โตมา พิเกตตี (Thomas Piketty) นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง เจ้าของหนังสือชายดี ‘ทุนในศตวรรษที่ 21’ (Capital in the Twenty-First Century) เคยเตือนเอาไว้เรื่องการขึ้นค่าแรงแบบพรวดพราด เขาบอกว่า “การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่มีกำหนด เมื่อค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ผลเสียต่อระดับการจ้างงานก็จะเหนือกว่า (ผลดี) ในที่สุด หากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นสองเท่าหรือสามเท่า คงน่าแปลกใจหากผลกระทบทางลบจะไม่เด่นชัดขึ้นมา”
พิเกตตี เป็นนักเศรษฐศาสตร์เอียงซ้าย และสนับสนุนเศรษฐกิจแบบสังคม เขาจึงต้องการให้เกิดความเป็นธรรมเรื่องค่าแรง แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังเตือนว่ามันควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และเห็นตรงกับนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เตือนมาตลอดว่า ถ้าจะขึ้นค่าแรง ควรจะระวังเรื่องคนตกงานเอาไว้ด้วย
เพราะเมื่อใดที่ขึ้นค่าแรง นายจ้างจะมีรายได้ลดลง หรืออาจเป็นหนี้ด้วยซ้ำ เพราะต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น เมื่อธุรกิจแย่ นายจ้างก็ต้องไล่พนักงานออก นี่เป็นสมมติฐานเรื่องผลกระทบของการขึ้นค่าแรงที่ทราบกันดี แม้แต่คนที่เป็น ‘ซ้าย’ ก็ต้องตระหนักในเรื่องเหมือน พิเกตตี
พิเกตตี บอกว่า ขึ้นค่าแรงแค่สองหรือสามเท่า ก็จะมีผลกระทบทางลบที่ชัดแจ้งแล้ว แต่ (ว่าที่) รัฐบาลก้าวไกลเตรียมที่จะขึ้นถึง 30% แบบนี้ไม่ให้ผลด้านลบ คงจะเป็นไปได้ยาก
สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เมื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตอบกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า “ถ้าตอบในนามพรรคก้าวไกลพรรคเดียวก็ยังยืนยันที่ 450 บาท” จากการเปิดเผยของเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผ่านฐานเศรษฐกิจ ในขณะที่สภาอุตฯ แสดงความกังวลกับนโยบายนี้ เพราะจะกระทบต่อต้นทุนการผลิต
หลังจากนักอุตสาหกรรมเริ่มนั่งไม่ติด คราวนี้มาถึงนักลงทุนรายย่อยที่พาแสดงความวิตกขึ้นไปอีกหลังจากว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของก้าวไกล คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ไปให้สัมภาษณ์ในรายการต่างๆ เช่น ลงทุนแมน และ The Secret Sauce หากไล่ดูจากคอมเมนต์จะพบว่าปฏิกิริยาของผู้ชมและนักลงทุนต่อว่าที่ขุนคลังของก้าวไกลเป็นไปในทางลบหรืออย่างน้อยก็กังขาในความสามารถ
เราจะไม่พูดถึงคุณสมบัติของ ศิริกัญญา ในที่นี้ แต่เช่นเดียวกับจุดยืนของ พิธา เรื่องการขึ้นค่าแรง ศิริกัญญา ยืนยันว่าจะใช้นโยบายนี้เช่นกัน ทำให้เกิดเสียงโอดครวญในหมู่เจ้าของธุรกิจ SMEs (ซึ่งเป็นสิ่งที่สภาอุตฯ ช่วยกังวลแทนไปแล้วก่อนหน้านี้) เพราะผลกระทบต่อการขึ้นค่าแรงจะรุนแรงกว่ากับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สายป่านไม่ยาวนัก
