หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นที่ทุกคนก็รู้ คือ เมื่อสินค้ามีจำนวนจำกัด แต่ความต้องการมีไม่จำกัด ราคาของมันจะสูงขึ้น หลักการนี้ใช้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง รวมถึง ทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิก (Thunnus orientalis)
กลายเป็นประเพณีไปแล้ว ที่ทุกๆ ปี ทูน่าครีบน้ำเงินจะถูกประมูลเบิกศักราชใหม่กับที่ตลาดปลาโทโยสึ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และในปี 2023 ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น ‘ปีปกติ’ ปีแรกก็ว่าได้หลังการระบาดใหญ่ การประมูลนี้ก็เกิดขึ้นเช่นกัน และทูน่าครีบน้ำเงินหนัก 212 กิโลกรัมที่ประมูลในปีนี้ทำราคาสูงถึง 36 ล้านเยน เทียบกับราคาเมื่อปี 2022 ที่ 16.88 ล้านเยน เรียกว่าแพงกว่ากันเกินครึ่งเลยทีเดียว และเป็นราคาสูงสุดลำดับที่ 6 นับตั้งแต่เก็บสถิติกันมาในปี 1999
ราคาทูน่าครีบน้ำเงินที่แพงจนน่าตกใจในปีนี้อาจจะเป็นเพราะถูกอั้นมานานนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ แต่เมื่อดูสถิติจากสำนักข่าว NHK พบว่า นี่เป็นปีที่ 12 ติดต่อกันที่ทำราคาสูงสุดในการประมูลครั้งแรกของตลาดโทโยสึรวมถึงสถิติจากตลาดปลาแห่งเดิมคือตลาดซึคิจิ
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินหรือ ‘มากุโระ’ คุณภาพดีที่สุดมาจากเมืองโอมะ จ.อาโอโมริ ปลาที่ประมูลในปีนี้และในระยะหลังก็มาจากโอมะ ไม่ว่ามันจะถูกจับได้ที่โอมะหรือจับจากที่อื่นแล้วมาขึ้นท่าที่โอมะก็ตาม ดังนั้น ‘โอมะ มากุโระ’ จึงกลายเป็นชื่อของแบรนด์ระดับพรีเมี่ยมไปแล้วเมื่อพูดถึงทูน่าครีบน้ำเงิน
ทำไมมันถึงเป็นต้องการอย่างมากมาย คัตสึโทชิ โคทากะ ประธานสมาคมสหกรณ์ประมงปลาโอมะบอกกับ NHK ว่า “ผมเชื่อว่าที่ราคาถึงขนาดนั้นเพราะผู้บริโภคคิดว่าปลาทูน่าในการประมูลครั้งแรก และปลาทูน่าที่จับได้ในฤดูหนาวมีรสชาติอร่อย”
แน่นอนว่าเพราะเรื่องรสชาติทำให้มันถูกต้องการสูงมาก แต่จำนวนของทูน่าครีบน้ำเงินนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และน้อยมากจนต้องกังวล ดังนั้น รสชาติอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องเดียว แต่เพราะปริมาณที่ขาดแคลนด้วยที่ทำให้แพงขนาดนี้
ปริมาณปลาทูน่าครีบน้ำเงินในปี 2012 ลดลง 80% เมื่อเทียบกับปี 1960 โดยมีความพยายามของคณะกรรมาธิการประมงแปซิฟิกตะวันตกและกลาง (WCPFC) ได้ตั้งเป้าหมายในการกู้คืนสต็อกทูน่าครีบน้ำเงินให้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 43,000 ตันภายในปี 2024 หรือเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าของระดับปี 2012
