เรื่องความรักเป็นเรื่องที่ติดพันกับมนุษยชาติมาหลายพันปี เราอาจกล่าวได้ว่า ‘ความรัก’ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อหลายหมื่นปีก่อน ในช่วงยุคต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์ที่เรียกว่า ‘โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์’ นิยามความรักนั้นก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป
ความรักไม่เคยถูกนิยาม หรือถูกกล่าวถึงอย่างเป็นจริงเป็นจังจนกระทั่งยุคกรีกโบราณ จากหนังสือนามกระฉ่อนที่มีชื่อว่า ‘ซิมโพเซียม’ (Symposium) ซึ่งเขียนโดย เพลโต (Plato) นักปรัชญากรีกโบราณที่เชื่อกันว่าเป็นคนแรกๆ ที่หยิบยกเรื่องความรักมาถกเถียงกันอย่างเป็นตุเป็นตะ พร้อมคลอดนิยามศัพท์ขึ้นมาใหม่เป็น ‘Platonic Love’ ที่ยังคงมีการใช้กันจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นเป็นต้นมา เรื่องของความรักก็มักถูกกล่าวถึงอยู่เป็นครั้งเป็นคราวจากนักปรัชญาหลายยุค
ในยุคปัจจุบัน เราอาจได้ยินนิยามความหมายเกี่ยวกับความรักด้วยมุมมองต่างๆ มากมาย ทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มนุษยวิทยาและจิตวิทยา ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์มันคือการหลั่งของสารที่มีชื่อว่า ออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนด้านความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับสารวาโสเปรสซิน (Vasopressin) ส่วนจิตวิทยาจะมีการอธิบายความรักด้วยมุมมองของพฤติกรรมมนุษย์ แต่ถ้ามองด้วยมุมของสังคมศาสตร์ ความรักอาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสังคม ที่สามารถสะท้อนถึงเรื่องชนชั้น และโครงสร้างทางสังคม
แต่มุมมองที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยคือมุมมองเรื่องความรักจากปรัชญา SPACEBAR จึงถือโอกาสชวน อาจารย์แก้ว-พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช อาจารย์หนุ่มอารมณ์ดีที่ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยอาจารย์จากวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตอาจารย์ปรัชญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาพูดคุยกันว่าในปรัชญามีแง่มุมความคิดเกี่ยวกับความรัก หรือความสัมพันธ์อย่างไรบ้าง
ความรักไม่เคยถูกนิยาม หรือถูกกล่าวถึงอย่างเป็นจริงเป็นจังจนกระทั่งยุคกรีกโบราณ จากหนังสือนามกระฉ่อนที่มีชื่อว่า ‘ซิมโพเซียม’ (Symposium) ซึ่งเขียนโดย เพลโต (Plato) นักปรัชญากรีกโบราณที่เชื่อกันว่าเป็นคนแรกๆ ที่หยิบยกเรื่องความรักมาถกเถียงกันอย่างเป็นตุเป็นตะ พร้อมคลอดนิยามศัพท์ขึ้นมาใหม่เป็น ‘Platonic Love’ ที่ยังคงมีการใช้กันจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นเป็นต้นมา เรื่องของความรักก็มักถูกกล่าวถึงอยู่เป็นครั้งเป็นคราวจากนักปรัชญาหลายยุค
ในยุคปัจจุบัน เราอาจได้ยินนิยามความหมายเกี่ยวกับความรักด้วยมุมมองต่างๆ มากมาย ทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มนุษยวิทยาและจิตวิทยา ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์มันคือการหลั่งของสารที่มีชื่อว่า ออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนด้านความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับสารวาโสเปรสซิน (Vasopressin) ส่วนจิตวิทยาจะมีการอธิบายความรักด้วยมุมมองของพฤติกรรมมนุษย์ แต่ถ้ามองด้วยมุมของสังคมศาสตร์ ความรักอาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสังคม ที่สามารถสะท้อนถึงเรื่องชนชั้น และโครงสร้างทางสังคม
