กลัว 'เอไอ' แย่งงาน? แต่รู้ไหมโลกขาดแรงงานมนุษย์ไม่ได้

2 ก.ค. 2566 - 04:07

  • เทคโนโลยีช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุน และสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งหมายถึงผลกำไรที่มากขึ้น

  • การได้มาซึ่งกำไร คือเป้าหมายสูงสุดของสังคมตลาดในโลกทุนนิยม

  • การใช้เทคโนโลยีหรือเอไอแทนมนุษย์ทั้งหมด อาจทำให้ระบบเศรษฐกิจพัง เพราะมีแต่ผู้ผลิต แต่ไม่มีผู้บริโภค

TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Thumbnail
นาทีนี้คงไม่ต้องถามแล้วว่า คนกังวลกับการมาถึงเอไอหรือเปล่า เพราะกราฟชีพจรความสนใจ (Interest over time) ของคนทั่วโลกตอนนี้ (30 มิถุนายน) บ่งชี้ชัดเจนว่า มนุษย์กำลังกังวลว่า เอไอจะเข้ามาทดแทนอาชีพที่ทำอยู่มากขึ้นทุกวัน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/30LRaC1PYV0cxcZ8PxC11T/3f9fffd5f7cc2fb33793172ca9bbd282/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo01
Photo: ความสนใจภัยจากเอไอของคนทั่วโลกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2018-2023) มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ วัดจากการค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด AI Anxiety, Fear AI, AI Replace Job บน Google Trends
ทว่าความกังวลของมนุษย์ที่มีเครื่องจักรไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งหลายหนแล้ว ตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมราว 200 ปีก่อน (อ่านเพิ่มเติม 200 ปีแห่งความหวั่นวิตก เมื่อจักรกลแย่งงานมนุษย์

ทุกครั้งที่มีเทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น งานบางอย่างของมนุษย์จะหายไป แต่ขณะเดียวกันก็จะมีงานใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น... 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5wxOlLSWEyY8QvOq1nsQES/8f134b02339265944d9c8bf2346fa178/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo02
Photo: เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ (James Watt) จุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม

คุณกังวลว่าเอไอจะมาแย่งงานที่รักอยู่ใช่ไหม 

สำหรับคนที่กังวลว่าเอไอจะเข้ามาทดแทนงานที่ทำอยู่ (ซึ่งอาจหมายรวมถึง 'คุณค่าในชีวิต') แน่นอน ข่าวและคอนเทนต์จำนวนมากเวลานี้กำลังประโคมให้เรารู้สึกเช่นนั้น พร้อมตอกย้ำให้รู้สึกมากขึ้น เมื่อเอไอโชว์ให้เห็นว่าพวกมันเก่งมากขึ้นทุกวัน 

แต่ข้อเขียนชิ้นนี้อยากชวนมองความจริงอีกด้าน และคาดว่าคงช่วยให้หลายคนคลายกังวลไปได้บ้าง เพราะ 'นายทุนจะไม่มีวันยอมให้มนุษย์ตกงานไปตลอดกาลอย่างเด็ดขาด' เพราะนั่นหมายถึงหายนะของพวกเขาเช่นกัน 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3M88KNG2PrefA1KTKLuGID/3ad6c29a078aba9b335f5e18db1bb6ba/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo03
Photo: เจฟฟรีย์ ฮินตัน (Geoffrey Hinton) ผู้ได้รับฉายา ‘เจ้าพ่อเอไอ’ เตือนว่า “เอไออาจเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ” (AFP)
นี่ไม่ใช่คำปลอบใจ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงใน ‘สังคมตลาด’ ของโลกทุนนิยมที่เสกทุกสิ่งให้มีมูลค่า ซื้อขาย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือกำไร 

เพราะถ้าหากเอไอทดแทนงานของมนุษย์ส่วนใหญ่ ผู้บริโภคจำนวนมากจะหายไปจากระบบ โลกจะเต็มไปด้วยผู้ผลิตที่ไม่มีผู้ซื้อ หรือผู้ซื้อก็มีน้อยเกินกว่าที่ผู้ผลิตจะอยู่ได้ เมื่อถึงตอนนั้นระบบเศรษฐกิจจะพัง สุดท้ายนายทุนหรือผู้ประกอบการก็ต้องกลับมาจ้างแรงงานอีกครั้ง 

ข้างต้นเป็นการอธิบายอย่างรวบรัด ถ้าใครยังไม่รู้สึกคลายกังวล หวังว่าบรรทัดต่อจากนี้น่าจะช่วยอธิบายรายละเอียดให้เห็นภาพมากขึ้น... 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2yQxTkT7Q7qAxZSwfQajNf/5e08a815d8c3aa12a80a0d0da15fea05/INFO_TAGCLOUD-gen-Y-ai-anxiety_B-02__2_

