‘ไฟฟ้า’ จัดเป็นสาธารณูปโภค ‘จำเป็น’ โดยเป็นตัวช่วยไม่เฉพาะการส่องสว่าง แต่ยังอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันหลากหลาย ยิ่งขณะนี้สถานการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ที่มีการคาดการณ์แนวโน้มปีหน้า 2567 ว่าจะเข้าสู่สภาพอากาศแบบร้อนแล้งตามสภาวะที่เรียกว่า ‘เอลนีโญ’ ที่แม้จะเป็นหน้าฝน แต่ฝนก็จะไม่ค่อยตก ความร้อนก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยที่ปีนี้ อาจเริ่มรับผลบางส่วน...
ขอย้ำ ว่านี่แค่เริ่ม ก็ทำเอาคนไทยทั้งหลายบ่นกันระนาว ว่า สภาพอากาศขณะนี้ ‘ร้อนจัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน’ ทำให้บิลค่าไฟของแทบทุกบ้าน ‘พุ่งพรวด’ สเปซบาร์ จึงพาตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ว่ามีอะไรกินไฟมากสุด พบ 10 อันดับ ดังนี้
อันดับ 1 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 3,500 – 8,000 วัตต์
อันดับ 2 เตารีดไฟฟ้า (แห้ง – ไอน้ำ) 1,000 – 2,600 วัตต์
อันดับ 3 ไดร์เป่าผม 1,000 – 2,200 วัตต์
อันดับ 4 เตาไมโครเวฟ (20 – 32 L) 1,000 – 1,880 วัตต์
อันดับ 5 เครื่องปรับอากาศ ชนิด FIXED SPEED (9,000 – 36,000 BTU/hr) 730 – 3,300 วัตต์
อันดับ 6 เครื่องปรับอากาศ ชนิด INVERTER (9,000 – 36,000 Btu/hr) 455 – 3,300 วัตต์
อันดับ 7 เครื่องซักผ้า (แบบตั้ง, ถังนอน) 450 – 2,500 วัตต์
อันดับ 8 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (1 – 3L) 450 – 1,000 วัตต์
อันดับ 9 ตู้เย็น (40 – 735 ลิตร, 1.4 – 26 คิว) 70 – 145 วัตต์
อันดับ 10 พัดลมไฟฟ้า (12 นิ้ว – 18 นิ้ว) 35 – 80 วัตต์
ขอย้ำ ว่านี่แค่เริ่ม ก็ทำเอาคนไทยทั้งหลายบ่นกันระนาว ว่า สภาพอากาศขณะนี้ ‘ร้อนจัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน’ ทำให้บิลค่าไฟของแทบทุกบ้าน ‘พุ่งพรวด’ สเปซบาร์ จึงพาตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ว่ามีอะไรกินไฟมากสุด พบ 10 อันดับ ดังนี้
อันดับ 1 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 3,500 – 8,000 วัตต์
อันดับ 2 เตารีดไฟฟ้า (แห้ง – ไอน้ำ) 1,000 – 2,600 วัตต์
อันดับ 3 ไดร์เป่าผม 1,000 – 2,200 วัตต์
อันดับ 4 เตาไมโครเวฟ (20 – 32 L) 1,000 – 1,880 วัตต์
อันดับ 5 เครื่องปรับอากาศ ชนิด FIXED SPEED (9,000 – 36,000 BTU/hr) 730 – 3,300 วัตต์
อันดับ 6 เครื่องปรับอากาศ ชนิด INVERTER (9,000 – 36,000 Btu/hr) 455 – 3,300 วัตต์
อันดับ 7 เครื่องซักผ้า (แบบตั้ง, ถังนอน) 450 – 2,500 วัตต์
อันดับ 8 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (1 – 3L) 450 – 1,000 วัตต์
อันดับ 9 ตู้เย็น (40 – 735 ลิตร, 1.4 – 26 คิว) 70 – 145 วัตต์
อันดับ 10 พัดลมไฟฟ้า (12 นิ้ว – 18 นิ้ว) 35 – 80 วัตต์

แล้วจะประหยัดพลังงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้อย่างไรดี? รู้ 5 วิธีง่ายๆ
1. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะช่วยประหยัดค่าไฟมากขึ้นได้ เพราะกระทรวงพลังงานได้ช่วยการันตีคุณภาพของการติดตั้ง
2. วางแผนการใช้งาน
ทุกครั้งก่อนใช้งานต้องผ่านการวางแผนใช้งาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่นจะเปิดแอร์ ก็อาจเรียกมารวมห้องเดียวกันหลายคน ส่วนถ้ารีดผ้าไม่รีดทีละตัว แต่ควรจะรวมไว้ในปริมาณมากหน่อย
3. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้
ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องถอดปลั๊กออก เพราะกระแสไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ในระบบ แม้ว่าจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม อีกทั้งยังสามารถป้องกันการลัดวงจรภายในได้อีกด้วย โดยที่การเสียบทิ้งไว้นั้น จะทำให้เครื่องไฟฟ้าเสียหาย กินไฟมากกว่าเดิมและอาจจะต้องซื้อใหม่อีกด้วย
4. สับแบรกเกอร์เมื่อไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน
เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หากคุณจะเดินทางไปต่างจังหวัด ไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน ควรจะสับคัทเอ้าท์ลง เพราะหากวงจรไฟยังเดินอยู่ทั้งบ้าน ค่าไฟก็จะยังคงวิ่งตามอยู่ด้วย และหากเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน เพียงแค่ออกจากบ้านก็ต้องสับลงด้วย ไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนและความชื้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่นอยู่แล้ว
5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายภายใน แม้ว่าจะเป็นรอยขาดของสายไฟเล็กๆ น้อยๆ ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟมากขึ้น กระแสไฟฟ้าจะรั่วออก เหมือนเราเปิดสายยางแล้วมีแรงดันน้ำ ทำให้น้ำนั้นรั่วออกมาภายนอกได้ตลอดเวลา
รู้อย่างนี้แล้ว เราก็นำไปบริการจัดการการใช้ไฟฟ้าในบ้าน และบำรุงรักษาไปด้วยในตัว เพื่อการประหยัดเงินในกระเป๋าให้ควักจ่ายค่าไฟน้อยลง ในท่ามกลางสภาวะที่ต้องใช้ไฟมากช่วงร้อนจัดแบบนี้!