แต่มุมมองที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยคือมุมมองเรื่องความรักจากปรัชญา SPACEBAR จึงถือโอกาสชวน อาจารย์แก้ว-พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช อาจารย์หนุ่มอารมณ์ดีที่ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยอาจารย์จากวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตอาจารย์ปรัชญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาพูดคุยกันว่าในปรัชญามีแง่มุมความคิดเกี่ยวกับความรัก หรือความสัมพันธ์อย่างไรบ้าง

ความรักคือการเสียสละ
ความรักจะเป็นไปไม่ได้เลยหากไร้ซึ่ง ‘การเสียสละ’ มันอาจไม่ใช่การเสียสละที่ยิ่งใหญ่ถึงขั้นต้องกระโจนรับกระสุนเพื่อคนที่เรารัก แต่เป็นการเสียสละในเรื่องเล็กๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง ซึ่งการเสียสสละนี้สามารถครอบคลุมไปถึงความสัมพันธ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คู่รัก คนในครอบครัว แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง“สมมติเรารักรถคันหนึ่ง มันคือการที่ต้องเสียสละเพื่อตื่นมาล้างรถในตอนเช้า หรือถ้าเรารักแมว พอมันป่วยขึ้นมา เราต้องเสียสละเวลาเพื่อพามันไปหาสัตวแพทย์ เราว่าในทุกๆ ความรัก มันเกี่ยวข้องกับคำว่าเสียสละ” อาจารย์แก้วอธิบายอย่างเรียบง่าย
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่นิยามความรักทั้งหมดจากมุมมองของปรัชญา เมื่อเราถามอาจารย์ถึงนิยามความรักที่ลึกซึ้งลงไปอีก อาจารย์แก้วได้พาเราไปรู้จักกับนิยามความรักของกรีกโบราณที่เกือบเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับการอธิบายเรื่องความรัก
“นิยามความรักของปรัชญากรีก มันมีสามอย่าง อย่างแรกคือ อีรอส (Eros) หรือความรักที่ออกอารมณ์ทางเพศ อย่างที่สองคือ ฟิเลีย (Philia) อย่างที่สามคือ อากาเป (Agape) อากาเป คือความรักแบบเสียสละที่ยิ่งใหญ่เหมือนที่พระเจ้าในศาสนาคริสต์มอบให้เรา ส่วนฟิเลียเหมือนอยู่ตรงกลางระหว่าง อีรอส และอากาเป เป็นความรักแบบมิตรภาพที่แสดงถึงความห่วงใย หรือความผูกพัน”
จากที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนปรากฎอยู่ในตำราเรียนปรัชญาตะวันตกเบื้องต้น นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนปรัชญาต้องทำความเข้าใจก่อนคือการหานิยามความหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ โสกราตีส (Socrates) อาจารย์ของเพลโตทำอยู่บ่อยครั้ง นั่นคือการถามนิยามความหมายจากผู้คนในเมือง เพื่อเฟ้นหาคำตอบที่ดีและสมเหตุสมผลที่สุด
เมื่อเราถามอาจารย์แก้วว่าสำหรับตัวเขาเองนั้นมีมุมมองต่อความรักอย่างไรบ้าง อาจารย์นั่งคิดไปชั่วครู่ก่อนจะให้คำตอบว่าตนเองมีมุมมองเรื่องความรักอยู่ 2 แบบ คือ ความรักที่พัวพัน กับ ความรักที่ไม่พัวพัน ซึ่งฟังดูน่าสนใจไม่น้อย

ความรักที่พัวพัน กับ ความรักที่ไม่พัวพัน
“ความรักที่พัวพัน มันหมายถึงตัวตนเรา (identity) ไปพัวพันกับความรัก โดยที่มิติหลายๆ ด้านในชีวิต เราเลือกที่จะเอาตัวเราไปนิยามกับสิ่งนั้น เช่น เราบอกว่าเราชอบฟุตบอล มันแปลว่าในขณะที่ทุกคนอาจจะซ้อมเตะบอล 9 โมง ถึง 5 โมงเย็น แล้วกลับบ้าน เราอาจยังฝึกยิงฟรีคิกอยู่จนถึง 2 ทุ่ม พอฝึกเสร็จ ขณะที่คนอื่นเลือกไปดูหนังแอคชันที่บ้าน เราอาจดูหนังสารคดีเกี่ยวกับฟุตบอลต่อ พอหลายๆ ด้านมันรวมกัน มันเลยเกิดเป็นคำว่า เรารักฟุตบอลขึ้นมา“ส่วนความรักที่ไม่พัวพัน อาจพูดถึงเรื่องของสายเลือด สมมติเราบอกว่าเรารักญาติ แต่ถ้าญาติคนนั้นเป็นญาติห่างๆ ที่เจอกันปีละสองครั้ง เราจะยังบอกว่าเรารักญาติคนนี้ได้ไหม ประเด็นคือต่อให้เราเจอกันปีละสองครั้ง ถ้าเขาติดหนี้พนันบอลขึ้นมา เราอาจกระเสือกกระสนมากกว่าคนอื่น คือถ้าเป็นเพื่อนเราติดหนี้เรา เราอาจจะบอกว่าช่างแม่ง แต่พอรู้ว่าเป็นญาติเรา เรากลับรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง”

