“คนธรรมดาก็กินอาหารให้อิ่มท้อง แต่พอเป็นคนไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง ความหิวก็เปลี่ยนไป เริ่มหิวการยอมรับ หิวความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนือคนอื่น”
เริ่มต้นปีมากับ ‘ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย (HUNGER)’ ภาพยนตร์น้ำดีจากเน็ตฟลิกออริจินัลงาน กำกับโดย สิทธิศิริ มงคลศิริ (แสงกระสือ) และโปรดิวซ์โดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี (Where We Belong) พร้อมจะมาวิพากษ์ระบบชนชั้น ชำแหละความเป็นมนุษย์ ด้วยเมนูอาหารสุดหรูหรา ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ ‘ออย’ ลูกสาวคนโต ผู้สืบทอดกิจการร้านราดหน้า-ผัดซีอิ๋วต่อจากพ่อ จนกระทั่งวันหนึ่งชีวิตของเธอต้องเปลี่ยนไป เมื่อเชฟหนุ่ม ‘โตน’ ได้เข้ามาชักชวนให้เธอเข้าร่วมทีมเชฟชื่อดัง ‘HUNGER’ โดยมี ‘เชฟพอล’ เป็นผู้นำทัพ คอยทำอาหารให้เหล่าบรรดา ‘ไฮโซ’ ได้รับประทาน และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวอันชวนระทึกเล้าใจ ของวงการอาหารไฮเอนด์ ความหิวกระหายจากเบื้องลึกในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งล่าสุดฮังเกอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับหนังไทย โดยการขึ้นท็อปอันดับที่ 3 ของโลกในหนังที่มีคนรับชมมากที่สุดของเน็ตฟลิกแล้ว
เริ่มต้นปีมากับ ‘ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย (HUNGER)’ ภาพยนตร์น้ำดีจากเน็ตฟลิกออริจินัลงาน กำกับโดย สิทธิศิริ มงคลศิริ (แสงกระสือ) และโปรดิวซ์โดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี (Where We Belong) พร้อมจะมาวิพากษ์ระบบชนชั้น ชำแหละความเป็นมนุษย์ ด้วยเมนูอาหารสุดหรูหรา ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ ‘ออย’ ลูกสาวคนโต ผู้สืบทอดกิจการร้านราดหน้า-ผัดซีอิ๋วต่อจากพ่อ จนกระทั่งวันหนึ่งชีวิตของเธอต้องเปลี่ยนไป เมื่อเชฟหนุ่ม ‘โตน’ ได้เข้ามาชักชวนให้เธอเข้าร่วมทีมเชฟชื่อดัง ‘HUNGER’ โดยมี ‘เชฟพอล’ เป็นผู้นำทัพ คอยทำอาหารให้เหล่าบรรดา ‘ไฮโซ’ ได้รับประทาน และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวอันชวนระทึกเล้าใจ ของวงการอาหารไฮเอนด์ ความหิวกระหายจากเบื้องลึกในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งล่าสุดฮังเกอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับหนังไทย โดยการขึ้นท็อปอันดับที่ 3 ของโลกในหนังที่มีคนรับชมมากที่สุดของเน็ตฟลิกแล้ว
*เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง*
‘ความหิว’ ที่ไม่ใช่ ‘การกิน’
