ปัญหาความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence – IPV) ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของความรุนแรงที่พบเจอได้ง่ายที่สุดผ่านพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกาย วาจา จิตใจ และเพศ การทารุณกรรมทางการเงิน (Financial Abuse) รวมไปถึงการพยายามควบคุมพฤติกรรมของอีกฝ่าย
จากผลวิจัยชี้ว่า ปัญหาความรุนแรงในคู่รักยังเป็นปัญหาสังคมหลักที่เกิดขึ้นในทุกสังคมและภูมิภาค โดยหนึ่งในสามของสตรีทั่วโลกล้วนมีประสบการณ์กับความรุนแรงในคู่รักในชีวิต และมีผู้ประสบปัญหานี้เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็น
ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ทำทุกฝ่ายต้องอยู่ใช้เวลาในเคหะสถานร่วมกันมากขึ้น ทำให้อัตราความชุกความรุนแรงต่อสตรีและบุคคลในครอบครัวในหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดมากที่สุดถึง 60% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยนั้น จากสถิติของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าข่าวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวยังคงถูกตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน โดยในปี 2563 มีข่าวฆาตกรรมในคู่รัก ถูกตีพิมพ์มากถึง 323 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 54.5 จากข่าวความรุนแรงในครอบครัวทั้งหมด แต่เมื่อวิเคราะห์ลงมาที่ข่าวฆาตกรรมในคู่รัก น่าตกใจว่าวัยรุ่นช่วงอายุไม่เกิน 30 ปีเป็นกลุ่มที่ถูกกระทำมากที่สุด สูงถึงร้อยละ 54.1 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความหึงหวง ขาดสติเนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด และความขัดแย้งเรื่องหนี้สิน ยิ่งไปกว่านั้น จากรายงานสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในปี 2564 พบว่ามีผู้หญิงไทยที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจไม่ต่ำกว่า 7 คนต่อวัน และมีผู้ที่เข้าแจ้งความมากถึงปีละ 30,000 ราย
2. ‘แบล็กเมล์’ ถ้าคุณปฏิเสธที่จะทำบางอย่าง
3. ‘ทำให้อับอายขายหน้า’ จนคุณรู้สึกไม่ดีกับตนเอง
4. ‘พยายามปั่นหัว’ เพื่อบังคับให้คุณทำหรือพูดบางอย่าง
5. ‘หึงหวง’ ในทุกอย่างที่คุณทำ
6. ‘ควบคุม’ ว่าคุณจะไปไหนและแต่งตัวแบบใด
7. ‘รุกราน’ ด้วยการตรวจโทรศัพท์หรือติดตามที่อยู่ของคุณ
8. ‘ตัดขาด’ ให้คุณออกจากเพื่อนและครอบครัว
9. ‘ข่มขู่’ ด้วยการบอกว่าคุณไม่ปกติและปลูกฝังความกลัว
ในแต่ละวันมีผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 7 คนที่ต้องเจอปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงระหว่างสามี-ภรรยาก็ยังมีให้เห็นทั่วไป อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ โบเต้ (YSL Beauty) แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำภายใต้ ลอรีอัล ประเทศไทย จึงได้สานต่อโครงการระดับโลกอย่าง ‘Abuse is Not Love’ โดยร่วมมือกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence) ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาความรุนแรงในคู่รักในประเทศไทยต่อไป
สำหรับการดำเนินการโครงการ ‘Abuse is Not Love’ ในประเทศไทยจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2566 โดยเป็นการร่วมมือระหว่าง YSL Beauty และมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล องค์กรพัฒนาเอกชนที่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึง 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รักให้แก่คนไทยต่อไป โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องความรุนแรงในคู่รักให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ 800 คนภายในปีแรกของโครงการผ่านการอบรม นอกจากนี้ยังจะมีกิจกรรมรูปแบบต่างๆ อาทิ โร้ดโชว์ตามมหาวิทยาลัย การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสัญญาณความรุนแรงในความสัมพันธ์ในวงกว้าง
