ผู้คนอาจรู้จัก ทอม - จักรกฤต โยมพยอม ในหลายบทบาท ตั้งแต่เดิมอย่างการเป็นครูภาษาไทย พิธีกร นักแสดง แฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ นักเขียน และบทบาทล่าสุดกับการเป็นบรรณาธิการเจ้าของสำนักพิมพ์ Avocado Books ทำให้เราเริ่มสนใจและตั้งคำถามกับบทบาทใหม่ครั้งนี้ที่เขาเลือกเปิดสำนักพิมพ์ท่ามกลางกระแสสังคมที่เขาว่ากันว่าสิ่งพิมพ์กำลังจะตายและเริ่มล้มหายตายจากจากแผงหนังสือ แต่สำนักพิมพ์ใหม่นี้ของเขาก็ยังผลิตหนังสือออกมาได้โดดเด่นน่าสนใจและขายดีมากภายในระยะเวลาเพียงแค่สองปี เขามีแนวคิดอย่างไร และอะไรคือจุดเริ่มต้น
เราเลยเปิดเองเพื่อจะได้ชวนคนรู้จักมักจี่รอบข้างเราเนี่ยมาทำหนังสือเพราะเรารู้สึกว่าทั้งความรู้ แนวคิด มุมมองต่างๆ ของแต่ละคนเนี่ยถ้าได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นสื่อที่ถึงแม้ในปัจจุบันจะมี โซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เขาสามารถไปโพสต์ได้ แต่หนังสือคืออีกสื่อหนึ่งที่เรารู้สึกว่าจะสามารถนำเสนอความรู้ ความคิดเหล่านี้ไปให้คนอื่นได้
ทำไมถึงเริ่มตัดสินใจทำ Avocado Books?
เพราะรู้สึกว่าสำนักพิมพ์ที่ผลิตหนังสือแบบที่เราอยากอ่าน แนวที่ทำเรื่องยากให้ย่อยง่าย เข้าถึงง่าย ไม่วิชาการจ๋า ไม่การเมืองจ๋า ไม่บันเทิงจ๋า มีอยู่น้อยมากและเราอยากทำ ก่อนหน้านี้เวลาเราเจอคนรู้จักคนไหนที่เขียนหนังสือได้ มีเรื่องเล่า มีเรื่องที่น่าสนใจ เราเองก็จะแนะนำให้เขาเอางานไปเสนอตามสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้วพอเหลือสำนักพิมพ์อยู่น้อยเราก็เลยคิดว่าเรายังอยากจะให้คนที่เรารู้จักมีพื้นที่ในการถ่ายทอดทำหนังสือออกมาเราเลยเปิดเองเพื่อจะได้ชวนคนรู้จักมักจี่รอบข้างเราเนี่ยมาทำหนังสือเพราะเรารู้สึกว่าทั้งความรู้ แนวคิด มุมมองต่างๆ ของแต่ละคนเนี่ยถ้าได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นสื่อที่ถึงแม้ในปัจจุบันจะมี โซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เขาสามารถไปโพสต์ได้ แต่หนังสือคืออีกสื่อหนึ่งที่เรารู้สึกว่าจะสามารถนำเสนอความรู้ ความคิดเหล่านี้ไปให้คนอื่นได้
ชื่อ Avocado Books มาจาก?
เหตุผลจริงๆ คือชอบกินจ้า (หัวเราะ) แต่ถ้าเป็นเหตุผลออกสื่อก็คือ Avocado เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มีคุณค่า สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายทั้งคาวหวาน เหมือนกับหนังสือของ Avocado Books ที่จะทำให้ได้ประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจากความรู้ แง่มุมความคิดใหม่ๆ หรือความบันเทิง เรามีทั้ง Fiction Non-Fiction เรื่องยากเรื่องง่าย เรื่องเบาสมองที่ทำให้มีความสุขและอิ่มเอมไปกับการอ่านหนังสือ
“จำนวนคนอ่านหนังสือจากอดีตอาจจะลดลง แต่มันไม่ใช่ลดแล้วลดเลย มันสามารถเพิ่มขึ้นได้ สามารถสร้างใหม่ได้”
การตัดสินใจทำสำนักพิมพ์ท่ามกลางกระแสที่เขาว่ากันว่าสิ่งพิมพ์กำลังจะตายแล้ว?
