ต้นกำเนิดการมีหลาย ‘เมีย’

21 ก.ค. 2566 - 10:41

  • การมีภรรยาหลายคนมีบทบาทในการสร้างโครงสร้างทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงของครอบครัว ในบางวัฒนธรรม การมีภรรยาหลายคนมักเกี่ยวข้องกับสถานะทางสังคม อำนาจ และความมั่งคั่ง

  • ในส่วนอื่นๆ ของโลก รวมทั้งแถบตะวันออกกลางและเอเชีย การมีภรรยาหลายคนเป็นเรื่องถูกกฎหมายแต่ไม่ได้ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย

polygamy-rare-around-the-world-SPACEBAR-Thumbnail
การมีเมีย หรือภรรยาหลายคน พร้อมกัน (Polygamy - สถานะของการแต่งงานกับคู่สมรสหลายคน)  อาจดูเป็นเรื่องที่น่าหลงใหล และเป็นที่กำลังถกเถียงและโต้แย้งกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจเป็น การปฏิบัติที่มีความซับซ้อนและมีหลายแง่มุมู่ในเชิงวัฒนธรรมตลอดประวัติศาสตร์ ขณะที่บางสังคมยอมรับการมีภรรยาหลายคน แต่บางสังคมก็ยังคงประณามว่ามัน ‘ไร้จริยธรรม’ หรือเป็นอันตรายต่อความสามัคคีในสังคม 

ต้นกำเนิดของการมีหลายเมีย 

การมีภรรยาหลายคนไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งที่มาของมันสามารถสืบย้อนไปถึงอารยธรรมโบราณ ตั้งแต่อียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมียไปจนถึงชนเผ่าพื้นเมืองบางกลุ่มในแอฟริกาและเอเชีย การมีภรรยาหลายคนนั้นมีบทบาทในการสร้างโครงสร้างทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงของครอบครัว ในบางวัฒนธรรม การมีภรรยาหลายคนมักเกี่ยวข้องกับสถานะทางสังคม อำนาจ ความมั่งคั่ง เนื่องจากทำให้บุคคลสามารถสร้างพันธมิตรและสร้างเครือข่ายครอบครัวให้กว้างขวางได้   

อย่างเช่นวัฒนธรรมของไทย ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ผู้ชายถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากในทางเศรษฐกิจ เพราะจะต้องหาเลี้ยงครอบครัว ดังนั้น หญิงไทยจะถูกกำหนดให้ต้องอยู่แต่ในครัวและบ้าน ซึ่งจากงานวิจัยของดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ระบุถึงความสัมพันธ์ทางเพศในสมัยนั้นไว้ว่า สังคมจะตำหนิชายที่ไปเป็นชู้กับภรรยาคนอื่น แต่ก็ไม่ห้ามการมีภรรยาหลายคน ขณะที่ผู้หญิงที่มีสามีแล้วจะมีความสัมพันธ์กับชายอื่นไม่ได้  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/78iPC2kJCRFVhEdMrjBquX/0fb10a3c87583cee24e2b55d99d7f866/polygamy-rare-around-the-world-SPACEBAR-Photo01
Photo: Wikipedia
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ชายก็ยังคงเป็นผู้นำในเกือบทุกด้าน จนกระทั่งมาถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่มีอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา ขณะที่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ทางเพศของตะวันตกมากมาย เนื่องจากความนิยมของสังคมส่วนหนึ่งมองว่าระบบเครือญาติและครอบครัวเป็นสิ่งที่แสดงความเจริญทางสังคม 

อย่างไรก็ตาม การมีภรรยาหลายคนก็ยังคงเป็นสิ่งที่หาได้ยากทั่วโลก อย่างในสหรัฐฯ การมีความสัมพันธ์แบบคู่สมรสกับคนมากกว่าหนึ่งคนภายใต้ชายคาเดียวกันถือเป็นความผิดทางอาญาในปี 1882 ปัจจุบัน ผู้คนในสหรัฐฯ ไม่ค่อยถูกดำเนินคดีในข้อหามีภรรยาหลายคน แต่ทุกรัฐยังคงมีกฎหมายห้ามการแต่งงานซ้อนอยู่ 

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 รัฐยูทาห์ (Utah) ผ่านร่างกฎหมายเพื่อลดบทลงโทษสำหรับผู้ที่สมัครใจอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีภรรยาหลายคน ซึ่งการแก้ไขร่างดังกล่าวนี้ ทำให้การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิด เป็นความผิดระดับต่ำที่ไม่ต้องรับโทษถึงจำคุก 

ในส่วนอื่นๆ ของโลก รวมทั้งแถบตะวันออกกลางและเอเชีย การมีภรรยาหลายคนเป็นเรื่องถูกกฎหมายแต่ไม่ได้ปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย และในบางประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางที่รู้จักกันในนามแหล่งรวมผู้ที่มีภรรยาหลายคน – ซึ่งการปฏิบัตินี้มักถูกกฎหมายและแพร่หลาย 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/0NLW1t0oe5FfLJ3JzjaRs/9157e5bab065e992a63d34fd8fa18457/polygamy-rare-around-the-world-SPACEBAR-Photo02
Photo: Wikipedia
รายงานของ Pew Research Center เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่อาศัยใน 130 ประเทศและดินแดนที่เผยแพร่ในปี 2019 ได้วิเคราะห์จำนวนคนที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีภรรยาหลายคน รวมถึงครัวเรือนประเภทอื่นๆ  