ดังนั้น งานชิ้นเอกของ มาร์กซ์ ก็คือหนังสือที่ชื่อ ‘ว่าด้วยทุน’ (Das Kapital) และมีคำกล่าวว่า “คนที่เข้าใจทุนที่สุดคือมาร์กซ์”
แต่เมื่อเข้าใจแล้ว การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น การจะเข้าใจทุนได้จึงไม่ใช่แค่การเข้ามารื้อระบบแล้วยัดแนวทางใหม่ๆ เข้าไปในทันที ยกเว้นว่าฝ่ายซ้ายคนนั้นมีแนวคิดปฏิวัติ (แบบเลนิน หรือเหมาเจ๋อตง) ที่ต้องการล้างไพ่ใหม่ทั้งระบบ การล้างบางแบบนั้นมีผลที่เกิดขึ้น คือหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เช่น ภัยความอดอยากในสหภาพโซเวียต (เพราะนโยบายนารวม ทศวรรษที่ 1920) และในจีน (ในเหตุการณ์ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ทางเกษตรและอุตสาหกรรม ทศวรรษที่ 1950) ทั้งสองเหตุการณ์มีคนล้มตายหลายล้าน
ฝ่ายซ้ายที่ทำพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าเรื่องเศรษฐกิจ คือซ้ายที่มาจากสายรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์แต่อ่อนเรื่องเศรษฐศาสตร์
ยกเว้นซ้ายในยุโรปตะวันตกที่รู้จักปรับแนวคิดเรื่องการจัดระเบียบทุนและกระจายความมั่งคั่งอย่างรู้จักทุน โดยไม่บีบบังคับตลาดมากเกิน ผลก็คือ พวกเขาสามารถสร้างรัฐสวัสดิการที่แข็งแกร่งและผู้คนมีกินมีใช้ มีเวลาเพิ่มศักยภาพให้ตนเอง (ทำงานน้อย แต่ผลผลิตสูง) ในขณะที่รู้จักหาเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเก็บภาษี พูดง่ายๆ ก็คือประเทศเหล่านี้ คือ “คนที่เข้าใจทุนที่สุดแบบมาร์กซ์ แต่ไม่ได้เดินตามก้นมาร์กซ์”
ขณะเดียวกัน การขึ้นค่าแรงดูเหมือนเป็นคุณกับแรงงานก็จริง แต่มันก็เป็นโทษด้วยถ้าทำโดยไม่สนใจกลไกทุนนิยมที่ค้ำชูระบบเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้
แม้แต่ พิเกตตี ที่เผยให้เห็นว่าการกดค่าแรงให้ต่ำเกินไป เป็นโทษต่อการขายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เขาก็ยอมรับเรื่องผลกระทบของการขึ้นค่าแรงมากเกินไป และอาจจะต้องรับสมมติฐานของนักคิดฝ่ายทุนนิยม ที่บอกว่าการขึ้นค่าแรงแบบหว่านแห โดยไม่สนใจเรื่องทักษะแรงงาน จะเป็นโทษได้เช่นกัน
เช่น ในบทความเรื่อง How Piketty Is Wrong—and Right ของวิทยาลัยธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก อ้างรายงานของ เควิน เอ็ม. เมอร์ฟีย์ (Kevin M. Murphy) กับ โรเบิร์ท เอช. ทอเปิล (Robert H. Topel) แห่มหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งเป็น ‘ตักสิลา’ ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก พวกเขาชี้ว่า ค่าแรงคนงานทักษะต่ำในสหรัฐฯ หยุดชะงักมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 แต่คนที่มีทักษะสูงมีค่าแรงเพิ่มขึ้นเร็วมากและมีความเสถียร นั่นก็เพราะตลาดจะจ่ายให้แรงงานที่มีทักษะสูง แต่จะไม่ยอมเสียเงินให้แรงงานทักษะต่ำ (ยังไม่นับโอกาสที่แรงงานทักษะต่ำจะถูกแทนที่ด้วยระบบ Automation ที่อาจจะคุ้มทุนกว่า)