วังวนสังคมตลาด เครื่องจักร กับความฝันลอยๆ 

กฎข้อหนึ่งที่ต้องรู้ในสังคมตลาด ถ้าคุณคิดจะเริ่มต้นธุรกิจเป็น ‘ผู้ประกอบการ’ คุณจะถูกบีบให้ต้องก่อหนี้ ตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจ (หรือกระบวนการผลิต) 

ถ้าโชคร้าย ทำธุรกิจแล้วไม่เวิร์ค ไม่มีกำไร คุณก็จะติดหนี้ (กลายเป็นทาสของเจ้าหนี้) 

วิธีที่จะได้ ‘กำไร’ คือเกิดจากการแข่งขันเพื่อดึงดูด ‘ลูกค้า’

วิธีที่จะได้ลูกค้า ต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านคุณภาพและราคา 

ถ้าคุณภาพไม่ต่างกันมาก ก็ต้องลดราคา แต่จะลดราคาสินค้าได้ ก็ต้องลดต้นทุน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7msBZqlxTsgQ61RJMOcDN6/70ca9d2625e2189427b99d6f80248f26/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo04
Photo: ชาวอังกฤษต่อคิวซื้อของช่วงเทศกาลลดราคาในกรุงลอนดอนช่วงวันคริสต์มาส (AFP)
ในโลกยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม การมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ดีกว่า จะสร้างข้อได้เปรียบทั้งด้าน ‘ราคา’ และอาจรวมถึง ‘คุณภาพ’ 

ดังนั้น เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ผู้ประกอบการก็จะรีบนำมันมาใช้ เพื่อชิงความได้เปรียบ แต่ไม่นานเทคโนโลยีนั้นก็จะแพร่หลายในอุตสาหกรรม ความได้เปรียบที่มีก็จะหมดไป 

กระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา การแข่งขันเพื่อสร้างกำไรในสังคมตลาด ทำให้มนุษย์สะสมเครื่องจักรกลในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ ไม่มีแง่มุมไหนเลยที่เราไม่ได้ใช้งานเครื่องจักรกล 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/14rWhAdoJMBjR1mK0xKcBb/82e163d2fe1f29e22c5aa6c3a9ce9ff5/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo05
Photo: คนงานในสายการประกอบหุ่นยนต์ในโรงงานในเครือ Midea Group ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของจีน สังเกตว่างานส่วนใหญ่ทำโดยเครื่องจักร (AFP)
ตลกร้ายก็คือ ความคิดแรกเริ่มในวันที่มนุษย์คิดค้นเครื่องจักรได้ เราฝันว่าเครื่องจักรเหล่านั้นจะทำงานน่าเบื่อแทนเราทุกอย่าง แล้วมนุษย์ก็มีชีวิตอย่างสะดวกสบาย ในโลกที่ไม่มีคนต้องทำงานอีกต่อไป 

แต่เราทุกคนก็รู้ว่า ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น... โลกดูเหมือนเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม และมนุษย์ก็ทำงานหนักขึ้น 

เครื่องจักรช่วยผลิตสินค้าได้มากขึ้นมหาศาลจริง แต่ไม่ได้ช่วยให้ความยากจน ความหิว ความเหลื่อมล้ำ งานที่น่าเบื่อ ความวิตกเกี่ยวกับความต้องการขั้นพื้นฐานในอนาคตหมดไป 

และบางด้านเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม มนุษย์เครียดมากขึ้น ความสุขเหือดหาย คนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นทุกวัน
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/z8T4aTJwVdOUkg0mQkbB6/2a6ae95367b0d64c71ce628a3f8e64c4/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo06
Photo: ในโลกสมัยใหม่ ผู้คนมากมายทำงานด้วยความทุกข์
ขณะที่นายจ้างถูกบีบโดยสภาวะการแข่งขันให้ต้องใช้นวัตกรรมใหม่ล่าสุดตลอดเวลา พวกเราเหมือนถูกล่ามติดกับเทคโนโลยี และถูกบังคับให้คอยไล่ตามมันให้ทัน เพราะถ้าช้านั่นอาจหมายถึงความพ่ายแพ้ กำไรที่หดหาย และการขาดทุน 

มนุษย์กลายเป็นหนูถีบจักร ที่ไม่ว่าจะออกแรงวิ่งขนาดไหน ก็ไม่ได้ขยับไกลจากเดิม 

ชีวิตที่มีเทคโนโลยีเป็นเครื่องทุ่นแรง กระทั่งอำนวยความสะดวกสบายจนมนุษย์ไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ดูจะเป็นความฝันลอยๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง 

เอาล่ะ ทีนี้มาเข้าเรื่อง...ทำไมมนุษย์ถึงไม่ควรกังวลว่าเอไอจะมาแย่งงานเรามากเกินไป (เรื่องนี้ควรกังวล แต่ก็ไม่ควรกังวลมากเกินไป) 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2wfXdBqgFDtCzW3kOllMmW/9b9db1aedf764a26e9839ab54bdca3bb/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo07
Photo: หุ่นยนต์ชื่อ "อดัม" ทำหน้าที่บาริสต้าเตรียมกาแฟให้ลูกค้าที่มาร้านกาแฟบอทบาร์ในเขตบรู๊คลิน นครนิวยอร์ก (AFP)

