กนง. คาดท่องเที่ยว-ส่งออกช่วยหนุน ดันจีดีพีปีนี้โต 2.9%

2 ม.ค. 2568 - 10:05

  • เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นจากแนวนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

  • เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น

  • ประเมินจีดีพีปีนี้โต 2.9% จากปีก่อนที่ 2.7%

economic-business-thai-tourism-consumption-gdp-bot-SPACEBAR-Hero.jpg

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 6/2567 วันที่ 13 ธันวาคม และ 18 ธันวาคม 2567 โดยมีกรรมการที่เข้าร่วมประชุม คือ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ประธาน) นายปิติ ดิษยทัต (รองประธาน) นางอลิศรา มหาสันทนะ นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายรพี สุจริตกุล นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส และนายสันติธาร เสถียรไทย 

ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงินโลก

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 และ 2.7 ในปี 2567 และ2568 ตามลําดับ โดยเผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้นจากแนวนโยบายเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลัก เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวดีโดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการบริโภคสินค้าและบริการ รวมถึงมีแรงส่งต่อเนื่องไปยังปี 2568 ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวต่ำ ด้านเศรษฐกิจจีนยังขยายตัวได้จากการส่งออกสินค้า รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ เอเชียที่ขยายตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้า โดยยังได้รับผลดีจากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นจากแนวนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาทิ นโยบายด้านภาษีและนโยบายการตั้งกําแพงภาษีนําเข้า รวมทั้งการตอบโต้ทางการค้าของแต่ละประเทศ ซึ่งจะ ส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกผ่านการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ต้องติดตามความเสี่ยง ด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่อาจขยายวงกว้างขึ้น 

ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตลาดการเงินสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดการเงิน ภูมิภาค ราคาสินทรัพย์เสี่ยงของสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ความกังวลต่อ แนวนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ สร้างแรงกดดันต่อราคา สินทรัพย์และเงินทุนเคลื่อนย้ายในกลุ่มประเทศภูมิภาค โดยเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกในเกือบทุกประเทศทั้ง ในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น และค่าเงินสกุลภูมิภาคปรับอ่อนค่า ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบ ดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่านําสกุลเงินภูมิภาคจากความเชื่อมโยงทางการค้ากับจีนที่อยู่ในระดับสูง และ การเคลื่อนไหวของราคาทองคําที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทในบางจังหวะ 

ภาวะเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น แต่ยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงสนับสนุนสําคัญจาก (1) ภาคการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามจํานวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายต่อหัวที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจํานวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ ที่ 36 ล้านคน และ 39.5 ล้านคน ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ (2) การบริโภคภาคเอกชนที่แม้ชะลอลง แต่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง และ (3) การส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องจักรที่มีแนวโน้ม

ปรับดีขึ้นตามวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ในปี 2568 สอดคล้องกับมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 

อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วนมากขึ้น โดยกลุ่มที่ฟื้นตัวดี ในช่วงที่ผ่านมามีพัฒนาการปรับดีขึ้น ได้แก่ (1) ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวขยายตัวได้ต่อเนื่อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และร้านค้า และ (2) กลุ่มสินค้าส่งออกที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากวัฏจักรสินค้าหมวด อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กลุ่มฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ได้รับประโยชน์จากธุรกิจ data center และกลุ่มอุปกรณ์ transformer ที่เป็นส่วนประกอบที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า(EV)ตามสัดส่วนการใช้งานที่มากขึ้นขณะที่กลุ่มธุรกิจ ที่ฟื้นตัวช้าบางกลุ่มมีพัฒนาการแย่ลงโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ที่ยังหดตัวต่อเนื่องโดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 การผลิตรถยนต์ปรับลดลง 19% เทียบปีก่อนหน้า ซึ่งสาเหตุของการหดตัวใน ภาคยานยนต์มาจากทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างและปัจจัยเชิงวัฏจักร เช่น การปรับเปลี่ยนไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า ราคา รถยนต์มือสองที่ปรับลดลงมากจนทําให้ผู้บริโภคที่ต้องการขายรถเก่าเพื่อใช้เป็นเงินดาวน์ชะลอการซื้อ ประกอบกับสถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อจากความเสี่ยงในการปล่อยกู้ ที่สูงขึ้นโดยเฉพาะความเสี่ยงจากขาดทุนจากมูลค่าหลักประกันที่ลดลง 

ในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น โดยนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังมีความ ไม่แน่นอนทั้งในมิติรูปแบบและความเข้มของนโยบาย ระยะเวลาการเริ่มบังคับใช้ และมาตรการตอบโต้ของ ประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้ ในระยะสั้น การส่งออกสินค้าไทยอาจเร่งขึ้นก่อนที่นโยบายจะมีผลบังคับใช้ สําหรับในระยะปานกลาง ผลกระทบต่อการส่งออกและการลงทุนของไทยมีความไม่แน่นอนขึ้นกับความเป็นไปได้ของ การย้ายฐานการผลิต และความสามารถในการแข่งขันกับจีนทั้งตลาดในประเทศและตลาดภูมิภาค นอกจากนี้ ภาคการส่งออกสินค้าอาจเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้น้อยลงกว่าในอดีตเนื่องจากสินค้าส่งออกบางกลุ่ม มีมูลค่าเพิ่ม (value added) ลดลง เช่น โลหะ ยางและพลาสติก และปิโตรเลียม รวมถึงการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการส่งออกจากสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น รถยนต์สันดาป ซึ่งมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบและความ เชื่อมโยงต่ออุตสาหกรรมในประเทศสูง ไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ํากว่า เช่น สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และ หมวดเครื่องจักร ซึ่งมีการนําเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อผลิตในสัดส่วนที่มากกว่า 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.4 และ 1.1 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำตามราคน้ำมันดิบในตลาดโลก ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ ที่ร้อยละ 0.6 และ 1.0 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและ การส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหาร ในระยะข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ใกล้เคียงขอบล่างของ กรอบเป้าหมาย ซึ่งสะท้อนปัจจัยด้านอุปทานรวมทั้งมาตรการภาครัฐเป็นสําคัญ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ คาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำไม่ได้เป็น อุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและยังช่วยให้ระดับราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาไม่ปรับ เพิ่มขึ้นมาก จึงมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพโดยเฉพาะของกลุ่มครัวเรือนที่รายได้ฟื้นตัวช้า

สินเชื่อชะลอลงในช่วงที่ผ่านมาจากความต้องการลงทุนในบางสาขาธุรกิจที่ลดลง การชําระคืนหนี้ที่กู้ยืมไป ในช่วงวิกฤตโควิด-19 และความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง อาทิ สินเชื่อของธุรกิจในภาคบริการ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากความต้องการสินเชื่อลดลงตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น และธุรกิจ บางส่วนชําระคืนหนี้ที่เร่งกู้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ต่อเนื่อง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคบริการดังกล่าว ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวได้สูงและมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสําคัญของเศรษฐกิจไทย ในปี 2568 (คิดเป็นร้อยละ 1.9 จากประมาณการเศรษฐกิจในปี 2568 ที่ร้อยละ 2.9) ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEsและธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น หดตัวส่วนหนึ่งตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ ในระดับสูง โดยต้องติดตามผลกระทบของสินเชื่อที่ลดลงต่อการดําเนินธุรกิจในภาคส่วนดังกล่าว รวมถึง ผลกระทบที่อาจมีต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจโดยรวม ด้านสินเชื่อรายย่อยชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อรายย่อย ปรับด้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ฟื้นตัวช้าและภาระหนี้สูง

