ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราว่างงานต่ำที่สุดในโลกมาหลายปี ตัวเลขทางการที่ยังไม่ได้อัปเดตของธนาคารโลก (World Bank) ของปี 2021 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราว่างงานต่ำที่สุด อยู่ที่ 1.4% รองจาก
จากการคาดการณ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตัวเลขยิ่งน้อยเข้าไปอีก เพราะคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีคนว่างงานแค่ 0.99% ขณะที่แอฟริกาใต้ยังคงเป็นประเทศที่ว่างงานหนักที่สุดในโลก คือ 28.77% ข้อมูลนี้อัปเดตเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023
และเมื่อไล่อันดับลงมาถึงที่ 9 เกือบทั้งหมดเป็นประเทศรายได้ต่ำ ยกเว้นประเทศไทยที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงเท่านั้นที่อัตราว่างงานต่ำมาก ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจมากว่าทำไมไทยถึงกลายเป็นกรณีเฉพาะเอามากๆ
นั่นก็เพราะตัวเลขผู้มีงานทำในไทยจะนับผู้ที่ประกอบอาชีพในกลุ่ม Shadow economy หรือ ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นอาณาบริเวณของเศรษฐกิจที่ไม่มีการจดทะเบียนหรือเสียภาษีเป็นทางการ เช่น ผู้ค้าอาหารริมทาง หรือในเวลานี้อาจจะเหมารวมการค้าออนไลน์เข้าไปด้วยก็ได้
ขนาดเศรษฐกิจนอกระบบของไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 46.2% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 854,000 ล้านดอลลาร์ (1) ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่โปรดสังเกตว่าประเทศที่มี Shadow economy ใหญ่มากๆ ล้วนแต่เป็นประเทศยากจนหรือด้อยพัฒนา (2) มีแค่ไทยเท่านั้นที่ติดอันดับ โดยที่ไทยเองอยู่ในสถานะรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ซึ่งเรื่องนี้น่าจะสะท้อนปัญหาอะไรบางอย่าง
เป็นเรื่องที่ยอกย้อนอย่างหนึ่ง เพราะในขณะที่ทางการไทยแทบจะล้มเหลวในการนำ Shadow economy เข้าระบบ ทางการไทยกลับนับเอายอดคนทำงานในระบบเศรษฐกิจแบบนี้เข้าไปด้วย แต่ในขณะที่เหมารวมตัวเลขคนมีงานเข้าไปได้ แต่กลับไม่จัดเก็บภาษีของคนใน Shadow economy เข้าไป
ผลก็คือ ไทยมีผู้เสียภาษีรายได้บุคคลเพียง 4.17 ล้านคน ขณะที่ยอดคนทำงานที่มีรายได้มีหลายสิบล้านคน รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศจึงไม่สมกับความเป็นจริง (ที่มีคนมีงานทำเกือบจะทุกคนในประเทศ) สิ่งที่ตามมาคือ คนเสียภาษีแค่ 4 ล้านกว่าคน กลายเป็น ‘นางแบก’ ที่ต้องปันรายได้ของตัวเองในรูปของภาษีมาเลี้ยงคนทั้งประเทศ
ในช่วงแรกๆ ที่สื่อต่างประเทศรายงานความเฉพาะของเศรษฐกิจไทยที่มีอัตราว่างงานต่ำที่สุดในโลก และมีขนาด Shadow economy ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก คนไทยบางคนรู้สึกว่า Shadow economy มีข้อดีในแง่ที่ช่วยทำให้คนไทยมีงานทำถ้วนหน้า
และเชื่อกันว่าเพราะความไม่เป็นทางการของทัน มันจึงมีสถานะเหมือน ‘ฟูก’ ที่คอยรัองรับเศรษฐกิจในระบบเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา (เช่น คนตกงานจากเศรษฐกิจในระบบ จะสามารถหางานทำในเศรษฐกิจนอกระบบได้ไม่ยากนัก อย่างการขายอาหารริมทาง)
แต่เพราะ Shadow economy ทำให้การเก็บภาษีไม่มีประสิทธิภาพ ผลที่จะตามมาคือ ในอนาคต ไทยจะสร้างระบบสวัสดิการไม่ได้ เพราะคนเสียภาษีเงินได้มีน้อยเกินไป และคนที่เสียภาษีส่วนนี้แทนที่จะได้รับสวัสดิการ กลับต้องถูกนำผลประโยชน์ของชาติในรูปของภาษีไปเกลี่ยให้กับคนที่ทำงานนอกระบบ
- กาตาร์ 0.3%
- กัมพูชา 0.6%
- ไนเจอร์ 0.8%
- หมู่เกาะโซโลมอน1.0%
- สปป. ลาว 1.3%
- ไทย 1.4%
จากการคาดการณ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตัวเลขยิ่งน้อยเข้าไปอีก เพราะคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีคนว่างงานแค่ 0.99% ขณะที่แอฟริกาใต้ยังคงเป็นประเทศที่ว่างงานหนักที่สุดในโลก คือ 28.77% ข้อมูลนี้อัปเดตเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023
สิ่งที่ดาต้าไม่ได้บอกกับเรา