เคยคิดเหมือนกันว่าตลาดสิ่งพิมพ์เนี่ยมีคนอ่านน้อยลงเพราะคนสนใจโซเชียลมีเดียมากขึ้น แต่อย่างเราเองเนี่ยเราก็ยังอ่านหนังสืออยู่ เหลือน้อยลงแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มี เราเลยคิดว่าถ้าคอนเทนต์ดีมันก็น่าจะขายได้ นั่นแปลว่าเราดูที่คอนเทนต์เป็นหลัก เราไม่ได้มองว่าเราผลิตแค่หนังสือเท่านั้นแต่เราต้องการจะผลิตคอนเทนต์นี้แค่เราผลิตออกมาในรูปแบบหนังสือการที่เรามาทำหนังสืออย่างหนึ่งคือก็เป็นการช่วยเพิ่มจำนวนคนที่จะอ่านหนังสือได้เหมือนกัน อย่างเช่น หนังสือที่เราทำร่วมกับน้อง กิต - Three Man Down “167 เฉพาะกิต” คนที่มาซื้อหนังสือมีทั้งคนที่ชอบอ่านหนังสืออยู่แล้วกับคนที่เป็นแฟนคลับ คนที่เป็นแฟนคลับกิตบางส่วนที่ปกติเค้าไม่ได้ชอบอ่านหนังสือแต่พอเขามาซื้อเล่มนี้ เขาก็รู้สึกว่าการอ่านหนังสือก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อ ไม่ใช่เรื่องที่ทุกข์ยากทรมานขนาดนั้น เวลาไปไหนมาไหนก็ยังมีน้องๆ ที่เป็นแฟนคลับกิตทักมาว่าพอเขาได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้เขาไปต่อยอดหาหนังสือเล่มอื่นๆ มาอ่านอีก เราเลยรู้สึกว่าจำนวนคนอ่านหนังสือจากอดีตอาจจะลดลง แต่มันไม่ใช่ลดแล้วลดเลย มันสามารถเพิ่มขึ้นได้ สามารถสร้างใหม่ได้

การคัดสรรหาต้นฉบับของ Avocado Books เป็นอย่างไร?
คุณสมบัติแรกของนักเขียนคือต้องรู้จักกับเราก่อน (หัวเราะ) เพราะจุดเริ่มต้นของการทำสำนักพิมพ์คืออยากชวนคนรู้จักมาทำ ถ้ารู้จักกันเราจะสามารถคอมเมนต์งานกันได้สะดวก เรารู้ว่าเราจะพูดคุยกับเขายังไง จะต่อรองจะประนีประนอมกันอย่างไร เรารู้ว่าเขารู้อะไรไม่รู้อะไรมีแง่มุมไหนในชีวิตที่เขารู้และเขายังไม่ได้เขียนหรือเปล่า เราสามารถแนะนำได้ แต่ที่คิดแบบนี้ได้เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของสำนักพิมพ์ พอเราใหม่เราก็ยังไม่ได้มั่นใจมากขนาดที่คนที่เขาลงแรงมากับเราแล้วเนี่ยเขาจะไปได้ไกลแค่ไหน จะประสบความสำเร็จไหม ดังนั้นการที่เราเริ่มจากคนรู้จักเนี่ยเขาจะเข้าใจเรา เข้าใจกันแต่พอทำได้สองปีเราก็จะเริ่มที่จะรู้และเข้าใจการทำสำนักพิมพ์ การทำต้นฉบับให้ประสบความสำเร็จให้ออกมาดี หลังๆ มาเราก็เลยเริ่มที่จะพิจารณาต้นฉบับจากนักเขียนที่ส่งเข้ามา เป็นนักเขียนที่เราไม่รู้จักมาก่อน
