“จะเอาเงินจากที่ไหนมาแจก?” คำถามนี้เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวันที่พรรคการเมืองต่างๆ ประกาศนโยบายแจกเงิน เพิ่มค่าแรง และสวัสดิการแบบให้เปล่าหลากหลายรูปแบบ นโยบายเหล่านี้จะใช้เงินมหาศาล เอาแค่นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ประกาศอัดฉีดเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท และพรรคเพื่อไทยที่จะประกาศจะแจกเงินดิจิทัลคนละ 10,000 บาท ซึ่งน่าจะใช้งบประมาณถึง 5.5 แสนล้านบาท
สมมติว่าถ้าพรรคเหล่านี้ต้องฟอร์มรัฐบาลร่วมกัน ไม่ใช่ว่าประเทศไทยต้องใช้งบประมาณเกือบ 1.5 ล้านล้านบาทเลยหรือ? ซึ่งเราควรตระหนักว่างบประมาณประจำปีที่ล่าสุดก็ปาเข้าไปกว่า 3.1 ล้านล้านบาทแล้ว ดังนั้น จะไม่ให้ถามว่า “จะเอาเงินจากที่ไหนมาแจก?” ก็คงจะเป็นความเฉยเมยเกินไป
เพื่อที่จะตอบคำถามว่า “จะเอาเงินจากที่ไหนมาแจก?” ก่อนอื่นเราต้องตอบคำถามก่อนว่า “เงินของประเทศมาจากไหน?” คำถามนี้เป็นคำถามในเชิงทฤษฎีเอามากๆ และในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ก็มีความเห็นต่างๆ กันเรื่องที่มาของเงิน เพราะ ‘เงินตรา’ เป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เรารู้ว่ามันมีอยู่ เรารู้ว่าจะหามันได้อย่างไร แต่น้อยคนที่จะรู้ว่ามันมาจากไหน แม้แต่คนที่เก่งกาจที่สุดในเรื่องการเงินก็ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน การอธิบานที่มาของเงินในบทความนี้จะอิงกับทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ หรือ Modern Monetary Theory (MMT) ที่เชื่อว่ารัฐบาล คือผู้สร้างมูลค่าของเงินตรา
1. เงินตรา (Currency) ในสมัยก่อนมูลค่าของเงินตราจะอิงกับวัตถุมีค่า เช่น ทองคำ โดยรัฐบาลประเทศนั้นๆ จะออกเงินตรา (เหรียญกษาปณ์หรือธนบัตร) โดยอิงกับทองคำที่สำรองเอาไว้ และผู้ที่ถือเงินตราที่มีค่าเท่ากับทองคำที่อิงมูลค่าไว้ สามารถนำแลกเงินเป็นทองคำในมูลค่าเท่ากันได้ เช่น สมมติว่าเงินตรา 1 บาทจะสามารถแลกทองคำได้ 1 บาท เงินตรา
2. ต่อมาอย่างน้อยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลต่างๆ เริ่มเลิกผูกมูลค่าเงินตรากับทองคำ และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลต่างๆ เลิกผลิตเหรียญกษาปณ์ด้วยโลหะมีค่า (เช่น แร่เงิน) ‘เงิน’ (Money) จึงไม่มีค่าเท่ากับ ‘โลหะเงิน’ (Silver) อีกต่อไป แต่เป็นแค่สิ่งสมมติมูลค่าขึ้นมาใช้แลกเปลี่ยน ซื้อขาย
