แม้ว่าวันนี้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของเราอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ทำไมความกังวลหรือ ‘ความกลัว’ ที่มีต่อ AI จึงยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้น?
อันที่จริงความกังวลเรื่องความก้าวหน้าของจักรกลอัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย และสามารถอธิบายได้ทั้งในแง่มุมของประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และจิตวิทยา หรือแม้แต่อิทธิพลของนวนิยายไซไฟและภาพยนตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดและงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้าง ‘สิ่งมีชีวิต’ จากสิ่งไม่มีชีวิต
อันที่จริงความกังวลเรื่องความก้าวหน้าของจักรกลอัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย และสามารถอธิบายได้ทั้งในแง่มุมของประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และจิตวิทยา หรือแม้แต่อิทธิพลของนวนิยายไซไฟและภาพยนตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดและงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้าง ‘สิ่งมีชีวิต’ จากสิ่งไม่มีชีวิต

จากนวนิยายสู่ความกังวลในโลกความเป็นจริง
หนึ่งในนั้นคือนวนิยายระดับมาสเตอร์พีซอย่าง ‘แฟรงเกนสไตน์’ (Frankenstein or The Modern Prometheus) ผลงานประพันธ์ของแมรี เชอร์ลีย์ นักเขียนหญิงชาวอังกฤษ (ตีพิมพ์ปี 1818) ว่าด้วยเรื่องราวของวิกเตอร์ แฟรงเกนสไตน์ ที่พยายามจะประดิษฐ์อสูรกาย (monster) จากซากศพ งานประพันธ์นี้ยังได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานทดลองสุดประหลาดของ ลุยจิ อาโลอีซีโอ กัลวานี แพทย์และนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ซึ่งได้ทดลองใช้ไฟฟ้ากระตุ้นขากบ ทำให้ขากบกระตุกตอบสนองต่อกระแสไฟฟ้า การทดลองที่ทำให้ซากของสัตว์ที่เคยมีชีวิตกลับมาขยับได้อีกครั้ง (เพียงชั่วคราว) กลายเป็นแรงบันดาลใจให้แมรี เชอร์ลีย์ ใช้ไฟฟ้าในการชุบชีวิตอสูรกายในบทประพันธ์นั่นเองยังไม่รวมถึงภาพยนตร์อีกมากมายที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนวนิยายไซไฟ ซึ่งมักวาง ‘ปัญญาประดิษฐ์’ เป็นตัวร้าย และนำไปสู่การทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ เช่น The Terminator ภาพยนตร์แฟรนไชส์ดัง I, ROBOT ภาพยนต์ดัดแปลงากนวนิยายชื่อเดียวกันของไอแซค แม็กซิมอฟ และ Westworld ซีรีส์ไซไฟที่ตั้งคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับ AI และมนุษย์

แต่ประเด็นที่คนส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับเรื่อง AI ในวันนี้แตกต่างไปจากในอดีตว่าจักรกลอัจฉริยะจะมีสติปัญญาฉลาดล้ำเหนือกว่ามนุษย์ เพราะปัจจุบัน AI ยังคงมีความสามารถเฉพาะด้านเท่านั้น (Narrow AI) ขณะที่เทคโนโลยีเองก็ยังไม่ก้าวหน้าไปถึงจุดที่จะเกิด General AI ที่มีสติปัญญารู้คิดและมีจิตสำนึก (sentient) เหมือนคนทั่วไปหรืออัพเลเวลไปสู่ Superintelligence ที่เหนือกว่ามนุษย์ในเร็วๆ นี้
ความกังวลที่จับต้องได้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘อาชีพ’ และ ‘บทบาทหน้าที่’ ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงาน งานบัญชี งานธุรการ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จาก Generative AI หรือบรรดาบ็อตอัจฉริยะที่สามารถผลิตสร้างสรรค์เนื้อหาได้เองด้วยโมเดล Deep Learning เช่น ChatGPT, Dall-E, Midjourney และStyleGAN บ็อตอัจฉริยะที่ใช้โมเดล Deep Learning สร้างภาพจำลองเสมือนจริง
Goldman Sachs สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ได้คาดการณ์ว่า กระแสบูมของบรรดา Generative AI อาจทำให้อาชีพตำแหน่งงานหายไปหรือลดบทบาทลงประมาณ 300 ล้านตำแหน่งทั่วโลกเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันก็จะก่อให้เกิดนวัตกรรมและอาชีพใหม่ๆ อีกมั้งยังมองว่าเทคโนโลยี AI จะช่วยบริษัทเอกชนประหยัดต้นทุนได้มหาศาล และเพิ่มศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระตุ้น GDP ของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 7% ต่อปีเลยทีเดียว
ความกังวลที่จับต้องได้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘อาชีพ’ และ ‘บทบาทหน้าที่’ ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงาน งานบัญชี งานธุรการ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จาก Generative AI หรือบรรดาบ็อตอัจฉริยะที่สามารถผลิตสร้างสรรค์เนื้อหาได้เองด้วยโมเดล Deep Learning เช่น ChatGPT, Dall-E, Midjourney และStyleGAN บ็อตอัจฉริยะที่ใช้โมเดล Deep Learning สร้างภาพจำลองเสมือนจริง
Goldman Sachs สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ได้คาดการณ์ว่า กระแสบูมของบรรดา Generative AI อาจทำให้อาชีพตำแหน่งงานหายไปหรือลดบทบาทลงประมาณ 300 ล้านตำแหน่งทั่วโลกเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันก็จะก่อให้เกิดนวัตกรรมและอาชีพใหม่ๆ อีกมั้งยังมองว่าเทคโนโลยี AI จะช่วยบริษัทเอกชนประหยัดต้นทุนได้มหาศาล และเพิ่มศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระตุ้น GDP ของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 7% ต่อปีเลยทีเดียว