ในแง่เนื้อหาก็สำคัญยกตัวอย่างเช่นหนังสือ Nose Note บันทึกเรื่องกลิ่นจากปลายจมูกฯ โดยคุณน้ำ-กันต์นที นีระพล เรารู้จักกับเขาตั้งแต่ก่อนเปิดสำนักพิมพ์เคยได้ไปทำเวิร์กช็อปปรุงกลิ่นกับเขา พวก Essential Oil เรารู้สึกว่าชอบจังเลยเขามีความรู้เรื่องกลิ่นแล้วก็เล่าสนุกด้วย พอเราเปิดสำนักพิมพ์ก็เลยชวนน้ำมาเขียน มันคือการเอาเรื่องยาก เรื่องเฉพาะทางมาเล่าให้ง่ายแล้วก็ประสบความสำเร็จมาก
หรือเรื่องสั้นอย่าง เบญจ์, สมิทธิ์, มาริสา ในซีรีส์ 19 27 35 ก็เหมือนกันเราชวนคนรู้จักมาเขียนแต่ก็ให้ธงไปว่าเป็นคนชื่อนี้อายุเท่านี้

“ดังนั้นเวลาไปคุยสิ่งที่สำคัญกว่าการการันตีนั่นนี่นู่นคือเราต้องทำให้นักเขียนมั่นใจในสกิลตัวเอง มั่นใจว่าเขาเขียนได้ ซึ่งคือการโน้มน้าวให้นักเขียนเชื่อในตัวเอง”
มีคำพูดจูงใจอะไรในการชวนนักเขียนมาทำหนังสือไหม?
นักเขียนจำนวนไม่น้อยที่เราจีบมาเขียนเนี่ยไม่ใช่นักเขียนอาชีพ อย่าง Nose Note บันทึกเรื่องกลิ่นจากปลายจมูกฯ และ แม่ ฉัน และอัลไซเมอร์ โดยคุณชลจร จันทรนาวี เนี่ยในขั้นแรกเขาอาจจะไม่มั่นใจว่าเขาจะเขียนได้ไหม ซึ่งเราที่เป็นคนอื่นเนี่ยเรารู้ว่าเขาเขียนได้ เราเห็นมาโดยตลอดว่าเขามีทักษะด้านการถ่ายทอดและเรื่องเล่าของเขาดีมีคุณค่าดังนั้นเวลาไปคุยสิ่งที่สำคัญกว่าการการันตีนั่นนี่นู่นคือเราต้องทำให้นักเขียนมั่นใจในสกิลตัวเอง มั่นใจว่าเขาเขียนได้ ซึ่งคือการโน้มน้าวให้นักเขียนเชื่อในตัวเอง พอผ่านกระบวนการนี้แล้วก็คือความจริงใจในการที่จะสร้างสรรค์งานของเขา ให้ออกมาดีมีคุณภาพและสวยด้วย เนื้อหาเราก็ต้องหาบรรณาธิการที่สอดคล้องคนที่เราเชื่อว่าเขาจะสามารถดูแลต้นฉบับนี้ให้ดีได้
บางเล่มเราอาจจะเป็นบรรณาธิการได้แต่บางเล่มเราไม่มั่นใจเราก็ไปทาบทามเขามา เล่ม Nose Note ได้พี่เต้-จิราภรณ์ วิหวา ส่วนเล่ม แม่ ฉัน และอัลไซเมอร์ ได้พี่หมวย-ธนาพร ตั้งเจริญมั่นคง มาเป็นบรรณาธิการ เรารู้ว่าเข้าทาง ส่วนภาพประกอบเราก็คิดว่าจะต้องเป็นใคร นอกจากภาพวาดจะสามารถเป็นอะไรได้อีก ภาพวาด ภาพถ่าย จนสุดท้ายมาได้เป็นภาพผ้าปักของ ชญามีน เพจเส้นทางสายไหม - The Embroidery’s Journey

การเป็นนักเขียนแล้วมาทำสำนักพิมพ์เองทำให้มองเห็นอะไรที่แตกต่างไปบ้าง?
