เมื่อเกือบ 170 ปีก่อน Benz Patent-Motorwagen รถยนต์คันแรกของโลกที่ใช้การได้จริงบนท้องถนนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยวิศวกรและนักออกแบบยานยนต์ชาวเยอรมัน คาร์ล เบนซ์ (Carl Benz) และมันต่อมากลายเป็นจุดเริ่มต้นของค่ายรถยนต์ชั้นนำของโลก นั่นคือ Mercedes-Benz
ผ่านมาเกือบ 170 ปีนับตั้งแต่รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) คันแรกของโลก มาวันนี้ Mercedes-Benz ผู้เป็นเจ้าแห่งรถ ICE ระดับพรีเมี่ยมมาโดยตลอด กำลังเผชิญกับการปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการรถยนต์และในวิถีชีวิตของมนุษยชาติ จากความจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน และแนวโน้มที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังจะมาแทนที่รถยนต์ ICE
EV อาจจะเติบโตได้ด้วยตัวมันเองจากกลุ่มผู้นิยมชมชอบรถยนต์รูปแบบใหม่ แต่เพราะสถานการณ์ของโลกที่เสี่ยงที่จะเผชิญกับหายนะจากภาวะโลกร้อน ทำให้ EV ไม่ใช่แค่ทางเลือกในการขับขี่อีกต่อไป แต่กลายเป็นความจำเป็น และในอนาคตทุกคนจะถูกบังคับให้ต้องใช้รถ EV เท่านั้น ส่วน ICE จะกลายเป็นอดีตไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 สหาพยุโรปประกาศที่จะสั่งห้ามการผลิตรถยนต์ ICE ภายในปี 2035 โดยเริ่มจากการสั่งให้รถที่ผลิตหลังปี 2030 จะต้องมีระบบที่ลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง 50-55% และเมื่อถึงปี 2035 จะต้องลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 100%
ตอนแรก ประเทศที่คัดค้านแบบหัวชนฝา คือ เยอรมนีซึ่งเราพอจะเข้าใจได้เพราะประเทศนี้เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก และรถ ICE รุ่นบุกเบิกก็มาจากประเทศนี้ คริสเตียน ลินด์เนอร์ (Christian Lindner) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมนีบอกว่า รัฐบาลเยอรมนีจะไม่มีทางเห็นด้วยกับแผนการของสหภาพยุโรป และเชื่อว่ามันยังมีตลาด ‘นิช’ (niches) สำหรับรถ ICE ดังนั้นการแบนมันจึงเป็นเรื่องที่ผิด
ท่าทีของรัฐบาลเยอรมนีตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ คือ Mercedes กับ VW Group หลังจากที่สหภาพยุโรปประกาศแผนการในเดือนมิถุนายน ค่ายรถยน์ทั้งสองก็มีปฏิกริยาในทันที โดย VW บอกว่าแผนการนี้ “ทะเยอทะยานแต่ก็บรรลุได้” (ambitious but achievable) ซึ่งเหมือนจะมีน้ำเสียงของความลังเลอยู่นิดๆ
ส่วน Mercedes แสดงความกระตือรือร้นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ตอบรับกับแผนการของสหภาพยุโรปด้วยความเต็มใจ แต่ เอคคาร์ต ฟอน ไคลเดน (Eckart von Klaeden) หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์ของบริษัทยังบอกว่าจะทำสำเร็จก่อนปีเป้าหมายด้วยซ้ำ เขาบอกว่า “ภายในปี 2030 เราพร้อมที่จะเป็น (รถยนต์) ไฟฟ้าเต็มรูปแบบในทุกที่ที่สภาวะตลาดเอื้ออำนวย”
Mercedes มองเห็นอนาตได้ชัดเจน เมื่อหนึ่งปีก่อนที่สหภาพยุโรปจะประกาศแผนการนี้ โอลา แคลเลนิอุส (Ola Källenius) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO) บอกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะ “เริ่มมีราคาสูงขึ้นในไม่ช้า เพราะจะตอบสนองต่อฮาร์ดแวร์และการพัฒนาเพิ่มเติมที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้านการปล่อยมลพิษที่เข้มงวดยิ่งขึ้น”
พูดง่ายๆ ก็คือ รถยนต์ ICE จะมีต้นทุนที่แพงขึ้น เพราะกฎระเบียบป้องกันภาวะโลกร้อนจะเรียกร้องให้มันมีระบบที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ นานวันเข้ามันจะแพงจนไม่คุ้มที่จะผลิตหรือซื้อขาย จากคำพูดของ แคเลนิอุส เราจึงได้ได้ไม่ยากว่าในแง่การลงทุนแล้ว Mercedes จะต้องเบลี่ยนไปมุ่ง EV เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
ความมุ่งมั่นที่จะสลัดตัวจาก ICE มุ่งสู่ EV ของ Mercedes นั้นรุนแรงมาก ต่อไปนี้คือเป้าหมายและแผนการทั้งระยะสั้นและระยะยาวของพวกเขา
