คุณคิดว่าทุกวันนี้คนไทย (รวมถึงคุณ) อ่าน ‘หนังสือ’ เยอะขึ้นหรือน้อยลง?
ถ้าดูข้อมูลมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมหนังสือตั้งแต่ พ.ศ.2557-2565 จากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จะพบว่า คนมีแนวโน้มอ่านหนังสือน้อยลงเกือบ “ครึ่งหนึ่ง”
ถ้าดูข้อมูลมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมหนังสือตั้งแต่ พ.ศ.2557-2565 จากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จะพบว่า คนมีแนวโน้มอ่านหนังสือน้อยลงเกือบ “ครึ่งหนึ่ง”

ตัวเลขดังกล่าวเดินสวนทางกับข้อมูลในรายงาน Thailand Social Stat Insight 2023 ที่ระบุจำนวนคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น (85.3%) และจำนวนชั่วโมงนาทีในการออนไลน์ของคนไทย 8 ชั่วโมง 6 นาทีต่อวัน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของเวลาในหนึ่งวัน
เวลาหนึ่งในสามที่หายไปกับอินเทอร์เน็ต คือช่วงเวลาของสงครามการขโมยเวลา ภายใต้สมการขโมยเวลาได้มากเท่าไหร่ มูลค่าของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
เกมออนไลน์ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งทั้งหนังและเพลง โซเชียลมีเดีย หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนทำคอนเทนต์ ฯลฯ ต่างแข่งขันกันเพื่อช่วงชิงเวลาไปจากเรา ในทางกลับกัน เวลาที่จะใช้จ่ายไปกับ ‘หนังสือเล่ม’ ก็ลดลงเป็นเงาตามตัว
“ถ้าพูดถึงตลาดหนังสือเมืองไทย ผมมองว่าปัจจุบันคนทำหนังสืออยู่ยากขึ้น เพราะพื้นที่ขายหนังสือน้อยลงกว่าเมื่อก่อนเยอะ ร้านหนังสือสแตนด์อะโลนจากที่สมัยหนึ่งเคยมีเกือบพันแห่ง เดี๋ยวนี้เหลือไม่ถึงร้อย บางจังหวัดแทบไม่มีร้านหนังสือเหลืออยู่แล้ว ร้านที่ยังอยู่ก็พอขายได้โดยเฉพาะทางออนไลน์” คธาวุฒิ เกนุ้ย กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์ยิปซี ผู้คร่ำหวอดในวงการหนังสือมาหลายสิบปีฉายความจริงของวงการหนังสือใน พ.ศ.2566
“ส่วนมหกรรมหนังสือทุกวันนี้ทั่วประเทศมีไม่ถึง 20 งาน ผมว่าถ้ามีงานหนังสือใหม่ๆ เกิดขึ้นมันก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่คนอ่าน แถมยังช่วยสร้างความคึกคักให้วงการด้วย”
คนมีเวลาอ่านหนังสือน้อยลง เป็นความจริงที่ผู้ผลิตหนังสือ (และคนอ่านหนังสือ) ไม่ปฏิเสธ แต่สมการนี้อาจไม่ได้หมายถึงการซื้อหนังสือจะลดลงเสมอไป ตัวเลขสถิติยอดขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติระหว่าง พ.ศ.2560-2566 บ่งบอกเช่นนั้น
เวลาหนึ่งในสามที่หายไปกับอินเทอร์เน็ต คือช่วงเวลาของสงครามการขโมยเวลา ภายใต้สมการขโมยเวลาได้มากเท่าไหร่ มูลค่าของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
เกมออนไลน์ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งทั้งหนังและเพลง โซเชียลมีเดีย หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนทำคอนเทนต์ ฯลฯ ต่างแข่งขันกันเพื่อช่วงชิงเวลาไปจากเรา ในทางกลับกัน เวลาที่จะใช้จ่ายไปกับ ‘หนังสือเล่ม’ ก็ลดลงเป็นเงาตามตัว
