สิ้นสุดการรอคอยสำหรับซีรีส์ Bridgerton ซีรีส์ชุดที่นำเสนอเรื่องราวความรักของผู้คนชนชั้นสูงในสังคมอังกฤษจาก Netflix หลังจากได้เห็นเรื่องราวความรักสุดอาภัพของราชินีชาร์ล็อตมาบ้างประปรายตลอด 2 ซีซั่นของซีรีส์ วันนี้เราจะได้รับชมเรื่องราวความรักของเธอแบบเต็มๆ ผ่านซีรี่ส์ Queen Charlotte: A Bridgerton Story ที่จะบอกเล่าเส้นทางความรักของพระราชินีชาร์ล็อตและพระเจ้าจอร์จที่ 3 ผ่านความยาวซีรีส์ 6 ตอนด้วยกัน แต่ก่อนจะไปรับชมซีรีส์ เราอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกับราชินีชาล็อต ผู้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นราชินีผิวดำคนแรกแห่งราชวงศ์อังกฤษกันก่อน

พระราชินีชาร์ลอตต์ หรือ โซเฟีย ชาร์ลอตต์แห่งเมคเลนบวร์ก-สเตรลิตซ์ (Sophia Charlotte of Mecklenburg-Strelitz) เป็นบุตรคนที่ 8 ของดยุกและเจ้าหญิงแห่งมิโรว์ ประเทศเยอรมัน พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1744 และทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1761 ณ พระราชวังเซนต์เจมส์แห่งกรุงลอนดอน ก่อนจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ด้วยพระชนมายุเพียง 17 พรรษา
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราถึงบอกว่าราชินีชาร์ล็อตเป็นราชินีผิวดำ ทั้งๆ ที่เธอเป็นเจ้าหญิงจากเยอรมัน เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องนี้ได้มีงานวิจัยลำดับวงศ์ตระกูลเครือญาติของเหล่าชนชั้นสูงจากนักประวัติศาสตร์อย่าง มาริโอ เดอ วัลเดส อี โคคอม (Mario De Valdes y Cocom) ที่เผยแพร่ในปี 1967 โดยในเนื้อหาอธิบายไว้ว่า
“พระราชินีชาร์ลอตต์ พระชายาของกษัตริย์จอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษสืบเชื้อสายโดยตรงจาก มาร์การิตา เด คาสโตรอีซูซา (Margarita de Castro y Sousa) สตรีสูงศักดิ์ชาวโปรตุเกส หนึ่งในบรรดาบุตรผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลลูกครึ่งของกษัตริย์อัลฟอนโซที่ 3 แห่งโปรตุเกส”
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราถึงบอกว่าราชินีชาร์ล็อตเป็นราชินีผิวดำ ทั้งๆ ที่เธอเป็นเจ้าหญิงจากเยอรมัน เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องนี้ได้มีงานวิจัยลำดับวงศ์ตระกูลเครือญาติของเหล่าชนชั้นสูงจากนักประวัติศาสตร์อย่าง มาริโอ เดอ วัลเดส อี โคคอม (Mario De Valdes y Cocom) ที่เผยแพร่ในปี 1967 โดยในเนื้อหาอธิบายไว้ว่า
“พระราชินีชาร์ลอตต์ พระชายาของกษัตริย์จอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษสืบเชื้อสายโดยตรงจาก มาร์การิตา เด คาสโตรอีซูซา (Margarita de Castro y Sousa) สตรีสูงศักดิ์ชาวโปรตุเกส หนึ่งในบรรดาบุตรผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลลูกครึ่งของกษัตริย์อัลฟอนโซที่ 3 แห่งโปรตุเกส”