ตอนเขียนหนังสือเรารู้แค่ขั้นตอนของการเขียน การส่งต้นฉบับให้บรรณาธิการ อ่านคอมเม้นและปรับแก้กัน แต่พอมาทำสำนักพิมพ์เองเราต้องศึกษาทุกอย่าง การพิมพ์ การประสานงานกับโรงพิมพ์ การเลือกกระดาษ การจ้างคนทำภาพประกอบเลย์เอาต์ทุกสิ่งทุกอย่าง การกระจายสินค้า การคุยกับสายส่ง การคุยกับร้านหนังสือทั่วไปร้านหนังสืออิสระมันเยอะมาก ซึ่งต้องขอบคุณเพื่อนๆ ในแวดวงสำนักพิมพ์ที่คอยให้คำปรึกษาทุกเรื่องทุกอย่าง อย่างคุณปืนสำนักพิมพ์ 10 mm, พี่เบียร์ Mangmoom Book ที่แนะนำทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างดีถ้ามีคนที่อยากทำสำนักพิมพ์อิสระแบบนี้เองบ้าง คิดว่ายากไหม?
ถ้ามีฐานก็ไม่ใช่เรื่องยาก และมีจำนวนผู้อ่านของตัวเองประมาณหนึ่งก็สามารถใช้ระบบ Pre-Order หนังสือได้และผลิตของอื่นๆ Merchandise อื่นๆ โปสการ์ด, สติ๊กเกอร์, กระเป๋า, หมวก ก็เป็นช่องทางรายได้อย่างหนึ่งหรืออย่างโรงพิมพ์สมัยนี้ก็เข้าใจสำนักพิมพ์มากมีการให้เครดิตต่างๆระบบการขายหนังสือแบบเปิด Pre-Order ช่วยให้สำนักพิมพ์อยู่รอดได้มากขึ้นจริงไหม?
การซื้อตรงกับสำนักพิมพ์คือการช่วยให้สำนักพิมพ์อยู่รอดได้ง่ายขึ้น เพราะเงินเข้าสำนักพิมพ์โดยตรง เราสามารถนำทุนจากตรงนี้ไปต่อยอดได้ ในขณะที่หากเราฝากกับสายส่งเราก็โดนหักกว่า 40% ก็เป็นยอดที่สูง แต่เราก็เข้าใจว่าสายส่งก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้าเราไปยังที่ต่างๆ ในประเทศ ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีสายส่งจัดการเราก็ต้องไปดีลที่ต่างๆ เองเราก็ไม่ไหวยังไงเราก็ต้องพึ่งสายส่งคุณเคยให้สัมภาษณ์ไว้ที่หนึ่งว่า “แค่ได้ทำงานนี้ก็คิดว่าน่าจะมีความสุขแล้ว” ตอนนี้ยังเป็นแบบนั้นไหม?
ยังมีความสุข ทุกการทำงานในชีวิตเราอยากทำแต่อะไรที่มีความสุขอยู่แล้วถ้าไม่มีความสุขเราก็ไม่ทำ มีความสุขกับการหาต้นฉบับและโน้มน้าวให้เพื่อนเรามาเขียนได้ และมีความสุขในการที่เห็นคนอ่านหนังสือเรา ชอบและมีฟีดแบ็กต่างๆ ไม่ว่าจะทั้งชมทั้งติเราก็รู้สึกชอบฟังถึงแม้ว่าเวลาหนังสือจะออกแต่ละครั้งเราจะต้องอ่านหลายรอบมากแต่เราก็ยังมีความสุขมากๆ กับการอ่านต้นฉบับ อ่านหนังสือตัวเอง คืออ่านหนังสือตัวเองเยอะมากและอ่านอยู่อย่างเดียว ในปีถัดมาก็เลยลองจัดสรรเวลาตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อจะแบ่งเวลาตัวเองไปอ่านหนังสือของสำนักพิมพ์เพื่อนๆ บ้าง บังคับตัวเองให้อ่านและรีวิวหนังสือ เราเลยยังสนุก

การปรับตัวของโรงพิมพ์ที่เริ่มกลายเป็นสำนักพิมพ์เองส่งผลอะไรต่อสำนักพิมพ์อิสระอย่างเราไหม?