3. การผูกเงินตรากับมูลค่าของโลหะมีค่าเรียกว่า ‘โลหะนิยม’ (Metallism) คือความเชื่อว่าเงินตราควรมีมูลค่าแท้จริงเท่ากับโลหะมีค่าที่มันอิงอยู่ เช่น อิงกับทองคำหรือแร่เงิน แต่แนวคิดนี้ถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ (MMT) ที่เชื่อว่ามูลค่าของเงินตราสมมติขึ้นมาจากความน่าเชื่อถือของผู้ออกเงิน คือรัฐบาลประเทศหนึ่งๆ นี่คือเงินตราแบบใหม่ที่เรียกว่า “เงินตราที่มาจากอำนาจที่สมมติมูลค่าขึ้นมา” (Fiat money) ซึ่งผู้สมมติมูลค่าก็คือรัฐบาล
4. รัฐบาล ต่างๆ ในโลกจึงปั๊มเงินออกมาโดยไม่ได้อิงกับมูลค่าที่จับต้องได้ของทองคำหรือเงินอีกต่อไป แต่อิงกับความน่าเชื่อถือของประเทศ ส่วนเงินที่ปั๊มออกมารัฐบาลจะรับรองว่าสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (Legal tender) คำถามก็คือ “หนี้ของใคร?” คำตอบคือ “หนี้ที่มีต่อรัฐบาล” ไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากซื้อขายระหว่างประชาชนด้วยกัน
5. รัฐจะปล่อยเงินออกมาเพื่อสูบฉีดเศรษฐกิจ ผ่านทางการใช้จ่ายของรัฐ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การแจกเงินรูปแบบต่างๆ การริเริ่มสวัสดิการของรัฐ เงินที่ปล่อยออกมานี้จะหมุนเวียนเหมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกาย (ระบบเศรษฐกิจ) ดังนั้นการปล่อยเงินออกมาของรัฐแบบนี้จึงมีเหตุผลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ผู้คน หมุนเงินจนมูลค่าของมันงอกเงยขึ้นมา
6. เมื่อสมาชิกในระบบเศรษฐกิจ คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมีรายได้ ก็จะนำเงินไปจ่ายภาษีให้รัฐ หรือนัยหนึ่งคือจ่ายหนี้ที่ติดค้างให้กับรัฐ เพราะรัฐมีหน้าที่ปกป้องประชาชนและพัฒนาประเทศด้วยเงินนั้น จากนั้นรัฐก็จะนำเงินภาษี (หรือหนี้จากประชาชน) มาหมุนเวียนสู่ระบบต่อไป นี่เองคือความหมายที่แท้จริงของ “เงินสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย”
7. นี่คือหลักการที่เรียกว่า Chartalism หรือ “ความเชื่อที่ว่ารัฐเป็นผู้กำหนดเงินขึ้นมา” เป็นทฤษฎีทางเศรษฐกิจแบบนอกกรอบ ซึ่งต่างจากทฤษฎีเศรษฐกิจกระแสหลักที่มองว่าธนาคารกลางต่างหากที่มีบทบาทในการควบคุมเงิน และทำงานประสานกับธนาคารพาณิชย์ที่สร้างเงินขึ้นมาผ่านการปล่อยกู้ (แนวคิดหลังนี้เราจะไม่พูดถึงมัน เพราะการทำแนวคิด 2 แนวที่ต่างกันสิ้นเชิงมาเอ่ยถึงพร้อมกันจะยิ่งทำให้งงเปล่าๆ)
8. ดังนั้น เงินตราจึงมาจากการใช้จ่ายของรัฐ เพื่อให้ประชาชนหมุนจนมีรายได้ แล้วนำรายได้จ่ายหนี้คืนแก่รัฐ แต่การที่รัฐบาลจะปล่อยเงินออกมาจะต้องพิจารณาว่าระบบเศรษฐกิจมีความสมดุลแค่ไหน และความน่าเชื่อถือของประเทศมีแค่ไหน เช่น สหรัฐมีความน่าเชื่อถือสูง และชาวโลกเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ประหนึ่งว่ามันไม่ต่างจากทองคำ สหรัฐจึงสามารถปั๊มเงินได้ไม่มีที่สิ้นสุด