แต่กระนั้น การบริโภคทูน่าครีบน้ำเงินในญี่ปุ่นมีอัตราสูงที่สุดในโลก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ‘ภัยคุกคาม’ โดยตรงต่อพวกมัน เพราะสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้กำหนดให้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ความแพงของทูน่าครีบน้ำเงินนั้นถึงกับทำให้มันถูกเรียกขานในญี่ปุ่ว่าเป็น ‘เพชรสีดำ’ มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เพราะสีของมันที่ออกดำและเพราะความหายากของมัน
ในเมื่อความต้องการสูงไม่หยุด (แค่สุดช่วงการระบาดใหญ่) และในเมื่อมีเหลือน้อยจนใกล้จะสูญพันธุ์ หนทางเดียวที่จะสนองตลาดที่กระหายทูน่าไม่หยุดแบบนี้ได้ก็คงมีแต่การเพาะเลี้ยงทูน่าครีบน้ำเงิน
แต่ก่อนผู้คนคิดว่าการเลี้ยงทูน่าครีบน้ำเงินเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นปลาขนาดใหญ่และต้องการพื้นที่กว้างขวางในการว่ายอย่างรวดเร็ว และอุณหภูมิน้ำจะต่ำเกินไปไม่ได้เพราะมันจะตาย หลังจากลองผิดลองถูกมาหลายทศวรรษ ญี่ปุ่นก็สามารถเพาะเลี้ยงพวกมันได้สำเร็จ ทว่า อัตราการรอดชีวิตในบ่อเลี้ยงต่ำเอามากๆ แค่ 3%
ดังนั้น เท่าที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะทำได้ก็คือกำหนดระเบียบการจับทูน่าที่เข้มงวด นั่นคือ ห้ามจับทูน่าครีบน้ำเงินที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ไม่ว่าจะเรือประมงหรือตกปลาเพื่อการสันทนาการก็ห้ามตกมันขึ้นมาเด็ดขาด
แต่ความขาดแคลนในเชิงเศรษฐศาสตร์ของปลาทูน่าครีบน้ำเงินยังคงรุนแรงมาก ดูเอาง่ายๆ จากราคาในปี 2019 ปลาน้ำหนัก 277 กิโลกรัมทำราคา 333.6 ล้านเยน ต่อมาในปี 2020 ทูน่าครีบน้ำเงินน้ำหนัก 275 กิโลกรัมที่ประมูลในปีนั้นทำราคา 193.2 ล้านเยน ราคาของ 2 ปีนี้เป็นช่วงก่อนการระบาดใหญ่และสะท้อนถึงความต้องการทูน่าครีบน้ำเงินในช่วงเศรษฐกิจปกติ ราคาที่เพิ่มขึ้นมาถึง 40% เป็นเพราะปริมาณการจับที่ลดลง
ในปี 2023 ถึงจะทำราคา 36 ล้านเยนจนเทียบไม่ได้กับปีก่อนการระบาดใหญ่ แต่เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวและผู้คนยังไม่กล้าใช้จ่ายกับของฟุ่มเฟือยในช่วงเงินเฟ้อรุนแรงนั่นเอง แต่ราคานี้ก็ยังบอกถึงความแพงเพราะอุปสงค์มีมากกกว่าอุปทานอย่างมากนั่นเอง
ที่เราพูดถึงกันมาตลอดทั้งบทความนี้ แค่พูดถึงทูน่าครีบเหลืองระดับพรีเมี่ยมที่ประมูลกันครั้งแรกของปีเท่านั้น ทูน่าครีบเหลืองระดับรองๆ ลงมาก็มีราคาสูงขึ้นเช่นกันและด้วยปัญหาเดียวกัน เช่น ราคาขายปลีกปลาทูน่า อย่างในรูปของซาซิมิ อยู่ที่ 436 เยนต่อ 100 กรัมในเดือนมิถุนายนปี 2021 แต่เพิ่มขึ้นเป็น 532 เยนในกลางเดือนมิถุนายนปี 2022 ราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 100 เลยทีเดียว แต่นี้เป็นช่วงที่ตลาดญี่ปุ่นยังซบเซาหนักจากการระบาดใหญ่ เชื่อว่าในปีนี้ราคาซาซิมิทูน่าครีบเหลืองน่าจะแพงกว่านี้อีก