นี่คือความไม่เท่าเทียมกันอย่างหนึ่ง และเมอร์ฟีย์ กับ ทอเปิล บอกว่า “ปัจจัยพื้นฐานของตลาดที่สนับสนุนแรงงานที่มีทักษะสูง (หรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ) เป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้น”
นั่นหมายความว่า วิธีการแก้ไขความเหลื่อมล้ำนี้ก็คือการทำให้แรงงานทักษะต่ำ กลายเป็นแรงงานทักษะสูง
เรื่องนี้สอดคล้องกับทัศนะของ เมอร์ฟีย์ กับ ทอเปิล แม้แต่ พิเกตตี (ซึ่งอยู่คนขั้วกับคนทั้งสอง) ก็ยังบอกว่า “หากการจัดหาทักษะไม่เพิ่มขึ้นในจังหวะเดียวกับความต้องการของเทคโนโลยี กลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรม (ทักษะ) ไม่ก้าวหน้าเพียงพอ ก็จะมีรายได้น้อยลง” (ข้อความจากหนังสือ Capital)
ขณะที่เราจ้องแต่จะเล่นงานนายทุนที่ความมั่งคั่งที่กระจุกตัวอยู่ในมือไม่กี่คน แต่เราไม่ได้สังเกตว่าความเหลื่อมล้ำที่น่ากลัวที่สุดคือ ค่าแรงของแรงงานทักษะสูงกับต่ำที่ถ่างเกินไป เมอร์ฟีย์ กับ ทอเปิล พบว่าแรงงานทักษะสูงได้ค่าแรงสูง เพราะความต้องการคนพวกนี้สูง แต่จำนวนคนเหล่านี้มีน้อย ยิ่งมีน้อยเท่าไร ค่าแรงยิ่งสูง ในขณะที่แรงงานทักษะรองลงมา ถูกเงื่อนไขนี้บังคับให้ต้องเพิ่มทักษะตัวเอง เพื่อที่จะได้ค่าแรงที่สูงขึ้น
ปัญหาก็คือ การเพิ่มทักษะต้องทำผ่านการศึกษา แต่แรงงานทักษะต่ำไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดี และยังมีชีวิตปากกัดตีนถีบ ไม่มีโอกาสเพิ่มทักษะให้ตัวเอง จุดนี้เองที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาแก้ไข เช่น ลดเวลาทำงานเพื่อให้พวกเขาได้ฝึกอบรมทักษะที่ตลาดต้องการ ดีไม่ดี นี่จะเป็นคุณต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวกว่าการขึ้นค่าแรงตามใจฉันด้วยซ้ำ
พิเกตตี ยังยอมรับในหนังสือของเขา ว่า “ในระยะยาว การศึกษาและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยชี้ขาดระดับค่าจ้าง” และ “โดยสรุป วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มค่าจ้างและลดความไม่เท่าเทียมกันของค่าจ้างในระยะยาวคือการลงทุนด้านการศึกษาและทักษะ”
ปัญหาก็คือ มีกี่คนในประเทศไทยที่อยู่ในข่ายกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เข้าใจในจุดนี้? อย่างที่ประธานสภาอุตฯ บอกกับฐานเศรษฐกิจว่า “แต่ตอนนี้ก้าวไกลกับเพื่อไทยเขาต้องการช่วยทันที แต่การช่วยทันทีและกระชากแรงเราก็กลัวว่าผลที่จะตามมาอาจจะไม่คุ้ม ต้องดูให้รอบด้าน”
