หากกล่าวถึงไข่ต้มอย่างตรงไปตรงมาไข่ต้มก็คือไข่ที่ถูกต้มทั้งเปลือกโดยไม่แตก โดยทั่วไปใช้การต้มน้ำร้อนมักนิยมทำสองแบบคือแบบฮาร์ดที่ให้ไข่แดงและไข่ขาวสุกทั้งลูก และแบบซอฟต์ที่ยังให้ไข่แดงบางส่วนยังเป็นน้ำ(หรือที่เรียกว่ายางมะตูม) โดยขึ้นอยู่กับเมนูอาหารต่างๆ ที่ไข่ต้มถูกนำไปเป็นส่วนประกอบ
นอกจากไข่ต้มจะถูกยกให้เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ในไทยก็กลับกลายเป็นเมนูที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในช่วงนี้ว่าการกินเมนูไข่ต้มคลุกข้าวกับน้ำปลานั้นแสดงถึงการกินอยู่อย่างพอเพียงในหนังสือเรียนของชั้นประถมที่นอกจากจะตกเป็นประเด็นทางโภชนาการแล้วก็ยังเป็นประเด็นในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคม การให้ความรู้ของหนังสือเรียนที่ผิดเพี้ยน และการตีความหมายของปรัชญาพอเพียงที่ทำให้ไข่ต้มคลุกน้ำปลากลายเป็นไข่ต้มคลุกน้ำตาไปได้
นอกจากไข่ต้มจะถูกยกให้เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ในไทยก็กลับกลายเป็นเมนูที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในช่วงนี้ว่าการกินเมนูไข่ต้มคลุกข้าวกับน้ำปลานั้นแสดงถึงการกินอยู่อย่างพอเพียงในหนังสือเรียนของชั้นประถมที่นอกจากจะตกเป็นประเด็นทางโภชนาการแล้วก็ยังเป็นประเด็นในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคม การให้ความรู้ของหนังสือเรียนที่ผิดเพี้ยน และการตีความหมายของปรัชญาพอเพียงที่ทำให้ไข่ต้มคลุกน้ำปลากลายเป็นไข่ต้มคลุกน้ำตาไปได้

ประวัติศาสตร์ของไข่ต้ม
การกินไข่ต้มมีมาตั้งแต่สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา ในตอนแรก คนทั่วไปกินไข่ดิบแต่เมื่อคนเริ่มใช้ไฟเผาเมื่อประมาณหนึ่งล้านปีก่อน พวกเขาบ่มไข่บนถ่านไหม้ ด้วยการประดิษฐ์ชามดินเผาประมาณ 5,000 ปีก่อน การต้มไข่เริ่มกลายเป็นสิ่งที่พบได้มากขึ้นในยุคโรมันโบราณ ไข่ต้มเป็นอาหารว่างที่พบได้บ่อยมากในยุคอียิปต์โบราณไข่ต้มเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ชาวอียิปต์โบราณชอบต้มไข่ ปอกไข่ และใช้ไข่ต้มในการปรุงซอสต่างๆ ใช้กับทั้งเบเกอร์รีและขนมปัง ในยุคกรีกโบราณ ไข่ต้มถูกพิจารณาให้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการฟื้นฟูชีวิต และถูกนำมาใช้ในพิธีที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ในฤดูใบไม้ผลิ อย่างไรก็ตามชาวกรีกโบราณบางส่วนก็ยังมีความเชื่อว่าไข่เป็นตัวแทนของโลกก็เลยเลือกที่จะไม่รับประทานเลยก็มี
ในประเพณีของชาวยิวไข่ต้มถือเป็นสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์ชาวยิว และเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต ความตายและความอุดมสมบูรณ์ เพราะว่าไข่เป็นอาหารที่เพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นเมื่อถูกต้ม แต่เปลือกยังคงมีความแข็งแรงอยู่ แต่เป็นของที่แตกง่าย ด้วยเหตุนี้ ไข่มักถูกนำมาใช้ในโอกาสที่สำคัญเช่นช่วงเวลาอดอาหารและมื้ออาหารก่อนการจัดงานศพ