แต่สำหรับนักกิน ราคาทูน่าครีบเหลือง 100 กรัมจะแพงมากไปกว่านี้ก็ยังอาจจะรับไหว หากจะกินไปแล้วนึกตามไปด้วยว่าในอนาคตมันอาจจะมีน้อยจนต้องประมูลกันหลายปีครั้ง หรืออาจจะแพงกว่านี้จนในอนาคตหมดโอกาสที่คนธรรมดาจะกินกัน
กลายเป็นประเพณีไปแล้ว ที่ทุกๆ ปี ทูน่าครีบน้ำเงินจะถูกประมูลเบิกศักราชใหม่กับที่ตลาดปลาโทโยสึ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และในปี 2023 ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น ‘ปีปกติ’ ปีแรกก็ว่าได้หลังการระบาดใหญ่ การประมูลนี้ก็เกิดขึ้นเช่นกัน และทูน่าครีบน้ำเงินหนัก 212 กิโลกรัมที่ประมูลในปีนี้ทำราคาสูงถึง 36 ล้านเยน เทียบกับราคาเมื่อปี 2022 ที่ 16.88 ล้านเยน เรียกว่าแพงกว่ากันเกินครึ่งเลยทีเดียว และเป็นราคาสูงสุดลำดับที่ 6 นับตั้งแต่เก็บสถิติกันมาในปี 1999
ราคาทูน่าครีบน้ำเงินที่แพงจนน่าตกใจในปีนี้อาจจะเป็นเพราะถูกอั้นมานานนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ แต่เมื่อดูสถิติจากสำนักข่าว NHK พบว่า นี่เป็นปีที่ 12 ติดต่อกันที่ทำราคาสูงสุดในการประมูลครั้งแรกของตลาดโทโยสึรวมถึงสถิติจากตลาดปลาแห่งเดิมคือตลาดซึคิจิ
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินหรือ ‘มากุโระ’ คุณภาพดีที่สุดมาจากเมืองโอมะ จ.อาโอโมริ ปลาที่ประมูลในปีนี้และในระยะหลังก็มาจากโอมะ ไม่ว่ามันจะถูกจับได้ที่โอมะหรือจับจากที่อื่นแล้วมาขึ้นท่าที่โอมะก็ตาม ดังนั้น ‘โอมะ มากุโระ’ จึงกลายเป็นชื่อของแบรนด์ระดับพรีเมี่ยมไปแล้วเมื่อพูดถึงทูน่าครีบน้ำเงิน
ทำไมมันถึงเป็นต้องการอย่างมากมาย คัตสึโทชิ โคทากะ ประธานสมาคมสหกรณ์ประมงปลาโอมะบอกกับ NHK ว่า “ผมเชื่อว่าที่ราคาถึงขนาดนั้นเพราะผู้บริโภคคิดว่าปลาทูน่าในการประมูลครั้งแรก และปลาทูน่าที่จับได้ในฤดูหนาวมีรสชาติอร่อย”
แน่นอนว่าเพราะเรื่องรสชาติทำให้มันถูกต้องการสูงมาก แต่จำนวนของทูน่าครีบน้ำเงินนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และน้อยมากจนต้องกังวล ดังนั้น รสชาติอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องเดียว แต่เพราะปริมาณที่ขาดแคลนด้วยที่ทำให้แพงขนาดนี้
ปริมาณปลาทูน่าครีบน้ำเงินในปี 2012 ลดลง 80% เมื่อเทียบกับปี 1960 โดยมีความพยายามของคณะกรรมาธิการประมงแปซิฟิกตะวันตกและกลาง (WCPFC) ได้ตั้งเป้าหมายในการกู้คืนสต็อกทูน่าครีบน้ำเงินให้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 43,000 ตันภายในปี 2024 หรือเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าของระดับปี 2012
แต่กระนั้น การบริโภคทูน่าครีบน้ำเงินในญี่ปุ่นมีอัตราสูงที่สุดในโลก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ‘ภัยคุกคาม’ โดยตรงต่อพวกมัน เพราะสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้กำหนดให้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ความแพงของทูน่าครีบน้ำเงินนั้นถึงกับทำให้มันถูกเรียกขานในญี่ปุ่ว่าเป็น ‘เพชรสีดำ’ มาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เพราะสีของมันที่ออกดำและเพราะความหายากของมัน