อาจารย์แก้วยังอธิบายว่าความรักมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของคนสองคน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในชุมชนได้อีกด้วย ซึ่งรวมๆ แล้วอาจพูดได้ว่าเป็น ‘ความสัมพันธ์ระหว่างความรักกับการเมือง’ โดยอาจารย์ได้หยิบยกเรื่อง ‘พหุนิยมทางวัฒนธรรม’ (multiculturalism) ขึ้นมา
“multiculturalism มันคือการอยู่บนความหลากหลายที่อยู่ได้โดยไม่กระทบกระทั่งกัน เช่น การที่เราอดทนกับคนอื่นที่แตกต่างจากเรา เช่น ผมยาว ผมสั้น อิสลาม คริสต์ เตี้ย สูง เป็นต้น และนอกจากจะต้องอดทนกับเขาแล้วเนี่ย เราต้องเข้าไปพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เขาเป็นด้วย ซึ่งตรงนี้มันคือ ‘ความวางใจ’ (commitment)”
อาจารย์กล่าวเสริมว่าพหุนิยมนั้นเป็นอาศัยบทสนทนาเพื่อสร้างความเข้าใจกัน หรือการที่เราสามารถก้าวข้ามผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อเข้าไปเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม เราอาจเรียกรวมๆ ว่านี่คือความรักในแง่ของสังคมการเมือง
“สมมติว่าเรานั่งอยู่ในห้องเรียนที่เพื่อนเราเป็นพุทธหมด จู่ๆ ก็มีเพื่อนใหม่เป็นซิกข์เข้ามาา เราไม่สามารถนั่งอยู่เฉยๆ ได้หรอก มันต้องมีวันที่เราต้องเข้าไปคุยกับเขาด้วยว่า สรุปนายชอบอะไร ทำไม กินอะไร ไว้หนวดหมายความว่าอะไร หรือทำไมชีวิตนายเป็นแบบนี้”
“ในปรัชญาสมัยใหม่ มันมีสองคนที่น่าสนใจคือ สปิโนซา (Spinoza) กับ เดการ์ต (Descartes) เดการ์ตเขามีชีวิตที่ดีได้เพราะได้รับการอุปถัมย์ เลยมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องความรักในเชิงที่ว่า คนที่อุปถัมย์กับตัวเขามีความสัมพันธ์กันอย่างไร แต่สปิโนซาเนี่ย เขาเป็นนักปรัชญาที่ทั้งชีวิตมีอยู่อาชีพเดียวคือการฝนเลนส์ และเขียนปรัชญาไปเรื่อยๆ ถ้าเทียบกับวงการศิลปะ สปิโนซา ก็เหมือน แวนโก๊ะ (van Gogh) มีชีวิตที่ลำบากและทำสิ่งที่รักไปจนตาย”
ตั้งแต่ปรัชญาเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ปรัชญาถูกแบ่งออกเป็นสองสาย คือสายที่มีความคิดว่าความจริงควรเป็นสิ่งที่ได้จากประสบการณ์ กับสายที่บอกว่าความจริงเป็นสิ่งที่หาได้จากเหตุผล จากนั้นได้มีนักปรัชญาชาวเยอรมันนามว่า อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) กล่าวว่า เราต้องอาศัยทั้งเหตุผลและประสบการณ์ร่วมกัน ถึงจะเข้าสู่ความจริงได้ แนวคิดของค้านท์ได้ถูกต่อยอดกลายเป็นปรัชญาสายหนึ่งที่เรียกว่า ‘อัตถิภาวนิยม’ (Existentialism)
“นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมพยายามเถียงว่าการจะเข้าใจความจริง มันไม่ใช่เหตุผล หรือประสบการณ์ แต่มันคือชีวิตของเรา อะไรที่เราไม่สามารถเอาตัวเราไปพัวพันได้ หรืออยู่นอกเหนือจากตัวเรา ไม่ต้องไปตอบ ซึ่งสำหรับความรักแล้ว มันดันเป็นเรื่องที่พัวพันกับตัวเราไง นักปรัชญาสายนี้จึงค่อนข้างพูดถึงเรื่องความรักมากกว่าสายอื่น”
“multiculturalism มันคือการอยู่บนความหลากหลายที่อยู่ได้โดยไม่กระทบกระทั่งกัน เช่น การที่เราอดทนกับคนอื่นที่แตกต่างจากเรา เช่น ผมยาว ผมสั้น อิสลาม คริสต์ เตี้ย สูง เป็นต้น และนอกจากจะต้องอดทนกับเขาแล้วเนี่ย เราต้องเข้าไปพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เขาเป็นด้วย ซึ่งตรงนี้มันคือ ‘ความวางใจ’ (commitment)”