ประเด็นสําคัญที่คณะกรรมการฯ อภิปราย

  • คณะกรรมการฯ มีความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่แตกต่างกันมากขึ้น แม้ภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวตามที่ประเมินไว้ โดยการท่องเที่ยวและการบริการ มีแนวโน้มขยายตัวดีสอดคล้องกับความต้องการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียที่ยังเพิ่มขึ้น รวมทั้ง การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และหมวดเครื่องจักร แต่การผลิต และการส่งออกสินค้าบางหมวดยังเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง โดย (1) ธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน มีพัฒนาการแย่ลงจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น ราคารถมือหนึ่งที่ลดลงมีส่วนกดดัน ให้ราคารถมือสองลดลงด้วย ส่งผลต่อเนื่องให้สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อจาก ความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นจากมูลค่าหลักประกันที่ลดลง ยอดขายรถยนต์ในประเทศจึงชะลอลง แรง และส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (2) การส่งออกสินค้าไทยได้รับผลกระทบจาก การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากจีน เช่น เคมีภัณฑ์ โลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า จึงต้องติดตามพัฒนาการ ของอุตสาหกรรมดังกล่าว รวมทั้งผลกระทบที่อาจมีต่อเนื่องไปยังภาคการผลิต ตลาดแรงงาน และนัย ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
  • คณะกรรมการฯ เห็นว่าแม้การขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจปรับลดลงแต่เศรษฐกิจโดยรวมยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ เนื่องจากธุรกิจในภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อน หลักของเศรษฐกิจในปี 2568 มีการใช้สินเชื่อลดลง ตามความต้องการลงทุนที่ชะลอลงและการชําระ คืนหนี้ตามรายได้ที่ปรับดีขึ้น อย่างไรก็ดี ต้องติดตามคุณภาพและแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อ ธุรกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงนัยต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และธุรกิจใน ภาคอุตสาหกรรมที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น รายได้ที่ฟื้นตัวช้าและความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มข้างต้น จึงต้องติดตามผลกระทบของ แนวโน้มสินเชื่อต่อการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงผลกระทบที่อาจมีต่อเนื่องไปยัง ภาวะการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม 
  • คณะกรรมการฯ เห็นว่ากระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (household debt deleveraging) ควรดําเนินต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน ในระยะยาว แต่ต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อของกลุ่มเปราะบางที่ปรับด้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เนื่องจากที่อยู่อาศัยและรถยนต์เป็นทรัพย์สินที่มีความจําเป็นใน การดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพ รวมทั้งทรัพย์สินดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นหลักประกันใน การกู้ยืม จึงมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและระบบการเงิน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตาม ผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อต่อเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งผลของมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” ของ ภาครัฐที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ให้กับกลุ่มเปราะบาง
  • คณะกรรมการฯเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นในระยะข้างหน้าโดยนโยบาย เศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ทั้งนโยบายภาษีและนโยบายการตั้งกําแพงภาษีนําเข้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่ แน่นอนสูงทั้งในมิติของความเข้มของนโยบายและเวลาการเริ่มบังคับใช้ เนื่องจากอาจติดข้อจํากัด ในทางปฏิบัติรวมถึงการเจรจาต่อรองกับประเทศคู่ค้า จึงยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะประเมินผล กระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ดังนั้น การดําเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมจึงควรรักษา ขีดความสามารถของนโยบายเพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (robust policy) และพิจารณาผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบายให้เหมาะสมกับพัฒนาการที่เกิดขึ้น

การดําเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี

คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยเผชิญความท้าทาย จากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น แต่ยังสามารถขยายตัวที่ ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.4 และ 1.1 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบ เป้าหมาย ในช่วงที่ผ่านมา สินเชื่อชะลอลงจากหลายปัจจัย ทั้งความต้องการลงทุนในบางสาขาธุรกิจที่ลดลง การชําระคืนหนี้ที่กู้ยืมไปในช่วงวิกฤตโควิด-19 และความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง โดยเศรษฐกิจในภาพรวมยังขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ แม้สินเชื่อมีแนวโน้มชะลอลงบ้าง 

คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยควรอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลาง (broadly neutral stance) สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับศักยภาพ เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (policy space) มีความจําเป็นเพิ่มขึ้นภายใต้ ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น โดยนโยบายเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักยังมีความไม่แน่นอนสูง จึงยังไม่มี ความชัดเจนเพียงพอที่จะประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ นโยบายการเงินจะมีประสิทธิผล ลดลงภายใต้ภาวะที่ความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากธุรกิจอาจชะลอการจ้างงานหรือการลงทุน ดังนั้น การรักษา ขีดความสามารถของนโยบายการเงินเพื่อตอบสนองในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงมีความจําเป็นเพื่อให้นโยบาย การเงินเกิดประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโต อย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ปรับสูงขึ้น จึงจะติดตามพัฒนาการของแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินและพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมต่อไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์