ทวารวดีคืออะไร? ทำไมถึงมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ชนชาติไทย

18 ต.ค. 2566 - 06:00

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Hero.jpg

    เมืองโบราณศรีเทพ เดิมทีเคยเชื่อกันว่าอยู่เป็นสถานที่ที่อยู่ในสมัยเดียวกันกับเมืองอู่ทองที่สุพรรณบุรี หรือเมืองนครปฐมโบราณ จากการตรวจสอบล่าสุดเรากลับพบว่าเมืองศรีเทพแท้จริงอยู่ในยุคสมัยทวารวดีที่อาจคุ้นหูใครหลายคน โดยเฉพาะกับพระพุทธรูปที่มีลักษณะริมพระโอษฐ์หนา ขนงติดกัน รูปร่างลักษณะละม้ายคล้ายกันกับงานประติมากรรมของชาวฮินดู 

    คำว่า ‘ทวารดี’ เป็นคำที่ทุกคนต้องพบเจอในตำราเรียน แต่อาจนึกไม่ออกว่าชื่อที่ว่านี้มีความสลักสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์โลก รวมถึงมีความสำคัญต่อการส่งอิทธิพลแก่อาณาจักรไทยในยุคต่อมาอย่างไร เราจะมาดูกันว่า อะไรคือทวารวดี สำคัญอย่างไร และทำไมเมืองศรีเทพถึงสมควรเป็นมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย กันพอสังเขป

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Photo V01.jpg

    ทวารวดีคือใคร มาจากไหน? 

    ทวารวดีเป็นชื่ออาณาจักรหรือเมืองของชาวมอญ กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 (คริสต์ศตวรรษที่ 7-11) เป็นอาณาจักรที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีพุทธศาสนาที่แข็งแกร่ง และยังเป็นอาณาจักรแรกๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันที่มีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ศิลปะวัฒนธรรมไปจนถึงการค้า ทวารวดีมักเป็นตัวเลือกในการถกเถียงว่าอาณาจักรใดเป็นอาณาจักรแรกของไทย โดยตัวเลือกอื่นมีอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา อย่างไรก็ตาม ทวารวดีถูกปัดตกโดยคนส่วนใหญ่เพราะเรื่องภาษาที่ไม่ได้ส่งต่อถึงกัน และประเด็นเรื่องเชื้อชาติ (แม้ว่าชาวไทยจะมีเชื้อสายมอญอยู่มากก็ตาม)

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Photo V02.jpg

    มีแหล่งข้อมูลภาษาบาลีบันทึกว่าในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ทวารดีหรือเมืองพี่น้องอย่างลวปุระ (ลพบุรี) ที่สถาปนาอาณานิคมขึ้นใหม่คือลำพูน ซึ่งภายหลังลำพูนพัฒนากลายเป็นอาณาจักรหริภุญชัย ในบันทึกของชาวจีนกล่าวว่าทวารวดีเป็นเมืองรับใช้ให้กับพม่า (ซึ่งอาจไม่จริงดังนั้น) สิ่งที่มั่นใจได้กว่าคือทวารวดีถูกเปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรละโว้ ที่ภายหลังถูกยึดครองโดยเขมรในคริสต์ศตวรรษที่ 10-11 ละโว้ได้รับอิสรภาพอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก่อนจะส่งทูตไปจีนและเจรจาทำสนธิสัญญากับมองโกล จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีการสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่เป็นอยุธยาอันเป็นรากเหง้าของประเทศสยามในปัจจุบัน

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Photo01.jpg

    อย่างไรก็ตาม เรายังไม่รู้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับทวารวดีเลย แม้ว่าจะมีหลักฐานเป็นจารึกภาษามอญโบราณ และสันสกฤต แต่ก็ไม่มีข้อมูลว่ากษัตริย์ที่ปกครองคือใคร มีชื่ออะไรบ้าง หรือทวารวดีเป็นเมืองหรืออาณาจักรกันแน่ นักวิชาการคาดเดาว่าเป็นอาณาจักรจากการทราบว่าชาวมอญยุคนั้นมีระบบการปกครองแบบอาณาจักรแล้ว ไม่ว่าทวารวดีจะเคยยิ่งใหญ่มาแค่ไหน ก็ยังคงไว้ซึ่งปริศนา และยังมีการศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ต่อไป

    พระพุทธรูป และศิลปะทวารวดี มรดกจากอินเดีย? 

