หากพูดถึงดิสโก้ เราจะนึกถึงอะไรกันมากที่สุด? ลูกบอลดิสโก้ที่หมุนส่องแสงระยิบระยับบนเพดาน หรือจะเป็นท่าเต้นสุดไอคอนิกบนเฟลอร์แดนซ์ หรือจะเป็นหนังที่ จอห์น ทราโวลตา (John Travolta) เล่นในเรื่อง Saturday Night Fever สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นกระแสนิยมที่เกิดขึ้นในช่วง 1970s ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ส่งอิทธิพลไปไกลทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองก็เคยมียุคทองของดิสโก้ด้วยเช่นกัน
เชื่อว่าคนเจนฯ นี้คงนึกถึงภาพบรรยากาศดิสโก้ในประเทศไทยไม่ออกกันแน่ๆ เพราะถ้ามองสถานที่ท่องเที่ยวรอบตัวในตอนนี้ก็คงไม่เจอร่องรอยเกี่ยวกับดิสโก้หลงเหลืออยู่แล้ว เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ ป๊อป-นฤพนธ์ ไชยเพิ่ม ดีเจอารมณ์ดีจาก Smile Radio เกี่ยวกับดิสโก้เมื่อวันวานในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ความเจ๋งของดนตรีดิสโก้ ท่าเต้น การแต่งตัว รวมไปถึงสถานที่ที่วัยรุ่นไทยวัยโจ๋ในยุคนั้นต้องเที่ยวกัน
เชื่อว่าคนเจนฯ นี้คงนึกถึงภาพบรรยากาศดิสโก้ในประเทศไทยไม่ออกกันแน่ๆ เพราะถ้ามองสถานที่ท่องเที่ยวรอบตัวในตอนนี้ก็คงไม่เจอร่องรอยเกี่ยวกับดิสโก้หลงเหลืออยู่แล้ว เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ ป๊อป-นฤพนธ์ ไชยเพิ่ม ดีเจอารมณ์ดีจาก Smile Radio เกี่ยวกับดิสโก้เมื่อวันวานในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ความเจ๋งของดนตรีดิสโก้ ท่าเต้น การแต่งตัว รวมไปถึงสถานที่ที่วัยรุ่นไทยวัยโจ๋ในยุคนั้นต้องเที่ยวกัน

ใครที่ยังไม่รู้จักดนตรีแนวดิสโก้ ดนตรีแนวดิสโก้เป็นดนตรีที่พัฒนามาจากดนตรีแนวบลูส์ โซล และฟังก์ โดยมีจุดเด่นพิเศษคือจังหวะที่สนุกสนาน บวกกับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังมาแรงในยุคนั้น ดิสโก้จึงกลายเป็นเพลงสมัยใหม่ที่สามารถขับเคลื่อนชีวิตวัยรุ่นยุคนั้นด้วยสีสัน และที่สำคัญคือดนตรีดิสโก้สามารถแสดงภาพจำของชีวิตกลางคืนที่สนุกสนานได้เป็นอย่างดี
“ดิสโก้เป็นภาพของไนท์ไลฟ์ ความรุ่มรวย ความหรูหรา ของคนในยุคนั้น มีเรื่องของปาร์ตี้ การแต่งตัว แฟชั่น เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างคลับสตูดิโอ 54 (Studio 54) ทุกคืนที่นั่นจะคลาคล่ำไปด้วยคนทุกแวดวง นางแบบ ดาราฮอลลีวูด บุคคลสำคัญทางการเมืองเข้ามารวมตัวกัน” ดีเจป๊อปเล่าด้วยน้ำเสียงสดใส
