มากกว่ารุนแรงคือ ‘จนเรื้อรัง’ เช็คดัชนีความเหลื่อมล้ำ 3 จังหวัดชายแดนใต้

7 ก.ค. 2566 - 10:14

  • ปัตตานี ติดอันดับ 1 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดในประเทศ พ.ศ.2564

  • นราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP) ต่ำที่สุดในประเทศ พ.ศ.2564

  • ในรอบ 22 ปี (พ.ศ.2543-2564) นราธิวาสติด 1 ใน 10 จังหวัดที่มีคนจนมากที่สุด 18 ครั้ง ปัตตานี 16 ครั้ง และยะลา 6 ครั้ง

TAGCLOUD-poverty-line-and-indicators-3-southern-border-provinces-SPACEBAR-Thumbnail
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่ซับซ้อนเกินกว่าจะด่วนสรุปได้ภายในไม่กี่ประโยค 
 
เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า 'หัวเชื้อ' ของปัญหามาจากอะไร ใช่การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของภาครัฐหรือไม่ การหยิบยื่นการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่หรือเปล่า หรือว่ามาจากปัญหาปากท้องของคนในพื้นที่ เพราะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ล้วนอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของจังหวัดยากจนที่สุดในประเทศไทยมาหลายปี 
 
ซึ่งเหตุผลข้อหลังสุด มีคนตั้งข้อสมมติฐานโดยมองว่า ความยากจนและความด้อยพัฒนาคือสาเหตุของความไม่สงบ 
 
เพราะเมื่อกินไม่ดีอยู่ไม่สบาย ผู้คนจึงนึกถึง 'ทางเลือก' ที่จะเป็นความหวังใหม่ที่จะนำพวกเขาไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า 
 
แต่นั่นก็เป็นเพียงหนึ่งในข้อสมมติฐานที่ยังไม่มีบทสรุป เพราะมีมุมมองที่หลากหลายในประเด็นนี้ 
 
"งานเขียนกลุ่มที่มองว่าความยากจนและความด้อยพัฒนาคือสาเหตุของความไม่สงบ ดังนั้น รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจะต้องมีบทบาทในการพัฒนาเพื่อแก้ไข ...รวมทั้งงานเขียนที่เสนอถึงผลกระทบของความไม่สงบที่สร้างความซบเซาทางเศรษฐกิจ 
 
"อย่างไรก็ดี ยังมีงานเขียนอีกบางส่วน...ที่ชี้ว่าการพัฒนาโดยรัฐและการขยายตัวของทุนต่างหากที่เป็นสาเหตุของความยากจนและความด้อยพัฒนา อันนำมาสู่สถานการณ์ความไม่สงบในที่สุด ขณะเดียวกันก็มีงานอีกบางส่วนที่พยายามชี้ถึงความสลับซับซ้อนของประเด็นเศรษฐกิจและการพัฒนาท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง..." 
 
ข้อความบางส่วนจากงานเขียน เศรษฐกิจและการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: การสำรวจเชิงวิพากษ์ โดยชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เคยศึกษาวิจัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีความผูกพันทั้งในแง่งานวิชาการและชีวิตส่วนตัว สะท้อนให้เห็นความซับซ้อนของปัญหา 
 
ถึงแม้เรื่องนี้จะยังไม่มีบทสรุป แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ตัวเลขเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น (เช็คดีกรีความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนใต้ในรอบ 18 ปี) และตัวเลขความยากจนในรอบหลายปีนั้นมีอยู่จริง 
 
นี่คือตัวเลขความเหลื่อมล้ำและยากจนท่ามกลางวังวนของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีบทสรุป
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1NNFxOE1L9Ho1DvHt94Wm8/4b5fd6b9f89cd588876473363b51c487/INFO_TAGCLOUD-poverty-line-and-indicators-3-southern-border-provinces_B-01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1l2hVtgVxpfF1ZOunFHMdE/86a478268750b0aad039dd6ef7a8525e/INFO_TAGCLOUD-poverty-line-and-indicators-3-southern-border-provinces_B-02

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์