    รูปปั้นพระวิษณุ และพระพุทธรูปศิลปะทวารวดี มีการเทียบเคียงกันว่ามีลักษณะเหมือนรูปปั้นจากอังกอร์โบเร และรูปปั้นพระวิษณุที่พบเจอในอาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเชนละของเขมร ซึ่งทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะยุคราชวงศ์คุปตะ

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Photo V03.jpg

    นักวิชาการสันนิษฐานว่างานศิลปะของอินเดียนั้นไม่ได้ส่งทอดโดยตรงถึงอาณาจักรเขมร แต่คาดว่ามีตัวกลางอย่างทวารวดีในการส่งต่ออิทธิพลทางศิลปะผ่านคาบสมุทรมลายู (ในเชิงการค้าหรืองานฝีมือ) จึงเป็นสาเหตุที่รูปปั้นทวารวดี ลพบุรี หรือละโว้ ฟูนัน และเชนละ มีลักษณะละม้ายคล้ายรูปปั้นในอินเดีย อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการคนหนึ่งเสนอว่าทวารวดีไม่ได้รับมรดกทางศิลปะจากอินเดีย เพราะมีศิลปะเป็นของตัวเองที่รับอิทธิพลมาจากทางฝั่งพม่าอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งข้อเสนอนี้ไม่ได้ถูกเห็นชอบโดยคนส่วนใหญ่

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Photo V04.jpg

    ทวารวดี ละโว้ จางหาย เข้าสู่ยุคสุโขทัย 

    หลังจากที่ละโว้ได้รับอิสรภาพในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (พุทธศตวรรษที่ 18) จากชาวเมขร ได้มีอาณาจักรหนึ่งถูกสถาปนาขึ้นโดยชาวไท (กลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทกะได) ชื่อว่า ‘อาณาจักรสุโขทัย’ ชาวไทไม่ได้เพิ่งเดินทางเข้ามาทางเหนือของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงนั้น แต่เข้ามาแทรกซึมอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำปิงตั้งแต่ตอนที่ชาวเขมรบุกเข้ายึดครองละโว้แล้ว  

    หลักฐานยังไม่ระบุชัดว่าเกิดอะไรขึ้นกับอาณาจักรละโว้ แต่คาดว่าซึมซับไปกับอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นหนึ่งอันเดียว ส่วนชาวมอญจากทวารวดีนั้นยังคงซึ่งไว้วัฒนธรรมของตน อยู่ในพื้นที่ของตัวเอง และมีผู้นำของตัวเอง มีการสันนิษฐานว่าลูกหลานของชาวมอญทวารวดีนี้เอง (ที่กำลังปกครองเมืองอู่ทอง) กับลูกหลานชาวลาวาว (เชียงแสน) ร่วมใจกันสถาปนาเมืองหลวงขึ้นใหม่ โดยที่ไม่ใช่ชาวเสียม หรือสุโขทัยเกี่ยวข้อง ในปี ค.ศ. 1350 หรือ พ.ศ. 1893 สู่อาณาจักรใหม่คือ ‘กรุงศรีอยุธยา’

    what-is-dvaravati-culture-SPACEBAR-Photo02.jpg

     ดูเหมือนว่าจากเรื่องราวพอสังเขปเกี่ยวกับทวารวดี ทำให้เรารู้ว่าชาวไทยมาจากชนชาติที่หลากหลายทั้งเขมร มอญ และไท จากการสู่รบมาครั้งแล้วครั้งเล่า ชนชาติทั้งหมดได้รวมตัวเป็นหนึ่งเดียวภายใต้อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ใดๆ ก็ตาม ทุกวันนี้นักวิชาการยังคงโต้เถียงต่อไปว่ารากเหง้า ‘ไท’ ที่แท้จริงมาจากไหน หรือจริงๆ แล้วพวกเราอาจไม่มีรากเหง้าที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเลยก็เป็นได้

    เรื่องเด่นประจำสัปดาห์