ย้อนกลับไปในช่วงนั้น คลับดิสโก้แทบจะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เพราะเป็นเสมือนสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่เต็มไปด้วยมิติหลายอย่าง สำหรับคนที่โด่งดังเป็นสถานที่ที่สามารถมาออกงานสังคมกับคนในวงการได้ หรือสำหรับคนทั่วไปก็สามารถเป็นพื้นที่ความบันเทิงได้ ทั้งนัดเจอเพื่อน นัดเดท หรือพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาได้เช่นกัน
“พฤติกรรมการเที่ยวของคนยุคนั้นไม่เหมือนกับคนยุคนี้ คือคนยุคนั้นมีหลายเจนฯ ตั้งแต่ผู้ใหญ่ คนเริ่มทำงาน เด็กมหา'ลัย เด็กมัธยมปลาย ทุกคนมองว่าการได้ไปสังสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นคลับหรู คลับถูก ถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว”
“ดิสโก้เป็นภาพของไนท์ไลฟ์ ความรุ่มรวย ความหรูหรา ของคนในยุคนั้น มีเรื่องของปาร์ตี้ การแต่งตัว แฟชั่น เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างคลับสตูดิโอ 54 (Studio 54) ทุกคืนที่นั่นจะคลาคล่ำไปด้วยคนทุกแวดวง นางแบบ ดาราฮอลลีวูด บุคคลสำคัญทางการเมืองเข้ามารวมตัวกัน” ดีเจป๊อปเล่าด้วยน้ำเสียงสดใส
ย้อนกลับไปในช่วงนั้น คลับดิสโก้แทบจะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เพราะเป็นเสมือนสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่เต็มไปด้วยมิติหลายอย่าง สำหรับคนที่โด่งดังเป็นสถานที่ที่สามารถมาออกงานสังคมกับคนในวงการได้ หรือสำหรับคนทั่วไปก็สามารถเป็นพื้นที่ความบันเทิงได้ ทั้งนัดเจอเพื่อน นัดเดท หรือพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาได้เช่นกัน
“พฤติกรรมการเที่ยวของคนยุคนั้นไม่เหมือนกับคนยุคนี้ คือคนยุคนั้นมีหลายเจนฯ ตั้งแต่ผู้ใหญ่ คนเริ่มทำงาน เด็กมหา'ลัย เด็กมัธยมปลาย ทุกคนมองว่าการได้ไปสังสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นคลับหรู คลับถูก ถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว”

ถ้าเป็นที่เมืองไทยเราคงต้องพูดถึง The Palace ดิสโก้เธคในตำนานของหนุ่มสาวยุค 70s-80s ถ้าเทียบเป็นพุทธศักราชคงเป็นช่วง พ.ศ. 2527-2535 ดีเจป๊อปเล่าให้ฟังว่าที่ The Palace นั้นไม่แค่การเปิดเพลงดิสโก้ แต่ยังมีการขับรถมาจอดโชว์ มีการประลองรถแต่งสวยๆ มากมาย รวมถึงสถานที่ต่างๆ อย่างสยาม หรือย่านวิภาวดี-รังสิต บริเวณตึกไทยรัฐ เป็นต้น
“คนที่ชอบแข่งรถจะไปเที่ยวด้วยการซิ่ง โชว์ จอด และไปวนหน้าคลับที่ The Palace ส่วนคนที่ไปดูก็จะปรบมือเชียร์กัน เบื่อๆ ก็เข้าไปเต้นต่อ ทุกคนมากันเป็นทีม ในทีมเป็นเด็กมัธยมปลายที่มีนักแข่งรถประจำโรงเรียน ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็จะมีทีมของตัวเอง เหมือนในหนังเลย ทุกสัปดาห์ในย่านวิภาวดี-รังสิต การบินไทย ไทยรัฐ จะเป็นสนามประลองรถ แต่ไม่ได้แข่งเอาเป็นเอาตายนะ เป็นการอวดการแต่งรถมากกว่า”
