ถ้าไม่ติด Car Seat ชีวิตลูกบนรถจะเสี่ยงภัยแบบไหนได้บ้าง กอดลูกเอาไว้บนตักแน่นๆ เลยจะปลอดภัยพอหรือไม่ กฎหมายเขาปรับเท่าไหร่ และที่สำคัญเราจะต้องลงทุนขนาดไหนเพื่อ Car Seat สักตัว
ที่นี่มีคำตอบและความเข้าใจในฐานะแม่คนหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะบังคับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ไม่เคยชินให้อยู่บนคาร์ซีทตลอดการเดินทาง แม่หรือคนนั่งด้วยต้องปวดหัวกับการดิ้นสุดแรงและแรงร้องไห้แบบขาดใจ ใครได้เลเวลเบาหน่อยก็คือโชคดี
แต่การนั่งบนคาร์ซีทเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตของเด็กจริงๆ มันลดโอกาสเสียชีวิตได้ 60 - 70% เพราะเด็กอายุต่ำกว่า 9 ขวบหรือสูงไม่ถึง 140 เซนติเมตรยังไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้
ความเร็วของรถ ถ้าถูกบวกกับความแรงขณะเกิดอุบัติเหตุในรถทั่วๆ เด็กมีโอกาสจะทะลุกระจกออกมานอกรถสูงมาก เพราะในรถเป็นกระจกทุกด้าน ถ้ากระแทกแรงๆ มันจะแตก โดยเฉพาะกรณีเด็กนั่งหลังเบาะกลาง มีโอกาสหลุดทะลุกระจกหน้าออกไปสูงที่สุด
การกอดลูกไว้บนตักก็ปลอดภัยไม่พอ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเบรกกระทันหัน น้ำหนักตัวของเด็กจะพุ่งไปข้างหน้าทันทีไม่ว่าจะกอดไว้แน่นแค่ไหนก็ตาม แรงกอดของเราไม่มีทางสู้แรงกระแทกได้เลย ข้อมูลจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
‘เบาะหน้า’ เบาะต้องห้ามสำหรับเด็ก เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แรงกระแทกจะทำให้แอร์แบ็กทำงานและปะทะเข้าตัวเด็กมีโอกาสเสียชีวิตได้
ซึ่งการให้ลูกนั่งบนคาร์ซีทจะช่วยลดความเสี่ยงที่ว่ามาทั้งหมด หากฝ่าฝืนยังมีโทษทางกฏหมายด้วย ตาม พรบ.จราจรทางบกฉบับที่ 13 มีผลบังคับให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่นั่งรถยนต์ต้องนั่งคาร์ซีท ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2,000 บาท
ที่นี่มีคำตอบและความเข้าใจในฐานะแม่คนหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะบังคับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ไม่เคยชินให้อยู่บนคาร์ซีทตลอดการเดินทาง แม่หรือคนนั่งด้วยต้องปวดหัวกับการดิ้นสุดแรงและแรงร้องไห้แบบขาดใจ ใครได้เลเวลเบาหน่อยก็คือโชคดี
แต่การนั่งบนคาร์ซีทเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตของเด็กจริงๆ มันลดโอกาสเสียชีวิตได้ 60 - 70% เพราะเด็กอายุต่ำกว่า 9 ขวบหรือสูงไม่ถึง 140 เซนติเมตรยังไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้
ความเร็วของรถ ถ้าถูกบวกกับความแรงขณะเกิดอุบัติเหตุในรถทั่วๆ เด็กมีโอกาสจะทะลุกระจกออกมานอกรถสูงมาก เพราะในรถเป็นกระจกทุกด้าน ถ้ากระแทกแรงๆ มันจะแตก โดยเฉพาะกรณีเด็กนั่งหลังเบาะกลาง มีโอกาสหลุดทะลุกระจกหน้าออกไปสูงที่สุด
การกอดลูกไว้บนตักก็ปลอดภัยไม่พอ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเบรกกระทันหัน น้ำหนักตัวของเด็กจะพุ่งไปข้างหน้าทันทีไม่ว่าจะกอดไว้แน่นแค่ไหนก็ตาม แรงกอดของเราไม่มีทางสู้แรงกระแทกได้เลย ข้อมูลจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
‘เบาะหน้า’ เบาะต้องห้ามสำหรับเด็ก เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แรงกระแทกจะทำให้แอร์แบ็กทำงานและปะทะเข้าตัวเด็กมีโอกาสเสียชีวิตได้
ซึ่งการให้ลูกนั่งบนคาร์ซีทจะช่วยลดความเสี่ยงที่ว่ามาทั้งหมด หากฝ่าฝืนยังมีโทษทางกฏหมายด้วย ตาม พรบ.จราจรทางบกฉบับที่ 13 มีผลบังคับให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่นั่งรถยนต์ต้องนั่งคาร์ซีท ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2,000 บาท
เพื่อความปลอดภัยต้องเลือกคาร์ซีทให้เหมาะกับวัยของเด็กด้วย

ประเภทที่ 1 เด็กอายุแรกเกิดถึง 12 เดือน เหมาะกับ Rear-facing car seat หรือ คาร์ซีทประเภทหันหน้าเข้าหาเบาะ

ประเภทที่ 2 เด็ก 1 - 3 ขวบ เหมาะกับ Forward-Facing Car Seat หรือคาร์ซีทแบบหันหน้าออก

ประเภทที่ 3 เด็กอายุ 4-7 ปี เหมาะกับ Booster Seat หรือที่นั่งรองนั่งเสริมความสูงเพื่อสามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้

ซื้อคาร์ซีทอย่างไรให้ใช้คุ้มและนาน
จากประสบการณ์เพื่อความปลอดภัยและจบในตัวเดียว เราสามารถเลือกซื้อคาร์ซีทที่หมุนได้ และสามารถปรับความสูงต่ำที่รองศีรษะได้ ถ้าอยากให้ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดไปจนโต ให้เลือกคาร์ซีทที่สามารถถอดชิ้นส่วนได้หลายๆ ชั้น พอเด็กโตขึ้นเราก็ค่อยๆ ถอดออกทีละชั้นเพื่อความกระชับพอดีตัว ซึ่งเราสามารถถามรายละเอียดตามนี้กับคนขายได้ก่อนตัดสินใจซื้องบประมาณซื้อคาร์ซีท
ถ้าใครมีทุนก็หาซื้อบนห้างสรรพสินค้าได้เลย รุ่นที่ใช้งานง่ายและสะดวกจะมีตั้งแต่ ลักหมื่นต้นๆไปจนถึง 5 หมื่นให้เลือก แต่ถ้าใครงบจำกัดเราก็ยังหาซื้อความปลอดภัยดีๆให้ลูกได้ แค่ลองหาใน google, facebook, Lazada ด้วย Keyword ว่า ‘คาร์ซีทญี่ปุ่นมือสอง’ ‘คาร์ซีทมือสอง’ จะมี list สินค้ามาให้แม่ๆ เลือกกันตั้งแต่หลักร้อยขึ้นไป เลือกกันได้ตามงบที่ชอบ และตามวัยของเด็กๆ ได้เลยผู้เขียนขอเชียร์ส่งท้ายในการลงทุนเพื่อความปลอดภัยในงบที่เราพอใจ คุ้มกว่าไปจ่ายค่าปรับ 2,000 หรือจ่ายด้วยชีวิตเด็กแน่นอน