เมื่อพูดถึงเทศกาลคริสต์มาส ทุกคนนึกถึงอะไร? ซานต้า กวางเรนเดียร์ ต้นคริสต์มาส หรือเพลงจิงเกอร์เบล?
วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอีกสิ่งที่อยู่คู่วันคริสต์มาสมายาวนาน แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในประเทศเมืองพุทธอย่างไทย นั่นก็คือ Advent Calendar หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘ปฏิทินคริสต์มาส’
อ่านหัวเรื่องก็น่าจะพอเดาได้ว่าคงไม่ใช่ปฏิทินธรรมดา เพราะปฏิทินคริสต์มาสที่ผู้คนมักให้เป็นของขวัญวันคริสต์มาสเป็นเหมือนกล่อง (สุ่ม) ที่เปิดได้ ลักษณะคล้ายประตูหรือหน้าต่าง โดยจะเปิดทีละวันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม (วันคริสต์มาสอีฟ)
วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอีกสิ่งที่อยู่คู่วันคริสต์มาสมายาวนาน แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในประเทศเมืองพุทธอย่างไทย นั่นก็คือ Advent Calendar หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘ปฏิทินคริสต์มาส’
อ่านหัวเรื่องก็น่าจะพอเดาได้ว่าคงไม่ใช่ปฏิทินธรรมดา เพราะปฏิทินคริสต์มาสที่ผู้คนมักให้เป็นของขวัญวันคริสต์มาสเป็นเหมือนกล่อง (สุ่ม) ที่เปิดได้ ลักษณะคล้ายประตูหรือหน้าต่าง โดยจะเปิดทีละวันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ไปจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม (วันคริสต์มาสอีฟ)


คำว่า Advent มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า adventus ซึ่งแปลว่า “การมาเยือน” (ของพระผู้เป็นเจ้า) Advent Calendar จึงเป็นเหมือนการตระเตรียมการมาเยือนของพระผู้เป็นเจ้า อีกนัยหนึ่งก็เป็นเหมือนการนับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสนั่นเอง
ส่วนประตูและหน้าต่างที่เพิ่มเข้ามานั้นทำขึ้นครั้งแรกโดย Gerhard Lang ในปี 1920 ยุคนั้นทำจากกระดาษแข็งประดับลวดลายที่บอกเล่าเกี่ยวกับวันคริสต์มาส เช่น ต้นคริสต์มาส รถลากเลื่อนหิมะ การเฉลิมฉลองตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ ฯลฯ และสิ่งที่อยู่ด้านหลังปฏิทินแต่ละช่องคือข้อพระคัมภีร์ไบเบิล หรือบทสวดต่างๆ
กำเนิดปฏิทินคริสต์มาส
ปฏิทินคริสต์มาสมีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เดิมทีผู้คนก็นับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสอย่างเรียบง่าย เช่น จุดเทียนวันละเล่ม ใช้ชอล์กขีดเครื่องหมายบนกำแพงหรือประตู ต่อมาในปี 1902-1908 ปฏิทินที่พิมพ์ออกมาเป็นกิจจะลักษณะก็ถือกำเนิดส่วนประตูและหน้าต่างที่เพิ่มเข้ามานั้นทำขึ้นครั้งแรกโดย Gerhard Lang ในปี 1920 ยุคนั้นทำจากกระดาษแข็งประดับลวดลายที่บอกเล่าเกี่ยวกับวันคริสต์มาส เช่น ต้นคริสต์มาส รถลากเลื่อนหิมะ การเฉลิมฉลองตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ ฯลฯ และสิ่งที่อยู่ด้านหลังปฏิทินแต่ละช่องคือข้อพระคัมภีร์ไบเบิล หรือบทสวดต่างๆ

หายไปกับสงคราม…แต่กลับมาได้อย่างงดงาม
ธุรกิจปฏิทินคริสต์มาสของ Gerhard Lang ปิดตัวลงไม่นานก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะปะทุ ในช่วงนั้นนาซีแบนการพิมพ์ปฏิทินที่มีรูปภาพต่างๆ ทำให้ปฏิทินคริสต์มาสหายจากหน้าประวัติศาสตร์ไปช่วงหนึ่งแต่เมื่อสงครามจบลง Richard Sellmar แห่งเมืองชตุตการ์ตก็รับอนุญาตจากทางการสหรัฐอเมริกาให้พิมพ์ปฏิทินคริสต์มาสขายอีกครั้ง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างปาฏิหาริย์แม้ว่าช่วงนั้นจะมีปัญหาขาดแคลนกระดาษก็ตาม

จากบทสวดสู่ช็อคโกแลต
ความฮอตฮิตของปฏิทินคริสต์มาสเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากมีการเผยแพร่ภาพหลานๆ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา Dwight D. Eisenhower กับปฏิทินคริสต์มาสในปี 1953 ตั้งแต่นั้นมาธรรมเนียมนี้จึงไม่ได้มีแค่ในประเทศยุโรปอย่างเยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฯลฯ
ในตอนนั้นเองที่ความเป็น ‘กล่องสุ่ม’ เกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีการใส่ช็อคโกแลตเข้าไปในช่องปฏิทิน (ช่วงปี 1950) และเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน กิมมิคคือแทนที่จะให้ช็อคโกแลตธรรมดา ก็ให้เป็นปฏิทินแทนเพื่อเป็นเซอร์ไพรส์เล็กๆ ให้คนลุ้นว่าแต่ละวันจะได้กินอะไร (แน่นอนว่าต้องมีคนกินหมดก่อนถึงวันคริสต์มาส)

จากช็อคโกแลตสู่ของขวัญแทนใจ
ปัจจุบันโลกแห่งความสุขของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่ช็อคโกแลต ปฏิทินคริสต์มาสจึงแทบจะเป็นการตลาดพื้นฐานในช่วงคริสต์มาสของบริษัทต่างๆ ตั้งแต่ของเล่นเด็ก เครื่องสำอาง ไปจนถึงเหล้าเบียร์
นอกจากปฏิทินคริสต์มาสจากแบรนด์ต่างๆ แล้ว คนยังนิยมทำปฏิทินคริสต์มาสกันเองในครอบครัว โดยอาจใช้ปฏิทินแบบไม้ หรือนำของปีก่อนๆ มาใช้ซ้ำ
อันที่จริงการลุ้นโชคหรือสุ่มรางวัลก็มีมานานแล้ว เพียงแต่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อให้เข้ากับบริบทหรือความต้องการของคน แม้ว่าปฏิทินคริสต์มาสจะยังไม่แพร่หลายในไทย แต่การทำปฏิทินคริสต์มาสให้คนที่คุณรักก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจ คุณน่าจะรู้ดีกว่าใครว่าใส่อะไรลงไปถึงจะถูกใจคนรับ
อันที่จริงการลุ้นโชคหรือสุ่มรางวัลก็มีมานานแล้ว เพียงแต่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อให้เข้ากับบริบทหรือความต้องการของคน แม้ว่าปฏิทินคริสต์มาสจะยังไม่แพร่หลายในไทย แต่การทำปฏิทินคริสต์มาสให้คนที่คุณรักก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจ คุณน่าจะรู้ดีกว่าใครว่าใส่อะไรลงไปถึงจะถูกใจคนรับ