“ถ้าพูดถึงตลาดหนังสือเมืองไทย ผมมองว่าปัจจุบันคนทำหนังสืออยู่ยากขึ้น เพราะพื้นที่ขายหนังสือน้อยลงกว่าเมื่อก่อนเยอะ ร้านหนังสือสแตนด์อะโลนจากที่สมัยหนึ่งเคยมีเกือบพันแห่ง เดี๋ยวนี้เหลือไม่ถึงร้อย บางจังหวัดแทบไม่มีร้านหนังสือเหลืออยู่แล้ว ร้านที่ยังอยู่ก็พอขายได้โดยเฉพาะทางออนไลน์” คธาวุฒิ เกนุ้ย กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์ยิปซี ผู้คร่ำหวอดในวงการหนังสือมาหลายสิบปีฉายความจริงของวงการหนังสือใน พ.ศ.2566
“ส่วนมหกรรมหนังสือทุกวันนี้ทั่วประเทศมีไม่ถึง 20 งาน ผมว่าถ้ามีงานหนังสือใหม่ๆ เกิดขึ้นมันก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่คนอ่าน แถมยังช่วยสร้างความคึกคักให้วงการด้วย”
คนมีเวลาอ่านหนังสือน้อยลง เป็นความจริงที่ผู้ผลิตหนังสือ (และคนอ่านหนังสือ) ไม่ปฏิเสธ แต่สมการนี้อาจไม่ได้หมายถึงการซื้อหนังสือจะลดลงเสมอไป ตัวเลขสถิติยอดขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติระหว่าง พ.ศ.2560-2566 บ่งบอกเช่นนั้น

ตัวเลขยอดขายหนังสือที่เพิ่มขึ้นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่หลายคนเปรยว่าเป็นเทศกาลลดราคาหนังสือแห่งชาติ (และไม่เฮลตี้ต่อวงการหนังสือเท่าไหร่) น่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ ‘กองดอง’ ที่ขอซื้อไว้ก่อน ค่อยอ่านทีหลัง
ปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมเป็นผลดีต่อวงการหนังสือ และก็ย้ำให้เห็นว่า คนจำนวนไม่น้อยยังคงหลงรักช่วงเวลาที่ได้ใช้กับ ‘หนังสือเล่ม’ (ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม หนังสือประวัติศาสตร์ การ์ตูน นิยายวัยรุ่น หรืออะไรก็ตาม) ซึ่งช่วยให้ได้พักเวลาจากหน้าจอ แม้จะยังมีปัญหาเรื่องการเจียดเวลามาใช้ได้ไม่พอก็ตาม
วงการหนังสือในวันนี้ ถ้าอยู่นิ่งเกินไปอาจไร้สุ้มเสียงในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าจากสื่อสมัยใหม่ คธาวุฒิ เกนุ้ย จึงคิดสร้างความคึกคักให้วงการด้วยการจัดมหกรรมหนังสือน้องใหม่ชื่อ GYPSY BOOK FEST ที่มีจุดเริ่มต้นจากความฝันเล็กๆ ตั้งแต่เริ่มทำสำนักพิมพ์เมื่อ 15 ปีก่อน
ปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมเป็นผลดีต่อวงการหนังสือ และก็ย้ำให้เห็นว่า คนจำนวนไม่น้อยยังคงหลงรักช่วงเวลาที่ได้ใช้กับ ‘หนังสือเล่ม’ (ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม หนังสือประวัติศาสตร์ การ์ตูน นิยายวัยรุ่น หรืออะไรก็ตาม) ซึ่งช่วยให้ได้พักเวลาจากหน้าจอ แม้จะยังมีปัญหาเรื่องการเจียดเวลามาใช้ได้ไม่พอก็ตาม
วงการหนังสือในวันนี้ ถ้าอยู่นิ่งเกินไปอาจไร้สุ้มเสียงในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าจากสื่อสมัยใหม่ คธาวุฒิ เกนุ้ย จึงคิดสร้างความคึกคักให้วงการด้วยการจัดมหกรรมหนังสือน้องใหม่ชื่อ GYPSY BOOK FEST ที่มีจุดเริ่มต้นจากความฝันเล็กๆ ตั้งแต่เริ่มทำสำนักพิมพ์เมื่อ 15 ปีก่อน

“แรงบันดาลใจมาจากหนังสือชื่อ ‘รถหนังสือเร่ของคนพเนจร’ ของ คริสโตเฟอร์ มอร์ลีย์ เรื่องราวของพ่อค้าแม่ค้าขายหนังสือเร่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ยุคที่ยังต้องเดินทางไปเคาะประตูตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อนำเรื่องเล่าแสนสนุก ประสบการณ์น่าตื่นตาตื่นใจไปมอบให้ผู้คน ช่วยเปิดโลกให้กว้างขึ้นด้วยความรู้ใหม่ๆ GYPSY BOOK FEST จึงเปรียบเหมือนจุดรวมพลของกองคาราวานต่างๆ เป็นสถานที่พบปะของกลุ่มคนที่รักอิสระ