ในเมื่อความต้องการสูงไม่หยุด (แค่สุดช่วงการระบาดใหญ่) และในเมื่อมีเหลือน้อยจนใกล้จะสูญพันธุ์ หนทางเดียวที่จะสนองตลาดที่กระหายทูน่าไม่หยุดแบบนี้ได้ก็คงมีแต่การเพาะเลี้ยงทูน่าครีบน้ำเงิน
แต่ก่อนผู้คนคิดว่าการเลี้ยงทูน่าครีบน้ำเงินเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นปลาขนาดใหญ่และต้องการพื้นที่กว้างขวางในการว่ายอย่างรวดเร็ว และอุณหภูมิน้ำจะต่ำเกินไปไม่ได้เพราะมันจะตาย หลังจากลองผิดลองถูกมาหลายทศวรรษ ญี่ปุ่นก็สามารถเพาะเลี้ยงพวกมันได้สำเร็จ ทว่า อัตราการรอดชีวิตในบ่อเลี้ยงต่ำเอามากๆ แค่ 3%
ดังนั้น เท่าที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะทำได้ก็คือกำหนดระเบียบการจับทูน่าที่เข้มงวด นั่นคือ ห้ามจับทูน่าครีบน้ำเงินที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ไม่ว่าจะเรือประมงหรือตกปลาเพื่อการสันทนาการก็ห้ามตกมันขึ้นมาเด็ดขาด
แต่ความขาดแคลนในเชิงเศรษฐศาสตร์ของปลาทูน่าครีบน้ำเงินยังคงรุนแรงมาก ดูเอาง่ายๆ จากราคาในปี 2019 ปลาน้ำหนัก 277 กิโลกรัมทำราคา 333.6 ล้านเยน ต่อมาในปี 2020 ทูน่าครีบน้ำเงินน้ำหนัก 275 กิโลกรัมที่ประมูลในปีนั้นทำราคา 193.2 ล้านเยน ราคาของ 2 ปีนี้เป็นช่วงก่อนการระบาดใหญ่และสะท้อนถึงความต้องการทูน่าครีบน้ำเงินในช่วงเศรษฐกิจปกติ ราคาที่เพิ่มขึ้นมาถึง 40% เป็นเพราะปริมาณการจับที่ลดลง
ในปี 2023 ถึงจะทำราคา 36 ล้านเยนจนเทียบไม่ได้กับปีก่อนการระบาดใหญ่ แต่เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวและผู้คนยังไม่กล้าใช้จ่ายกับของฟุ่มเฟือยในช่วงเงินเฟ้อรุนแรงนั่นเอง แต่ราคานี้ก็ยังบอกถึงความแพงเพราะอุปสงค์มีมากกกว่าอุปทานอย่างมากนั่นเอง
ที่เราพูดถึงกันมาตลอดทั้งบทความนี้ แค่พูดถึงทูน่าครีบเหลืองระดับพรีเมี่ยมที่ประมูลกันครั้งแรกของปีเท่านั้น ทูน่าครีบเหลืองระดับรองๆ ลงมาก็มีราคาสูงขึ้นเช่นกันและด้วยปัญหาเดียวกัน เช่น ราคาขายปลีกปลาทูน่า อย่างในรูปของซาซิมิ อยู่ที่ 436 เยนต่อ 100 กรัมในเดือนมิถุนายนปี 2021 แต่เพิ่มขึ้นเป็น 532 เยนในกลางเดือนมิถุนายนปี 2022 ราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 100 เลยทีเดียว แต่นี้เป็นช่วงที่ตลาดญี่ปุ่นยังซบเซาหนักจากการระบาดใหญ่ เชื่อว่าในปีนี้ราคาซาซิมิทูน่าครีบเหลืองน่าจะแพงกว่านี้อีก
แต่สำหรับนักกิน ราคาทูน่าครีบเหลือง 100 กรัมจะแพงมากไปกว่านี้ก็ยังอาจจะรับไหว หากจะกินไปแล้วนึกตามไปด้วยว่าในอนาคตมันอาจจะมีน้อยจนต้องประมูลกันหลายปีครั้ง หรืออาจจะแพงกว่านี้จนในอนาคตหมดโอกาสที่คนธรรมดาจะกินกัน
