เน้นย้ำความเข้าใจที่ถูกต้อง ภายหลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทำให้ ‘ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์’ ที่ขณะนี้เป็น ‘ธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565’ แล้วนั้น จะมีผลตามสาระสำคัญ 4 ประเด็นควรรู้ ประกอบด้วย
1. การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ มี 3 ประเภท
- รถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตรา ร้อยละ 10 ต่อปี
- รถยนต์ใช้แล้ว ต้องไม่เกินอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี
- รถจักรยานยนต์ต้องไม่เกิน ร้อยละ 23 ต่อปี
2. การชำระค่างวด
หากผู้บริโภคนำเงินมาชำระค่างวดครบก่อนกำหนด (ปิดบัญชี) จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย ในการปิดค่างวดเป็นขั้นบันได มี 3 กรณี ดังนี้- ชำระค่างวด ไม่เกินหนึ่งในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลด ไม่น้อยกว่า ร้อยละหกสิบ ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
- ชำระค่างวด ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม แต่ไม่เกินสองในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลด ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
- ชำระค่างวด เกินกว่าสองในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับ ส่วนลดทั้งหมด ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
3. กรณีนำรถออกขายทอดตลาด
หากผู้บริโภคถูกยกเลิกสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อนำรถออกขายทอดตลาด โดยปกติแล้ว ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบค่างวดที่ยังค้างตามสัญญา ประกอบด้วย เงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งประกาศฉบับนี้ให้คิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น4. การคิดเบี้ยปรับในการผิดนัดชำระ
กรณีผู้บริโภคชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อสามารถคิดเบี้ยปรับ จากผู้บริโภคได้ไม่เกินอัตราร้อยละห้าต่อปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