บทบาทที่น่ากลัวของบ้านและครอบครัวในหนังสยองขวัญ

12 เม.ย. 2566 - 04:20

  • ‘Home is where the horror is...’ เมื่อบ้านและครอบครัวกลายเป็นจุดกำเนิดความน่ากลัวสยองขวัญของผู้ใหญ่

Tagcloud_Home-is-where-the-horror-is-SPACEBAR-Thumbnail

Home is where the horror is.. เมื่อบ้านและครอบครัวกลายเป็นจุดกำเนิดความน่ากลัวสยองขวัญของผู้ใหญ่

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมหนังสยองขวัญมักมีจุดกำเนิดมาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในบ้านหรือในครอบครัว? ไม่ว่าจะเป็นการตายที่เกิดขึ้นในบ้าน, การตายของเจ้าของบ้านคนก่อน, วิญญาณที่ยังวนเวียนอยู่ในบ้าน, ครอบครัวธรรมดาที่ย้ายเข้ามาบ้านใหม่และต้องพบเจอกับเรื่องสยองขวัญ ที่แม้ว่าเนื้อเรื่องจะเริ่มต้นแบบผลิตซ้ำหลายเวอร์ชั่นแต่เราก็ยังคงตกใจกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่แค่เปลี่ยนเส้นเรื่องหรือสถานการณ์ตั้งแต่ยุคก่อนจนถึงยุคปัจจุบัน ทำให้อดตั้งคำถามไม่ได้ว่าทำไม ‘บ้าน’ ถึงถูกนำมาใช้เป็นสถานที่เริ่มต้นของความสยอง และทำไมครอบครัวถึงถูกวางบทบาทให้ถูกความสยองนั้นเล่นงาน 

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5zVT1G2lNbuHUdhVzt2xh2/be32cf123be9489346a59b7620ed0d6d/Tagcloud_Home-is-where-the-horror-is-SPACEBAR-Photo01

เพราะบ้านคือที่อยู่อาศัยที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ถ้าผีอยู่ที่ห้างเราก็ไม่ไปห้าง แต่ถ้าผีอยู่ที่บ้านเราไม่กลับบ้านไม่ได้! วลีนี้คงใช้มาเป็นเหตุผลได้ดี ด้วยความที่ทุกตัวละครล้วนแล้วแต่ต้องกลับบ้าน ทำให้บ้านกลายมาเป็นโลเคชั่นที่สร้างความสยองได้ไม่รู้จบ การเล่นกับความน่าขนลุกของการใช้ชีวิตภายในบ้าน การต้องหลับตาเวลาอาบน้ำ , ต้องไล่ปืดไฟในบ้านก่อนเข้านอน จังหวะชีวิตเหล่านี้สามารถสร้างจังหวะแห่งความน่าขนลุกได้โดยง่ายเพราะมันคือสิ่งที่เราต้่องทำในชีวิตประจำวัน เมื่อเราได้ดูหนังสยองขวัญเกี่ยวกับบ้านแล้วก็ไม่แปลกที่เราจะนำมารีเลทได้ทันที
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4ICPbXuC2nMVx7GWsllofL/94234b2716272e46a4c983cdacc34c47/Tagcloud_Home-is-where-the-horror-is-SPACEBAR-Photo02

เรื่องมักเล่าผ่านครอบครัวและเด็กๆ 

อาจเพราะความกลัวที่น่ากลัวที่สุดของครอบครัวคือเรื่องความปลอดภัยของเด็กๆ ในบ้าน ทำให้หนังสยองขวัญมักเล่าเรื่องจากเด็กๆ ที่บังเอิญไปเจอกับความสยองเข้า หรือเล่าผ่านสายตาของเด็กๆ ในการค่อยๆ ทำความรู้จักกับบ้าน รวมถึงการเล่าผ่านตัวครอบครัวเองที่อาจสอดแทรกปมปัญหาของแต่ละคน พ่อแม่ที่ต้องแบกภาระของครอบครัว ความคาดหวัง และความกดดันของสังคมก็ส่งให้เกิดปมปัญหาภายในตัวละครที่เชื่อมโยงเอาความสยองเข้ามาผูกได้ อย่าง ลัดดาแลนด์ (2011) ที่เล่าผ่านตัวละครหลักอย่างพ่อ การตกงานที่ทำให้ต้องปกปิดสถานะการงานของตัวเองกับครอบครัว การเลี้ยงลูกที่ก่อให้เกิดความกดดันจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมได้ หรืออย่าง  The Babadook (2014) ที่เล่าผ่านความกดดันของการเป็นแม่กับการเลี้ยงลูกที่ไม่ปกติ ทั้งสองเรื่องต่างเล่าถึง “ความกลัว” ของผู้ใหญ่ในธีมเดียวกันคือเรื่องการเลี้ยงดูเด็กๆ นั่นเอง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5tMNcW161lj042Ceo8tjsR/813ffdc71d7a4187f19f2f72037a5f7c/Tagcloud_Home-is-where-the-horror-is-SPACEBAR-Photo03