“ถ้าเป็นที่อื่นก็จะเป็นดังกิ้นโดนัท สยาม สาขาแรกๆ เลย มีสกาล่าด้านล่างตรงข้ามสยามเซ็นเตอร์ บางคนนั่งบันไดสยามเซ็นเตอร์ เมื่อก่อนเป็นบันไดแบบอัฒจันทร์เลย เป็นชั้นๆ นั่งออกันตรงนั้น และมักมีแมวมองมาดู ซึ่งมีคนแจ้งเกิดเป็นดารา นักร้อง จากตรงนั้นเยอะเหมือนกัน” ดีเจป๊อปกล่าว
“คนที่ชอบแข่งรถจะไปเที่ยวด้วยการซิ่ง โชว์ จอด และไปวนหน้าคลับที่ The Palace ส่วนคนที่ไปดูก็จะปรบมือเชียร์กัน เบื่อๆ ก็เข้าไปเต้นต่อ ทุกคนมากันเป็นทีม ในทีมเป็นเด็กมัธยมปลายที่มีนักแข่งรถประจำโรงเรียน ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็จะมีทีมของตัวเอง เหมือนในหนังเลย ทุกสัปดาห์ในย่านวิภาวดี-รังสิต การบินไทย ไทยรัฐ จะเป็นสนามประลองรถ แต่ไม่ได้แข่งเอาเป็นเอาตายนะ เป็นการอวดการแต่งรถมากกว่า”
“ถ้าเป็นที่อื่นก็จะเป็นดังกิ้นโดนัท สยาม สาขาแรกๆ เลย มีสกาล่าด้านล่างตรงข้ามสยามเซ็นเตอร์ บางคนนั่งบันไดสยามเซ็นเตอร์ เมื่อก่อนเป็นบันไดแบบอัฒจันทร์เลย เป็นชั้นๆ นั่งออกันตรงนั้น และมักมีแมวมองมาดู ซึ่งมีคนแจ้งเกิดเป็นดารา นักร้อง จากตรงนั้นเยอะเหมือนกัน” ดีเจป๊อปกล่าว

อย่างที่รู้กันว่ากระแสการฟังเพลงไทยในยุคนั้น เป็นการรับอิทธิพลมาจากตะวันตกเต็มๆ อะไรที่เป็นของใหม่มาแรงไทยก็จะโอบรับเข้ามาด้วย เช่นเดียวกันกับดิสโก้ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงในฝั่งตะวันตก ที่นอกจากไทยที่รับมาแล้ว ก็ยังมีประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
ขณะที่วัฒนธรรมดิสโก้กำลังคุกรุ่นในไทย บรรดานายทุน เจ้าของสถานบันเทิง ก็เริ่มหันมาลงทุนทำคลับกันมากมาย จนกลายมาเป็นสถานบันเทิงที่วัยรุ่นทุกคนต้องไปเที่ยวกัน ดีเจป๊อปยังเล่าให้ฟังว่า ยุคนั้นไม่มีแค่คลับหรือดิสโก้เธคเอาไว้เต้นกันอย่างเดียว แต่ยังมีคลับที่เป็นพื้นที่สำหรับเด็กวัยใสอีกด้วย ถ้าใครเคยดูซีรีส์ Stranger Things ซีซัน 4 จะพบฉากที่อีเลฟเวนเล่นโรลเลอร์สเก็ตอยู่บนลานท่ามกลางเสียงดนตรีที่ครึกครื้น ซึ่งในประเทศไทยก็เคยมีลานสเก็ตแบบนั้นเช่นกัน
“มันเป็นการจำลองดิสโก้มาไว้ในลานสเก็ต ในลานสเก็ตจะติดแอร์ ติดไฟแบบดิสโก้ มีลำโพง มีดีเจเปิดแผ่น มีดีเจแซว และเล่นเป็นรอบๆ กันไป ลานแบบนี้มีทุกที่ อนุสาวรีย์ฯ ประตูน้ำ บางลำภู สมัยนั้นกฎหมายไม่ค่อยรุนแรงเลยมีการขายเครื่องดื่มมึนเมา เบียร์ เป็นปกติ ปัจจุบันไม่มีแล้ว”
ขณะที่วัฒนธรรมดิสโก้กำลังคุกรุ่นในไทย บรรดานายทุน เจ้าของสถานบันเทิง ก็เริ่มหันมาลงทุนทำคลับกันมากมาย จนกลายมาเป็นสถานบันเทิงที่วัยรุ่นทุกคนต้องไปเที่ยวกัน ดีเจป๊อปยังเล่าให้ฟังว่า ยุคนั้นไม่มีแค่คลับหรือดิสโก้เธคเอาไว้เต้นกันอย่างเดียว แต่ยังมีคลับที่เป็นพื้นที่สำหรับเด็กวัยใสอีกด้วย ถ้าใครเคยดูซีรีส์ Stranger Things ซีซัน 4 จะพบฉากที่อีเลฟเวนเล่นโรลเลอร์สเก็ตอยู่บนลานท่ามกลางเสียงดนตรีที่ครึกครื้น ซึ่งในประเทศไทยก็เคยมีลานสเก็ตแบบนั้นเช่นกัน