“งาน GYPSY BOOK FEST ครั้งนี้ สำนักพิมพ์ต่างๆ เกือบ 100 สำนักพิมพ์ ต่างก็มีเรื่องเล่าแปลกใหม่ของตัวเอง บางคนชอบเรื่องประวัติศาสตร์ บางคนชอบวรรณกรรม บางคนชอบสังคมการเมือง บางคนชอบนิยายวาย บางคนชอบการ์ตูนคอมิก บางคนชอบศิลปะ บางคนชอบดนตรี เมื่อทุกอย่างมาบรรจบกับสถานที่จัดงานนั่นคือ สถานีกลางบางซื่อซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการเดินทางของผู้คนจากทั่วประเทศ งานหนังสือครั้งนี้จึงไม่ต่างจากชุมทางของชนเผ่ายิปซีครั้งมโหฬารที่พากันเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ”
การเกิดขึ้นของงาน GYPSY BOOK FEST จึงเป็นเสมือนหนึ่งแรงกระตุ้นวงการหนังสือให้มีสีสัน เพื่อเชื่อมร้อยผู้ผลิต คนทำงานในแวดวง และผู้อ่านมาเจอกัน
หาก 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน เราใช้จ่ายเวลา 8 ชั่วโมงไปกับการนอน อีก 8 ชั่วโมงกับการงาน เหลืออีก 8 ชั่วโมงที่อาจหมดไปกับการเดินทาง กินข้าว และโลกออนไลน์
จะพอเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะแบ่งเวลามาเดินงานหนังสือในโลกจริง และคงจะดี ถ้าเราจะลดเวลาเล่นโซเชียล และแบ่งเวลามาอ่านหนังสือในกองดองของเรา
“งาน GYPSY BOOK FEST ครั้งนี้ สำนักพิมพ์ต่างๆ เกือบ 100 สำนักพิมพ์ ต่างก็มีเรื่องเล่าแปลกใหม่ของตัวเอง บางคนชอบเรื่องประวัติศาสตร์ บางคนชอบวรรณกรรม บางคนชอบสังคมการเมือง บางคนชอบนิยายวาย บางคนชอบการ์ตูนคอมิก บางคนชอบศิลปะ บางคนชอบดนตรี เมื่อทุกอย่างมาบรรจบกับสถานที่จัดงานนั่นคือ สถานีกลางบางซื่อซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการเดินทางของผู้คนจากทั่วประเทศ งานหนังสือครั้งนี้จึงไม่ต่างจากชุมทางของชนเผ่ายิปซีครั้งมโหฬารที่พากันเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ”
การเกิดขึ้นของงาน GYPSY BOOK FEST จึงเป็นเสมือนหนึ่งแรงกระตุ้นวงการหนังสือให้มีสีสัน เพื่อเชื่อมร้อยผู้ผลิต คนทำงานในแวดวง และผู้อ่านมาเจอกัน
หาก 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน เราใช้จ่ายเวลา 8 ชั่วโมงไปกับการนอน อีก 8 ชั่วโมงกับการงาน เหลืออีก 8 ชั่วโมงที่อาจหมดไปกับการเดินทาง กินข้าว และโลกออนไลน์
จะพอเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะแบ่งเวลามาเดินงานหนังสือในโลกจริง และคงจะดี ถ้าเราจะลดเวลาเล่นโซเชียล และแบ่งเวลามาอ่านหนังสือในกองดองของเรา

วิธีการเดินทางไปงาน GYPSY BOOK FEST
- เดินทางด้วย MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีบางซื่อ ทางออกที่ 3
- เดินทางด้วยรถไฟฟ้าชานเมือง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ลงที่สถานีกลางบางซื่อ ทางออกที่ 3 และ 4
- เดินทางด้วยรถเมล์ สาย A1, 3, 16, 26, 49, 67, 77, 97, 134, 136, 138, 145, 204, 509, 517, 536 และ Shuttle Bus (ฟรี) เข้าประตู 10, 11 และ 12
- เดินทางด้วยรถส่วนตัว สามารถจอดรถได้ในลานจอดรถชั้นใต้ดิน (ชั้น B1) ของสถานีกลางบางซื่อ ส่วนรถจักรยานยนต์ให้จอดบริเวณหน้าอาคารประตู 4 ฝั่งทิศตะวันออก แล้วเดินเข้าทางเข้าประตู 4 (ไม่เสียค่าบริการ)
- เมื่อเดินทางมาถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์แล้ว งานหนังสือ GYPSY BOOK FEST จัดที่ชั้น G ฝั่งทิศใต้ สามารถเข้า ‘ทางหลัก’ ได้ที่ประตู 1 และประตู 10