การที่โรงพิมพ์เพิ่มส่วนอื่นๆ เข้ามาเหมือนสำนักพิมพ์เราก็มองเขาเป็นอีกสำนักพิมพ์หนึ่งได้ เราไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งกันเพราะแต่ละคนทำหนังสือออกมาคนละเล่ม เนื้อหาไม่เหมือนใดๆ ต่างๆ ไม่เหมือนไม่ซ้ำกัน เราจึงมองว่าเราเป็นเหมือนเพื่อนที่ทำธุรกิจเดียวกันมากกว่าคู่แข่ง สินค้าเราคนละอย่าง หากเรามองว่าเราเป็นเหมือนเพื่อนที่ช่วยกันขาย ช่วยกันสนับสนุนแวดวงนี้มันก็จะสามารถไปได้สำนักพิมพ์เองก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะสำนักพิมพ์คือผู้ลงทุนทุกอย่างให้นักเขียน ในขณะที่หากนักเขียนไปพิมพ์กับโรงพิมพ์เองผู้ที่รับความเสี่ยงก็จะเป็นนักเขียนเองโดยตรง และประเทศนี้ก็ไม่ได้มีหน่วยงานรัฐที่จะมาซัปพอร์ตนักเขียนขนาดนั้น
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2561 (เก็บข้อมูลจากชาวไทย 55,920 ครัวเรือนตัวอย่าง ในทุกภูมิภาคและทุกช่วงวัย) พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านเฉลี่ยมากถึงวันละ 80 นาที และเยาวชนไทยเป็นกลุ่มที่ใช้เวลาอ่านหนังสือมากที่สุด อ่านเฉลี่ยวันละ 109 นาที คิดว่าข้อมูลสถิติเหล่านี้สะท้อนถึงอะไรบ้าง เช่น ความเป็นไปได้ที่ว่าอุตสาหกรรมหนังสือจะยังไม่ตาย ในเมื่อเยาวชนยังสนใจอ่านหนังสือ มีประเด็นไหนที่คุณเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับข้อมูลดังกล่าว?
ข้อมูลนี้รวม ‘การอ่าน’ ทั้งหมดรวมถึงบทความและข่าวบนโซเชียลมีเดียด้วยนอกจากหนังสือเล่ม เรามองว่าคนเราไม่ว่าจะอ่านจากไหนมันก็ตอบโจทย์หมด ไม่จำเป็นว่าคนเราต้องอ่านแค่หนังสือเล่มเท่านั้น การอ่านหนังสือเป็นงานอดิเรกที่อาจจะมีคนชอบและไม่ชอบก็ได้ แต่ถ้าคนเลือกที่จะหยิบหนังสือเล่มมากขึ้นนั้นก็ดี อย่างในอเมริกาเราจะเห็นว่าวัยรุ่นอ่านหนังสือเล่มกันเยอะ จากที่ไปส่องใน Tiktok มา เช่นเทรนด์ #BookTok ร้านหนังสือที่นั่นมีการจัดชั้นหนังสือตามแฮชแท็กเลยอ่านบทความ : หนังสือกำลังฟื้นคืนชีพ! เมื่อ Gen Z หลงใหลการอ่านหนังสือเล่ม สนใจห้องสมุดมากกว่าอยู่หน้าจอกับ e-book
แล้วกลุ่มวัยรุ่นไปดูชั้นนี้เยอะมาก รีวิวกันสนุก คอมเมนต์เยอะ และมีวิธีถ่ายทอดที่หลากหลายมากๆ อย่างปีนี้เอง Tiktok Thailand ก็เริ่มที่จะผลักดัน #BookTok โดยความร่วมมือกับสมาคมผู้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อผลักดันคอนเทนต์เกี่ยวกับหนังสือและรายการรีวิวหนังสือ อย่างของไทยเองจะมี #BKKBookTok และในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งนี้ก็ยังชูธีม BookFluencer เพื่อจะชวนให้คนรีวิวหนังสือกันมากขึ้น

