20 ปี เหตุการณ์ตากใบ ทำไมเพิ่งฟ้อง

15 ต.ค. 2567 - 10:52

  • เพื่อไทยลอยตัว พล.อ.พิศาล ลาออกสมาชิกพรรค

  • คดีความหมดอายุ วันนี้ 25 ตุลาคมนี้

  • ทำไมครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ปล่อยให้เวลาล่วงเลย

politics-thailand-law-20years-takbai-incident-SPACEBAR-Hero.jpg

การลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยของ พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี ทำให้พรคเพื่อไทยลอยตัว พ้นจากแรงกดดันให้นำตัวตัวพลเอกพิศาล มาขึ้นศาลจังหวัดนราธิวาส ก่อนคดีตากใบจะหมดอายุลงในวันที่ 25 ตุลาคมนี้

คดีสลายการชุมนุม ที่หน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จนมีผู้เสียชีวิตถึง 78 คน เพราะถูกจับไปนอนทับกัน 4-5 ชั้นบนรถบรรทุกทหาร จนตายคารถเพราะขาดอากาศหายใจ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ขณะนั้น พลเอกพิศาลเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ยศพลโท ต้องรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดในพื้นที่ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย

แม้ว่า การไม่มาศาลนัดแรก วันที่ 12  กันยายนที่ผ่านมา โดยพลเอกพิศาลอ้างว่า รักษาตัวอยู่ที่ต่างประเทศ จนศาลออกหมายจับ เกิดขึ้นในขณะที่พลเอกพิศาลเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว ทั้งยังเป็น สส. บัญชีรายชื่อด้วย และส่อเจตนาว่า หลบหนีคดี เพื่อให้คดีหมดอายุความ 20 ปี ในวันที่ 25  ตุลาคม 2567 จะเป็นเรื่องส่วนตัว และเป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องไปจับตัวพลเอกพิศาลมาขึ้นศาล ไม่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทยเลย แต่ก็ถูกพรรคประชาชนเอาไปสร้างกระแส พุ่งเป้าไปที่แพทองธาร ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวน้าพรรคเพื่อไทยว่า จะต้องรับผิดชอบ เอาตัวพลเอกพิศาลกลับมาให้ได้

จนพรรคเพื่อไทยเองก็อยู่เฉยไม่ได้ ต้องแสดงความเอาจริงเอาจัง ขู่ว่าจะขับพลเอกพิศาลออกจากสมาชิกพรรค ถ้าไม่กลับมา

การลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ของพลเอกพิศาล ซึ่งทำให้พ้นจากวามเป็น สส.  ด้วยทำให้พรรคประชาชนต้องเงื้อค้าง ทำได้อย่างมากที่สุดคือ เรียกร้องให้นายกฯ ที่ดูแลตำรวจ นำตัวพลเอกพิศาล มาขึ้นศาล แต่ไม่สามารถโจมตีพรรคเพื่อไทยว่า มี สส. หนีคดีได้แล้ว

คดีตากใบ เกิดขึ้นต่อเนื่องจาก เหตุการณ์ปล้นปืน ค่ายปิเหล็ง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 เมษายน 2547 

ทั้งหมดเกิดขึ้นในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นชนวนความไม่สงบความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาจนถึงทุกวันนี้ 

หลังเหตุการณ์ มีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งมีข้อสรุปว่า พลโท พิศาล แม่ทัพภาคที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ขาดความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชา

ในด้านคดีความ เงียบหายไปถึง 19 ปี  หลังจากมีการเยียวยาผู้เสียหาย ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยจ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้เสียชีวิตรายละ 7. 5 ล้านบาท เท่ากับผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553 และจ่ายให้ผู้ถูกควบคุมตัวแต่ไม่ถูกดำเนินคดี 157 คน รายละ 1.5 หมื่นบาท 

โดยญาติของผู้ตายที่รับเงินเยียวยา ต้องเซ็นสัญญาว่า จะไม่ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ก่อนหน้านั้น มีการจ่ายเงินเยียวยาในปี 2548  สองครั้ง รวม 4  แสนบาท ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัส สูญเสียอวัยวะได้เงินช่วยเหลือรายละ 2 แสนบาท 