“มันเป็นการจำลองดิสโก้มาไว้ในลานสเก็ต ในลานสเก็ตจะติดแอร์ ติดไฟแบบดิสโก้ มีลำโพง มีดีเจเปิดแผ่น มีดีเจแซว และเล่นเป็นรอบๆ กันไป ลานแบบนี้มีทุกที่ อนุสาวรีย์ฯ ประตูน้ำ บางลำภู สมัยนั้นกฎหมายไม่ค่อยรุนแรงเลยมีการขายเครื่องดื่มมึนเมา เบียร์ เป็นปกติ ปัจจุบันไม่มีแล้ว”

ส่วนสำหรับคลับกลางคืนที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาหน่อย ที่เด่นๆ ดังๆ ในยุคนั้น ก็จะมี ซุปเปอร์สตาร์ พัฒน์พงศ์ ที่พัทยามีดิสโก้ดั๊ก (Disco Duck) และพัลลาเดียม (Palladium) ถ้าหรูขึ้นมาหน่อยก็เป็น บับเบิลส์แอนด์บียอนด์ (Bubbles & Beyond) โรงแรมดุสิตธานี แต่ถ้าเป็นระดับหรูหราที่ใครๆ ก็ต้องนึกถึงคือไดอาน่า โรงแรมโอเรียนเต็ล
ดีเจป๊อปอธิบายว่าแต่ละแห่งที่กล่าวมาก็จะแบ่งเป็นกลุ่มคนเที่ยวที่แตกต่างกันไปทั้งอาชีพและช่วงวัย แต่คลับที่รวมคนหลายกลุ่มกันอย่างแท้จริงคือ The Palace
“The Palace ครอบคลุมหมดเลย ยุคนั้นไม่ได้เข้มเรื่องตรวจบัตร คนมาเที่ยวในชุดนักเรียนก็ยังมี แบบเอาชุดมาเปลี่ยนข้างหน้าแล้วค่อยไปเที่ยว บางคนมาทั้งชุดนอน แบบหนีที่บ้านมาเที่ยวก็มี The Palace คือที่ที่ทุกคนอยากไป ถึงแม้ว่าไปแล้วจะไม่รู้จักใคร แต่ก็ไปเพื่อได้เจอคนที่เราอยากเจอ”
“ถ้าไปคลับอื่นเราอาจไม่รู้ว่าต้องทำตัวยังไง แต่ที่ The Palace ใครเขินคนก็ขึ้นไปเล่นพูลได้ มีเกมลุ้นรางวัล มีเครื่องม้าพยศเล่นได้ มีการประกวดแต่งกายกันอย่างสนุกสนาน มีฟลอร์แดนซ์ มีดาราที่อยู่ในมุมของเขา ซึ่งหลายคนรู้กันว่าถ้าเฉียดไปมุมนี้ จะได้กระทบไหล่ดารา”
ดีเจป๊อปอธิบายว่าแต่ละแห่งที่กล่าวมาก็จะแบ่งเป็นกลุ่มคนเที่ยวที่แตกต่างกันไปทั้งอาชีพและช่วงวัย แต่คลับที่รวมคนหลายกลุ่มกันอย่างแท้จริงคือ The Palace
“The Palace ครอบคลุมหมดเลย ยุคนั้นไม่ได้เข้มเรื่องตรวจบัตร คนมาเที่ยวในชุดนักเรียนก็ยังมี แบบเอาชุดมาเปลี่ยนข้างหน้าแล้วค่อยไปเที่ยว บางคนมาทั้งชุดนอน แบบหนีที่บ้านมาเที่ยวก็มี The Palace คือที่ที่ทุกคนอยากไป ถึงแม้ว่าไปแล้วจะไม่รู้จักใคร แต่ก็ไปเพื่อได้เจอคนที่เราอยากเจอ”
“ถ้าไปคลับอื่นเราอาจไม่รู้ว่าต้องทำตัวยังไง แต่ที่ The Palace ใครเขินคนก็ขึ้นไปเล่นพูลได้ มีเกมลุ้นรางวัล มีเครื่องม้าพยศเล่นได้ มีการประกวดแต่งกายกันอย่างสนุกสนาน มีฟลอร์แดนซ์ มีดาราที่อยู่ในมุมของเขา ซึ่งหลายคนรู้กันว่าถ้าเฉียดไปมุมนี้ จะได้กระทบไหล่ดารา”