ในศตวรรษที่ 15 เป็นสมัยที่ไข่ต้มกลายเป็นอาหารสำคัญของชาวยิวแอชเคนาซี ในเวลานั้นเยอรมันตะวันออกส่วนใหญ่มีเล้าไก่เพื่อให้ไข่เพียงพอต่อการบริโภค ไข่นั้นถูกนำมาใช้ทำอาหารหลากหลายชนิดและใช้ทำขนมอบหลากหลายทั้งคาวหวานและเครื่องเทศ นอกจากนั้นชาวยิวฮังการียังนิยมเมนู Zcido tojas (หรือ ไข่ยิว) ที่เป็นไข่ต้มแข็งจัดจานกกับผักหรือถั่วลิสงซอยและผสมกับเนยสดและมัสตาร์ด
ต่อเนื่องมาจนปัจจุบันไข่ต้มถูกทำเป็นอาหารที่กลายเป็นส่วนสำคัญของเทศกาลปัสกา (เทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในแผ่นดินอียิปต์ ) โดยตามประเพณีนิยมจะวางไข่ต้มบนจานเพื่อแสดงถึงการต่อวงจรชีวิตและการฟื้นฟูชีวิตอีกครั้งเช่นเดียวกันกับสมัยอียิปต์โบราณ
การใช้ไข่ของชนชาติต่างๆในโลกนั้นมีความแตกต่างกันไป สำหรับชาวจีน ไข่ไม่ใช่แค่อาหาร แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญแทนทั้งหลักการวัตถุดิบตรงกับแผนการเมือง ด้วนแนวคิดของหลักการวัตถุดิบส่วนของหนึ่ง และผิวของไข่แทนพลังหยิน (Yin) ซึ่งแทนความมืดความเป็นสายตา การดูดซึม สีส้ม และดิน และไข่ขาวแทนพลังหยาง (Yang) ที่มีความสัมพันธ์กับท้องฟ้าแสงสว่างและการเจาะเข้าไปในสิ่งต่างๆ การรวมกันของ Yin และ Yang (หยินและหยาง) ที่นำไปสู่จุดสมดุลของศีลธรรมได้แก่ สติปัญญา ความถูกต้อง ศีลธรรม ความซื่อสัตย์ และความเมตตา
ต่อเนื่องมาจนปัจจุบันไข่ต้มถูกทำเป็นอาหารที่กลายเป็นส่วนสำคัญของเทศกาลปัสกา (เทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในแผ่นดินอียิปต์ ) โดยตามประเพณีนิยมจะวางไข่ต้มบนจานเพื่อแสดงถึงการต่อวงจรชีวิตและการฟื้นฟูชีวิตอีกครั้งเช่นเดียวกันกับสมัยอียิปต์โบราณ
การใช้ไข่ของชนชาติต่างๆในโลกนั้นมีความแตกต่างกันไป สำหรับชาวจีน ไข่ไม่ใช่แค่อาหาร แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญแทนทั้งหลักการวัตถุดิบตรงกับแผนการเมือง ด้วนแนวคิดของหลักการวัตถุดิบส่วนของหนึ่ง และผิวของไข่แทนพลังหยิน (Yin) ซึ่งแทนความมืดความเป็นสายตา การดูดซึม สีส้ม และดิน และไข่ขาวแทนพลังหยาง (Yang) ที่มีความสัมพันธ์กับท้องฟ้าแสงสว่างและการเจาะเข้าไปในสิ่งต่างๆ การรวมกันของ Yin และ Yang (หยินและหยาง) ที่นำไปสู่จุดสมดุลของศีลธรรมได้แก่ สติปัญญา ความถูกต้อง ศีลธรรม ความซื่อสัตย์ และความเมตตา

ไข่ต้มในเมนูและการละเล่นต่างๆ ในเทศกาล
ในยุโรปมักกินไข่ต้มแข็งเป็นอาหารเช้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ในเอเชียไข่ต้มนิ่มจะได้รับความนิยมมากกว่าโดยถูกแตกใส่ถ้วยเสิร์ฟพร้อมซีอิ้วและพริกไทยดำ ซึ่งแน่นอนว่าไข่ต้มเป็นพื้นฐานสำหรับอาหารหลายเมนู โดยเฉพาะจำพวกสลัดและอาหารเช้า ในญี่ปุ่น ไข่ต้มแบบยางมะตูมเป็นเมนูที่พบได้บ่อย มักจะเสิร์ฟคู่กับราเมน (Ramen)และมีไข่ม้วน