รู้เท่าทัน 6 กลอุบาย มิจฉาชีพ ลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากโจรไซเบอร์
ธนธัส กังรวมบุตร สารวัตรกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บรรยายในหัวข้อ ‘From Clik to Cons หมดตัวแค่คลิก’ ในงาน Financial Creator Bootcamp โดย ธปท. และ Digital Tips จัดขึ้น ถึงรูปแบบการหลอกลวงของมิจฉาชีพ ว่า ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบและซ้บซ้อนมาขึ้นเรื่อยๆ
ทีมข่าว SPACEBAR สรุป '6 รูปแบบการหลอกลวง' ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกลวงผู้เสียหาย มีดังต่อไปนี้
1.หลอกให้รัก หรือ กลุ่ม Romance scams มิจฉาชีพจะออกอุบาย สร้างโปรไฟล์เป็นหนุ่มชาวต่างชาติ หน้าตาดี มีฐานะ ส่งของมาให้ที่ประเทศไทย แต่ติดปัญหาอยู่ที่สนามบิน หลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินค่าภาษี โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ สาวโสด อายุ 35-40 ปี มีปัญหาครอบครัว
2.หลอกลงทุนทองคำ เล่นแชร์ เทรดหุ้น-คริปโทฯ มิจฉาชีพจะออกอุบาย ชวนลงทุน โดยมีการสร้างแอปพลิเคชั่นปลอมขึ้นมา ตกแต่งตัวเลขให้เห็นว่ามีกำไรจากการลงทุนจริง โดยเริ่มจากลงทุนหลักพัน และยอมให้ผู้เสียหายกดเงินออกมาได้จริงในช่วงแรก ผลแทนมากกว่า 10 % ทำให้ผู้เสียหายลงเชื่อ จนมีคนตกเป็นเหยี่อ มีบางรายถูกหลอกสูญเงินถึง 175 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุ มีเงินเก็บ เกษียณอายุ และนักลงทุน
3.หลอกให้ทำงาน ทำอาชีพเสริม แพ็คสินค้า หลอกทำภารกิจ เพื่อรับค่าคอมมิชชั่น โดย มีกลุ่มเป้าหมาย คือ วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการรายได้พิเศษ
4.ส่ง Sms มาปล่อยเงินกู้ รูปแบบการหลอกลวง คือ มิจฉาชีพหลอกโอนค่าดำเนินการ เพื่อแลกกับการได้เงินกู้ กลุ่มเป้าหมาย คือ คนที่มีปัญหาเรื่องเงิน ต้องการใช้เงิน
และอีกรูปแบบที่น่ากังวลมากกว่า คือ มิจฉาชีพส่งลิงค์มาให้โหลดแอปฯกู้เงิน ซึ่งแอปฯปลอมพวกนี้ จะเป็นมัลแวร์ หรือ ไวรัส ทำให้โทรศัพท์ถูกแฮ็ก โทรศัพท์มือถือ แอปฯโมบายแบงก์กิ้งจะถูกควบคุมผ่านระบบรีโมท มิจฉาชีพจะโอนเงินไปบัญชีม้า โอนถ่ายเงินไปยังต่างประเทศ และยากต่อการจับกุม
5.หลอกเป็นหน่วยงานรัฐ ช่วยอำนวยความสะดวก โดย มิจฉาชีพจะมีการมอนิเตอร์ว่าตามปฏิทินประจำปี ว่าช่วงไหนเป็นวงรอบของการเก็บภาษีประจำปี ภาษีที่ดิน หรือ แม้กระทั่ง การชำระค่าน้ำ ค่าไฟ โดยอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วนงานนั้นๆ เพื่อช่วงอำนวยความสะดวก สุดท้าย ผู้เสียหายจะถูกหลอกให้กดลิ้งค์ และถูกดูดเงิน
6.หลอกให้โอนเงินไปตรวจสอบ เพื่อความบริสุทธิ์ใจ โดยมิจฉาชีพ จะโทรศัพท์มาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่า “ชื่อ ของคุณถูกนำไปใช้ในการส่งสินค้าผิดกฎหมาย” จำเป็นต้องโอนเงินในบัญชีมาตรวจสอบ ให้สันนิษฐานว่า กำลังถูกมิจฉาชีพหลอก
วิธีการป้องกัน คือ รับสาย ถามชื่อ ยศ ตำแหน่ง พร้อมเบอร์ติดต่อกลับและวางวสาย ห้ามแอดไลน์ หรือกดลิ้งค์ที่คนร้ายส่งมาเด็ดขาด

ธนธัส กังรวมบุตร สารวัตรกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ สอท. เปิดเผยว่า รูปแบบการหลอกลวงของมิชฉาชีพ ซับซ้อนขึ้น ตามเทคโนโลยี มีการใช้ Big-data ในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างตัวตน สร้างสตอรี่
แต่อย่างไรก็ตาม การหลอกลวงด้วยวิธีเดิมๆ อย่าง Romance scams หรือ อ้างเจ้าหน้าที่รัฐ ขออายัดเงินเพื่อตรวจสอบ ก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่ออยู่ จึงอยากให้ประชาชนตระหนักในภัยจากโจรไซเบอร์ เพราะเมื่อตกเป็นเหยื่อมีโอกาสที่จะได้เงินคืนยาก และสาวไม่ถึงต้นตอ เพราะส่วนใหญ่ศูนย์กลางเครือข่ายผู้กระทำผิด จะมีศูนย์บัญชาการในประเทศเพื่อนบ้าน
สุดท้ายเรื่องพวกนี้ คือ การพลิกแพลง โจรโซเบอร์ จะพัฒนาไปตามเทคโนโลยี ยิ่งในอนาคต มีเรื่อง AI เข้ามาอีก มีลูกเล่นการเลียนแบบเสียง การตัดสินคดี ก็จะมีความยากมากยิ่งขึ้น
ธนธัส กังรวมบุตร สารวัตรกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ สอท.
นอกจากนี้ ตามสถิติของ สอท. ยังพบว่า คดีที่ถูกแจ้งหาฉ้อโกงเป็นอันดันต้นๆจากมิจฉาชีพ คือ การหลอกโอนเงินสินค้าออนไลน์ แล้วไม่ยอมส่งสินค้าให้
สำหรับ ใครที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือ สงสัยว่ากำลังตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหรือไม่ สามารถโทรศัพท์ 1441 สายด่วน บช.สอท. ได้ 24 ชม. หรือสามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่ https://thaipoliceonline.com/