จากตัวเลขของธนาคารโลกเราจะเห็นว่าประเทศที่อัตราว่างงานต่ำสุด (ปี 2022) คือกาตาร์ ซึ่งถือเป็นประเทศรายได้สูง และเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ต่างจากประเทศร่ำรวยอื่นๆ ที่อัตราว่างงานค่อนข้างสูง แต่กรณีของการ์ตาอาจจะต้องพิจารณาด้วยว่า เป็นประเทศขนาดเล็กมากและมีประชากรน้อย และยังมีรายได้จากน้ำมันและเมื่อไล่อันดับลงมาถึงที่ 9 เกือบทั้งหมดเป็นประเทศรายได้ต่ำ ยกเว้นประเทศไทยที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงเท่านั้นที่อัตราว่างงานต่ำมาก ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจมากว่าทำไมไทยถึงกลายเป็นกรณีเฉพาะเอามากๆ
นั่นก็เพราะตัวเลขผู้มีงานทำในไทยจะนับผู้ที่ประกอบอาชีพในกลุ่ม Shadow economy หรือ ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นอาณาบริเวณของเศรษฐกิจที่ไม่มีการจดทะเบียนหรือเสียภาษีเป็นทางการ เช่น ผู้ค้าอาหารริมทาง หรือในเวลานี้อาจจะเหมารวมการค้าออนไลน์เข้าไปด้วยก็ได้
ขนาดเศรษฐกิจนอกระบบของไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 46.2% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 854,000 ล้านดอลลาร์ (1) ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่โปรดสังเกตว่าประเทศที่มี Shadow economy ใหญ่มากๆ ล้วนแต่เป็นประเทศยากจนหรือด้อยพัฒนา (2) มีแค่ไทยเท่านั้นที่ติดอันดับ โดยที่ไทยเองอยู่ในสถานะรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ซึ่งเรื่องนี้น่าจะสะท้อนปัญหาอะไรบางอย่าง
- อัฟกานิสถาน (72.0%)
- ซิมบาบเว (64.1%)
- ไนจีเรีย (57.7%)
- เฮติ (55.1%)
- โบลิเวีย (54.8%)
- นิคารากัว (52.5%)
- ปานามา (51.6%)
- กาบอง (51.6%)
- เมียนมา (49.0%)
- เบนิน (48.8%)
- กัวเตมาลา (48.6%)
- สป. คองโก (48.3%)
- แทนซาเนีย (46.7%)
- ปารากวัย (46.5%)
- ไทย (46.2%)
เป็นเรื่องที่ยอกย้อนอย่างหนึ่ง เพราะในขณะที่ทางการไทยแทบจะล้มเหลวในการนำ Shadow economy เข้าระบบ ทางการไทยกลับนับเอายอดคนทำงานในระบบเศรษฐกิจแบบนี้เข้าไปด้วย แต่ในขณะที่เหมารวมตัวเลขคนมีงานเข้าไปได้ แต่กลับไม่จัดเก็บภาษีของคนใน Shadow economy เข้าไป
ผลก็คือ ไทยมีผู้เสียภาษีรายได้บุคคลเพียง 4.17 ล้านคน ขณะที่ยอดคนทำงานที่มีรายได้มีหลายสิบล้านคน รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศจึงไม่สมกับความเป็นจริง (ที่มีคนมีงานทำเกือบจะทุกคนในประเทศ) สิ่งที่ตามมาคือ คนเสียภาษีแค่ 4 ล้านกว่าคน กลายเป็น ‘นางแบก’ ที่ต้องปันรายได้ของตัวเองในรูปของภาษีมาเลี้ยงคนทั้งประเทศ
ในช่วงแรกๆ ที่สื่อต่างประเทศรายงานความเฉพาะของเศรษฐกิจไทยที่มีอัตราว่างงานต่ำที่สุดในโลก และมีขนาด Shadow economy ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก คนไทยบางคนรู้สึกว่า Shadow economy มีข้อดีในแง่ที่ช่วยทำให้คนไทยมีงานทำถ้วนหน้า
และเชื่อกันว่าเพราะความไม่เป็นทางการของทัน มันจึงมีสถานะเหมือน ‘ฟูก’ ที่คอยรัองรับเศรษฐกิจในระบบเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา (เช่น คนตกงานจากเศรษฐกิจในระบบ จะสามารถหางานทำในเศรษฐกิจนอกระบบได้ไม่ยากนัก อย่างการขายอาหารริมทาง)
แต่เพราะ Shadow economy ทำให้การเก็บภาษีไม่มีประสิทธิภาพ ผลที่จะตามมาคือ ในอนาคต ไทยจะสร้างระบบสวัสดิการไม่ได้ เพราะคนเสียภาษีเงินได้มีน้อยเกินไป และคนที่เสียภาษีส่วนนี้แทนที่จะได้รับสวัสดิการ กลับต้องถูกนำผลประโยชน์ของชาติในรูปของภาษีไปเกลี่ยให้กับคนที่ทำงานนอกระบบ
ว่างงานเยอะ แต่ถ้าประเทศรวยก็รอด
เราจะเห็นว่าประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ หรือประเทศร่ำรวย/พัฒนาแล้ว มีอัตราว่างงงานสูง แต่อย่าลืมว่าคนว่างงานของประเทศเหล่านี้มีสวัสดิการรองรับสูง อันเป็นผลมาจากการจัดเก๋บภาษีที่มีประสิทธิภาพและอัตราเก็บสูงมาก เช่น- สวีเดน: ว่างงาน 7.64% (อันที่ 31 ของโลก) สวัสดิการว่างงาน 1,700 บาท ต่อวัน (3)(4)
- ฝรั่งเศส: ว่างงาน 7.45 (อันที่ 34 ของโลก) สวัสดิการว่างงาน 3,246 บาท ต่อวัน (5)
- ฟินแลนด์: ว่างงาน 7.05% (อันที่ 40 ของโลก) สวัสดิการว่างงาน 1,370 บาท ต่อวัน (6)
- อังกฤษ: ว่างงาน 3.83% (อันที่ 79 ของโลก) สวัสดิการว่างงาน 3,243 บาท ต่อวัน (7)
- สหรัฐฯ: ว่างงาน 3.67% (อันที่ 80 ของโลก) สวัสดิการว่างงาน 1,745 บาท ต่อวัน (8)