แผนการติดตั้งที่ชาร์จ 10,000 จุดยังถูกมองว่าเป็นการถีบตัวเองให้ขึ้นมาอยู่ในสถานะคู่แข่งขันกับ Tesla ที่มีจุดชาร์จถึง 40,000 จุดในขณะนี้ และยิ่งชัดเจนเมื่อ Mercedes หั่นราคารถยนต์ไฟฟ้าในจีนเพื่อไล่ตามทันการลดราคาของ Tesla
และในการติดตั้งที่ชาร์จ Mercedes จะเน้นตลาดจีน สหรัฐ และยุโรปเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดสำคัญ แต่ยังรวม “ตลาดหลักอื่นๆ” (other key markets) ด้วย ซึ่งไม่น่าจะพลาดตลาดรถ EV ในไทยที่เป็นตลาดหลักที่มาแรงมาก และแรงขนาดที่ Mercedes ต้องประเดิมฐานการประกอบ EV แห่งแรกนอกประเทศเยอรมนี ในประเทศไทยนี่เอง
ผ่านมาเกือบ 170 ปีนับตั้งแต่รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) คันแรกของโลก มาวันนี้ Mercedes-Benz ผู้เป็นเจ้าแห่งรถ ICE ระดับพรีเมี่ยมมาโดยตลอด กำลังเผชิญกับการปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการรถยนต์และในวิถีชีวิตของมนุษยชาติ จากความจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน และแนวโน้มที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังจะมาแทนที่รถยนต์ ICE
EV อาจจะเติบโตได้ด้วยตัวมันเองจากกลุ่มผู้นิยมชมชอบรถยนต์รูปแบบใหม่ แต่เพราะสถานการณ์ของโลกที่เสี่ยงที่จะเผชิญกับหายนะจากภาวะโลกร้อน ทำให้ EV ไม่ใช่แค่ทางเลือกในการขับขี่อีกต่อไป แต่กลายเป็นความจำเป็น และในอนาคตทุกคนจะถูกบังคับให้ต้องใช้รถ EV เท่านั้น ส่วน ICE จะกลายเป็นอดีตไปอย่างรวดเร็ว
ลังเลและไม่เชื่อใน Disruption
สำหรับค่ายรถที่ให้กำเนิดรถยนต์ ICE และตัวมันเองยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้เพราะเครื่องยนต์ ICE นี่คือการถูก ‘ขวาง’ (Disruption) ครั้งใหญ่ การถูกขวางครั้งนี้ถ้าปรับตัวให้สมดุลแล้วยืนหยัดให้มั่นคงไม่ได้ ก็จะมีแต่ล้มลงเท่านั้น เหมือนกับธุรกิจหลายๆ สาขาที่ถูกยุคสมัยเข้าขัดขวางรูปแบบดั้งเดิมของมัน แต่ปรับตัวไม่ทันจึงต้องพบกับจุดจบไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2022 สหาพยุโรปประกาศที่จะสั่งห้ามการผลิตรถยนต์ ICE ภายในปี 2035 โดยเริ่มจากการสั่งให้รถที่ผลิตหลังปี 2030 จะต้องมีระบบที่ลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง 50-55% และเมื่อถึงปี 2035 จะต้องลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 100%
ตอนแรก ประเทศที่คัดค้านแบบหัวชนฝา คือ เยอรมนีซึ่งเราพอจะเข้าใจได้เพราะประเทศนี้เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก และรถ ICE รุ่นบุกเบิกก็มาจากประเทศนี้ คริสเตียน ลินด์เนอร์ (Christian Lindner) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมนีบอกว่า รัฐบาลเยอรมนีจะไม่มีทางเห็นด้วยกับแผนการของสหภาพยุโรป และเชื่อว่ามันยังมีตลาด ‘นิช’ (niches) สำหรับรถ ICE ดังนั้นการแบนมันจึงเป็นเรื่องที่ผิด
ท่าทีของรัฐบาลเยอรมนีตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ คือ Mercedes กับ VW Group หลังจากที่สหภาพยุโรปประกาศแผนการในเดือนมิถุนายน ค่ายรถยน์ทั้งสองก็มีปฏิกริยาในทันที โดย VW บอกว่าแผนการนี้ “ทะเยอทะยานแต่ก็บรรลุได้” (ambitious but achievable) ซึ่งเหมือนจะมีน้ำเสียงของความลังเลอยู่นิดๆ
จะไม่ยอมถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
ถึงจะลังเล VW ก็ยังยอมรับว่าความเปลี่ยนแปลงในยานยนต์นั้นเป็นสิ่งที่ “ไม่อาจหวนกลับได้” (irreversible) นั่นหมายความว่าถึงจะลังเล แต่ความเปลี่ยนแปลงมันรุนแรงจนไม่สามารถต้านได้ มีแต่ต้องปรับตัวเท่านั้นส่วน Mercedes แสดงความกระตือรือร้นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ตอบรับกับแผนการของสหภาพยุโรปด้วยความเต็มใจ แต่ เอคคาร์ต ฟอน ไคลเดน (Eckart von Klaeden) หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์ของบริษัทยังบอกว่าจะทำสำเร็จก่อนปีเป้าหมายด้วยซ้ำ เขาบอกว่า “ภายในปี 2030 เราพร้อมที่จะเป็น (รถยนต์) ไฟฟ้าเต็มรูปแบบในทุกที่ที่สภาวะตลาดเอื้ออำนวย”
