เข้าสู่สัปดาห์แห่งเทศกาลหยุดยาวที่คนไทยทุกคนรอคอยแล้ว สำหรับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งสำหรับปี 2566 นี้ วันสงกรานต์จะเริ่มในวันที่ 13-15 เมษายนดั่งเช่นทุกปี แต่ปีนี้วันหยุดยาวจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายนและยาวๆ ไปถึงวันอาทิตย์ที่ 16 เมษายนสำหรับพนักงานบริษัทเอกชน และวันจันทร์ที่ 17 เมษายนสำหรับข้าราชการและรัฐวิสหกิจ
หลายคนเพียงแค่ให้ความสนใจในเรื่องวันหยุดที่จะได้พักผ่อน รวมไปถึงเล่นน้ำสงกรานต์กับครอบครัว แต่หารู้ไม่ว่า วันสงกรานต์ แท้จริงแล้ว มีประวัติความเป็นมา และตำนานที่เป็นที่มาของนางสงกรานต์ทั้ง 7 คน ที่ประจำ 7 วัน
ตามคติโบราณที่สืบทอดกันมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยปกติกำหนดวันสงกรานต์ไว้ 3 วัน วันแรกเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ คือวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ วันที่ 2 เป็นวันเนา และวันที่ 3 เป็นวันเถลิงศก (วันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนจุลศักราช)
หลายคนเพียงแค่ให้ความสนใจในเรื่องวันหยุดที่จะได้พักผ่อน รวมไปถึงเล่นน้ำสงกรานต์กับครอบครัว แต่หารู้ไม่ว่า วันสงกรานต์ แท้จริงแล้ว มีประวัติความเป็นมา และตำนานที่เป็นที่มาของนางสงกรานต์ทั้ง 7 คน ที่ประจำ 7 วัน
ตามคติโบราณที่สืบทอดกันมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยปกติกำหนดวันสงกรานต์ไว้ 3 วัน วันแรกเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ คือวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ วันที่ 2 เป็นวันเนา และวันที่ 3 เป็นวันเถลิงศก (วันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนจุลศักราช)

ตามตำนานของวันสงกรานต์ ได้กล่าวไว้ว่า ก่อนสมัยพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง ไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ทุกข์ใจอย่างมาก จึงได้ยกขบวนบริวารไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์เป็นเวลา 3 ปี แต่ก็ไร้ผล
จนวันหนึ่งเศรษฐีได้ยกขบวนบริวารไปที่โคนต้นไทรใหญ่ สั่งให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาด 7 ครั้งแล้วหุงข้าว เมื่อข้าวสุกก็ยกขึ้นบูชาพระไทร เหล่าทวยเทพที่สถิตอยู่ที่ต้นไทรแห่งนั้นก็เกิดความสงสาร จึงไปเฝ้าพระอินทร์ขอบุตรแก่ครอบครัวเศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรที่มีนามว่า ธรรมบาล ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี
เมื่อภรรยาเศรษฐีได้คลอดบุตรออกมา จึงได้ตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบแทนคุณของเหล่าทวยเทพที่ให้พร และสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทยด้วย
ธรรมบาลกุมารเติบโตมาด้วยความรู้ และมีปัญญาเฉียบแหลม เรียนจบไตรเพทในวัยเพียง 7 ขวบปีเท่านั้น ซึ่งไปสะดุดตาเทพองค์หนึ่งที่มีนามว่า ท้าวกบิลพรหม เข้า จึงอยากท้าทายสติปัญญาของเด็ก 7 ปี โดยถามคำถามให้ ธรรมบาลกุมาร ได้ตอบ 3 ข้อคือ 1. ตอนเข้าราศีคนอยู่ที่ใด 2. ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่ใด และ 3. ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่ใด และถ้าหากธรรมบาลดุมารตอบได้จะยอมตัดหัวของตัวเองบูชา ถ้าแก้ไม่ได้
ธรรมบาลกุมาร จะต้องตัดหัวตัวเองเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้
แต่ธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบกลับได้ทันที จึงขอเวลาในการคิดหาคำตอบ 7 วัน แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ 6 แล้ว ธรรมบาลกุมาร ยังหาคำตอบไม่ได้ จึงหนีออกจากปราสาท เดินทางเข้าสู่ป่าเพื่อพักเอาแรงก้อนจะไปคิดต่อ เขานั่งอยู่ใต้ต้นหไม้ใหญ่ ซึ่งมี คู่แร้งผัวเมียเกาะกิ่งไม้คุยกันเรื่องหาอาหารกินกันวันพรุ่งนี้ ทางด้านแร้งตัวผู้บอกว่า ไม่ต้องคิดไปไหนไกล พรุ่งนี้ก็จะได้กินซากของธรรมบาลกุมารแล้ว เพราะตอบคำถามของท้าวกบิลพรหมไม่ได้