การติดอยู่ในวังวนของเวลาและสถานที่ 

เราอาจเคยดูหนังสยองขวัญเกี่ยวกับบ้านที่เล่าถึงบ้านหลังเดียวอันเกิดเหตุการณ์สยองหลากหลายอย่าง American Horror Story: Murder House (2011) เรื่องวังวนของวิญญาณ การมีอยู่จริงไม่จริง และความเชื่อเรื่องของสถานที่ ว่าสถานที่ใดที่เคยมีประวัติน่าสะพรึงกลัวย่อมต้องเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามมา วนเวียนกันไป เช่นเดียวกับ The Haunting of Hill House (2018) สองเรื่องนี้มีจุดร่วมกันในเรื่องของเวลาที่ทับซ้อนกันในสถานที่ อันนำพาไปสู่บทบาทของบ้านใหม่ๆ ที่ถูกผูกพันธ์กับเรื่อง ‘เวลา’ และการเกิดซ้ำ วนเวียน คล้ายกับความเชื่อในไทยที่ว่าด้วยสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่างโค้งมรณะ ที่เชื่อว่าสถานที่หรือจุดใดที่เกิดเหตุการณ์ไม่ดีซ้ำๆ มักมีวิญญาณสิงอยู่
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4vLkJjWFDd9OXZy0lGj6k6/5b32a6c160a57b899b5d0bf5ee5cbc6a/Tagcloud_Home-is-where-the-horror-is-SPACEBAR-Photo04

บ้านที่ใกล้ชิดกับผู้คนและปัจจุบันมากขึ้น 

ในขณะที่หนังสยองขวัญยุคก่อนอาจเริ่มเล่าจากบ้านเก่า ปราสาทหรือคฤหาสน์ที่มีความน่ากลัวอย่าง The Haunting (1999) ที่เคยพาเราไปยังคฤหาสน์สยองขวัญผ่านการทดลองความกลัวของกลุ่มคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับ รูปปั้นเก่า เตาผิงเก่า และห้องนอนแบบโบราณที่สร้างความหลอน แต่หนังสยองขวัญสมัยใหม่เริ่มจะเล่าจากตัวบ้านที่เป็นปัจจุบันหรือโมเดิร์นมากขึ้นและเริ่มรุกล้ำเข้ามาใกล้ยังพื้นที่ปลอดภัยของพวกเรามากขึ้น เช่น บ้านเล็กๆ ธรรมดาในชนบท ไปจนบ้านโมเดิร์นหลังใหญ่กลางเมืองที่บางครั้ง ‘ผี’ ที่ว่าก็ไม่ได้มาในรูปแบบของวิญญาณแต่มาในรูปแบบของความหลอนในจิตใจต่างหาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ Hereditary (2018) ได้ฝากไว้ให้กับเราได้ขบคิดว่าแท้จริงแล้วโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นภายในบ้านเป็นเรื่องทางจิตหรือวิญญาณ อ่าน : Space Review: บ้านเช่าบูชายัญ หนังระทึกขวัญที่มีมากกว่าความสยอง

และปัจจุบันกลับมาที่หนัง บ้านเช่าบูชายัญ (2023) จาก GDH ที่เล่าด้วยเรื่องสยองของบ้านและครอบครัวอีกครั้งกับผู้กำกับคนเดิมจากลัดดาแลนด์ที่ได้ฉายาว่า ‘เจ้าพ่อหนังผีอสังหา’ จิม-โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่หยิบจับเรื่องราวของข่าวเกี่ยวกับลัทธิประหลาดและเหตุการณ์ที่เคยพบเจอจากการปล่อยบ้านให้เช่า มาใส่รสชาติความระทึกขวัญผสานความสยองแบบหลอนๆ  

โดยภาพรวมการพูดถึงบน Social Media ของภาพยนตร์ ‘บ้านเช่าบูชายัญ’ ที่เก็บรวบรวมโดย SPACEBAR • DATAOPS ตั้งแต่วันที่ 1-10 เมษายน มีการกล่าวถึงอยู่ 3 ช่วงคือ วันที่ 4 เมษายน เป็นการเปิดตัวรอบปฐมทัศน์ต่อมาเป็นวันที่ 6,7 เมษายน เป็นรอบเปิดตัวภาพยนตร์วันแรก และมีหลายเพจเริ่มโพสต์รีวิวสุดท้ายในวันที่ 9 เมษายน โดยยังได้กระแสคลื่นเสริมจากฝั่ง K-Pop ด้วย Teaser ที่มีฉากบูชายัญเพลง Burn the Bridge จากวง LE SSERAFIM ด้วย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4ZESJPiWcGUUuCQWVE46zd/83c2c0ab8add0ab21b2e71e14fc31740/________________________1_
เราจะพบว่าบ้านถูกเล่าความสยองขวัญผ่านการวิจารณ์ความกังวลของครอบครัวและผู้คนในยุคปัจจุบันมากขึ้น แม้บ้านจะสามารถเป็นที่ส่องสว่างให้กับชีวิตของผู้คนแต่บ้านเองก็เป็นที่เปิดเผยความจริงอันมืดมนของชีวิตด้วยเช่นกัน

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์