ขณะที่ผู้ถูกดำเนินคดี 58  คน อัยการสูงสุดมีคำสั่ง ถอนฟ้อง

คดีที่พลเอกพิศาล ตกเป็นจำเลย เป็นคดีที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ  48  คน เป็นโจทก์ฟ้องเอง ข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย มีจำเลย 7 คน คือ พลเอกพิศาล ,พลเอก เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีต ผบ.พล.ร. 5,  พลตำรวจเอก วงกต มณีรินทร์  อดีต ผอ.ศปก.ตร. สน., พลตำรวจโท มาโนช ไกรวงศ์ อดีต ผบช.ภาค 9 , พลตำรวจตรี ศักดิ์สมหมาย พุทธกุล อดีตผกก.สภ.ตากใบ , นายศิวะ แสงมณี อดีตรอง ผอ.กอสส.จชต. และอดีตรองปลัดมหาดไทย และ นายวิชม ทองสงค์ อดีต ผวจ. นราธิวาส 

คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 25 เมษายนปีนี้ ศาลจังหวัดนราธิวาส มีคำสั่งรับฟ้อง วันที่ 23 สิงหาคม นัดสอบคำให้การวันที่ 12 กันยายน แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงออกหมายจับ และเลื่อนนัดเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ซึ่งจำเลยไม่มาศาลเหมือนเดิม แต่ศาลยังไม่จำหน่ายคดี โดยจะรอจนถึง 24.00 น วันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งคดีจะหมดอายุความ

ทำไม ครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจึงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนจะหมดอายุความแล้ว จึงฟ้องคดี เป็นช่องให้จำเลยใช้เรื่องอายุความ เอาตัวรอดจาดคดีได้

‘มันเป็นความกลัวของชาวบ้าน ในขณะที่อำนาจรัฐที่มีอยู่ก็พยายามทำให้ประชาชนลืมเรื่องนี้ไป ถ้าพูดตรง ๆ คือ ความผิดพลาดจากนโยบายของรัฐ รัฐไม่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง ซ้ำยังกดทับไม่หใประชาชนจำได้ว่า นี่คือ ความผิดพลาดของเขา’

ซาฮาริ  เจ๊ะหลง ตัวแทนภาคประชาสังคมใน 3 จังหวัดภาคใต้ กล่าวไว้ในบทความ จับตา 20 ปี คดีตากใบ เส้นทางสู่ความยุติธรรมก่อนคดีหมดอายุความ 25 ต.ค นี้ ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ Amnesty International Thailand

ในบทความเดียวกัน อูเซ็ง ดอเลาะ ทนายความ จากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กล่าวว่า ‘ในส่วนของชาวบ้านเอง ที่ทำได้ คือ การรำลึกถึงเหตุการณ์เท่านั้น แต่เมื่อแอมเนสตี้ ลงพื้นที่ไปเมื่อปีที่แล้ว ทุกคนเห็นว่า ระยะเวลามันใกล้แล้วนะ ชาวบ้านก็เลยเกิดการตื่นตัว แล้วก็ เอาวะ เมื่อมีช่องทางก็ลองดู เพราะว่าเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วที่จะสู้เรื่องนี้’

หลังศาลนราธิวาส มีคำสั่งรับฟ้องในวันที่ 23  สิงหาคม แอมเนสตี้ ประเทศไทย​ โดยชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำแอมเนสตี้ ประเทศไทย เขียนในบทความว่า คำตัดสินของศาลนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญเพื่อคืนความยุติธรรมที่ควรเกิดขึ้นมานานแล้ว สำหรับผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อการใช้กำลังจนเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ ระหว่างการสลายการชุมนุมที่ด้านหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบฯ

แอมเนสตี้ เป็น NGO  ที่มีสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน มีสาขาในแระเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย มีเป้าหมายมนการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยส่งเสริมประชาธิปไตย  

แอมเนสตี้ ระบุว่า มีรายได้จากเงินบริจาค และค่าธรรมเนียมของสมาชิกที่มีอยู่ประมาณ 10  ล้านคน 

อย่างไรก็ตาม ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่า แอมนสตี้ ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษ  คณะกรรมาธิการอียู กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ มุลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์  รวมทั้งจากรัฐบาลอีกหลาย ๆ ประเทศ 

ในประเทศไทย แอมเนสตื้ฯ มีจุดยืนสนับสนุนการแก้ไข มาตรา 112 และเรียกร้องให้ปล่อยตัว ผู้ทำผิด ม.112 มาโดยตลอด

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์