อาจารย์กล่าวเสริมว่าพหุนิยมนั้นเป็นอาศัยบทสนทนาเพื่อสร้างความเข้าใจกัน หรือการที่เราสามารถก้าวข้ามผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อเข้าไปเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม เราอาจเรียกรวมๆ ว่านี่คือความรักในแง่ของสังคมการเมือง
“สมมติว่าเรานั่งอยู่ในห้องเรียนที่เพื่อนเราเป็นพุทธหมด จู่ๆ ก็มีเพื่อนใหม่เป็นซิกข์เข้ามาา เราไม่สามารถนั่งอยู่เฉยๆ ได้หรอก มันต้องมีวันที่เราต้องเข้าไปคุยกับเขาด้วยว่า สรุปนายชอบอะไร ทำไม กินอะไร ไว้หนวดหมายความว่าอะไร หรือทำไมชีวิตนายเป็นแบบนี้”
ว่าด้วยปรัชญาความรัก
ปรัชญาตะวันตกตั้งแต่ยุคกรีกโบราณเป็นต้นมา คอยพยายามหาคำตอบให้กับคำถาม ‘อะไรคือความหมายของชีวิต’ ซึ่งเป็นเหมือนหัวใจหลักของปรัชญาเลยก็ว่าได้ แต่สำหรับความรักนั้น มันเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเป็นได้แค่เรื่องรอง หากเทียบด้วยหลักคณิตศาสตร์แบบง่าย ความรักเป็นเพียงซับเซ็ตที่อยู่ในปรัชญาเท่านั้น และเรื่องปรัชญาความรักทั้งหลายก็ล้วนมาจากชีวิตส่วนตัวของนักปรัชญาเองด้วย“ในปรัชญาสมัยใหม่ มันมีสองคนที่น่าสนใจคือ สปิโนซา (Spinoza) กับ เดการ์ต (Descartes) เดการ์ตเขามีชีวิตที่ดีได้เพราะได้รับการอุปถัมย์ เลยมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องความรักในเชิงที่ว่า คนที่อุปถัมย์กับตัวเขามีความสัมพันธ์กันอย่างไร แต่สปิโนซาเนี่ย เขาเป็นนักปรัชญาที่ทั้งชีวิตมีอยู่อาชีพเดียวคือการฝนเลนส์ และเขียนปรัชญาไปเรื่อยๆ ถ้าเทียบกับวงการศิลปะ สปิโนซา ก็เหมือน แวนโก๊ะ (van Gogh) มีชีวิตที่ลำบากและทำสิ่งที่รักไปจนตาย”
ตั้งแต่ปรัชญาเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ปรัชญาถูกแบ่งออกเป็นสองสาย คือสายที่มีความคิดว่าความจริงควรเป็นสิ่งที่ได้จากประสบการณ์ กับสายที่บอกว่าความจริงเป็นสิ่งที่หาได้จากเหตุผล จากนั้นได้มีนักปรัชญาชาวเยอรมันนามว่า อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) กล่าวว่า เราต้องอาศัยทั้งเหตุผลและประสบการณ์ร่วมกัน ถึงจะเข้าสู่ความจริงได้ แนวคิดของค้านท์ได้ถูกต่อยอดกลายเป็นปรัชญาสายหนึ่งที่เรียกว่า ‘อัตถิภาวนิยม’ (Existentialism)
“นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมพยายามเถียงว่าการจะเข้าใจความจริง มันไม่ใช่เหตุผล หรือประสบการณ์ แต่มันคือชีวิตของเรา อะไรที่เราไม่สามารถเอาตัวเราไปพัวพันได้ หรืออยู่นอกเหนือจากตัวเรา ไม่ต้องไปตอบ ซึ่งสำหรับความรักแล้ว มันดันเป็นเรื่องที่พัวพันกับตัวเราไง นักปรัชญาสายนี้จึงค่อนข้างพูดถึงเรื่องความรักมากกว่าสายอื่น”

นักปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมที่เคยพูดถึงความรักนั้นมี ซอเรน เคียเกอการ์ด (Søren Kierkegaard), ซีโมน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir), ฌอง ปอล ซาร์ท (Jean-Paul Sartre) และ อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) โดยส่วนตัวแล้วอาจารย์แก้วชื่นชอบ เคียเกอการ์ด มากเป็นพิเศษ และกำลังเขียนงานเกี่ยวกับเคียเกอการ์ดอยู่ ซึ่งคาดว่าจะได้ตีพิมพ์เร็วๆ นี้
“เคียเกอการ์ดเป็นคนกวนส้นตีน และไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมเดนมาร์ก ตอนที่เขาเขียนเพื่ออธิบายความรักของพระเจ้า เขาไม่เขียนตรงๆ แต่เขียนโดยใช้การเปรียบเปรย เพราะเขาเชื่อว่าคำพูดเป็นส่วนนึงของประสบการณ์ แล้วยิ่งเราพูดอะไรมันก็อาจทำให้สิ่งที่เป็นความจริงนั้นคลาดเคลื่อนไป”
