สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักนิตยสาร BRAND หรืออาจจะแอบเห็นตามแผงหนังสือต่างประเทศกันมาบ้าง นิตยสาร BRAND (International Brand Design Magazine) คือนิตยสารที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2012 เล่าถึงธุรกิจเกี่ยวกับงานดีไซน์และการออกแบบสื่อสารหลากหลายแขนง เริ่มตีพิมพ์ในฮ่องกง และทำออกมาสองภาษาด้วยกันคือ ฉบับภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ออกจำหน่ายราย 2 เดือนในหลายประเทศทั้งยุโรปและเอเชีย
การนำเสนอหลักๆ ของนิตยสาร BRAND จะเน้นเรื่องรีเสิร์ช จับกระแสเทรนด์ คอนเซปต์ต่างๆ และมุมมองที่น่าสนใจของงานโฆษณา ผลิตภัณฑ์ กราฟิก งานตกแต่งภายใน สถาปัตยกรรม และค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบต่างๆ ของการออกแบบสื่อสาร รวมถึงตีพิมพ์บทความเชิงลึกจากองค์กรชั้นนำของสายงานที่เกี่ยวข้อง บทสัมภาษณ์ของบุคคล นักออกแบบ ศิลปิน ผู้กำกับศิลป์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด
การนำเสนอหลักๆ ของนิตยสาร BRAND จะเน้นเรื่องรีเสิร์ช จับกระแสเทรนด์ คอนเซปต์ต่างๆ และมุมมองที่น่าสนใจของงานโฆษณา ผลิตภัณฑ์ กราฟิก งานตกแต่งภายใน สถาปัตยกรรม และค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบต่างๆ ของการออกแบบสื่อสาร รวมถึงตีพิมพ์บทความเชิงลึกจากองค์กรชั้นนำของสายงานที่เกี่ยวข้อง บทสัมภาษณ์ของบุคคล นักออกแบบ ศิลปิน ผู้กำกับศิลป์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด

ในฉบับที่ 63 Made from Hobby นี้ Brand Magazine จะพาเราไปหาคำตอบว่า “งานอดิเรก” ของแต่ละนักออกแบบที่น่าสนใจเกิดขึ้นจากอะไีร และหลุดพ้นจากกรอบความคิดทางสังคมอย่างไรจนเกิดเป็นผลงานที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ได้โดยพื้นฐานของการเริ่มจากงานอดิเรกก่อนจะไปสู่การสร้างอาชีพ
สำหรับนักออกแบบแล้วความครีเอทีฟในการสร้างสรรค์งานที่มีเอกลักษณ์ในตัวเองมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่เคยเห็น สิ่งที่เคยได้ยิน หรือสิ่งที่มีความสนใจและค่อยๆ เชื่อมโยงสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นผลงาน แต่กว่าจะออกมาเป็นงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้ “ความสนใจใคร่รู้” ของนักออกแบบนั้นจะต้องฝังรากลึกมากพอที่จะกลายเป็นสิ่งที่นึกถึงเป็นประจำ ทำเป็นประจำ จนอาจเกิดเป็น “Hobby” หรืองานอดิแรกได้
สำหรับนักออกแบบแล้วความครีเอทีฟในการสร้างสรรค์งานที่มีเอกลักษณ์ในตัวเองมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่เคยเห็น สิ่งที่เคยได้ยิน หรือสิ่งที่มีความสนใจและค่อยๆ เชื่อมโยงสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นผลงาน แต่กว่าจะออกมาเป็นงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้ “ความสนใจใคร่รู้” ของนักออกแบบนั้นจะต้องฝังรากลึกมากพอที่จะกลายเป็นสิ่งที่นึกถึงเป็นประจำ ทำเป็นประจำ จนอาจเกิดเป็น “Hobby” หรืองานอดิแรกได้

Noritake คือนักวาดผู้โด่งดังของญี่ปุ่นกับลายเส้นที่มีเอกลักษณ์คือการวาดเส้นการ์ตูนสีดำบนพื้นขาวที่เราได้พบเห็นบ่อยครั้งบนนิตยสารชื่อดังหลากหลายทั้ง KPKUYO , POPEYE, BRUTUS และงาน Exhibition มากมายที่จัดทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ครั้งนี้ Brand ชวนเขากลับมาขึ้นปกอีกครั้งหลังจากฉบับที่ 34 เมื่อ 4 ปีก่อนในฉบับ Cawaii Party ที่พาส่องวัฒนธรรมการนำความน่ารักมาใช้ในงานออกแบบ
ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ของ Noritake บอกกับเราว่าจริงๆ แล้วงานอดิเรกกับการทำงานนั้นล้วนเชื่อมโยงกันจากสิ่งที่อยากจะทำ และตัวเขาเองที่เป็นนักวาดซึ่งผลิตสินค้าจากงานมากมายคนหนึ่งก็ไม่ได้มีการวางแผนชัดเจนอะไรนัก เขาเริ่มจากสิ่งที่เขาอยากจะทำขึ้นมาด้วยความรู้สึกแทบจะอย่างเดียวล้วนๆ นั่นยังคงทำให้งานเขายังมีเอกลักษณ์ชัดเจนอยู่ได้

ในขณะที่นักออกแบบชาวเกาหลีอย่าง Jihwan Kim และ Sol Jin ( ZERO PER ZERO ) กลับมองว่าการทำให้งานมีเอกลักษณ์ขึ้นมาได้นั้นคือการต้องวางแผนสร้างงานอย่างดีและทีมเวิร์กที่ดีจึงจะเกิดต่อไปเป็นการสร้างอาชีพที่มั่นคงได้



นอกจากศิลปินที่เรายกไปแล้วในเล่มยังมีศิลปินชื่อดังท่านอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมทั้งบทวิเคราะห์งานของนักวาดชื่อดังญี่ปุ่นอีกท่านอย่าง Osamu Harada ที่ยังคงตั้งคำถามในตีมเดิมคือการสร้างงานอดิเรกไปสู่การสร้างอาชีพและความฝัน
ทั้งหมดนี้เป็นแค่รีวิวส่วนหนึ่งที่เราอยากยกมาให้ดูว่าเล่มนี้น่าสนใจและควรค่าแก่การเก็บสะสม สำหรับใครที่ชอบงานภาพประกอบหรือสนใจเรื่องขอ์แบรนด์กับการต่อยอดไปสู่สิ่งต่างๆ สามารถอุดหนุนนิตยสารตามร้านที่มีจำหน่ายหนังสือต่างประเทศทั่วไปบ้านเรา (Kinokuniya ) หรือติดตามข่าวสารของนิตยสาร BRAND นี้ได้ที่ facebook : brandmagazine หรือ brandmagazine
ทั้งหมดนี้เป็นแค่รีวิวส่วนหนึ่งที่เราอยากยกมาให้ดูว่าเล่มนี้น่าสนใจและควรค่าแก่การเก็บสะสม สำหรับใครที่ชอบงานภาพประกอบหรือสนใจเรื่องขอ์แบรนด์กับการต่อยอดไปสู่สิ่งต่างๆ สามารถอุดหนุนนิตยสารตามร้านที่มีจำหน่ายหนังสือต่างประเทศทั่วไปบ้านเรา (Kinokuniya ) หรือติดตามข่าวสารของนิตยสาร BRAND นี้ได้ที่ facebook : brandmagazine หรือ brandmagazine