วัลเดส กล่าวว่า พระนางมาดรากาน่า (Madragana) หนึ่งในบรรดาสนมของกษัตริย์อัลฟอนโซที่ 3 แห่งราชวงศ์โปรตุเกส เป็นชาวมัวร์ (moor) หรือชาวแอฟริกันที่มีผิวดำ โดยการสืบทอดเชื้อสายนี้ทำให้มาดรากราน่ามีศักดิ์เป็นแม่เทียดของมาร์การิตา ซึ่งวัลเดสเชื่อว่าเชื้อสายแอฟริกันนี้ยังคงถูกส่งต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงราชินีชาร์ล็อตแม้จะมีการข้ามผ่านมาแล้วถึง 15 รุ่นก็ตาม นอกจากนี้เขายังได้อธิบายเพิ่มเติมผ่านการวิเคราะห์พระฉายาลักษณ์ของราชินีชาร์ล็อต โดยเขาอธิบายว่าราชินีชาร์ล็อตมีจมูกที่กว้างเกินไปและริมฝีปากของเธอก็หนาเกินกว่าจะเป็นคนผิวขาว อีกทั้งภาพวาดของเธอจะมีสีผิวที่เข้มกว่าและผมที่หยิกกว่าทุกคนในราชวงศ์
แม้ลักษณะเด่นชัดที่บ่งบอกความเป็นแอฟริกันของเธอจะดูคลุมเครือและสังเกตได้ยากจากภาพวาด แต่นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าที่รูปวาดของเธอเป็นเช่นนั้น เพราะในยุคของราชินีชาร์ลอตต์ วัฒนธรรมซื้อขายทาสและการออกล่าอาณานิคมได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมากในช่วงนั้น ดังนั้นเหล่าจิตรกรที่เข้ามาวาดภาพเหมือนของเธอจึงถูกคาดหวังให้ลดทอนหรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณที่แสดงถึงเชื้อชาติแอฟริกันของเธอบางประการนั่นเอง
แม้ลักษณะเด่นชัดที่บ่งบอกความเป็นแอฟริกันของเธอจะดูคลุมเครือและสังเกตได้ยากจากภาพวาด แต่นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าที่รูปวาดของเธอเป็นเช่นนั้น เพราะในยุคของราชินีชาร์ลอตต์ วัฒนธรรมซื้อขายทาสและการออกล่าอาณานิคมได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมากในช่วงนั้น ดังนั้นเหล่าจิตรกรที่เข้ามาวาดภาพเหมือนของเธอจึงถูกคาดหวังให้ลดทอนหรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณที่แสดงถึงเชื้อชาติแอฟริกันของเธอบางประการนั่นเอง

นอกจากราชินีชาร์ล็อตจะโดดเด่นในแง่ของการเป็นราชินีผิวสีคนแรกของราชวงศ์อังกฤษแล้ว เธอยังถือว่าเป็นผู้หญิงที่มีความโดดเด่นทางความสามารถมากคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษด้วย
ในจดหมายเหตุของราชวงศ์อังกฤษ มีการระบุว่าราชินีชาร์ล็อตเป็นผู้หญิงที่มีความสามารถในการอ่านและเขียนที่ดีมาก เธอมักจะชอบอ่านหนังสือและสนใจในศิลปะแขนงต่างๆ อยู่เสมอ ซึ่งศิลปะในที่นี้รวมถึงดนตรีด้วย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าราชินีชาร์ล็อตเป็นหนึ่งในลูกศิษย์คนโปรดของ โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Christian Bach) คีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกดนตรียุคบาโรก (Baroque) หนึ่งในคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของวงการดนตรีคลาสสิก
นอกจากความสนใจทางด้านของศิลปะแล้ว ราชินีชาร์ล็อตยังชื่นชอบในการช่วยเหลือผู้คน โดยพระองค์ได้ช่วยสร้างโรงพยาบาล Queen Charlotte Maternity หรือโรงพยาบาลสำหรับแม่ ที่มีไว้ช่วยดูแลผู้ป่วยระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่างๆ เนื่องจากพระองค์เองเคยประสบเหตุการณ์สูญเสียบุตรไปถึง 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งที่นี่ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศอังกฤษด้วย