“สิ่งที่จะทำให้คนตัดสินใจซื้อคือคอนเทนต์ เราเลยเลือกทำหนังสือที่จะไม่มีคอนเทนต์ในโลกออนไลน์หรือถ้าเจอกลวิธีการเล่าต้องแตกต่างไป พิเศษกว่าที่มีอยู่ในโลกออนไลน์”
ในยุคที่ธุรกิจแข่งกันแย่ง ‘เวลา’ ของผู้บริโภค เช่น ซีรีส์ หนัง เกม และคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย แล้วแพลตฟอร์มอย่างหนังสือจะสร้างความแตกต่างไปได้อย่างไร
สิ่งที่จะทำให้คนตัดสินใจซื้อคือคอนเทนต์ เราเลยเลือกทำหนังสือที่จะไม่มีคอนเทนต์ในโลกออนไลน์หรือถ้าเจอกลวิธีการเล่าต้องแตกต่างไป พิเศษกว่าที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ เช่น หนังสือทัวร์คนบาปกับคำสาปฟาโรห์ ที่เกิดจากแฮชแท็กดังบนทวิตเตอร์ แต่พอเป็นหนังสือก็จะมีคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนกันกับประสบการณ์ที่หาไม่ได้บนโลกออนไลน์
หรืออย่างเล่ม เรื่องที่ผมจะเล่า มันค่อนข้างน่ากลัวครับพี่ จุดเริ่มต้นมาจากการที่เราไปเจอเพจ Ghost คือโง่ โมโหคือบ้า เราก็ทำให้คอนเซปต์ชัดขึ้นอย่างสิ่งที่ไม่มีในเพจคือภาพประกอบ เราก็ได้อาจารย์โต้ด โกสุมพิสัย นักวาดภาพการ์ตูนผีไทยลายเส้นเป็นเอกลักษณ์อันดับต้นๆ ที่วาดการ์ตูนผีมาแล้วกว่า 50 ปีมาวาดให้แบบที่ใครที่สะสมงานของอาจารย์โต้ดก็ต้องมีเก็บไว้
สิ่งที่จะทำให้คนตัดสินใจซื้อคือคอนเทนต์ เราเลยเลือกทำหนังสือที่จะไม่มีคอนเทนต์ในโลกออนไลน์หรือถ้าเจอกลวิธีการเล่าต้องแตกต่างไป พิเศษกว่าที่มีอยู่ในโลกออนไลน์ เช่น หนังสือทัวร์คนบาปกับคำสาปฟาโรห์ ที่เกิดจากแฮชแท็กดังบนทวิตเตอร์ แต่พอเป็นหนังสือก็จะมีคอนเทนต์ที่ไม่เหมือนกันกับประสบการณ์ที่หาไม่ได้บนโลกออนไลน์
หรืออย่างเล่ม เรื่องที่ผมจะเล่า มันค่อนข้างน่ากลัวครับพี่ จุดเริ่มต้นมาจากการที่เราไปเจอเพจ Ghost คือโง่ โมโหคือบ้า เราก็ทำให้คอนเซปต์ชัดขึ้นอย่างสิ่งที่ไม่มีในเพจคือภาพประกอบ เราก็ได้อาจารย์โต้ด โกสุมพิสัย นักวาดภาพการ์ตูนผีไทยลายเส้นเป็นเอกลักษณ์อันดับต้นๆ ที่วาดการ์ตูนผีมาแล้วกว่า 50 ปีมาวาดให้แบบที่ใครที่สะสมงานของอาจารย์โต้ดก็ต้องมีเก็บไว้