ในทัศนะผู้เขียน จุดยืนของก้าวไกลในเรื่องเศรษฐกิจมีความเป็นรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์มากเกินไป และคุณลักษณะแบบของก้าวไกลยังสะท้อนกระแสนิยม ‘ความเป็นซ้าย’ ในบ้านเรา ซึ่งมักจะมีแต่ซ้ายสังคมศาสตร์ ปรัชญา และการเมือง แต่ขาดผู้ที่ช่ำชองเรื่องเศรษฐกิจ จึงไม่แปลกที่ปฏิกริยาในตอนนี้ก็คือ ตลาดหวาดผวาจนปลอบประโลมกันไม่ไหว เพราะกลัวสังคมนิยจะมาทำลายทุน โดยไม่เข้าใจว่าประเทศขับเคลื่อนด้วยทุน
คงเพราะบ้านเมืองเรามีคนแบบ Slavoj Žižek (นักปรัชญาชาวสโลเวเนียน) หรือ Hogo Chavez (อดีตผู้นำเวเนซุเอลา) มากเกินไป แต่ขาดคนรู้เรื่องเศรษฐกิจแบบ Thomas Piketty (นักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยม) นั่นเอง
พิเกตตี เป็นนักเศรษฐศาสตร์เอียงซ้าย และสนับสนุนเศรษฐกิจแบบสังคม เขาจึงต้องการให้เกิดความเป็นธรรมเรื่องค่าแรง แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังเตือนว่ามันควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และเห็นตรงกับนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เตือนมาตลอดว่า ถ้าจะขึ้นค่าแรง ควรจะระวังเรื่องคนตกงานเอาไว้ด้วย
เพราะเมื่อใดที่ขึ้นค่าแรง นายจ้างจะมีรายได้ลดลง หรืออาจเป็นหนี้ด้วยซ้ำ เพราะต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น เมื่อธุรกิจแย่ นายจ้างก็ต้องไล่พนักงานออก นี่เป็นสมมติฐานเรื่องผลกระทบของการขึ้นค่าแรงที่ทราบกันดี แม้แต่คนที่เป็น ‘ซ้าย’ ก็ต้องตระหนักในเรื่องเหมือน พิเกตตี
พิเกตตี บอกว่า ขึ้นค่าแรงแค่สองหรือสามเท่า ก็จะมีผลกระทบทางลบที่ชัดแจ้งแล้ว แต่ (ว่าที่) รัฐบาลก้าวไกลเตรียมที่จะขึ้นถึง 30% แบบนี้ไม่ให้ผลด้านลบ คงจะเป็นไปได้ยาก
ทีมก้าวไกลพร้อมแค่ไหน?
ผู้เขียนเคยอธิบายไว้แล้วในบทความ “เมื่อตลาดหุ้นร่วงไม่หยุด เพราะนักลงทุนผวารัฐบาลไม่เป็นมิตรกับทุน” ว่าก้าวไกลเป็นพรรคกลางซ้าย ซึ่งมีแนวคิดเหมือนฝ่ายสังคมนิยมบวกกับรัฐสวัสดิการ แนวคิดแบบนี้ไปกันคนละทางกับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดและทุนนิยมที่ประเทศไทยใช้กันมานาน พอจู่ๆ จะมี (ว่าที่) รัฐบาลที่คิดแบบสังคมนิยมและจ้องจะจัดระเบียบทุน ตลาดทุนจึงปั่นป่วนสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เมื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตอบกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า “ถ้าตอบในนามพรรคก้าวไกลพรรคเดียวก็ยังยืนยันที่ 450 บาท” จากการเปิดเผยของเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผ่านฐานเศรษฐกิจ ในขณะที่สภาอุตฯ แสดงความกังวลกับนโยบายนี้ เพราะจะกระทบต่อต้นทุนการผลิต
