เคยสงสัยไหมว่าทำไมคำบางคำออกเสียงเหมือนกัน แต่สะกดไม่เหมือนกัน? แล้วทำไมเราถึงไม่เปลี่ยนการสะกดให้เหมือนกันไปเลย?
‘ภาษา’ เป็นสิ่งที่อยู่กับเราทุกวัน และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็พบว่าเสียงบางเสียงหายไปเสียแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในแทบทุกภาษา ไม่เว้นแม้แต่ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย
วันนี้เราขอชวนย้อนดูเสียงบางเสียงที่เคยมีอยู่จริงในอดีตแต่กลับหายตัวไปในปัจจุบัน ด้วยวิวัฒนาการที่เป็นไปตามกาลเวลา และความ ‘ขี้เกียจ’ ออกเสียงของผู้ใช้ภาษาอย่างเราๆ
‘ภาษา’ เป็นสิ่งที่อยู่กับเราทุกวัน และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็พบว่าเสียงบางเสียงหายไปเสียแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในแทบทุกภาษา ไม่เว้นแม้แต่ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย
วันนี้เราขอชวนย้อนดูเสียงบางเสียงที่เคยมีอยู่จริงในอดีตแต่กลับหายตัวไปในปัจจุบัน ด้วยวิวัฒนาการที่เป็นไปตามกาลเวลา และความ ‘ขี้เกียจ’ ออกเสียงของผู้ใช้ภาษาอย่างเราๆ

เราจะขอเริ่มจากภาษาอังกฤษที่ขึ้นชื่อเรื่อง ‘silent letters’ หรือตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งความจริงตัวอักษรบางตัวเคยออกเสียงมาก่อน เช่น ‘kn-’ ในคำว่า knee / knight / know ยุคภาษาอังกฤษเก่าเคยออกเสียงว่า /cn/ จนถึงช่วงศตวรรษที่ 17 แต่ด้วยความออกเสียงยาก คำที่ขึ้นต้นด้วย kn- ก็ค่อยๆ ออกเสียงเพี้ยนเป็น /n/ แทน ในที่สุดเสียง /cn/ ก็หายไปจากภาษาอังกฤษยุคใหม่โดยสิ้นเชิง
หรือจะเป็น ‘wh-’ ในคำว่า what / where / when / why ที่ไม่ออกเสียง /h/ แต่ความจริงเคยออกเสียงว่า /hw/ ซึ่งการลดทอนมาเป็นเสียง /w/ เริ่มเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13 ที่อังกฤษตอนใต้ โดยตอนนั้นคนที่ออกเสียง /w/ ยังถูกมองว่าไม่มีการศึกษา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าเสียงควบกล้ำ /hw/ ก็โดนลดทอนเป็น /w/ ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า ‘wine–whine merger’ ทั้งนี้เสียง /hw/ ยังคงมีอยู่ในบางท้องถิ่น เช่น สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา
ใครที่สงสัยว่าทำไมคำว่า who และ whom ไม่ได้เปลี่ยนตามเพื่อน เหตุผลคือในยุคภาษาอังกฤษสมัยกลางมีการลดทอนเสียง /hw/ ที่ประสมกับสระปากห่อ (rounded vowels) ให้กลายเป็น /h/ แทน
หรือจะเป็น ‘wh-’ ในคำว่า what / where / when / why ที่ไม่ออกเสียง /h/ แต่ความจริงเคยออกเสียงว่า /hw/ ซึ่งการลดทอนมาเป็นเสียง /w/ เริ่มเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13 ที่อังกฤษตอนใต้ โดยตอนนั้นคนที่ออกเสียง /w/ ยังถูกมองว่าไม่มีการศึกษา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าเสียงควบกล้ำ /hw/ ก็โดนลดทอนเป็น /w/ ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า ‘wine–whine merger’ ทั้งนี้เสียง /hw/ ยังคงมีอยู่ในบางท้องถิ่น เช่น สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา
ใครที่สงสัยว่าทำไมคำว่า who และ whom ไม่ได้เปลี่ยนตามเพื่อน เหตุผลคือในยุคภาษาอังกฤษสมัยกลางมีการลดทอนเสียง /hw/ ที่ประสมกับสระปากห่อ (rounded vowels) ให้กลายเป็น /h/ แทน

