ในการฟ้องร้องของทรู ได้นิยามทรูไอดี เป็น OTT (Over-The-Top) และกสทช.ไม่มีอำนาจกำกับดูแล หรือควบคุม เหมือนกับช่องโทรทัศน์ หรือ IPTV
ตามกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. การกำกับดูแลบริการ OTT และ IPTV มีรายละเอียดดังนี้
ความหมายและลักษณะการให้บริการ
OTT (Over-The-Top) เป็นบริการสื่อหรือเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ควบคุมเครือข่ายการส่งสัญญาณ เช่น YouTube, Netflix, LINE TV โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์ใดก็ได้ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้โครงข่ายเฉพาะ ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม และไม่มีระบบจัดการคุณภาพบริการ (QoS) คุณภาพสัญญาณขึ้นอยู่กับความเร็วอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้
IPTV (Internet Protocol Television) เป็นบริการโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต แบบควบคุมเครือข่าย ส่วนใหญ่บริการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคมหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาต ใช้โครงข่ายอินเตอร์เน็ตแบบจัดการเฉพาะ (Managed Network) เพื่อรับประกันคุณภาพสัญญาณ
อาจต้องใช้กล่องรับสัญญาณ (Set-Top Box) และสมัครสมาชิก
การกำกับดูแลตามกฎหมาย กสทช.
OTT
ไม่ถูกจัดเป็นบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์‘ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553’
จัดอยู่ในประเภท ‘บริการเนื้อหาออนไลน์’ จึงอยู่ภายใต้กฎหมายทั่วไป เช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ หรือกฎหมายลิขสิทธิ์ ไม่ต้องขออนุญาตจาก กสทช. แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหา (เช่น เนื้อหาต้องไม่ผิดศีลธรรมหรือละเมิดลิขสิทธิ์)
IPTV
ถูกจัดเป็นบริการโทรทัศน์ ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ผู้ให้บริการต้อง ขอใบอนุญาตจาก กสทช. (ประเภทบริการโทรทัศน์หรือบริการสื่อสาร) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขด้านเทคนิค การจัดการเนื้อหา และอาจมีข้อกำหนดให้ส่งสัญญาณช่องรายการบังคับ (Must-Carry)
ตามกฎหมาย กสทช. OTT และ IPTV แตกต่างกันในเชิงการกำกับดูแล เนื่องจาก IPTV ถือเป็นบริการโทรทัศน์ที่ต้องขออนุญาต ในขณะที่ OTT เป็นบริการเนื้อหาออนไลน์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายทั่วไป แต่ทั้งคู่มีจุดร่วมในการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและข้อกำหนดด้านเนื้อหา
ก่อนหน้านี้มีผลการสำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 7-10 เมษายน 2567
ผลการสำรวจมีหัวข้อที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิกคิดว่า ไม่ควรมีโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 73.8 และ 25.6% เคยพบโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก
เหตุผลที่ใช้บริการแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก
- อันดับที่หนึ่งคือ ต้องการรับชมเนื้อหาที่สนใจ ร้อยละ 72.2
- อันดับที่สอง คือไม่ต้องการรับชมโฆษณาร้อยละ 19.4
- อันดับที่สามคือ ต้องการติดตามดาราที่ชื่นชอบ ร้อยละ 6.8