หลังจากนักอุตสาหกรรมเริ่มนั่งไม่ติด คราวนี้มาถึงนักลงทุนรายย่อยที่พาแสดงความวิตกขึ้นไปอีกหลังจากว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของก้าวไกล คือ ศิริกัญญา ตันสกุล ไปให้สัมภาษณ์ในรายการต่างๆ เช่น ลงทุนแมน และ The Secret Sauce หากไล่ดูจากคอมเมนต์จะพบว่าปฏิกิริยาของผู้ชมและนักลงทุนต่อว่าที่ขุนคลังของก้าวไกลเป็นไปในทางลบหรืออย่างน้อยก็กังขาในความสามารถ
เราจะไม่พูดถึงคุณสมบัติของ ศิริกัญญา ในที่นี้ แต่เช่นเดียวกับจุดยืนของ พิธา เรื่องการขึ้นค่าแรง ศิริกัญญา ยืนยันว่าจะใช้นโยบายนี้เช่นกัน ทำให้เกิดเสียงโอดครวญในหมู่เจ้าของธุรกิจ SMEs (ซึ่งเป็นสิ่งที่สภาอุตฯ ช่วยกังวลแทนไปแล้วก่อนหน้านี้) เพราะผลกระทบต่อการขึ้นค่าแรงจะรุนแรงกว่ากับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สายป่านไม่ยาวนัก
ฝ่ายซ้ายที่อ่อนเรื่องเศรษฐกิจ
เสียงวิจารณ์หนึ่งที่สะท้อนผ่านผู้ชมการสัมภาษณ์ของ ศิริกัญญา ก็คือความกังวลเรื่องนโยบายที่เป็นสังคมนิยมของพรรคก้าวไกล แต่การเป็นฝ่ายซ้ายไม่ได้หมายความว่าจะบริหารเศรษฐกิจไม่เป็น ตรงกันข้าม เสาหลักของแนวคิดฝ่ายซ้าย คือแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (คือ Marxism) เกิดขึ้นมาจากการศึกษาระบบทุนนิยมอย่างถ่องแท้ เพื่อที่ะจหาจุดอ่อนของมัน แล้วแก้ไขด้วยระบบที่กระจายความมั่งคั่งได้เท่าเทียมกว่าดังนั้น งานชิ้นเอกของ มาร์กซ์ ก็คือหนังสือที่ชื่อ ‘ว่าด้วยทุน’ (Das Kapital) และมีคำกล่าวว่า “คนที่เข้าใจทุนที่สุดคือมาร์กซ์”
แต่เมื่อเข้าใจแล้ว การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น การจะเข้าใจทุนได้จึงไม่ใช่แค่การเข้ามารื้อระบบแล้วยัดแนวทางใหม่ๆ เข้าไปในทันที ยกเว้นว่าฝ่ายซ้ายคนนั้นมีแนวคิดปฏิวัติ (แบบเลนิน หรือเหมาเจ๋อตง) ที่ต้องการล้างไพ่ใหม่ทั้งระบบ การล้างบางแบบนั้นมีผลที่เกิดขึ้น คือหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เช่น ภัยความอดอยากในสหภาพโซเวียต (เพราะนโยบายนารวม ทศวรรษที่ 1920) และในจีน (ในเหตุการณ์ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ทางเกษตรและอุตสาหกรรม ทศวรรษที่ 1950) ทั้งสองเหตุการณ์มีคนล้มตายหลายล้าน
ฝ่ายซ้ายที่ทำพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าเรื่องเศรษฐกิจ คือซ้ายที่มาจากสายรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์แต่อ่อนเรื่องเศรษฐศาสตร์
ยกเว้นซ้ายในยุโรปตะวันตกที่รู้จักปรับแนวคิดเรื่องการจัดระเบียบทุนและกระจายความมั่งคั่งอย่างรู้จักทุน โดยไม่บีบบังคับตลาดมากเกิน ผลก็คือ พวกเขาสามารถสร้างรัฐสวัสดิการที่แข็งแกร่งและผู้คนมีกินมีใช้ มีเวลาเพิ่มศักยภาพให้ตนเอง (ทำงานน้อย แต่ผลผลิตสูง) ในขณะที่รู้จักหาเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเก็บภาษี พูดง่ายๆ ก็คือประเทศเหล่านี้ คือ “คนที่เข้าใจทุนที่สุดแบบมาร์กซ์ แต่ไม่ได้เดินตามก้นมาร์กซ์”
แล้วเราจะขึ้นค่าแรงได้ไหม?