เมื่อพูดเกี่ยวกับเคียเกอการ์ด อาจารย์แก้วก็ยกตัวอย่างเรื่องที่เคียเกอการ์ดเขียนลงในหนังสื่อชื่อ ‘Fear and Trembling’ โดยในหนังสือเป็นการเปรียบเปรยความรักของพระเจ้าผ่านการเรื่องของอับราฮัมในเจเนอซิส (Genesis) บทที่ 22 ซึ่งเป็นการเล่าถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้ากำลังทดสอบความรักของอับราฮัมที่มีต่อพระเจ้า ด้วยการสั่งให้อับราฮัมสังเวยพระเจ้าด้วยลูกชาย ซึ่งอับราฮัมได้ปฏิบัติตามสิ่งที่พระเจ้าบอก ขณะที่อับราฮัมกำลังสังเวยลูกชาย พระเจ้าได้สั่งห้ามไว้ และบอกว่าการทดสอบนั้นจบลงแล้ว
“เราต้องก้าวข้ามเรื่องความดีความชั่วไปจากเรื่องของอับราฮัม เพราะสารที่เคียเกอการ์ดต้องการจะสื่อคือเราต้องถูกทาบทามให้ก้าวข้ามบรรทัดฐานบางอย่างเพื่อไปสู่ความรักในอุดมคติ มันยังเป็นการบอกว่าในความรักมันมีการเสี่ยงอยู่เสมอ และทุกอย่างขึ้นอยู่กับวินาทีที่เราตัดสินใจ ไม่ใช่ผลลัพธ์
“อย่างเช่นเวลาเราตัดสินใจจะคบคนๆ หนึ่ง ทั้งๆ ที่คนอื่นบอกว่าคนนี้เลวแน่ๆ เคียเกอการ์ดจะบอกว่าคุณค่ามันวางอยู่ตรงการตัดสินใจตั้งแต่แรก ส่วนชีวิตเราจะแย่หรือไม่แย่นั้นเป็นผลลัพธ์ที่เราไม่ควรให้คุณค่า”
“เคียเกอการ์ดเป็นคนกวนส้นตีน และไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมเดนมาร์ก ตอนที่เขาเขียนเพื่ออธิบายความรักของพระเจ้า เขาไม่เขียนตรงๆ แต่เขียนโดยใช้การเปรียบเปรย เพราะเขาเชื่อว่าคำพูดเป็นส่วนนึงของประสบการณ์ แล้วยิ่งเราพูดอะไรมันก็อาจทำให้สิ่งที่เป็นความจริงนั้นคลาดเคลื่อนไป”
เมื่อพูดเกี่ยวกับเคียเกอการ์ด อาจารย์แก้วก็ยกตัวอย่างเรื่องที่เคียเกอการ์ดเขียนลงในหนังสื่อชื่อ ‘Fear and Trembling’ โดยในหนังสือเป็นการเปรียบเปรยความรักของพระเจ้าผ่านการเรื่องของอับราฮัมในเจเนอซิส (Genesis) บทที่ 22 ซึ่งเป็นการเล่าถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้ากำลังทดสอบความรักของอับราฮัมที่มีต่อพระเจ้า ด้วยการสั่งให้อับราฮัมสังเวยพระเจ้าด้วยลูกชาย ซึ่งอับราฮัมได้ปฏิบัติตามสิ่งที่พระเจ้าบอก ขณะที่อับราฮัมกำลังสังเวยลูกชาย พระเจ้าได้สั่งห้ามไว้ และบอกว่าการทดสอบนั้นจบลงแล้ว
“เราต้องก้าวข้ามเรื่องความดีความชั่วไปจากเรื่องของอับราฮัม เพราะสารที่เคียเกอการ์ดต้องการจะสื่อคือเราต้องถูกทาบทามให้ก้าวข้ามบรรทัดฐานบางอย่างเพื่อไปสู่ความรักในอุดมคติ มันยังเป็นการบอกว่าในความรักมันมีการเสี่ยงอยู่เสมอ และทุกอย่างขึ้นอยู่กับวินาทีที่เราตัดสินใจ ไม่ใช่ผลลัพธ์
“อย่างเช่นเวลาเราตัดสินใจจะคบคนๆ หนึ่ง ทั้งๆ ที่คนอื่นบอกว่าคนนี้เลวแน่ๆ เคียเกอการ์ดจะบอกว่าคุณค่ามันวางอยู่ตรงการตัดสินใจตั้งแต่แรก ส่วนชีวิตเราจะแย่หรือไม่แย่นั้นเป็นผลลัพธ์ที่เราไม่ควรให้คุณค่า”

Love in the Modern World
มีคนบอกว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองคนโสด เนื่องจากไม่มีสถานที่ งานกิจกรรม หรือผังเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการมีความสัมพันธ์ อีกทั้งสภาพการใช้ชีวิตของผุ้คนในเมืองก็แสนจะวุ่นวาย การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในเมืองเริ่มลดลง นอกจากนี้ในโลกปัจจุบัน เรื่องของความสัมพันธ์เริ่มมีความสลับซับซ้อน ด้วยเพศที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ นานา ที่ต้องทำความเข้าใจ ดูเหมือนว่าการมีความสัมพันธ์ในยุคสมัยใหม่ฟังดูไม่ใช่เรื่องง่ายเลยคำพูดที่ว่า ‘กรุงเทพเป็นเมืองเหงา’ มาจากอาจารย์นิรมน กุลศรีสมบัติ ซึ่งอาจารย์แก้วก็เห็นด้วยกับคำพูดนี้ พร้อมกับเสริมว่า จริงๆ แล้ว โครงสร้างและสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ก็มีผลต่อความสัมพันธ์อย่างชัดเจน