9. แต่เมื่อใดที่ประเทศนั้นหมดความน่าเชื่อถือ เช่น รัฐบาลโกงกินมากเกินไป ประชาชนยากจนเกินไป ระบบพื้นฐานของประเทศย่ำแย่ หรือว่าแพ้สงคราม มูลค่าของเงินตราประเทศนั้นๆ ก็จะลดลง (อ่อนค่า) อำนาจการซื้อของผู้คนก็จะลดลง (เช่น เคยซื้อของได้มากโดยใช้เงินน้อย ก็จะกลายเป็นซื้อของได้น้อย แต่ใช้เงินมาก) เช่น ดอลลาร์ที่มูลค่าของมันเริ่มเสื่อม เพราะความเชื่อมั่นในสหรัฐลดลง และสหรัฐจะปั๊มเงินออกมาตามใจชอบเกินไป
10. ยิ่งรัฐบาลแก่ปัญหาแบบขายผ้าเอาหน้ารอด ด้วยการปั๊มเงินออกมาเพื่อเพิ่มกำลังซื้อ เงินในระบบจะยิ่งมาก แต่ค่ามันน้อยลงทุกที กลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อที่แรงขึ้น จนกระทั่งเกิดภาวะอภิมหาเงินเฟ้อ (Hyperinflation) ซึ่งเงินตรามีสภาพไม่ต่างอะไรกับแบงค์กงเต็ก เพราะหมดความน่าเชื่อถือ คนรับกรรมก็คือประชาชน เงินในบัญชีจะไร้ค่า และทำงานหนักแค่ไหนแล้วได้เงินมามากเท่าไรก็ไม่พอกิน
นี่คือคำอธิบายแบบง่ายๆ ถึงที่มาของเงิน ผู้ผลิตเงิน และเงินมีสถานะอย่างไร โดยอิงกับทฤษฎีของสำนัก Chartalism หรือ “ความเชื่อที่ว่ารัฐเป็นผู้กำหนดเงินขึ้นมา” เมื่อเราเข้าใจว่ารัฐกำหนดเงินขึ้นมาแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า นโยบายแจกเงินของพรรคการเมืองต่างๆ จะใช้กลเม็ดทางการเงินรูปแบบไหน มันจะกระทบต่อกระเป๋าเงินของเราอย่างไร และรัฐจะขาดทุนหรือไม่ขาดทุนอย่างไรจากการแจกเงินอย่างหนักมือ?
สมมติว่าถ้าพรรคเหล่านี้ต้องฟอร์มรัฐบาลร่วมกัน ไม่ใช่ว่าประเทศไทยต้องใช้งบประมาณเกือบ 1.5 ล้านล้านบาทเลยหรือ? ซึ่งเราควรตระหนักว่างบประมาณประจำปีที่ล่าสุดก็ปาเข้าไปกว่า 3.1 ล้านล้านบาทแล้ว ดังนั้น จะไม่ให้ถามว่า “จะเอาเงินจากที่ไหนมาแจก?” ก็คงจะเป็นความเฉยเมยเกินไป
เพื่อที่จะตอบคำถามว่า “จะเอาเงินจากที่ไหนมาแจก?” ก่อนอื่นเราต้องตอบคำถามก่อนว่า “เงินของประเทศมาจากไหน?” คำถามนี้เป็นคำถามในเชิงทฤษฎีเอามากๆ และในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ก็มีความเห็นต่างๆ กันเรื่องที่มาของเงิน เพราะ ‘เงินตรา’ เป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เรารู้ว่ามันมีอยู่ เรารู้ว่าจะหามันได้อย่างไร แต่น้อยคนที่จะรู้ว่ามันมาจากไหน แม้แต่คนที่เก่งกาจที่สุดในเรื่องการเงินก็ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน การอธิบานที่มาของเงินในบทความนี้จะอิงกับทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ หรือ Modern Monetary Theory (MMT) ที่เชื่อว่ารัฐบาล คือผู้สร้างมูลค่าของเงินตรา
