สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ทำหนังสือเชิญประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 โดยมีวาระการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องคัดค้าน ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ในการร่วมประชุมกรรมการในวาระที่เกี่ยวกับทรูคอร์ป
ก่อนหน้านี้ก็มีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านกฏหมาย เพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อกฏหมายใน การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม รวมตลอดถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและ เสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ กสทช.หรือตามที่ กสทช. มอบหมาย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 ประธาน กสทช.ได้ ตั้งอนุกรรมการ ที่ปรึกษากฎหมาย ประกอบด้วย
- ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุลประธานอนุกรรมการ
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อนุกรรมการ
- ศาสตราจารย์พิเศษ เข็มชัย ชุติวงศ์อนุกรรมการ
- ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์อนุกรรมการ
- ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์อนุกรรมการ
- ศาสตราจารย์ ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์อนุกรรมการ
- พลเอก เชิดชัย อังศุสิงห์อนุกรรมการ
- พลตำรวจตรี ปิยะวัฒน์ บุญยืนอนนต์อนุกรรมการ
- พันตำรวจเอก ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ อนุกรรมการ
- นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศาอนุกรรมการ
- นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนาอนุกรรมการ
- นายวีรพล ปานะบุตรอนุกรรมการ
- นายเพิ่มสิน วิชิตนาคอนุกรรมการ
- นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์อนุกรรมการ
- นายสมบัติ ลีลาพตะเลขานุการ
- นางสาวพรพักตร์ สถิตเวโรจน์ผู้ช่วยเลขานุการ
- นางสาวสมพร อมรชัยนพคุณผู้ช่วยเลขานุการ
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาจำคุก 2 ปีพิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกบนแพลตฟอร์ม True ID การประชุมกรรมการหลายครั้งที่มีการพิจารณาถึงวาระที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัททรู ประธาน นพ. สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ จะถามความเห็น ดร.พิรงรอง ว่าจะร่วมด้วยหรือไม่ โดยดร.พิรงรอง ได้ยืนยันว่าจะร่วมพิจารณา โดยเห็นว่าแม้จะเป็นเรื่องของบริษัทคู่ความแต่เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคดีความ
หลายครั้งประธานมีความเห็นว่าหาก ดร.พิรงรอง ยังร่วมพิจารณาด้วยอาจมีผลกับการทำหน้าที่ของกรรมการ แต่เมื่อดร.พิรงรองยืนยันว่าการทำหน้าที่ไม่มีผลกับคดีจึงให้พิจารณาต่อไป จนทำให้ทุกครั้งที่มีการประชุม จะต้องมีการเริ่มด้วยเรื่องกรรมการ กสทช.พิรงรอง เข้าร่วมพิจารณาด้วยหรือไม่ทุกครั้ง กรณีดังกล่าวน่าจะเป็นที่มาของการสอบถามอนุกรรมการฯ เพื่อวินิจฉัยให้ความชัดเจน