“อย่างผมเดินอยู่เพลินจิต กับผมเดินอยู่บางกะปิ แม่งโคตรต่างเลย การที่บอกกับคนอื่นว่าบ้านเราอยู่ลำลูกกา แม้จะยังไม่รู้จักกันดี เขาก็ตัดสินไปแล้วว่า เอ้อ บ้านพี่แก้วนี่เหี้ยเนาะ” อาจารย์แก้วหัวเราะ
“คือเรายังไม่ได้แสดงฝีมืออะไรเลย ยังไม่ได้เรียนรู้ระนาบความสัมพันธ์กันอีกด้วย แต่ hierarchy (ลำดับชั้นในสังคม) มันเกิดขึ้นแล้ว”

“อีกอย่างหนึ่ง ผมคิดว่าความสัมพันธ์ที่ยาวนานส่วนหนึ่งมันเกิดจากการพบเจอกัน ต่อให้คุณเล่นทินเดอร์เก่ง สุดท้ายการจะรู้ว่าตรงปกไม่ตรงปกคุณก็ต้องเจอกันรึเปล่า ต่อให้คุณจะหาทางออกเรื่องเซ็กส์ผ่านวิดีโอคอล สุดท้ายมันก็ทำไม่ได้ อันนี้ผมพูดถึงในระนาบความสัมพันธ์ทั้งเพื่อน ทั้งคนรัก หรือคนในครอบครัว ด้วยนะ เพราะฉะนั้นการที่มีพื้นที่สาธารณะน้อยมันส่งผลต่อความสัมพันธ์แน่นอน”
ส่วนในเรื่องของความสัมพันธ์ในยุคปัจจุบัน อาจารย์แก้วให้ความเห็นว่า “ความรักเป็นสิ่งที่แยกขาดไม่ได้จากนิยามทางศาสนา” นิยามที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงตัวศาสนาจริงๆ แต่เป็นการเปรียบเปรยว่าการที่เรามีสเปค หรือคนที่ชอบมักเป็ยการอิงอยู่กับความเชื่ออะไรบางอย่างที่มองไม่เห็น
“เวลาเราตอบว่าเราชอบผู้หญิงแบบไหน เราตอบว่าชอบแบบเฌอปราง BNK ถ้ามีใครคนหนึ่งพาผู้หญิงที่คล้ายเฌอปรางทั้งหน้าตาและนิสัยมาให้รู้จัก เราก็จะยังยืนคำเดิมว่าชอบแบบเฌอปรางที่มีหนึ่งเดียวเท่านั้น เวลาที่เราตอบว่าเราชอบเฌอปราง คือเราไม่รู้ว่าความเป็นเฌอปรางมันต้องเป็นแบบไหน เพราะความเป็นเฌอปรางมันเกิดจากทุกอย่างรวมกัน แล้วกลายเป็นอะไรบางอย่างที่เรานิยามไม่ได้ เราแค่รู้สึกแมทช์แค่นั้นเลย”
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือ การที่เราได้คบกับคู่รักในอุดมคตินั้นไม่สามารถการันตีได้เลยว่าความสัมพันธ์จะยืนยาวชั่วนิรันดร์ ในช่วงเริ่มต้นมันอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราอาจค้นพบตัวตนของอีกฝ่ายที่ไม่ได้คาดคิดไว้แต่แรก อาจารย์แก้วกล่าวว่า ต่อให้เป็นอย่างนั้น พวกเราทุกคนก็ยอมที่จะคบคนนั้นต่อไป แม้จะขัดกับสเปคของเราก็ตาม และดีไม่ดีเราอาจสละตัวตนของเราเพื่อให้เข้ากับอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว
“สมมติว่าเราชอบคนตื่นเช้า แล้วถ้าวันหนึ่งเขากลายเป็นคนตื่นสายล่ะ เราจะยังชอบเขาอยู่ไหม แน่นอนว่าต้องชอบอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้แหละ ความรักมันเลยวางอยู่บนอะไรบางอย่างที่เราพิสูจน์ไม่ได้ เพราะในโลกของความจริงมันไม่มีใครที่พอรู้ว่าคุณสมบัติของฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนไป จะเปลี่ยนคู่รักในทันที
ส่วนในเรื่องของความสัมพันธ์ในยุคปัจจุบัน อาจารย์แก้วให้ความเห็นว่า “ความรักเป็นสิ่งที่แยกขาดไม่ได้จากนิยามทางศาสนา” นิยามที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงตัวศาสนาจริงๆ แต่เป็นการเปรียบเปรยว่าการที่เรามีสเปค หรือคนที่ชอบมักเป็ยการอิงอยู่กับความเชื่ออะไรบางอย่างที่มองไม่เห็น
“เวลาเราตอบว่าเราชอบผู้หญิงแบบไหน เราตอบว่าชอบแบบเฌอปราง BNK ถ้ามีใครคนหนึ่งพาผู้หญิงที่คล้ายเฌอปรางทั้งหน้าตาและนิสัยมาให้รู้จัก เราก็จะยังยืนคำเดิมว่าชอบแบบเฌอปรางที่มีหนึ่งเดียวเท่านั้น เวลาที่เราตอบว่าเราชอบเฌอปราง คือเราไม่รู้ว่าความเป็นเฌอปรางมันต้องเป็นแบบไหน เพราะความเป็นเฌอปรางมันเกิดจากทุกอย่างรวมกัน แล้วกลายเป็นอะไรบางอย่างที่เรานิยามไม่ได้ เราแค่รู้สึกแมทช์แค่นั้นเลย”