1. เงินตรา (Currency) ในสมัยก่อนมูลค่าของเงินตราจะอิงกับวัตถุมีค่า เช่น ทองคำ โดยรัฐบาลประเทศนั้นๆ จะออกเงินตรา (เหรียญกษาปณ์หรือธนบัตร) โดยอิงกับทองคำที่สำรองเอาไว้ และผู้ที่ถือเงินตราที่มีค่าเท่ากับทองคำที่อิงมูลค่าไว้ สามารถนำแลกเงินเป็นทองคำในมูลค่าเท่ากันได้ เช่น สมมติว่าเงินตรา 1 บาทจะสามารถแลกทองคำได้ 1 บาท เงินตรา
2. ต่อมาอย่างน้อยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลต่างๆ เริ่มเลิกผูกมูลค่าเงินตรากับทองคำ และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลต่างๆ เลิกผลิตเหรียญกษาปณ์ด้วยโลหะมีค่า (เช่น แร่เงิน) ‘เงิน’ (Money) จึงไม่มีค่าเท่ากับ ‘โลหะเงิน’ (Silver) อีกต่อไป แต่เป็นแค่สิ่งสมมติมูลค่าขึ้นมาใช้แลกเปลี่ยน ซื้อขาย
3. การผูกเงินตรากับมูลค่าของโลหะมีค่าเรียกว่า ‘โลหะนิยม’ (Metallism) คือความเชื่อว่าเงินตราควรมีมูลค่าแท้จริงเท่ากับโลหะมีค่าที่มันอิงอยู่ เช่น อิงกับทองคำหรือแร่เงิน แต่แนวคิดนี้ถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ (MMT) ที่เชื่อว่ามูลค่าของเงินตราสมมติขึ้นมาจากความน่าเชื่อถือของผู้ออกเงิน คือรัฐบาลประเทศหนึ่งๆ นี่คือเงินตราแบบใหม่ที่เรียกว่า “เงินตราที่มาจากอำนาจที่สมมติมูลค่าขึ้นมา” (Fiat money) ซึ่งผู้สมมติมูลค่าก็คือรัฐบาล
4. รัฐบาล ต่างๆ ในโลกจึงปั๊มเงินออกมาโดยไม่ได้อิงกับมูลค่าที่จับต้องได้ของทองคำหรือเงินอีกต่อไป แต่อิงกับความน่าเชื่อถือของประเทศ ส่วนเงินที่ปั๊มออกมารัฐบาลจะรับรองว่าสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (Legal tender) คำถามก็คือ “หนี้ของใคร?” คำตอบคือ “หนี้ที่มีต่อรัฐบาล” ไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากซื้อขายระหว่างประชาชนด้วยกัน
5. รัฐจะปล่อยเงินออกมาเพื่อสูบฉีดเศรษฐกิจ ผ่านทางการใช้จ่ายของรัฐ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การแจกเงินรูปแบบต่างๆ การริเริ่มสวัสดิการของรัฐ เงินที่ปล่อยออกมานี้จะหมุนเวียนเหมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกาย (ระบบเศรษฐกิจ) ดังนั้นการปล่อยเงินออกมาของรัฐแบบนี้จึงมีเหตุผลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ผู้คน หมุนเงินจนมูลค่าของมันงอกเงยขึ้นมา
