ช่วงนี้กระแสภาพยนตร์ The Little Mermaid กำลังกลับมาอีกครั้ง ทำให้เราหวนนึกถึงเวอร์ชันการ์ตูนออริจินัลในวัยเด็ก ความสดใสของโลกใต้ทะเล เหล่าสัตว์น้ำที่น่ารัก และความน่ากลัวของแม่มดเออซูล่า
สมัยเด็กตอนที่ดูฉากที่เเอเรียลเลือกที่จะทำสัญญากับเออซูล่าโดยการแลกเสียงร้องกับการได้ขาสองข้างเพื่อขึ้นไปทำให้เจ้าชายเอริคตกหลุมรักเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก และเข้าใจเเอเรียลที่จะยอมแลกสิ่งต่างๆ เพื่อไปอยู่ในโลกมนุษย์
แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาเรากลับพบว่าฉากนั้นกลับไม่คุ้มกับเเอเรียลเอาเสียเลย และสัญญาแลดูไม่เป็นธรรมกับฝ่ายเเอเรียลอย่างแรง รู้สึกเหมือนดูคนที่ไปทำสัญญากับเจ้าหนี้นอกระบบที่สิ่งที่ต้องจ่ายดูเป็นไปไม่ได้จริง และมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมอยู่
สมัยเด็กตอนที่ดูฉากที่เเอเรียลเลือกที่จะทำสัญญากับเออซูล่าโดยการแลกเสียงร้องกับการได้ขาสองข้างเพื่อขึ้นไปทำให้เจ้าชายเอริคตกหลุมรักเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก และเข้าใจเเอเรียลที่จะยอมแลกสิ่งต่างๆ เพื่อไปอยู่ในโลกมนุษย์
แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาเรากลับพบว่าฉากนั้นกลับไม่คุ้มกับเเอเรียลเอาเสียเลย และสัญญาแลดูไม่เป็นธรรมกับฝ่ายเเอเรียลอย่างแรง รู้สึกเหมือนดูคนที่ไปทำสัญญากับเจ้าหนี้นอกระบบที่สิ่งที่ต้องจ่ายดูเป็นไปไม่ได้จริง และมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมอยู่

สัญญาของเออซูล่าคืออะไร ?
สัญญาของเออซูล่าคือให้ขาสองข้างกับเเอเรียลโดยแลกกับเสียง และมีเงื่อนไขว่าเเอเรียลต้องทำให้เจ้าชายเอริคจุมพิตเธอภายในสามวัน หากทำไม่ได้เสียงและวิญญาณของเเอเรียลจะต้องตกเป็นของเออซูล่าตลอดกาล
ถึงแม้ชาวแอตแลนติสจะไม่ได้ยึดกฎหมายเดียวกันกับประเทศไทย แต่หากเราลองวิเคราะห์ดูตามหลักกฎหมายบ้านเราแล้วสัญญาของเออซูล่าทำให้เเอเรียลเสียเปรียบหลายอย่าง ดังนี้
- เอา ‘เสียง’ ซึ่งคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนตกหลุมรักกันจนกลายเป็นจุมพิตได้ไป และอย่าลืมว่าเอเรียลยังไม่เคยคุยกับเจ้าชายเอริคเลย!
- การวางเงื่อนไข “3 วัน” ที่ต้องจุมพิต การจะทำให้คนเราตกหลุมรักกันภายในสามวันทั้งที่ไม่ได้คุยกันมันยากอยู่นะ เหมือนเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดดอกรายวันโหดๆ กับกรอบระยะเวลาที่ทำให้เสียเปรียบตั้งแต่ต้น เป็นไปได้ยากที่จะสำเร็จ
- เมื่อไม่สำเร็จจะต้องให้ทั้งเสียงและวิญญาณ สัญญาที่สร้างความเสี่ยงสูงและมีท่าทีเสียเปรียบกับผู้ทำสัญญา
โดยตามหลักกฎหมายบ้านเรา การทำนิติกรรม-สัญญาต่างๆ จะต้องเป็นผู้ที่
- อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ / อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ (แต่งงานและจดทะเบียนสมรส) โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครอง 2 ฝ่ายยินยอม / อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ (แต่ศาลอนุญาตให้สมรส) ซึ่งเเอเรียลมีอายุเพียง 16 ปีเท่านั้น นับว่าเป็นผู้เยาว์อยู่
นิยามของ นิติกรรม-สัญญา คืออะไร ?
- การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและสมัครใจผูกสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ/เปลี่ยนแปลง/โอน/สงวน/ระงับสิทธิ และมุ่งต่อผลในกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขาย , สัญญากู้เงิน และพินัยกรรม เป็นต้น
- แล้วมี นิติกรรม-สัญญา อะไรบ้างที่ผู้เยาว์ทำได้เอง ?
- กิจการที่เป็นประโยชน์ : ไม่มีทางเสียหาย เช่น ผู้เยาว์รับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หา และไม่มีค่าตอบแทน
- กิจการที่ต้องทำเองเฉพาะตัว : เช่น การรับรองเด็กเป็นลูก หรือเข้าสู่พิธีสมรส
- กิจการที่สมควรแก่ฐานะ : จำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร เช่น ซื้อขนม , เครื่องเขียน
- พินัยกรรม : เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ (ถ้าอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ถือเป็นโมฆะ*)
*โมฆะ , โมฆียะ หมายถึง “ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย”
หากไม่นับเรื่องที่เออซูล่าพยายามเข้าไปแทรกแซงและทำลายความสัมพันธ์ของเเอเรียลกับเจ้าชายเอริคแล้ว สัญญาของเออซูล่าก็ต้องกลายเป็นโมฆะอยู่ดีเพราะ
- เพราะเเอเรียลยังเป็นผู้เยาว์อายุ 16 ตามกฎหมายแล้วจะทำนิติกรรม-สัญญา ได้ต้องอายุ 20 ปีบริบูรณ์เท่านั้น
- ผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม-สัญญาด้วยตนเองลำพังไม่ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (พ่อ/แม่/ผู้ปกครอง)
- เป็นหนังสือ
- วาจา
- ปริยาย เช่น รับรู้/ไม่ทวงติ่ง-ว่ากล่าว/ให้คำปรึกษา/ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา/ช่วยติดต่อเป็นธุระให้
- ถ้าไม่ได้รับความยินยอม นิติกรรม-สัญญาจะตกเป็น “โมฆียะ”
- มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกเลิกสัญญา
- ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกนิติกรรม-สัญญาได้
- ผู้แทนโดยชอบธรรมยืนยันการทำนิติกรรม-สัญญาได้