ที่ขาดไม่ได้เลยคือท่วงท่าในการเต้น ในการมาเที่ยวดิสโก้เธคสิ่งที่ทุกคนจะมาฉายแววกันคือท่าเต้นที่สนุกสอดคล้องกับจังหวะเพลงดิสโก้ ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ยุคนั้นยังไม่มีมิวสิกวิดีโอ พัฒนาการของท่าเต้นจึงเกิดการคิดขึ้นเองบ้าง หรือจดจำตามกันมาบ้าง ซึ่งต่างจากสมัยนี้ที่มีการจดจำท่าแบบตายตัวจากมิวสิกวิดีโอ หรือจากศิลปินบนจอโทรทัศน์
“ก่อนที่จะมาดิสโก้ เป็นการเต้นบัมพ์ ซึ่งเป็นการเต้นขยับในระดับที่รุนแรงกว่าเต้นลีลาศ วัยรุ่นในยุคนั้นรู้สึกว่าการเต้นลีลาศมันเชย เลยคิดอะไรใหม่ที่มันเต้นง่าย จึงสร้างการเต้นบัมพฺ์ขึ้น ที่้เรียกว่าเต้นบัมพ์ เพราะเป็นการเอาส่วนต่างๆ ของร่างกายมาปะทะกัน เริ่มจากไหล่ หันหลัง หมุนตัว เอว สะโพกชนกัน
“จากการเต้นบัมพ์ก็ขยับมาเป็นเต้นดิสโก้ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น มีการย่อ หมุนเอว เหวี่ยงไปตามฟลอร์แดนซ์ มีเต้นเดี่ยว เต้นคู่ เต้นเป็นหมู่คณะ มีการออกแบบท่า มีหัวหน้าหมู่เต้นนำ ทุกคนเต้นพร้อมกันหมด เป็นภาพที่สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง มีการแบ่งกลุ่มเต้น แต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันมาแข่งขันประชันกัน”
จากจุดสูงสุดในยุค 80s ดิสโก้เริ่มเสื่อมความนิยมลงในยุค 90s กลางๆ จากการนิยมฟังเพลงแบบวงดนตรีที่เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการฟังดนตรีของคนที่เริ่มมีความหลากหลายขึ้นด้วยเช่นกัน อย่างที่เขาว่ากันว่า กระแสต้องมีวันที่ผ่านพ้นไป ดนตรีดิสโก้เริ่มมีมากเกินไป ไม่ว่าไปที่คลับไหนก็มีการเปิดเพลงดิสโก้ เมื่อมากเกินไป ผู้คนก็เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายมากขึ้น จึงมีการค้นหาเพลงใหม่ๆ ฟังกันมากขึ้น เช่น ฮิปฮอป ป๊อป ร็อก อัลเทอร์เนทีฟ เป็นต้น
“ก่อนที่จะมาดิสโก้ เป็นการเต้นบัมพ์ ซึ่งเป็นการเต้นขยับในระดับที่รุนแรงกว่าเต้นลีลาศ วัยรุ่นในยุคนั้นรู้สึกว่าการเต้นลีลาศมันเชย เลยคิดอะไรใหม่ที่มันเต้นง่าย จึงสร้างการเต้นบัมพฺ์ขึ้น ที่้เรียกว่าเต้นบัมพ์ เพราะเป็นการเอาส่วนต่างๆ ของร่างกายมาปะทะกัน เริ่มจากไหล่ หันหลัง หมุนตัว เอว สะโพกชนกัน
“จากการเต้นบัมพ์ก็ขยับมาเป็นเต้นดิสโก้ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น มีการย่อ หมุนเอว เหวี่ยงไปตามฟลอร์แดนซ์ มีเต้นเดี่ยว เต้นคู่ เต้นเป็นหมู่คณะ มีการออกแบบท่า มีหัวหน้าหมู่เต้นนำ ทุกคนเต้นพร้อมกันหมด เป็นภาพที่สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง มีการแบ่งกลุ่มเต้น แต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันมาแข่งขันประชันกัน”