แร้งตัวเมียจึงสงสัยว่า คำถามที่ว่าคืออะไร แร้งตัวผู้จึงเล่าให้ฟังพร้อมกับเฉลยว่า ตอนเช้าราศีของคนอยู่บนหน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกวัน ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่ที่อก คนจึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก และตอนค่ำราศีของคนอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนนอน
เมื่อธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้น จึงเอาคำพูดของแร้งตัวผู้มาตอบ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง และตามคำสัจที่ท้าวกบิลพหรมให้ไว้กับธรรมบาลกุมาร ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้ง 7 ของตนนำพานมารองหัวของตนไว้ เพียงเพราะว่า หากหัวของท้าวกบิลพรหมตกลงดิน แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ถ้าหากโยนหัวไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฝนจะหายไป และหากโยนลงน้ำ น้ำก็จะเหือดแห้งไปเช่นกัน
เมื่อตัดหัวตัวเองแล้ว จึงส่งให้กับธิดาคนโตที่มีนามว่า ทุงษธิดา ซึ่งนางก็ได้นำหัวของบิดาไปแห่รอบเขาพระเมรุ 60นาที แล้วอันเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส พระเวสสุกรรมก็ได้เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เหล่าเทวดาก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์ ครั้นเมื่อครบ 365 วัน โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์ ธิดา 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก
ย้อนกลับไปเท้าความเรื่องราวของนางสงกรานต์ทั้ง 7 คน ที่เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม พวกเธอเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ชั้นที่ 1 หรือ ชั้นจาตุมหาราช หน้าที่หลักคือการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่
จนวันหนึ่งเศรษฐีได้ยกขบวนบริวารไปที่โคนต้นไทรใหญ่ สั่งให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาด 7 ครั้งแล้วหุงข้าว เมื่อข้าวสุกก็ยกขึ้นบูชาพระไทร เหล่าทวยเทพที่สถิตอยู่ที่ต้นไทรแห่งนั้นก็เกิดความสงสาร จึงไปเฝ้าพระอินทร์ขอบุตรแก่ครอบครัวเศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรที่มีนามว่า ธรรมบาล ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี
เมื่อภรรยาเศรษฐีได้คลอดบุตรออกมา จึงได้ตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบแทนคุณของเหล่าทวยเทพที่ให้พร และสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทยด้วย
ธรรมบาลกุมารเติบโตมาด้วยความรู้ และมีปัญญาเฉียบแหลม เรียนจบไตรเพทในวัยเพียง 7 ขวบปีเท่านั้น ซึ่งไปสะดุดตาเทพองค์หนึ่งที่มีนามว่า ท้าวกบิลพรหม เข้า จึงอยากท้าทายสติปัญญาของเด็ก 7 ปี โดยถามคำถามให้ ธรรมบาลกุมาร ได้ตอบ 3 ข้อคือ 1. ตอนเข้าราศีคนอยู่ที่ใด 2. ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่ใด และ 3. ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่ใด และถ้าหากธรรมบาลดุมารตอบได้จะยอมตัดหัวของตัวเองบูชา ถ้าแก้ไม่ได้
ธรรมบาลกุมาร จะต้องตัดหัวตัวเองเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้
แต่ธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบกลับได้ทันที จึงขอเวลาในการคิดหาคำตอบ 7 วัน แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ 6 แล้ว ธรรมบาลกุมาร ยังหาคำตอบไม่ได้ จึงหนีออกจากปราสาท เดินทางเข้าสู่ป่าเพื่อพักเอาแรงก้อนจะไปคิดต่อ เขานั่งอยู่ใต้ต้นหไม้ใหญ่ ซึ่งมี คู่แร้งผัวเมียเกาะกิ่งไม้คุยกันเรื่องหาอาหารกินกันวันพรุ่งนี้ ทางด้านแร้งตัวผู้บอกว่า ไม่ต้องคิดไปไหนไกล พรุ่งนี้ก็จะได้กินซากของธรรมบาลกุมารแล้ว เพราะตอบคำถามของท้าวกบิลพรหมไม่ได้
