“มนุษย์เรานั้นเป็นบุตรแห่งการกระทำ มิใช่แห่งชาติตระกูล” ประโยคสอนใจนี้ปรากฎอยู่ในหนังสือเรื่อง ‘ดอน กิโฆเต้’ (Don Quixote) วรรณกรรมชิ้นเอกแห่งสเปนที่เรียกได้ว่าเป็นมรดกชิ้นสำคัญที่ส่งทอดมาจาก มิเกล์ เด เซร์บันเตส ซาเบดร้า (Miguel de Cervantes Saavedra) นักเขียนชาวสเปน
ตอนนี้ที่ร้านหนังสือเก่าเก็บ Maggs Bros. Ltd กำลังนำวรรณกรรม ดอน กิโฆเต้ ทั้งสองเล่มเข้าสู่ระบบประมูล ซึ่งคาดว่ามีมูลค่ารวมทั้งสองเล่มราว 400,000-600,000 ยูโร (14-21 ล้านบาท) สาเหตุที่มีราคาประมูลมหาศาล เนื่องจากทั้งสองเล่มเป็นฉบับตีพิมพ์ปี 1608 และ 1615 มีอายุร่วม 400 กว่าปี ถือว่าเป็นฉบับตีพิมพ์ชุดที่หายากที่สุดชุดหนึ่ง
ตอนนี้ที่ร้านหนังสือเก่าเก็บ Maggs Bros. Ltd กำลังนำวรรณกรรม ดอน กิโฆเต้ ทั้งสองเล่มเข้าสู่ระบบประมูล ซึ่งคาดว่ามีมูลค่ารวมทั้งสองเล่มราว 400,000-600,000 ยูโร (14-21 ล้านบาท) สาเหตุที่มีราคาประมูลมหาศาล เนื่องจากทั้งสองเล่มเป็นฉบับตีพิมพ์ปี 1608 และ 1615 มีอายุร่วม 400 กว่าปี ถือว่าเป็นฉบับตีพิมพ์ชุดที่หายากที่สุดชุดหนึ่ง

หนังสือทั้งสองเล่มนี้ถูกซื้อไปครั้งสุดท้ายโดย จอร์จ ออร์ทิซ ลีนาเรส (Jorge Ortiz Linares) เอกอัครราชทูตโบลิเวียในประเทศฝรั่งเศสในช่วงปี 1940s โดยเขามีแผนในใจเสมอในการหา ดอน กิโฆเต้ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งถูกขายไปเรียบร้อยแล้ว เล่มที่เขาได้คือ ดอน กิโฆเต้ เล่ม 1 ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1608 ในราคา 42,000 ปอนด์ (1.7 ล้านบาท) และ ดอน กิโฆเต้ ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1615 ในราคา 5,600 ปอนด์ (200,000 บาท) ทั้งสองเล่มมาจากร้าน Maggs Bros. Ltd โดยจอร์จกล่าวว่าถือเป็นการลงทุนที่ดีในตอนนั้น

ดอน กิโฆเต้ หรือชื่อเต็ม ดอน กิโฆเต้ แห่งลามาช่า (Don Quixote of La Mancha) เป็นผลงานของ มิเกล์ เด เซร์บันเตส ซาเบดร้า ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1605 เป็นงานเขียนที่แวดวงวรรณกรรมยกย่องให้เป็นวรรณกรรมสมัยใหม่ หรือเป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมสมัยใหม่ในสเปน เนื้อเรื่องว่าด้วยเรื่องราวของขุนนางชั้นต่ำนามว่า ดอน กิโฆเต้ ผู้หลงใหลในนิยายเรื่องเล่าอัศวินจนเพ้อพกเผลอคิดว่าตนเป็นอัศวินจนได้ออกตะลุยไปผจญโลกกว้างบนม้าที่ผอมโซ

แต่ละเหตุกาณ์ที่ ดอน กิโฆเต้ ประสบล้วนเป็นเรื่องที่น่าตลกขบขัน เช่น เห็นกังหันลมเป็นปีศาจ เห็นผู้หญิงทั่วไปเป็นเจ้าหญิง หรือเห็นกระท่อมหลังเล็กเป็นปราสาทใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรื่อง ดอน กิโฆเต้ ก็มีคติสอนใจไว้มากมาย พร้อมกับมีวิธีการนำเสนอเรื่องที่น่าสนใจและน่าติดตาม บวกรวมผสมไปกับประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ประสบพบเจอกับแขกมัวร์ และการค้าทาส
ปัจจุบันวรรณกรรมชิ้นนี้ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่นักอ่าน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เรียนภาษาสเปน และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก สำหรับฉบับแปลภาษาไทยนั้นแปลโดย สว่างวัน ไตรเจริญวิวัฒน์ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
ปัจจุบันวรรณกรรมชิ้นนี้ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่นักอ่าน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เรียนภาษาสเปน และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก สำหรับฉบับแปลภาษาไทยนั้นแปลโดย สว่างวัน ไตรเจริญวิวัฒน์ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