กลายเป็นเรื่องราวที่ต้องระวังในตอนนี้ เมื่อมิจฉาชีพทำแอปพลิเคชันลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท เพื่อหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ และหวังจะนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาไปใช้ให้ในทางมิชอบ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หากดาวน์โหลดจะทำให้มิจฉาชีพใช้เป็นเครื่องมือขโมยเงินและข้อมูลของเราได้
ล่าสุดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้ทำการตรวจสอบแอปพลิเคชัน ดังกล่าวแล้ว พบว่า เป็นแอปพลิเคชันปลอมที่มิจฉาชีพหลอกให้ประชาชนเข้าไปโหลดแอปพลิเคชัน จากนั้นจะใช้แอปพลิเคชัน ที่สามารถเข้าถึงมือถือจากภายนอกเข้ามาขโมยถอนเงินจากบัญชีของท่าน ซึ่งขณะนี้กระทรวงดิจิทัลฯ ได้แจ้ง google ให้ปิดกั้นแอป ดังกล่าว โดยจะติดตามตรวจสอบต่อไป พร้อมกับขอให้ประชาชนงดเว้น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Digital wallet ทุกกรณี
ล่าสุดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้ทำการตรวจสอบแอปพลิเคชัน ดังกล่าวแล้ว พบว่า เป็นแอปพลิเคชันปลอมที่มิจฉาชีพหลอกให้ประชาชนเข้าไปโหลดแอปพลิเคชัน จากนั้นจะใช้แอปพลิเคชัน ที่สามารถเข้าถึงมือถือจากภายนอกเข้ามาขโมยถอนเงินจากบัญชีของท่าน ซึ่งขณะนี้กระทรวงดิจิทัลฯ ได้แจ้ง google ให้ปิดกั้นแอป ดังกล่าว โดยจะติดตามตรวจสอบต่อไป พร้อมกับขอให้ประชาชนงดเว้น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Digital wallet ทุกกรณี

ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า ตรวจสอบพบผู้เสียหายหลายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแจ้งว่า “คุณได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่” พร้อมกับแนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ ใช้ชื่อบัญชีไลน์ว่า Thaid online ซึ่งเป็นชื่อระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกรมการปกครอง โดยได้มีการแจ้งเตือนประชาสัมพันธ์แล้วเมื่อ 23 ก.ค. 66 ที่ผ่านมา

เมื่อผู้เสียหายติดต่อไปยังไลน์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกลวงสอบถามข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลหรือไม่ จากนั้นจะให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ‘ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000’ ผ่าน Play Store เมื่อทำการติดตั้งเสร็จสิ้น จะหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำตามขั้นตอนต่างๆ เริ่มจาก
โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว มิจฉาชีพจะปรับเปลี่ยนหมุนเวียนชื่อหน่วยงานไปตามวันเวลา สถานการณ์ในช่วงนั้นๆ สร้างเรื่องมาหลอกลวงประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของรัฐ การหลอกให้อัปเดตข้อมูล หรือหลอกลวงอย่างไรให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้างนั้นๆ ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ กรณีและยังคงมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็น
- ให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน อาชีพ และรายได้ เพื่อตรวจสอบสิทธิ
- ให้ทำการตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ หรือการให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งานอยู่ หลอกลวงให้กรอกรหัส PIN 6 หลัก ที่ผู้เสียหายใช้งานอยู่เป็นประจำ รวมไปถึงหลอกลวงให้ทำการสแกนใบหน้า หรือหลอกลวงให้โอนเงินค่าธรรมเนียมในจำนวนเล็กน้อยเพื่อนำรหัสการทำธุรกรรมธนาคารของผู้เสียหายไปใช้แล้วเข้าควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหายเพื่อโอนเงินออกจากบัญชี
โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว มิจฉาชีพจะปรับเปลี่ยนหมุนเวียนชื่อหน่วยงานไปตามวันเวลา สถานการณ์ในช่วงนั้นๆ สร้างเรื่องมาหลอกลวงประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของรัฐ การหลอกให้อัปเดตข้อมูล หรือหลอกลวงอย่างไรให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้างนั้นๆ ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ กรณีและยังคงมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็น