แร้งตัวเมียจึงสงสัยว่า คำถามที่ว่าคืออะไร แร้งตัวผู้จึงเล่าให้ฟังพร้อมกับเฉลยว่า ตอนเช้าราศีของคนอยู่บนหน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกวัน ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่ที่อก คนจึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก และตอนค่ำราศีของคนอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนนอน
เมื่อธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้น จึงเอาคำพูดของแร้งตัวผู้มาตอบ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง และตามคำสัจที่ท้าวกบิลพหรมให้ไว้กับธรรมบาลกุมาร ท้าวกบิลพรหมจึงเรียกธิดาทั้ง 7 ของตนนำพานมารองหัวของตนไว้ เพียงเพราะว่า หากหัวของท้าวกบิลพรหมตกลงดิน แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ถ้าหากโยนหัวไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฝนจะหายไป และหากโยนลงน้ำ น้ำก็จะเหือดแห้งไปเช่นกัน
เมื่อตัดหัวตัวเองแล้ว จึงส่งให้กับธิดาคนโตที่มีนามว่า ทุงษธิดา ซึ่งนางก็ได้นำหัวของบิดาไปแห่รอบเขาพระเมรุ 60นาที แล้วอันเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส พระเวสสุกรรมก็ได้เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เหล่าเทวดาก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์ ครั้นเมื่อครบ 365 วัน โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์ ธิดา 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก
ย้อนกลับไปเท้าความเรื่องราวของนางสงกรานต์ทั้ง 7 คน ที่เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม พวกเธอเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ชั้นที่ 1 หรือ ชั้นจาตุมหาราช หน้าที่หลักคือการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่

สำหรับนางสงกรานต์ในปี 2566 นี้ เป็นปีเถาะ (มนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้) เบญจศก จุลศักราช 1385 ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน วันที่ 14 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 เวลา 16 นาฬิกา 01 นาที 02 วินาที
นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ
ซึ่งมีคำทำนายจากฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธีสำนักพระราชวังว่า วันที่ 16 เมษายน เวลา 2 ทุ่ม 12 นาที 24 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1385 สำหรับปีนี้ วันเสาร์ เป็น ธงชัย, วันพุธ เป็น อธิบดี, วันศุกร์ เป็น อุบาทว์, วันศุกร์ เป็น โลกาวินาศ
ปีนี้ วันจันทร์ เป็นอธิบดีฝน จึงบันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 2 ตัว
เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี (ดิน) น้ำงามพอดี
สรุปแล้วว่า ตำนานวันสงกรานต์เกิดจากคนๆ หนึ่งที่ไม่เคารพ เหยียดหยามความรู้ของผู้อื่น และคิดว่าเขาไม่เก่งพอที่จะแก้ไขปัญหาได้ จนถึงแก่กรรมของตนเอง และยังเป็นภาระของคนที่อยู่เบื้องหลังอีกด้วย
นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ
ซึ่งมีคำทำนายจากฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธีสำนักพระราชวังว่า วันที่ 16 เมษายน เวลา 2 ทุ่ม 12 นาที 24 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1385 สำหรับปีนี้ วันเสาร์ เป็น ธงชัย, วันพุธ เป็น อธิบดี, วันศุกร์ เป็น อุบาทว์, วันศุกร์ เป็น โลกาวินาศ
ปีนี้ วันจันทร์ เป็นอธิบดีฝน จึงบันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 2 ตัว
เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี (ดิน) น้ำงามพอดี
สรุปแล้วว่า ตำนานวันสงกรานต์เกิดจากคนๆ หนึ่งที่ไม่เคารพ เหยียดหยามความรู้ของผู้อื่น และคิดว่าเขาไม่เก่งพอที่จะแก้ไขปัญหาได้ จนถึงแก่กรรมของตนเอง และยังเป็นภาระของคนที่อยู่เบื้องหลังอีกด้วย