ที่ต้องปูพื้นเรื่องแนวคิดสังคมนิยมก่อน เพราะประเทศไทยไม่คุ้นกับแนวทางเศรษฐกิจแบบนี้ พอเกิดปรากฏการณ์ก้าวไกลขึ้นมา ก็เริ่มตระหนักว่าพวกเขาเลือกฝ่ายซ้ายเข้ามานำสังคมที่อยู่กับทุนนิยมมาทั้งชีวิต และยังมีท่าทีจะบั่นทอนทุนทั้งรายใหญ่ (ที่เรียกว่าทุนผูกขาด) รายย่อย (ไม่ส่งเสริมกองทุนต่างๆ)ขณะเดียวกัน การขึ้นค่าแรงดูเหมือนเป็นคุณกับแรงงานก็จริง แต่มันก็เป็นโทษด้วยถ้าทำโดยไม่สนใจกลไกทุนนิยมที่ค้ำชูระบบเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้
แม้แต่ พิเกตตี ที่เผยให้เห็นว่าการกดค่าแรงให้ต่ำเกินไป เป็นโทษต่อการขายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เขาก็ยอมรับเรื่องผลกระทบของการขึ้นค่าแรงมากเกินไป และอาจจะต้องรับสมมติฐานของนักคิดฝ่ายทุนนิยม ที่บอกว่าการขึ้นค่าแรงแบบหว่านแห โดยไม่สนใจเรื่องทักษะแรงงาน จะเป็นโทษได้เช่นกัน
เช่น ในบทความเรื่อง How Piketty Is Wrong—and Right ของวิทยาลัยธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก อ้างรายงานของ เควิน เอ็ม. เมอร์ฟีย์ (Kevin M. Murphy) กับ โรเบิร์ท เอช. ทอเปิล (Robert H. Topel) แห่มหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งเป็น ‘ตักสิลา’ ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก พวกเขาชี้ว่า ค่าแรงคนงานทักษะต่ำในสหรัฐฯ หยุดชะงักมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 แต่คนที่มีทักษะสูงมีค่าแรงเพิ่มขึ้นเร็วมากและมีความเสถียร นั่นก็เพราะตลาดจะจ่ายให้แรงงานที่มีทักษะสูง แต่จะไม่ยอมเสียเงินให้แรงงานทักษะต่ำ (ยังไม่นับโอกาสที่แรงงานทักษะต่ำจะถูกแทนที่ด้วยระบบ Automation ที่อาจจะคุ้มทุนกว่า)
นี่คือความไม่เท่าเทียมกันอย่างหนึ่ง และเมอร์ฟีย์ กับ ทอเปิล บอกว่า “ปัจจัยพื้นฐานของตลาดที่สนับสนุนแรงงานที่มีทักษะสูง (หรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ) เป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้น”
นั่นหมายความว่า วิธีการแก้ไขความเหลื่อมล้ำนี้ก็คือการทำให้แรงงานทักษะต่ำ กลายเป็นแรงงานทักษะสูง
ว่าที่รัฐบาลควรฟังใคร?
ตอบว่าควรฟังผู้เชี่ยวชาญ เช่น เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บอกกับฐานเศรษฐกิจ ว่า “ข้อเสนอของ ส.อ.ท. เรายินดีจ่ายค่าแรงตามทักษะฝีมือ (pay by skill) ไม่ต้องมาพูดขั้นต่ำ ถ้าคุณมีสกิลดีอาจจะจ่าย 600 700 800 บาทได้ทั้งนั้น ขึ้นกับชิ้นงานที่มีมูลค่าและใช้ทักษะพิเศษ ซึ่งต้องมีการพัฒนาที่ต้องใช้เวลา”เรื่องนี้สอดคล้องกับทัศนะของ เมอร์ฟีย์ กับ ทอเปิล แม้แต่ พิเกตตี (ซึ่งอยู่คนขั้วกับคนทั้งสอง) ก็ยังบอกว่า “หากการจัดหาทักษะไม่เพิ่มขึ้นในจังหวะเดียวกับความต้องการของเทคโนโลยี กลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรม (ทักษะ) ไม่ก้าวหน้าเพียงพอ ก็จะมีรายได้น้อยลง” (ข้อความจากหนังสือ Capital)