และนี่คือสิ่งที่น่าสนใจในการวิจัยครั้งนี้:  

ประชากรส่วนน้อยบนโลกเท่านั้นที่มีภรรยาหลายคน  

มีเพียงประมาณ 2% ของประชากรโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีภรรยาหลายคน และในประเทศส่วนใหญ่มีสัดส่วนประชากรที่มีภรรยาหลายคนต่ำกว่า 0.5%  อย่างไรก็ตาม การมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งต้องห้ามทั่วโลก  

ด้านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การมีภรรยาหลายคนเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของผู้หญิง และเรียกร้องให้ ‘ยกเลิก’ พฤติกรรมดังกล่าว แต่ก็มักจะมีข้อจำกัด เช่น การบริหารของรัฐบาลในหลายประเทศที่ให้การแต่งงานอยู่ภายใต้กฎหมายศาสนา หรือจารีตประเพณี ซึ่งแปลว่า การกำกับพิธีรีตองเหล่านี้อาจอยู่ในมือของนักบวช หรือผู้นำชุมชน  

การมีภรรยาหลายคนมักพบในแอฟริกาตอนใต้ 

กว่า 11% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารามีคู่สมรสมากกว่าหนึ่งคน การมีภรรยาหลายคนแพร่หลายในกลุ่มประเทศในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง รวมถึงบูร์กินาฟาโซ (36%) มาลี (34%) และไนจีเรีย (28%) ในประเทศเหล่านี้ การมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งถูกกฎหมาย อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง  
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1AUwOhsShuB26BeOf0zEdt/f8ba3de25440f205a7e974a22e08df7a/polygamy-rare-around-the-world-SPACEBAR-Photo03
ชาวมุสลิมในแอฟริกามีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบนี้มากกว่าชาวคริสต์ (สูงถึง 25% เทียบกับ 3%) แต่ในบางประเทศ การปฏิบัติดังกล่าวยังแพร่หลายในหมู่ผู้นับถือศาสนาพื้นบ้านและผู้ที่ไม่ได้ระบุศาสนาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในบูร์กินาฟาโซ 45% ของผู้ที่นับถือศาสนาพื้นบ้าน 40% ของชาวมุสลิม และ 24% ของคริสเตียนอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีภรรยาหลายคน ชาดเป็นประเทศเดียวในการวิเคราะห์นี้ที่ชาวคริสต์ (21%) มีแนวโน้มมากกว่าชาวมุสลิม (10%) ที่จะอาศัยอยู่ในบ้านที่มีความสัมพันธ์ประเภทนี้  

ประเทศที่อนุญาตให้มีภรรยาหลายคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม 

ผู้ชายมุสลิมน้อยกว่า 1% อาศัยอยู่กับคู่สมรสมากกว่าหนึ่งคนในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน และอียิปต์ ชาวมุสลิมมักอ้างถึงหลักอัลกุรอาน ซึ่งแนะนำให้ผู้ชายมีภรรยามากที่สุดเท่าที่จะดูแลได้ มากถึงสี่คน และพวกเขายังชี้ให้เห็นว่าศาสดามูฮัมหมัดมีภรรยาหลายคน  

นักประวัติศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่าแนวทางอิสลามเกี่ยวกับการมีภรรยาหลายคนมีขึ้นท่ามกลางสงครามในอาระเบียในศตวรรษที่ 7 เมื่อมีหญิงม่ายและเด็กกำพร้าจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน และการมีภรรยาหลายคนได้สร้างระบบสำหรับการดูแลพวกเขา 

ผู้คน 1 ใน 5 ของสหรัฐฯ เชื่อว่าการมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งที่ ‘ยอมรับ’ ได้ในทางศีลธรรม  

จากการสำรวจของ Gallup ล่าสุดพบว่า แนวคิดนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (จาก 7%) นับตั้งแต่คำถามนี้ถูกถามครั้งแรกในปี 2003 แต่ยังคงเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ได้รับการยอมรับน้อยที่สุด   นอกจากนี้ Gallup ถามถึงพวกเสรีนิยมที่อธิบายตนเองว่าแนวโน้มมากกว่าพวกอนุรักษนิยมที่จะมองว่าการมีภรรยาหลายคนเป็นที่ยอมรับในทางศีลธรรม (34%  เทียบกับ 9%) 

อย่างไรก็ตามการ ไม่ว่าจะมีหลายเมีย หรือเมียเดียวก็ดูจะไม่น่าเป็นปัญหาอะไร หากมีการยินยอมกันตั้งแต่แรก เพราะสังคมสมัยใหม่ก็ค่อนข้างเปิดกว้างต่อการมีภรรยาหลายคน อีกทั้งสังคมได้ผ่านพ้นช่วงวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียวไปแล้ว  

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์