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือ การที่เราได้คบกับคู่รักในอุดมคตินั้นไม่สามารถการันตีได้เลยว่าความสัมพันธ์จะยืนยาวชั่วนิรันดร์ ในช่วงเริ่มต้นมันอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราอาจค้นพบตัวตนของอีกฝ่ายที่ไม่ได้คาดคิดไว้แต่แรก อาจารย์แก้วกล่าวว่า ต่อให้เป็นอย่างนั้น พวกเราทุกคนก็ยอมที่จะคบคนนั้นต่อไป แม้จะขัดกับสเปคของเราก็ตาม และดีไม่ดีเราอาจสละตัวตนของเราเพื่อให้เข้ากับอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว
“สมมติว่าเราชอบคนตื่นเช้า แล้วถ้าวันหนึ่งเขากลายเป็นคนตื่นสายล่ะ เราจะยังชอบเขาอยู่ไหม แน่นอนว่าต้องชอบอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้แหละ ความรักมันเลยวางอยู่บนอะไรบางอย่างที่เราพิสูจน์ไม่ได้ เพราะในโลกของความจริงมันไม่มีใครที่พอรู้ว่าคุณสมบัติของฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนไป จะเปลี่ยนคู่รักในทันที

“กลับไปตัวอย่างเดิม ตอนนี้เขาเป็นคนตื่นสายแล้ว แต่เรายังชอบคนตื่นเช้า ถ้าเขามาบอกกับเราว่า เธอมาลองตื่นสายสิ ดีนะ เราก็จะตื่นสายด้วย คือคุณค่าที่เขามีมันมีส่วนเข้ามาเปลี่ยนคุณค่าของเราอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องสละคุณค่าบางอย่างของเราให้เขาด้วยเหมือนกัน”
สุดท้ายเรื่องทั้งหมดก็กลับมาสู่วงใหญ่ๆ ของคำว่า ‘เสียสละ’ ซึ่งเป็นความหมายของความรักที่อาจารย์แก้วให้ไว้แต่แรก ใครจะรู้ว่าเพียงแค่คำว่า ‘เสียสละ’ จะสามารถแบ่งเรื่องออกมาอธิบายได้มากมายขนาดนี้ ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องการเสียสละเรื่องคุณค่าของเราไป ยังมีเรื่องของการเสียสละความเป็นตัวตน โดยอาจารย์ได้หยิบยืมแนวคิดนี้มาจาก โรเบิร์ต นอซิก (Robert Nozick) นักปรัชญาการเมืองชาวอเมริกัน
“คุณเสียสละการรับรู้ในฐานะ ‘ฉัน’ เป็น ‘เรา’ ต่อให้ไม่มีข้อเสียอะไรในชีวิตคู่คุณเลย แต่คุณพร้อมหรือเปล่าที่จะให้คนอื่นรับรู้คุณในฐานะ ‘เรา’ คุณอาจมองเป็นเรื่องเล็ก แต่มันเปลี่ยนมุมมองของโลกที่มีต่อตัวคุณเลยนะ ทุกกิจกรรมที่เคยทำตอนโสด มันกลายเป็นกิจกรรมคู่ไปแทน ถ้าคุณเล่นเกม 8 ชั่วโมงต่อวัน คุณพร้อมไหมกับการให้แฟนมานั่งดู”
มาถึงจุดนี้ ความรักดูเหมือนมีแต่ความเสี่ยงที่ต้องเข้าแลก หนำซ้ำยังต้องเสียคุณค่าตัวเราเองไปอีก แล้วแบบนี้ เราจะมีความรักไปทำไม? อาจารย์แก้วอธิบายว่า ความรักไม่ได้แย่เสมอไป เพราะมันสามารถผลักดันเราให้ทำในสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะทำได้ หรือค้นพบศักยภาพในตัวเองที่ไม่คิดว่ามีอยู่ ถ้าเปรียบเปรยกับเรื่องเล่าของอับราฮัม ถ้าอับราฮัมไม่เรียนรู้ที่จะเสียสละลูกชาย อับราฮัมก็จะไม่เข้าใจเรื่องการเสียสละ หรือเข้าใจเรื่องความรักที่มีต่อพระเจ้าได้เลย
สุดท้ายเรื่องทั้งหมดก็กลับมาสู่วงใหญ่ๆ ของคำว่า ‘เสียสละ’ ซึ่งเป็นความหมายของความรักที่อาจารย์แก้วให้ไว้แต่แรก ใครจะรู้ว่าเพียงแค่คำว่า ‘เสียสละ’ จะสามารถแบ่งเรื่องออกมาอธิบายได้มากมายขนาดนี้ ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องการเสียสละเรื่องคุณค่าของเราไป ยังมีเรื่องของการเสียสละความเป็นตัวตน โดยอาจารย์ได้หยิบยืมแนวคิดนี้มาจาก โรเบิร์ต นอซิก (Robert Nozick) นักปรัชญาการเมืองชาวอเมริกัน