ขณะที่เราจ้องแต่จะเล่นงานนายทุนที่ความมั่งคั่งที่กระจุกตัวอยู่ในมือไม่กี่คน แต่เราไม่ได้สังเกตว่าความเหลื่อมล้ำที่น่ากลัวที่สุดคือ ค่าแรงของแรงงานทักษะสูงกับต่ำที่ถ่างเกินไป เมอร์ฟีย์ กับ ทอเปิล พบว่าแรงงานทักษะสูงได้ค่าแรงสูง เพราะความต้องการคนพวกนี้สูง แต่จำนวนคนเหล่านี้มีน้อย ยิ่งมีน้อยเท่าไร ค่าแรงยิ่งสูง ในขณะที่แรงงานทักษะรองลงมา ถูกเงื่อนไขนี้บังคับให้ต้องเพิ่มทักษะตัวเอง เพื่อที่จะได้ค่าแรงที่สูงขึ้น
ปัญหาก็คือ การเพิ่มทักษะต้องทำผ่านการศึกษา แต่แรงงานทักษะต่ำไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดี และยังมีชีวิตปากกัดตีนถีบ ไม่มีโอกาสเพิ่มทักษะให้ตัวเอง จุดนี้เองที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาแก้ไข เช่น ลดเวลาทำงานเพื่อให้พวกเขาได้ฝึกอบรมทักษะที่ตลาดต้องการ ดีไม่ดี นี่จะเป็นคุณต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวกว่าการขึ้นค่าแรงตามใจฉันด้วยซ้ำ
พิเกตตี ยังยอมรับในหนังสือของเขา ว่า “ในระยะยาว การศึกษาและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยชี้ขาดระดับค่าจ้าง” และ “โดยสรุป วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มค่าจ้างและลดความไม่เท่าเทียมกันของค่าจ้างในระยะยาวคือการลงทุนด้านการศึกษาและทักษะ”
ปัญหาก็คือ มีกี่คนในประเทศไทยที่อยู่ในข่ายกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เข้าใจในจุดนี้? อย่างที่ประธานสภาอุตฯ บอกกับฐานเศรษฐกิจว่า “แต่ตอนนี้ก้าวไกลกับเพื่อไทยเขาต้องการช่วยทันที แต่การช่วยทันทีและกระชากแรงเราก็กลัวว่าผลที่จะตามมาอาจจะไม่คุ้ม ต้องดูให้รอบด้าน”
สิ่งที่เห็นและจะเป็นไป
แน่นอนว่า ในขณะที่เราเขียนถึงก้าวไกลมาเกือบจะจบแล้ว ยังมีพรรคเพื่อไทยด้วยเช่นกันที่ต้องการขึ้นค่าแรง และยังจะขึ้นมากกว่าด้วย เพียงแต่ผู้เขียนได้เคยวิเคราะห์นโยบายของเพื่อไทยไปแล้ว และตอนนี้ ก้าวไกลเป็นแกนหลักในการตั้งรัฐบาลใหม่ จึงสมควรที่จะวิเคราะห์นโยบายของพวกเขาให้ละเอียดในทัศนะผู้เขียน จุดยืนของก้าวไกลในเรื่องเศรษฐกิจมีความเป็นรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์มากเกินไป และคุณลักษณะแบบของก้าวไกลยังสะท้อนกระแสนิยม ‘ความเป็นซ้าย’ ในบ้านเรา ซึ่งมักจะมีแต่ซ้ายสังคมศาสตร์ ปรัชญา และการเมือง แต่ขาดผู้ที่ช่ำชองเรื่องเศรษฐกิจ จึงไม่แปลกที่ปฏิกริยาในตอนนี้ก็คือ ตลาดหวาดผวาจนปลอบประโลมกันไม่ไหว เพราะกลัวสังคมนิยจะมาทำลายทุน โดยไม่เข้าใจว่าประเทศขับเคลื่อนด้วยทุน
คงเพราะบ้านเมืองเรามีคนแบบ Slavoj Žižek (นักปรัชญาชาวสโลเวเนียน) หรือ Hogo Chavez (อดีตผู้นำเวเนซุเอลา) มากเกินไป แต่ขาดคนรู้เรื่องเศรษฐกิจแบบ Thomas Piketty (นักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยม) นั่นเอง