จากผลวิจัยชี้ว่า ปัญหาความรุนแรงในคู่รักยังเป็นปัญหาสังคมหลักที่เกิดขึ้นในทุกสังคมและภูมิภาค โดยหนึ่งในสามของสตรีทั่วโลกล้วนมีประสบการณ์กับความรุนแรงในคู่รักในชีวิต และมีผู้ประสบปัญหานี้เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับความยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็น
ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ทำทุกฝ่ายต้องอยู่ใช้เวลาในเคหะสถานร่วมกันมากขึ้น ทำให้อัตราความชุกความรุนแรงต่อสตรีและบุคคลในครอบครัวในหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดมากที่สุดถึง 60% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยนั้น จากสถิติของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าข่าวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวยังคงถูกตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน โดยในปี 2563 มีข่าวฆาตกรรมในคู่รัก ถูกตีพิมพ์มากถึง 323 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 54.5 จากข่าวความรุนแรงในครอบครัวทั้งหมด แต่เมื่อวิเคราะห์ลงมาที่ข่าวฆาตกรรมในคู่รัก น่าตกใจว่าวัยรุ่นช่วงอายุไม่เกิน 30 ปีเป็นกลุ่มที่ถูกกระทำมากที่สุด สูงถึงร้อยละ 54.1 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความหึงหวง ขาดสติเนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด และความขัดแย้งเรื่องหนี้สิน ยิ่งไปกว่านั้น จากรายงานสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในปี 2564 พบว่ามีผู้หญิงไทยที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจไม่ต่ำกว่า 7 คนต่อวัน และมีผู้ที่เข้าแจ้งความมากถึงปีละ 30,000 ราย
9 สัญญาณอันตรายที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รัก
1. ‘หมางเมิน’ ในวันที่พวกเขาโกรธ2. ‘แบล็กเมล์’ ถ้าคุณปฏิเสธที่จะทำบางอย่าง
3. ‘ทำให้อับอายขายหน้า’ จนคุณรู้สึกไม่ดีกับตนเอง
4. ‘พยายามปั่นหัว’ เพื่อบังคับให้คุณทำหรือพูดบางอย่าง
5. ‘หึงหวง’ ในทุกอย่างที่คุณทำ
6. ‘ควบคุม’ ว่าคุณจะไปไหนและแต่งตัวแบบใด
7. ‘รุกราน’ ด้วยการตรวจโทรศัพท์หรือติดตามที่อยู่ของคุณ
8. ‘ตัดขาด’ ให้คุณออกจากเพื่อนและครอบครัว
9. ‘ข่มขู่’ ด้วยการบอกว่าคุณไม่ปกติและปลูกฝังความกลัว
ในแต่ละวันมีผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 7 คนที่ต้องเจอปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงระหว่างสามี-ภรรยาก็ยังมีให้เห็นทั่วไป อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ โบเต้ (YSL Beauty) แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำภายใต้ ลอรีอัล ประเทศไทย จึงได้สานต่อโครงการระดับโลกอย่าง ‘Abuse is Not Love’ โดยร่วมมือกับ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนของความรุนแรงในคู่รัก (Intimate Partner Violence) ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาความรุนแรงในคู่รักในประเทศไทยต่อไป
สำหรับการดำเนินการโครงการ ‘Abuse is Not Love’ ในประเทศไทยจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2566 โดยเป็นการร่วมมือระหว่าง YSL Beauty และมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล องค์กรพัฒนาเอกชนที่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึง 9 สัญญาณอันตราย (9 Warning Signs) ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในคู่รักให้แก่คนไทยต่อไป โดยตั้งเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องความรุนแรงในคู่รักให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ 800 คนภายในปีแรกของโครงการผ่านการอบรม นอกจากนี้ยังจะมีกิจกรรมรูปแบบต่างๆ อาทิ โร้ดโชว์ตามมหาวิทยาลัย การเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสัญญาณความรุนแรงในความสัมพันธ์ในวงกว้าง