เมื่อออยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับทีมเชฟฮังเกอร์ เธอทั้งรู้สึกภูมิใจ และหิวกระหาย ‘ความพิเศษ’ จากตอนแรกที่เธออยู่ในร้านอาหารสตรีทฟู้ดธรรมดา จนวันหนึ่งได้ขยับขึ้นมาอยู่ในฐานะเชฟระดับไฮเอนด์ที่พิเศษขึ้นดั่งที่ใจเธอต้องการ ออยต้องสู้กับความกดดันกับการทำอาหารในฐานะเชฟคนใหม่ “กูบอกอย่าเลื่อย!” เสียงเชฟพอลตะหวาดออยผู้ที่ทำการเลื่อยเนื้อ A5 ไม่เป็น แถมเธอยังทำพังไม่เป็นท่าเมื่อถึงขั้นตอนการผัด แต่เพราะไฟแห่งความกระหาย ‘การยอมรับ’ ที่ทำให้เธอไม่หยุดที่จะพยายาม‘ความหิว’ ที่ ‘แตกต่างกัน’
ฉากที่ทำให้เรารู้สึกประทับใจเป็นพิเศษคือฉาก ‘กินเลือด กินเนื้อ’ ที่มีแต่บรรดานักการเมือง และไฮโซจากแวดวงนักธุรกิจ ร่วมอยู่ด้วยกันเพื่อรอรับประทานอาหารจากฝีมือของเชฟพอล ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ว่าเชฟพอลจะทำอาหารอะไรเสิร์ฟให้ลิ้มลอง ก็พร้อมจะอ้าปากพะงาบเพื่อดื่มด่ำกับรสชาติระดับไฮเอนด์ ซึ่งต้องจองคิวนานข้ามปี และธีมหลักของงานนี้ก็คือ “การกินเลือดกินเนื้อ สีต้องจัด ทุกอย่างต้องฉ่ำ กินแล้วต้องเลอะมุมปาก” ซึ่งนับเป็นการเสียดสีเหล่าบรรดาผู้มีอำนาจได้อย่างสะใจ และตรงไปตรงมา ในขณะที่คนธรรมดา กินก็เพื่ออยู่ กินก็เพื่ออิ่ม กินเพื่อมีชีวิตต่อ
‘คนรุ่นใหม่’ กับ ‘คนรุ่นเก่า’
สงครามระหว่างคนรุ่นใหม่อย่างออยกับคนรุ่นเก่าแต่เก๋าอย่างเชฟพอล ครุกรุ่นอยู่ทั้งในครัวและนอกครัวอยู่ตลอดเวลา เรื่องราวดำเนินเรื่องไปถึงวันที่ออยออกจากทีมของเชฟพอล เพื่อเปิดร้านอาหารไฮเอนด์ของตัวเอง ทิ้งความฝันที่มีครอบครัว รวมถึงเชฟพอล การที่เธอทะเยอะทะยานไปจนถึงฝั่ง มีความหลังอะไรที่ต้องทิ้งไว้มากมาย“ต่อจากนี้ สิ่งที่คุณคิดจะมีแต่เรื่องที่ว่า คุณจะตกจากยอดเมื่อไหร่ คุณแก่ไปแล้วรึยัง คุณถึงขาลงแล้วรึยัง แล้วจากนั้นคุณจะกอดมันไว้ จนไม่ทันรู้ตัวเลยว่าคุณเสียอะไรไปบ้าง” เชฟพอลพูดกับออย ณ ร้านอาหารที่ออยเปิดหลังจากออกจากทีมเชฟ สารที่เราได้รับจากภาพยนตร์เป็นเรื่องของสังคมที่ฉาบฉวย มองทุกอย่างเพียงเปลือกนอก วัดความอภิสิทธิ์ชนด้วย ความรวย และความจน ทำให้ตัวละครออยกับเชฟพอล มีความต่างที่เหมือนกันอย่างสุดขั้ว ราวกับกระจกที่คอยสะท้อนด้านมือภายในจิตใจของทั้งคู่

ท้ายที่สุดนี้ แม้ฮังเกอร์จะไม่ได้พาเราไปถึงฝั่ง ตามที่คาดหวังไว้ แต่การที่ภาพยนตร์ก็ได้นำเราไปถึงจุดที่สมควรจะเป็นคือ ‘การตั้งคำถาม’ และการกระตุ้นให้รู้สึกอะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็น ความผะอืดผะอม ขยะแขยง ระหว่างที่รับชมฉากต่างๆ และความหิวอาจไม่ต้องหมายถึงเพียงเฉพาะอาหาร หิวอำนาจ หิวชื่อเสียง หิวความสำเร็จ หิวการยอมรับ นับเป็นสิ่งที่มนุษย์เรากระหายที่จะได้กิน ทำให้เรื่องราวของฮังเกอร์เต็มไปด้วยความสนุกสนาน จิกกัด และขับเคลื่อนไปด้วยโกรธเกรี้ยว หากตัดเรื่องความสมจริงบางประการออกไปบ้าง และเปิดใจให้กว้างมากขึ้น เพราะนี่นับเป็นอีกหนึ่งขั้นที่เราจะได้เห็นหนังไทยวิจารณ์ระบบความเหลื่อมล้ำต่ำสูงอย่างตรงไปตรงมา พร้อมเพลงประกอบที่พร้อมจะพาเราพุกพล่านไปด้วยความไฟแห่งความทะเยอะทะยาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดูจบแล้วอยากจะสั่ง ‘ผัดงอแง’ กินกับเขาบ้าง!