Mercedes มองเห็นอนาตได้ชัดเจน เมื่อหนึ่งปีก่อนที่สหภาพยุโรปจะประกาศแผนการนี้ โอลา แคลเลนิอุส (Ola Källenius) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO) บอกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะ “เริ่มมีราคาสูงขึ้นในไม่ช้า เพราะจะตอบสนองต่อฮาร์ดแวร์และการพัฒนาเพิ่มเติมที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้านการปล่อยมลพิษที่เข้มงวดยิ่งขึ้น”
พูดง่ายๆ ก็คือ รถยนต์ ICE จะมีต้นทุนที่แพงขึ้น เพราะกฎระเบียบป้องกันภาวะโลกร้อนจะเรียกร้องให้มันมีระบบที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ นานวันเข้ามันจะแพงจนไม่คุ้มที่จะผลิตหรือซื้อขาย จากคำพูดของ แคเลนิอุส เราจึงได้ได้ไม่ยากว่าในแง่การลงทุนแล้ว Mercedes จะต้องเบลี่ยนไปมุ่ง EV เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
ไม่ใช่แค่ปรับตัวแต่ต้องเป็นผู้นำ
Mercedes บอกว่า “ในปัจจุบัน เราได้ยินมาอย่างต่อเนื่องว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมันยังคงยึดติดกับสภาพที่เป็นอยู่ แทนที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า แต่ความเป็นจริงที่ Daimler (ชื่อเดิมของบริษัท Mercedes-Benz) นั้นแตกต่างออกไปมาก”ความมุ่งมั่นที่จะสลัดตัวจาก ICE มุ่งสู่ EV ของ Mercedes นั้นรุนแรงมาก ต่อไปนี้คือเป้าหมายและแผนการทั้งระยะสั้นและระยะยาวของพวกเขา
- บริษัทคาดว่าจะมีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบถึง 25% ภายในปี 2025 ซึ่งหมาหมายความว่า 75% ของรถที่ผลิตจะยังคงขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาป แต่ก็จะมีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเหมาะสมไปพร้อมๆ กัน
- ภายในปี 2030 บริษัทจะพยายามบรรลุยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีระบบปลั๊กอินไฮบริดหรือรถนนต์ไฟฟ้าทั้งคันมากกว่า 50%
- ภายในปี 2030 บริษัทจะวางเครือข่ายที่ชาร์จรถไฟฟ้าทั่วโลก 10,000 จุด
- บริษัทยังลงทุน 1,000 ล้านยูโรในการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลก ซึ่งตามแผนการแล้วจะสามารถแบตเตอรี่ 1 ล้านก้อนได้ต่อปี
- จะลงทุนมากกว่า 40,000 ล้านยูโร ภายในปี 2030 เพื่อแข่งขันกับ Tesla ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการสร้างโรงงานแบตเตอรี่ 8 แห่ง
- ในอีก 20 ปีข้างหน้า กล่าวคือ ภายในปี 2039 เป้าหมายของพวกเขาคือปล่อยกองทัพรถรุ่นใหม่ที่ไร้การปล่อยคาร์บอนอย่างสมบูรณ์
- ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นฐานการประกอบรถรุ่น EQS 500 รถยนต์ไฟฟ้าเต็มตัวของ Mercedes และไทยจะเป็นฐานผลิตนอกเยอรมนีแห่งแรก
ความฝันที่จะโค่น Tesla
จากแผนการเหล่านี้คงพอจะเห็นแล้วว่า Mercedes ไม่ยอมยึดติดอยู่ความเป็นผู้ให้กำเนิดรถยนต์ ICE และการยึดติดใน “สภาพที่เป็นอยู่” แบบเดิมๆ ของค่ายรถยนต์เยอรมัน มาเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าของพวกเขา ในบรรดาแผนการเหล่านี้แผนการติดตั้งที่ชาร์จ 10,000 จุดยังถูกมองว่าเป็นการถีบตัวเองให้ขึ้นมาอยู่ในสถานะคู่แข่งขันกับ Tesla ที่มีจุดชาร์จถึง 40,000 จุดในขณะนี้ และยิ่งชัดเจนเมื่อ Mercedes หั่นราคารถยนต์ไฟฟ้าในจีนเพื่อไล่ตามทันการลดราคาของ Tesla
และในการติดตั้งที่ชาร์จ Mercedes จะเน้นตลาดจีน สหรัฐ และยุโรปเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดสำคัญ แต่ยังรวม “ตลาดหลักอื่นๆ” (other key markets) ด้วย ซึ่งไม่น่าจะพลาดตลาดรถ EV ในไทยที่เป็นตลาดหลักที่มาแรงมาก และแรงขนาดที่ Mercedes ต้องประเดิมฐานการประกอบ EV แห่งแรกนอกประเทศเยอรมนี ในประเทศไทยนี่เอง