ในปี 1818 พระราชินีชาร์ลอตต์สิ้นพระชนม์ด้วยวัย 74 ปี พระองค์ถูกฝังอยู่ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ เมืองวินด์เซอร์ โดยหลังจากเสียชีวิต ราชเลขาคนสนิทได้พบงานเขียนส่วนพระองค์ที่เป็นจดหมายถึง 444 ฉบับ ซึ่งนี่ถือเป็นเครื่องยืนยันชั้นดีถึงความชื่นชอบในการเขียนและอ่านของเธอ
ราชินีชาร์ล็อตถือเป็นราชินีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่บนหน้าประวัติศาสตร์ของอังกฤษ โดยเธอถือเป็นราชินีผิวสีคนแรกในราชวงศ์ อีกทั้งยังเกิดขึ้นในช่วงยุคที่การล่าทาสและอาณานิคมยังคงแพร่หลาย หากย้อนกลับไปเมื่อ 300 ปีก่อน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัวมากสำหรับเธอ นี่คือข้อสรุปของการเป็นราชินีผิวสีเท่านั้น หากใครอยากติดตามเรื่องราวชีวิตของพระราชินีชาร์ล็อตในแง่มุมอื่นๆ สามารถรับชมซีรีส์ Queen Charlotte: A Bridgerton Story ทาง Netflix ได้เลยวันนี้
ในจดหมายเหตุของราชวงศ์อังกฤษ มีการระบุว่าราชินีชาร์ล็อตเป็นผู้หญิงที่มีความสามารถในการอ่านและเขียนที่ดีมาก เธอมักจะชอบอ่านหนังสือและสนใจในศิลปะแขนงต่างๆ อยู่เสมอ ซึ่งศิลปะในที่นี้รวมถึงดนตรีด้วย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าราชินีชาร์ล็อตเป็นหนึ่งในลูกศิษย์คนโปรดของ โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Christian Bach) คีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกดนตรียุคบาโรก (Baroque) หนึ่งในคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของวงการดนตรีคลาสสิก
นอกจากความสนใจทางด้านของศิลปะแล้ว ราชินีชาร์ล็อตยังชื่นชอบในการช่วยเหลือผู้คน โดยพระองค์ได้ช่วยสร้างโรงพยาบาล Queen Charlotte Maternity หรือโรงพยาบาลสำหรับแม่ ที่มีไว้ช่วยดูแลผู้ป่วยระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่างๆ เนื่องจากพระองค์เองเคยประสบเหตุการณ์สูญเสียบุตรไปถึง 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งที่นี่ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศอังกฤษด้วย
ในปี 1818 พระราชินีชาร์ลอตต์สิ้นพระชนม์ด้วยวัย 74 ปี พระองค์ถูกฝังอยู่ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ เมืองวินด์เซอร์ โดยหลังจากเสียชีวิต ราชเลขาคนสนิทได้พบงานเขียนส่วนพระองค์ที่เป็นจดหมายถึง 444 ฉบับ ซึ่งนี่ถือเป็นเครื่องยืนยันชั้นดีถึงความชื่นชอบในการเขียนและอ่านของเธอ
ราชินีชาร์ล็อตถือเป็นราชินีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่บนหน้าประวัติศาสตร์ของอังกฤษ โดยเธอถือเป็นราชินีผิวสีคนแรกในราชวงศ์ อีกทั้งยังเกิดขึ้นในช่วงยุคที่การล่าทาสและอาณานิคมยังคงแพร่หลาย หากย้อนกลับไปเมื่อ 300 ปีก่อน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัวมากสำหรับเธอ นี่คือข้อสรุปของการเป็นราชินีผิวสีเท่านั้น หากใครอยากติดตามเรื่องราวชีวิตของพระราชินีชาร์ล็อตในแง่มุมอื่นๆ สามารถรับชมซีรีส์ Queen Charlotte: A Bridgerton Story ทาง Netflix ได้เลยวันนี้