เป็นไข่ต้มแบบแข็งที่ถูกคลุกเคล้าด้วยน้ำส้มสายชูหรือซอสเค็ม ที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายคน เป็นอาหารว่างที่ได้รับความนิยมเมื่อไข่เองเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นขึ้นจากความตาย กล่าวคือเหมือนกับการที่พระเยซูฟื้นขึ้นมาจากหลุมสุสาน และไข่ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดขึ้นอีกครั้ง จากฝังอยู่ในเปลือกไข่เก่า ตอนนี้ไข่ขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ หรือที่เรียกกันว่าอีสเตอร์เอ้ก เทศกาลแห่งการตกแต่งและแต้มสีไข่ในวันสำคัญของศาสนาคริสต์ เพื่อระลึกถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซู
มีการละเล่นที่นิยมคือการตีไข่กัน หรือที่เรียกกันว่า Egg fight, Egg tapping หรือ Egg knocking เป็นเกมประเพณีที่เล่นในวันอีสเตอร์ กฎของเกมง่าย ผู้เล่นจะถือไข่ต้มแข็ง และชนไข่ของผู้เล่นคนอื่นด้วยไข่ของตนเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ไข่ของผู้เล่นคนอื่นแตก โดยไม่ให้ไข่ของตนเองแตก

ในไทยเองเนื่องจากเรามีวัฒนธรรมทางอาหารที่หลากหลาย ไข่ต้มจึงไม่ได้แค่มีไว้เพื่อกินคลุกน้ำปลาเฉยๆ แต่ยังมีเมนูยอดนิยมหลายเมนูจากไข่ต้ม เช่น ไข่ต้มดองซีอิ๊ว, ไข่ลูกเขยยางมะตูม, ไข่พะโล้, ยำไข่ต้ม, น้ำพริกไข่ต้ม, ลาบไข่ต้ม ฯลฯ
ความหลากหลายของเมนูไข่และประวัติศาสตร์ของไข่ต้มทำให้เรารู้ว่าไข่ต้มก็คือเมนูอาหารหนึ่งที่อาจกลายเป็นสัญลักษณ์ของ โลก - ชีวิต - การเกิดใหม่ - ความอุดมสมบูรณ์ และแม้ไข่ต้มจะมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่เรายังคงต้องการสารอาหารอื่นๆ นอกจากไข่ต้มต่อการดำรงชีวิต
ดังนั้นเมนูไข่ต้มจึงไม่ได้เป็นเมนูที่ทำให้คนต้องซาบซึ้งและร้องไห้จนเข้าใจคุณค่าของชีวิต แต่เป็นเพียงเมนูอาหารธรรมดาๆ เมนูหนึ่งที่หากินได้ง่าย สะดวก และเพราะบางครั้งคำว่า ‘เพียงพอ’ ของคนเราไม่เท่ากัน การจะบอกให้ใคร ‘พอเพียง’ เท่าไรก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายและคงไม่ใช่เรื่องที่จะชี้นิ้วสั่งสอนบอกกัน โดยเฉพาะในหนังสือเรียนที่สำคัญของระดับชั้นประถม
ความหลากหลายของเมนูไข่และประวัติศาสตร์ของไข่ต้มทำให้เรารู้ว่าไข่ต้มก็คือเมนูอาหารหนึ่งที่อาจกลายเป็นสัญลักษณ์ของ โลก - ชีวิต - การเกิดใหม่ - ความอุดมสมบูรณ์ และแม้ไข่ต้มจะมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่เรายังคงต้องการสารอาหารอื่นๆ นอกจากไข่ต้มต่อการดำรงชีวิต
ดังนั้นเมนูไข่ต้มจึงไม่ได้เป็นเมนูที่ทำให้คนต้องซาบซึ้งและร้องไห้จนเข้าใจคุณค่าของชีวิต แต่เป็นเพียงเมนูอาหารธรรมดาๆ เมนูหนึ่งที่หากินได้ง่าย สะดวก และเพราะบางครั้งคำว่า ‘เพียงพอ’ ของคนเราไม่เท่ากัน การจะบอกให้ใคร ‘พอเพียง’ เท่าไรก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายและคงไม่ใช่เรื่องที่จะชี้นิ้วสั่งสอนบอกกัน โดยเฉพาะในหนังสือเรียนที่สำคัญของระดับชั้นประถม