เมื่อ ‘ทองคำ’ เป็นขาขึ้น! โอกาสทะยานถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์

22 ต.ค. 2567 - 07:40

  • ทองแพงขึ้น จากความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์ – ความพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ

  • ล่าสุด แม้วันนี้จะขึ้นไม่หวือหวาเท่าเมื่อวาน แต่นักวิเคราะห์ส่งสัญญาณ ‘ทอง เป็นขาขึ้น’

  • ชี้ โอกาสทะยานถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์

gold-price-economy-usa-war-opportunity-3000-dollars-per-ounce-SPACEBAR-Hero.jpg

‘ทองคำ’ เป็นได้ทั้ง “สินทรัพย์เสี่ยงที่มีความผันผวนสูง และสินทรัพย์ปลอดภัย” เพราะในช่วงที่เกิดวิกฤติ ทองคำจะมีเสน่ห์ล้ำเหลือ โดยสามารถสร้างโอกาสทำกำไรได้มาก เช่นเมื่อวานนี้ (21 ตุลาคม 2567) เปิดพุ่งทันที 200 บาท และตลอดทั้งวัน ราคาขึ้นรวมแล้วถึง 700 บาทต่อบาททองคำ โดยหากเช็กปัจจัยความเป็นมาเป็นไป ก็จะพบว่า มาจาก 2 ประเด็น คือ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ลงทุนมองหาที่หลบภัยที่ปลอดภัย ล่าสุด วันนี้ (22 ตุลาคม 2567) ทองคำยังขึ้นต่อ โดย ณ เวลา 13.16 น. ทองคำปรับ 7 ครั้ง ขึ้น 100 บาทต่อบาททองคำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นักวิเคราะห์หลายสำนัก ก็ชี้ในทางเดียวกัน ว่า ทองคำ ยังเป็นขาขึ้น!

โดย ซิตี้ รีเสิร์ช (Citi Research) ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองคำในช่วง 3 เดือนข้างหน้าขึ้นสู่ระดับ 2,800 ดอลลาร์/ออนซ์ จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2,700 ดอลลาร์ และคาดว่าในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้านี้ ราคาทองจะทะยานขึ้นจนถึงระดับ 3,000 ดอลลาร์ ความเป็นไปได้ก็คือ ตลาดแรงงานสหรัฐฯ จะอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด และแรงซื้อกองทุน ETF ทองคำ

Paul Wong นักกลยุทธ์การตลาดจาก Sprott Asset Management กล่าวว่า ราคาทองคำได้เข้าสู่ช่วงขาขึ้นใหม่ โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ เช่น การซื้อทองพิ่มของธนาคารกลางสหรัฐ หนี้สหรัฐที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มจุดสูงสุดของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมเสริมว่า หลังจากราคาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ ที่ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันจันทร์ (21 ตุลาคม 67) 

ปัจจุบัน (22 ตุลาคม 67) ราคาทองคำซื้อขายอยู่ที่ 2,729.14 ดอลลาร์สหรัฐต่ออนซ์ ขณะที่ Gold Futures อยู่ที่ 2,741.20 ดอลลาร์

Paul Wong ยังกล่าวว่า อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ของสหรัฐ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำ สูงชึ้นในอดีต เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของหนี้ การลดค่าเงิน และการแปลงหนี้เป็นเงินสด

ทั้งนี้ สำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐ คาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะสหรัฐ จะเพิ่มขึ้นจาก 98% ของ GDP ในปี 2566 มาเป็น 181% ของ GDP ในปี 259 ซึ่ง ถือเป็นระดับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ

Paul Wong อธิบายว่า เมื่อหนี้สินเพิ่มขึ้น รัฐบาลอาจต้องพิมพ์เงินเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุล ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินลดลงได้ ความเชื่อมั่นที่ลดลงในสกุลเงินเฟียตทำให้ทองคำมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ในฐานะตัวเก็บมูลค่าที่เชื่อถือได้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ยากลำบาก ซึ่งรุมเร้าเศรษฐกิจโลก บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางและนักลงทุน มีแนวโน้มที่จะจัดสรรเงินให้กับทองคำมีค่า มากขึ้น!

ยังมีข้อมูลจากภาทองคำโลก พบด้วยว่า มีการซื้อทองคำสุทธิ โดยธนาคารกลางสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 483 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากสถิติก่อนหน้านี้ที่ทำไว้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

ดังนั้น นักวิเคราะห์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงคาดการณ์ว่า ราคาทองคำ จะยังเพิ่มขึ้นไปที่ 3,000 ดอลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และบางคน ยังคาดว่า ราคาทองคตำจะทะลุ 2,800 ดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์