ทำไมมนุษย์ถึงไม่มีวันตกงาน 

ถึงตรงนี้คงเห็นแล้วว่า สังคมตลาดมีแนวโน้มที่จะ ‘กลืนกินตัวเอง’ แต่ถึงที่สุดแล้ว ไม่ว่าเทคโนโลยีหรือเอไอจะล้ำหน้าแค่ไหน สุดท้ายมนุษย์จะต้องมีงาน (ที่หมายถึงการหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพ) ทำเสมอ 

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ตรงที่... 

เมื่อผู้ประกอบการหรือนายทุนใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อไต่เพดานบินในธุรกิจให้สูงขึ้น และลดต้นทุนในการผลิต ขณะเดียวกันก็ค่อยๆ บีบแรงงานออกไปจากกระบวนการผลิต (เพื่อลดต้นทุนเช่นกัน) โดยคาดหวัง ‘กำไร’ ที่สูงขึ้น



แต่ปัญหาคือแทนที่จะได้กำไรมากขึ้น พวกเขาอาจได้กำไรน้อยลง เพราะ... 
  • การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตทำให้ต้นทุนลดลง 
  • การแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้ผลิต ส่งผลให้ตั้งราคาเท่าหรือต่ำกว่าต้นทุน ทำให้เหลือกำไรน้อยลง 
  • เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ ไม่ต้องกินต้องใช้ (ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าที่พวกมันผลิต) ส่งผลให้มีของล้นตลาด เพราะคนซื้อลดลง 
เมื่อราคาขายสินค้าปรับลดลงอย่างมาก ผู้ประกอบการที่ถูกคู่แข่งบีบให้ต้องยืมมูลค่าจากอนาคตเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุด พบว่ากำไรไม่ได้อย่างที่หวัง ผู้ประกอบการที่อ่อนแอก็จะขาดทุนและค่อยๆ ล้มละลายตามกันไป พร้อมกับหนี้ก้อนมหาศาลที่ธนาคารตามเก็บไม่ได้ เกิดผลสืบเนื่องตามมามากมาย จนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจพัง

หลังวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น มนุษย์และเครื่องจักรจะพบว่าตัวเองไม่มีงานทำ ขณะที่ผู้ประกอบการที่เหลือรอด จะตระหนักถึงความจริงได้อย่างน้อย 2 เรื่อง 
  1. คู่แข่งที่ล้มหาย ทำให้ภาวะการแข่งขันผ่อนคลาย เปิดโอกาสให้ปรับราคาขายขึ้นมาได้ 
  2. การจ้างคนเพิ่มถูกกว่าการใช้เครื่องจักร เนื่องจากคนต้องกินต้องใช้ จึงยอมรับค่าแรงเท่าไหร่ก็ได้เพื่อให้มีงานทำ 
วิกฤตที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหมือนนาฬิกาปลุกให้นายจ้างตื่นจากการลดต้นทุนด้วยเทคโนโลยีที่มาจากการแข่งขันอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนได้รู้ว่าเราทุกคนต่างเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงคราม 

นายจ้างมีแนวโน้มจะกลับมาจ้างแรงงานคนมากขึ้น คือผลที่เกิดขึ้นทุกครั้งหลังเศรษฐกิจตกต่ำ 

การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่อย่าง ‘เอไอ’ ครั้งนี้จะดิสรัปชีวิตและงานของมนุษย์ครั้งใหญ่แน่นอน ตอนนี้หลายคนคงได้กลิ่นของสึนามิแห่งความเปลี่ยนแปลงกันแล้ว คาดว่าคงมีงานของหลายอาชีพถูกแทนที่ด้วยเอไอ คนจำนวนหนึ่งอาจถูกเลิกจ้าง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3b7TGmySNt899coLnFiSHE/91323cd798519958a29e582aa66a218f/TAGCLOUD-why-human-no-days-unemployed-SPACEBAR-Photo08
Photo: Goldman Sachs ระบุว่า เอไอจะแทนที่งานประจำได้ 300 ล้านตำแหน่งในระยะเวลา 10 ปี แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจะทำให้ GDP ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 7%
แต่เชื่อเถอะว่า ไม่มีสิ่งใดถาวร ระบบเศรษฐกิจในโลกยังต้องการ ‘ผู้บริโภค’ เสมอ และมนุษย์คือตัวละครที่สวมบทบาทนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม อย่าวางใจว่าจะอยู่เฉยได้ มนุษย์ต้องปรับตัว เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อให้พร้อมเดินเข้าสู่ตลาดแรงงานที่รออยู่ในโลกอนาคต

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์