6. เมื่อสมาชิกในระบบเศรษฐกิจ คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมีรายได้ ก็จะนำเงินไปจ่ายภาษีให้รัฐ หรือนัยหนึ่งคือจ่ายหนี้ที่ติดค้างให้กับรัฐ เพราะรัฐมีหน้าที่ปกป้องประชาชนและพัฒนาประเทศด้วยเงินนั้น จากนั้นรัฐก็จะนำเงินภาษี (หรือหนี้จากประชาชน) มาหมุนเวียนสู่ระบบต่อไป นี่เองคือความหมายที่แท้จริงของ “เงินสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย”
7. นี่คือหลักการที่เรียกว่า Chartalism หรือ “ความเชื่อที่ว่ารัฐเป็นผู้กำหนดเงินขึ้นมา” เป็นทฤษฎีทางเศรษฐกิจแบบนอกกรอบ ซึ่งต่างจากทฤษฎีเศรษฐกิจกระแสหลักที่มองว่าธนาคารกลางต่างหากที่มีบทบาทในการควบคุมเงิน และทำงานประสานกับธนาคารพาณิชย์ที่สร้างเงินขึ้นมาผ่านการปล่อยกู้ (แนวคิดหลังนี้เราจะไม่พูดถึงมัน เพราะการทำแนวคิด 2 แนวที่ต่างกันสิ้นเชิงมาเอ่ยถึงพร้อมกันจะยิ่งทำให้งงเปล่าๆ)
8. ดังนั้น เงินตราจึงมาจากการใช้จ่ายของรัฐ เพื่อให้ประชาชนหมุนจนมีรายได้ แล้วนำรายได้จ่ายหนี้คืนแก่รัฐ แต่การที่รัฐบาลจะปล่อยเงินออกมาจะต้องพิจารณาว่าระบบเศรษฐกิจมีความสมดุลแค่ไหน และความน่าเชื่อถือของประเทศมีแค่ไหน เช่น สหรัฐมีความน่าเชื่อถือสูง และชาวโลกเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ประหนึ่งว่ามันไม่ต่างจากทองคำ สหรัฐจึงสามารถปั๊มเงินได้ไม่มีที่สิ้นสุด
9. แต่เมื่อใดที่ประเทศนั้นหมดความน่าเชื่อถือ เช่น รัฐบาลโกงกินมากเกินไป ประชาชนยากจนเกินไป ระบบพื้นฐานของประเทศย่ำแย่ หรือว่าแพ้สงคราม มูลค่าของเงินตราประเทศนั้นๆ ก็จะลดลง (อ่อนค่า) อำนาจการซื้อของผู้คนก็จะลดลง (เช่น เคยซื้อของได้มากโดยใช้เงินน้อย ก็จะกลายเป็นซื้อของได้น้อย แต่ใช้เงินมาก) เช่น ดอลลาร์ที่มูลค่าของมันเริ่มเสื่อม เพราะความเชื่อมั่นในสหรัฐลดลง และสหรัฐจะปั๊มเงินออกมาตามใจชอบเกินไป
10. ยิ่งรัฐบาลแก่ปัญหาแบบขายผ้าเอาหน้ารอด ด้วยการปั๊มเงินออกมาเพื่อเพิ่มกำลังซื้อ เงินในระบบจะยิ่งมาก แต่ค่ามันน้อยลงทุกที กลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อที่แรงขึ้น จนกระทั่งเกิดภาวะอภิมหาเงินเฟ้อ (Hyperinflation) ซึ่งเงินตรามีสภาพไม่ต่างอะไรกับแบงค์กงเต็ก เพราะหมดความน่าเชื่อถือ คนรับกรรมก็คือประชาชน เงินในบัญชีจะไร้ค่า และทำงานหนักแค่ไหนแล้วได้เงินมามากเท่าไรก็ไม่พอกิน
นี่คือคำอธิบายแบบง่ายๆ ถึงที่มาของเงิน ผู้ผลิตเงิน และเงินมีสถานะอย่างไร โดยอิงกับทฤษฎีของสำนัก Chartalism หรือ “ความเชื่อที่ว่ารัฐเป็นผู้กำหนดเงินขึ้นมา” เมื่อเราเข้าใจว่ารัฐกำหนดเงินขึ้นมาแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า นโยบายแจกเงินของพรรคการเมืองต่างๆ จะใช้กลเม็ดทางการเงินรูปแบบไหน มันจะกระทบต่อกระเป๋าเงินของเราอย่างไร และรัฐจะขาดทุนหรือไม่ขาดทุนอย่างไรจากการแจกเงินอย่างหนักมือ?