กสทช.ตรวจเข้ม โมบายแบงก์กิ้งแปลกปลอม

21 พ.ค. 2567 - 08:54

  • กสทช. เข้มโมบายแบงก์กิ้งแปลกปลอม เตรียมนำเลขหมายที่ใช้บริการมา ‘แยกเครือข่าย’ ส่งตรวจหารายชื่อผู้ถือครอง

  • เผย หากพบไม่ตรงกับข้อมูลเจ้าของบัญชีและไม่แก้ไข ห้ามใช้โมบายแบงกิ้งทันที

  • ตอกย้ำ ชื่อผู้จดทะเบียน ซิมเลขหมายที่ขอเปิดใช้โมบายแบงก์กิ้ง และเจ้าของบัญชีธนาคาร ต้องเป็นของ บุคคลคนเดียวกัน

nbtc-strange-mobile-banking-phone-number-separate-network-SPACEBAR-Hero.jpg

พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมาย และประธานอนุกรรม การบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ กล่าวหลังประชุมคณะอนุกรรมการฯ ที่ประกอบด้วย ปปง.,ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคม ธนาคารไทย, ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกค่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ที่ประชุมฯ ได้ข้อสรุปแนวทางตรวจสอบคัดกรองเบอร์โมบายแบงก์กิ้งที่ผูกกับบัญชีธนาคาร อันเป็นการส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยมีเป้าหมายให้ชื่อผู้จดทะเบียนเบอร์ซิมเลขหมายที่ขอเปิดใช้โมบายแบงก์กิ้ง และเจ้าของบัญชีธนาคาร ต้องเป็นของ บุคคลคนเดียวกัน อันเป็นมาตรการต่อยอดจากประกาศ กสทช. ที่ให้ผู้ถือครองซิมเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตั้งแต่ 6 เลขหมายขึ้นไป ยืนยันตนภายในกำหนด เพื่อสกัดปัญหาซิมผีบัญชีม้า

กสทช. จะตั้งคณะทำงานร่วมกับ ปปง. และ ธนาคาร รวมทั้ง ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะตรวจสองหมายเลขโทรศัพท์ โมบายแบงก์กิ้งแปลกปลอมและต้องสงสัย ที่ชื่อผู้ถือครองไม่ตรงกับชื่อ เจ้าของบัญชีธนาคารโดยมีขั้นตอนดำเนินการ คือ ธนาคารจะเป็นผู้รวบรวมบัญชี (เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เลขหนังสือเดินทาง) พร้อมเบอร์โทร โมบายแบงก์กิ้งที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ส่งให้ ปปง. ตามช่องทางที่กำหนด

nbtc-strange-mobile-banking-phone-number-separate-network-SPACEBAR-Photo01.jpg

จากนั้น ปปง. จะรับข้อมูลเลข ID ประจำตัว และเบอร์ โมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ เข้ารหัส แล้วเปิดช่องทางสื่อสารข้อมูลให้ กสทช. 

โดย กสทช. รับข้อมูลดังกล่าวจาก ปปง.นำเบอร์ โมบายแบงก์กิ้งมาแยกเครือข่าย เพื่อส่งตรวจหารายชื่อผู้ถือ ครอง และตรวจเปรียบเทียบกับรายชื่อเจ้าของบัญชีว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แล้วแจ้งผลให้ ปปง. และธนาคาร

พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิมสังกาศ รองเลขา ปปง. กล่าวว่า หากผลการตรวจคัดกรองพบ ชื่อผู้ถือครองซิมการ์ดโมบายแบงก์กิ้ง ไม่ใช่เจ้าของบัญชี ปปง. และ ธนาคาร จะดำเนินการต่อโดยประชาสัมพันธ์แจ้งเจ้าของบัญชี ให้ดำเนินการเปลี่ยนไปใช้ เบอร์ ซิมการ์ตที่ตนเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองเบอร์เป็นชื่อตน ยกเว้นมีเหตุผลความจำเป็น เช่น เปิดโมบายแบงก์กิ้ง ให้บุตรหลานที่เป็นเด็กเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เป็นต้น แต่หากเจ้าของบัญชีไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลง อ พิจารณาระงับการใช้งานธนาคารออนไลน์ต่อไป สำหรับกรณีขอเปิดใช้โมบายแบงก์กิ้งรายใหม่ ธนาคารต้องตรวจสอบ ชื่อเจ้าของบัญชีและเจ้าของเบอร์ต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน ในส่วนนี้ กสทช. ได้พัฒนาระบบให้ตรวจสอบได้โดยง่าย ผ่านทาง แอปพลิเคชัน 3 ชั้น และบริการ *179 *เลขบัตรประชาชน#โทรออก

สำหรับความคืบหน้าในการตรวจสอบการยืนยันตัวตนของผู้ถือครองซิม ตั้งแต่ 6 หมายเลขขึ้นไป ตาม ประกาศ กสทช. โดย กลุ่มที่ 1 (6-100 หมายเลข) จะครบกำหนด 180 วัน ในวันที่ 13 ก.ค.67 ที่จะถึงนี้ ส่วน กลุ่มที่ 2 (101 หมายเลข ขึ้นไป) ซึ่งได้ครบกำหนดไป ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา จากข้อมูลล่าสุด กสทช. ได้ระงับซิมที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศ กสทช. ไปแล้วถึง 2,137,465 เลขหมาย รวมทั้งซิมโมบายแบงก์กิ้งที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว

การกำจัดซิมผีที่อยู่ในความครอบครองของมิจฉาชีพ โดยอาศัยอำนาจตามประกาศฯ ไม่ต้องรอการแจ้งระงับจากพนักงานสอบสวน ที่มีขั้นตอนตามกฎหมายและต้องใช้เวลา ทั้งยังเป็นการช่วยกำจัดซิมมี ในระบบธนาคารออนไลน์ไปในคราวเดียวกัน และหากกำหนดให้ เจ้าบัญชีธนาคารและเบอร์โมบายแบงก์กิ่งเป็นบุคคลเดียวกัน กลุ่มมิจฉาชีพจะทำงานได้ยากขึ้น ปัญหาเรื่องขิมผีบัญชีม้าจะหมดไปหรือลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

nbtc-strange-mobile-banking-phone-number-separate-network-SPACEBAR-Photo02.jpg

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์