จากจุดสูงสุดในยุค 80s ดิสโก้เริ่มเสื่อมความนิยมลงในยุค 90s กลางๆ จากการนิยมฟังเพลงแบบวงดนตรีที่เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการฟังดนตรีของคนที่เริ่มมีความหลากหลายขึ้นด้วยเช่นกัน อย่างที่เขาว่ากันว่า กระแสต้องมีวันที่ผ่านพ้นไป ดนตรีดิสโก้เริ่มมีมากเกินไป ไม่ว่าไปที่คลับไหนก็มีการเปิดเพลงดิสโก้ เมื่อมากเกินไป ผู้คนก็เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายมากขึ้น จึงมีการค้นหาเพลงใหม่ๆ ฟังกันมากขึ้น เช่น ฮิปฮอป ป๊อป ร็อก อัลเทอร์เนทีฟ เป็นต้น

ต่อให้ยุคทองดิสโก้จะไม่มีแล้ว คนเจนฯ ใหม่ก็เริ่มหันกลับมาฟังเพลงดิสโก้กันมากขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ด้วยโอกาสนี้เอง ทาง Smile Radio จึงได้จัดงานขึ้นเพื่อย้อนวันวานยุคทองดิสโก้ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ในงาน ‘Christmas at the Palace’ งานที่จะพาคุณย้อนวันวานกลับไปสัมผัสบรรยากาศดิสโก้เธคแบบ The Palace อีกครั้ง พร้อมพบดีเจมากมายจาก Smile Radio มาเปิดเพลงที่คุ้นเคยกันอีกครั้ง ตั้งแต่ Earth Wind & Fire, Anita Ward, Bee Gees, Boney M., The Trammps ไปจนถึง Madonna
นอกจากมีการเปิดเพลงดิสโก้แล้ว ยังมีการลุ้นรางวัลอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเครื่องบิน วอยเชอร์ พร้อมลุ้นเลขสลาก และสร้างความทรงจำดีๆ ในเทศกาลคริสต์มาสด้วยนักร้องจากคณะประสานเสียงมาร้องเพลงให้ฟัง มีพี่อุ้ย-รวิวรรณ จินดา มาร้องเพลงให้ฟัง
Smile Radio Christmas at the Palace จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ ในราคาบัตร 3,000 บาท สามารถซื้อบัตรกันได้แล้วที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา หรือสอบถามทางไลน์ @smileradio
ติดตามการเคลื่อนไหวทาง Facebook บนแฟนเพจ Smile Radio และสามารถติดตามฟังรายการวิทยุได้ทั้งเว็บไซต์ smileradio.live และบนแอปพลิเคชัน ‘Smile Radio’
นอกจากมีการเปิดเพลงดิสโก้แล้ว ยังมีการลุ้นรางวัลอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเครื่องบิน วอยเชอร์ พร้อมลุ้นเลขสลาก และสร้างความทรงจำดีๆ ในเทศกาลคริสต์มาสด้วยนักร้องจากคณะประสานเสียงมาร้องเพลงให้ฟัง มีพี่อุ้ย-รวิวรรณ จินดา มาร้องเพลงให้ฟัง
Smile Radio Christmas at the Palace จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ ในราคาบัตร 3,000 บาท สามารถซื้อบัตรกันได้แล้วที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา หรือสอบถามทางไลน์ @smileradio
ติดตามการเคลื่อนไหวทาง Facebook บนแฟนเพจ Smile Radio และสามารถติดตามฟังรายการวิทยุได้ทั้งเว็บไซต์ smileradio.live และบนแอปพลิเคชัน ‘Smile Radio’