิทธิภาพการทำงาน เรื่องนี้ขัดแย้งกับกลยุทธ์ในวงกว้างของเราในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในทุกระดับ”
พูดง่ายๆ ก็คือทัศนะนี้บอกว่าหากกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้แรงงาน “ขี้เกียจ” ไม่พัฒนาตัวเองเพราะมีค่าแรงตายตัวแล้ว
กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ชี้ว่าข้ออ้างที่ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะปกป้องคนงานจากการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างนั้นทางกระทรวงไม่เห็นด้วย “เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ขจัดการเอารัดเอาเปรียบ การเอารัดเอาเปรียบจะลดลงหากเราใช้แนวทางแบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายผ่าน Workfare ซึ่งทั้งคนงานและนายจ้างได้รับประโยชน์จากทักษะที่ดีขึ้นและผลผลิตที่สูงขึ้น”
กับความกังวลที่ว่าถ้าไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ภาคธุรกิจอาจจะโยกต้นทุนมาให้ลูกค้าแบกรับแทน เรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรมนุษย์โต้แย้งว่า การกำหนดค่าแรงนั่นแหละที่อาจทำให้บริษัทต่างๆ โยนภาระมาให้ผู้บริโภค เพราะ “บริษัทที่แบกรับต้นทุนด้านกำลังคนเพิ่มเติมอาจส่ง (ภาระ) ต่อให้ลูกค้าหรือเลือกที่จะ (ถอนธุรกิจ) ออกจากสิงคโปร์โดยสิ้นเชิง พร้อมกับนำเอาตำแหน่งงานไปจากชาวสิงคโปร์ แทนที่จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ คนงานที่เราพยายามช่วยเหลืออาจไม่ได้รับค่าจ้างเลย ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลเป็นผู้จ่าย Workfare และไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจหรือลูกค้า”
ก่อนจะไปสรุปกันว่าใครถูกใครผิด เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ รัฐบาลลงมาตอบคำถามด้วยตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมันก็จำเป็นจะต้องตอบแบบขวานผ่าซาก เพราะเป็นเรื่องของปากท้องและเกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนโดยตรง ไม่ควรจะตอบแบบอ้อมค้อมแบบน้ำท่วมทุ่ง นี่คือการทำงานของรัฐบาลสิงคโปร์ที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง
ไม่แจกเงินเปล่าๆ แต่ช่วยให้พวกเขาแกร่งขึ้น
สิ่งที่ควรอธิบายเพิ่มเติม ณ เวลานี้คือคำว่า Workfare ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญที่รัฐบาลยกขึ้นมาโต้แย้งเรื่องการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำWorkfare คือ โครงการของรัฐบาลที่เพิ่มศักยภาพของแรงงาน โดยแรงงานจะได้รับสวัสดิการหากพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ในสิงคโปร์แนวทางนี้เรียกว่า Workfare Income Supplement (WIS) จุดประสงค์ก็เพื่อเสริมค่าจ้างและเงินออมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่แรงงานสูงวัยที่มีค่าแรงต่ำ รวมทั้งส่งเสริมให้พวกเขามีงานทำต่อไปผ่านการยกระดับทักษะผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับปรุงการจ้างงาน ยกระดับงานที่ดีขึ้น และมีรายได้มากขึ้น
พูดง่ายก็คือรัฐบาลสิงคโปร์มีสวัสดิการให้แรงงานรายได้ต่ำและผู้สูงวัยที่หางานทำยาก เพียงแต่มันไม่ใช่การช่วยฟรี เพราะแรงงานต้องแลกด้วยการเข้าโครงการยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อทำให้พวกเขาไม่แบมือขออย่างเดียวแล้วกลายเป็นแรงงานที่ไร้ทักษะจนกระทั่งถูกทอดทิ้งจากตลาดแรงงาน
ด้วยวิธีการนี้แรงงานจะพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ภาคธุรกิจก็จะได้ประโยชน์จากแรงงานที่เก่งขึ้น และรัฐบาลก็ทำหน้าที่ผู้โอบอุ้มประชาชนจริงๆ โดยให้เงินช่วยประชาชนไปด้วย และได้ประโยชน์จากตลาดแรงงานมีคุณภาพในเวลาเดียวกัน
วิธีนี้ตรงกับ “ค่านิยม” ที่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการ คือ ประชาชนที่ขยันขันแข็ง ขวนขวายยกระดับคุณภาพของตัวเอง และรัฐบาลยังสามารถสร้างโมเดลรัฐสวัสดิการแบบที่รัฐไม่ได้แจกอย่างเดียว แต่แจกโดยให้ประชาชนต้องมีอะไรมาแลกด้วย และสิ่งที่นำมาแลกนั้นคนทั้งชาติได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
กระทรวงทรัพย์ยากรมนุษย์สิงคโปร์จึงใช้คำว่า “วิน-วิน ด้วยกันทุกฝ่าย”