- Flash Express แอปพลิเคชัน บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด แจ้งผู้เสียหายว่า พัสดุของท่านเสียหายสามารถขอยื่นเคลมค่าเสียหายได้
- PEA Smart Plus แอปพลิเคชันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินค่าชดเชยหม้อแปลงไฟฟ้า หรือคำนวณเงินค่า FT ผิดพลาด หรือจะได้รับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า SmartLands แอปพลิเคชันกรมที่ดิน แจ้งผู้เสียหายว่าให้ทำการอัปเดตข้อมูลสถานะที่ดิน หรือให้ยืนยันการไม่ต้องชำระภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน สำรวจประเภทการใช้งานที่ดิน หรือชำระภาษีที่ดินไว้เกินจะคืนให้ หรือยังไม่ได้ชำระภาษี
- Digital PENSION แอปพลิเคชันกรมบัญชีกลาง แจ้งผู้เสียหายเพื่อทำเรื่องค่ารักษาพยาบาล ทำเรื่องเงินบำเหน็จบำนาญ
- SSO Connect แอปพลิเคชันสำนักงานประกันสังคม แจ้งผู้เสียหายให้อัปเดตข้อมูล หรือให้ชำระค่าประกันสังคม หรือจะโอนเงินค่าประกันโควิคให้ เป็นต้น โดยมักจะอาศัยความไม่รู้ และความโลภ ของประชาชนเป็นเครื่องมือในการหลอกลวง
- ไม่กดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือที่ส่งมาทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แนบมาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ ให้เงินรางวัล หรือโปรโมชันต่างๆ หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว เป็นต้น
- ไม่กดลิงก์ หรือกดปุ่มผ่านเว็บไซต์เพื่อติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ เพราะอาจเป็นเว็บไซต์ปลอมที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ
- หากได้รับโทรศัพท์จากหมายเลขที่ไม่คุ้นเคย และมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ให้ขอชื่อนามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่ โดยให้แจ้งว่าจะติดต่อกลับไปภายหลัง
- ตรวจก่อนว่ามาจากหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ โดยการโทรศัพท์ไปสอบถามผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้น โดยตรง รวมถึงตรวจสอบว่ามีการประกาศแจ้งเตือนการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่
- ระวังการให้เพิ่มเพื่อนทางไลน์ปลอม โดย LINE Official Account จริงที่ผ่านการรับรองจะมีสัญลักษณ์โล่สีเขียว หรือโล่สีน้ำเงิน หากเป็นโล่สีเทาหรือไม่มีจะเป็นบัญชีทั่วไปยังไม่ได้ผ่านการรับรอง ต้องตรวจสอบยืนยันให้ดีเสียก่อน
- การติดตั้งแอปพลิเคชันผ่าน App Store หรือ Play Store จะมีความปลอดภัยมากกว่า แต่จะต้องตรวจสอบว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นของหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ ป้องกันการสร้างแอปพลิเคชันปลอมขึ้น
- หากแอปพลิเคชันใดๆ ก็ตามมีการขออนุญาตให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก หรือไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .Apk หรือขอสิทธิการเข้าถึงอุปกรณ์ และควบคุมอุปกรณ์ เชื่อได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันของมิจฉาชีพแน่นอน
- ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใดๆ ลงในลิงก์ หรือแอปพลิเคชันในลักษณะดังกล่าวโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัสผ่าน 6 หลัก ที่ซ้ำกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ รวมถึงไม่โอนเงินไปยังบัญชีต่างๆ ตามคำบอกของผู้ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ เพราะเสี่ยงถูกนำรหัสการทำธุรกรรมธนาคารไปใช้
- หากติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมแล้ว ให้รีบทำการ Force Reset หรือการบังคับให้อุปกรณ์นั้นรีสตาร์ต (ส่วนใหญ่เป็นการกดปุ่ม Power พร้อมปุ่มปรับเสียงค้างไว้) ในกรณีเกิดอาการค้างไม่ตอบสนอง หรือเปิดโหมดเครื่องบิน (Airplane Mode) หรือปิดเครื่องเพื่อตัดสัญญาณไม่ให้โทรศัพท์สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ถอดซิมการ์ดโทรศัพท์ออก หรือทำการปิด Wi-fi Router
- อัปเดตระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ให้เป็นปัจจุบัน
- หมั่นติดตามข่าวสารของทางการอยู่เสมอ