“คุณเสียสละการรับรู้ในฐานะ ‘ฉัน’ เป็น ‘เรา’ ต่อให้ไม่มีข้อเสียอะไรในชีวิตคู่คุณเลย แต่คุณพร้อมหรือเปล่าที่จะให้คนอื่นรับรู้คุณในฐานะ ‘เรา’ คุณอาจมองเป็นเรื่องเล็ก แต่มันเปลี่ยนมุมมองของโลกที่มีต่อตัวคุณเลยนะ ทุกกิจกรรมที่เคยทำตอนโสด มันกลายเป็นกิจกรรมคู่ไปแทน ถ้าคุณเล่นเกม 8 ชั่วโมงต่อวัน คุณพร้อมไหมกับการให้แฟนมานั่งดู”
มาถึงจุดนี้ ความรักดูเหมือนมีแต่ความเสี่ยงที่ต้องเข้าแลก หนำซ้ำยังต้องเสียคุณค่าตัวเราเองไปอีก แล้วแบบนี้ เราจะมีความรักไปทำไม? อาจารย์แก้วอธิบายว่า ความรักไม่ได้แย่เสมอไป เพราะมันสามารถผลักดันเราให้ทำในสิ่งที่เราไม่คิดว่าจะทำได้ หรือค้นพบศักยภาพในตัวเองที่ไม่คิดว่ามีอยู่ ถ้าเปรียบเปรยกับเรื่องเล่าของอับราฮัม ถ้าอับราฮัมไม่เรียนรู้ที่จะเสียสละลูกชาย อับราฮัมก็จะไม่เข้าใจเรื่องการเสียสละ หรือเข้าใจเรื่องความรักที่มีต่อพระเจ้าได้เลย

Friends with Benefits
ไม่มีความสัมพันธ์ใดเป็นที่พูดถึงในยุคนี้ไปมากกว่าความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits (FWB) หรือความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเฉพาะเรื่องเพศสัมพันธ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในไม่กี่ปีมานี้ความสัมพันธ์แบบ FWB มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นข้อสังเกตว่า หรือวัยรุ่นหนุ่มสาวทุกวันนี้เลือกที่จะมีความสัมพันธ์น้อยลง บางทีอาจเป็นเพราะความสัมพันธ์เป็นเรื่องยุ่งยาก หรือบางทีการมีความสัมพันธ์ในโลกยุคนี้อาจไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เป็นอิสระก็เป็นได้“ถ้าพูดถึงแค่ความสัมพันธ์แบบ polygamy (มีคนรักหลายคน) และ monogamy (มีคนรักคนเดียว) ผมคิดว่า monogamy มันมาทีหลังมากเลย พอเราต้องอยู่ในสังคมแบบทุนนิยม monogamy มันเลยโดนดันขึ้นมา แต่ก่อนหน้านี้เราอยู่กันแบบ polygamy มาตลอด” อาจารย์แก้วกล่าว
“เพราะฉะนั้น polygamy หรือการมีความสัมพันธ์กันหลายคนมันไม่มีปัญหาอะไร ผมเชื่อว่าเราอยู่กับ polygamy ได้ปกติ แต่ปัญหามันจะเกิดขึ้นตอนที่คุณรู้สึกไม่พอใจอะไรบางอย่างขึ้นมา มันแปลว่าคุณไม่พอใจกับสถานะความสัมพันธ์ที่มันไม่ตรงกับความคาดหวังของคุณมากกว่า”

พยายามเข้าใจ ดาหน้า และเสียสละ
หลายคนคงคุ้นเคยกับคำแนะนำด้านความสัมพันธ์จากนักจิตวิทยา ทั้งจากห้องเรียน หนังสือ หรือคลิปวิดีโอบนยูทูบ แต่อาจไม่คุ้นเคยกับคำแนะนำจากนักปรัชญาแน่ๆ เราเลยลองถามอาจารย์แก้วว่า อาจารย์มีคำแนะนำเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างไรบ้าง ถือว่าเป็นการปิดท้ายอาจารย์แก้วครุ่นคิดไปชั่วครู่ แล้วกล่าวว่า
“พยายามเข้าใจเสมอว่าความรักมันไม่ได้อยู่ที่เรา”
“มันไม่มีใครสามารถเป็นคนกำหนดว่าความสัมพันธ์จะดีหรือไม่ดี เหมือนคุณสมบัติของพระเจ้าอ่ะ คือเรารู้นะแต่ถ้าให้แต่ละคนวาดรูปออกมา แม่งวาดออกมาไม่เหมือนกัน ความรักก็เหมือนกัน เรายังไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้วคนที่อยู่ตรงหน้าเราคืออะไร แต่สิ่งที่เราทำได้ก็คือ พยายามโฟกัสกับมันให้ดีที่สุด อยู่กับปัจจุบันอย่างใส่ใจรายละเอียด และไม่ใส่ใจกับผลลัพธ์มากนัก”
พาลให้นึกถึงเรื่องราวของอับราฮัม ซึ่งเป็นแกนเรื่องที่เคียเกอการ์ดหยิบยกมาเปรียบเปรยเรื่องความรัก ดูเหมือนว่าการที่เราจะเลือกรักใครสักคนก็ไม่ต่างอะไรจากอับราฮัมที่ตัดสินใจลงฆ่าลูกชายของตน ไม่ว่าคนอื่นจะมองว่ามันเลวร้ายอย่างไร มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้ว่า วินาทีที่เราตัดสินใจยอมเสียสละอะไรไป ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าของตัวเอง หรืออะไรก็ตาม ล้วนเป็นความรักอันจริงแท้