วิวัฒนาการในภาษาไทยก็คล้ายคลึงกัน หลายพยัญชนะที่เคยออกเสียงแบบหนึ่งถูกลดทอนให้ออกเสียงง่ายขึ้น จะเรียกว่าเป็นเพราะมนุษย์เราขี้เกียจออกเสียงที่ซับซ้อนเกินจำเป็นก็คงได้ โดยตัวอักษรของไทยได้รับอิทธิพลมาจากอักษรปัลลวะทางฝั่งอินเดีย จากภาษาที่มีระบบเสียงซับซ้อน ปัจจุบันกลายเป็นอักษรไทย 44 ตัวที่มีเพียง 21 เสียงเท่านั้น
หากย้อนกลับไปจะพบว่าพยัญชนะบางตัวเคยออกเสียงต่างจากปัจจุบัน เช่น ‘ญ’ ที่เคยออกเสียงเป็น ‘ย’ แบบขึ้นจมูก [ɲ] แต่ในภาษาไทยกลางตอนนี้กลายเป็นเสียง ‘ย’ ธรรมดา โดยเสียงดั้งเดิมแบบขึ้นจมูกยังคงพบได้ในภาษาคำเมือง / อีสาน / ลาว
ยิ่งไปกว่านั้นการออกเสียงยังส่งผลต่อการเลิกใช้ตัวอักษรด้วย อย่าง ‘ฃ’ และ ‘ฅ’ ก็เคยปรากฏในกฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลที่ 1 เช่น ฃอเดชะ ลำฅอ ซึ่งการออกเสียงแบบเก่าเป็นเสียงเสียดแทรกที่เพดานอ่อน (velar fricative) ที่ออกเสียง ฃ เป็น [x] และ ฅ เป็น [ɣ] แต่เมื่อเวลาผ่านไปเสียงก็เพี้ยนเป็น [kʰ] ซึ่งเป็นเสียงเดียวกับ ‘ค’ ทำให้การสะกดคำค่อยๆ เปลี่ยนตามจนพยัญชนะ ฃ และ ฅ ถูกเลิกใช้ไปในที่สุด
ท้ายที่สุดเสียงพยัญชนะบนโลกก็ไม่ได้หายไปอย่างไร้สาเหตุ โดยมากมักเพี้ยนเป็นเสียงที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจออกเสียงง่ายกว่าหรือแพร่หลายมากกว่า ทั้งนี้จะเห็นว่าหลายคำก็ยังคงสะกดตามเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของรากศัพท์ที่ทำให้เรารู้ว่าคำนี้มีที่มาจากไหน
ถ้าเราเปลี่ยนคำที่ออกเสียงเหมือนกันให้สะกดเหมือนกันหมด เราจะมีคำที่ทั้งพ้องรูปและพ้องเสียงเยอะไปหมด ยากที่จะแยกคำว่า ‘which’ กับ ‘witch’ หรือ ‘ศิลป์’ กับ ‘สิน’ ซึ่งโลกแบบนั้นคงน่าปวดหัวไม่น้อย
หากย้อนกลับไปจะพบว่าพยัญชนะบางตัวเคยออกเสียงต่างจากปัจจุบัน เช่น ‘ญ’ ที่เคยออกเสียงเป็น ‘ย’ แบบขึ้นจมูก [ɲ] แต่ในภาษาไทยกลางตอนนี้กลายเป็นเสียง ‘ย’ ธรรมดา โดยเสียงดั้งเดิมแบบขึ้นจมูกยังคงพบได้ในภาษาคำเมือง / อีสาน / ลาว
ยิ่งไปกว่านั้นการออกเสียงยังส่งผลต่อการเลิกใช้ตัวอักษรด้วย อย่าง ‘ฃ’ และ ‘ฅ’ ก็เคยปรากฏในกฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลที่ 1 เช่น ฃอเดชะ ลำฅอ ซึ่งการออกเสียงแบบเก่าเป็นเสียงเสียดแทรกที่เพดานอ่อน (velar fricative) ที่ออกเสียง ฃ เป็น [x] และ ฅ เป็น [ɣ] แต่เมื่อเวลาผ่านไปเสียงก็เพี้ยนเป็น [kʰ] ซึ่งเป็นเสียงเดียวกับ ‘ค’ ทำให้การสะกดคำค่อยๆ เปลี่ยนตามจนพยัญชนะ ฃ และ ฅ ถูกเลิกใช้ไปในที่สุด
ท้ายที่สุดเสียงพยัญชนะบนโลกก็ไม่ได้หายไปอย่างไร้สาเหตุ โดยมากมักเพี้ยนเป็นเสียงที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจออกเสียงง่ายกว่าหรือแพร่หลายมากกว่า ทั้งนี้จะเห็นว่าหลายคำก็ยังคงสะกดตามเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของรากศัพท์ที่ทำให้เรารู้ว่าคำนี้มีที่มาจากไหน
ถ้าเราเปลี่ยนคำที่ออกเสียงเหมือนกันให้สะกดเหมือนกันหมด เราจะมีคำที่ทั้งพ้องรูปและพ้องเสียงเยอะไปหมด ยากที่จะแยกคำว่า ‘which’ กับ ‘witch’ หรือ ‘ศิลป์’ กับ ‘สิน’ ซึ่งโลกแบบนั้นคงน่าปวดหัวไม่น้อย