JOY LIFE: สังเกตตัวเองด่วน อารมณ์ดีเกินไป อาจเสี่ยง ‘ภาวะแมเนีย’ ได้

3 ก.พ. 2566 - 02:58

  • ภาวะแมเนีย (Mania) อีกหนึ่งภาวะที่หลายคนมองว่า ปกติใครๆ ก็อารมณ์ดี แต่ถ้าอารมณ์ดีมากเกินไป อาจจะเสี่ยงเข้าข่ายภาวะแมเนีย หรือ ภาวะอารมณ์ผิดปกติได้

JOY-LIFE-Mania-SPACEBAR-Thumbnail
หลายคนมองว่า คนอารมณ์ดี คือคนที่มีสุขภาพจิตที่ดี แต่ถ้าหากอารมณ์มากเกินไปจนผิดปกติ อาจจะสุ่มเสี่ยงเข้าข่าย ภาวะแมเนีย หรือ ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ ซึ่งหากสงสัยหรือคิดว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อพิจารณาขั้นตอนการรักษาก่อนจะสายเกินไป 

ภาวะแมเนีย (Mania) เป็นภาวะอีกหนึ่งภาวะที่มักจะมาพร้อมกับโรคไบโพลาร์ ซึ่งจะมีอาการอารมณ์ดี ร่างเริง ตื่นตัว และมีพลังงานเหลือล้นตลอดเวลา แต่มักจะเป็นสลับกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ อาจจะทำให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตได้ ทั้งในเรื่องของการเรียน และการทำงาน  
สาเหตุของภาวะแมเนีย เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะความผิดปกติทางจิตใจ เช่น โรคไบโพลาร์ โรคซึมเศร้าหลังคลอดหรือ เบบี้บลู (Baby blue) ความเครียดสูงสะสม และสามารถเกิดจากพฤตอกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป รวมทั้งนอนน้อยด้วย และภาวะแมเนียก็สามารถส่งต่อมาทางพันธุกรรมได้เช่นกัน  

สำหรับอาการของผู้ป่วยภาวะแมเนีย จะมีอาการเบื้องต้นดังนี้ 
  • รู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ สูงมากจนผิดปกติ 
  • อารมณ์ดี ร่าเริงเกินไป อยู่ไม่นิ่ง 
  • ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลานอน 
  • มีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก 
  • ไม่มีสมาธิ วอกแวก ถูกดึงความสนใจจากสิ่งเร้าต่างๆ ได้ง่าย รวมถึงอาจหงุดหงิดและตื่นเต้นง่าย 
  • ไวต่อความรู้สึกต่างๆ เช่น กลิ่น และการสัมผัส เป็นต้น 
  • มีความคิดสร้างสรรค์หรือการวางแผนใหม่ๆ มากมาย และมีความทะเยอะทะยานสูง 
  • หุนหันพลันแล่น คิดเร็ว พูดมาก พูดเร็ว ทำสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็ว ขาดการยับยั้งชั่งใจ 
  • ประมาทและตัดสินใจได้ไม่ดี ใช้ชีวิตบนความเสี่ยง อาจทำในสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ขับรถเร็ว ใช้เงินฟุ่มเฟือย เป็นต้น 
  • มีความต้องการทางเพศสูง อาจมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าได้ง่ายโดยไม่ป้องกัน 
ลองสังเกตอาการข้างต้นดูก่อน ถ้าหากมีอาการดังกล่าวและเป็นมาในระยะ 5 วันติดต่อกัน ทางที่ดีที่สุดควรเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ โดยการรักษาอาจจะเริ่มต้นที่การทานยาเพื่อปรับเคมีในสมอง รวมไปถึงการทำจิตบำบัด แต่ถ้าหากการรักษาเบื้องต้นไม่ได้ผล ทางแพทย์จะพิจารณาให้ทำการรักษาด้วยไฟฟ้า แต่เกิดขึ้นน้อยมาก เนื่องจากการรักษานี้ค่อนข้างอันตราย และเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ 

ในกรณีที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีความคิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายได้ โดยผู้ป่วยภาวะนี้มีโอกาสฆ่าตัวตายมากกว่าคนทั่วไปถึง 60 เท่า ดังนั้น หากผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตายควรรีบขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากแพทย์หรือคนใกล้ตัว ส่วนบุคคลใกล้ชิดควรสังเกตอาการและรีบนำตัวผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์ทันทีที่พบอาการสำคัญ รวมทั้งผู้ป่วยสามารถขอรับคำปรึกษาผ่านทางสายด่วนสุขภาพจิตโดยโทร 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2uRC2fkYbL0W3zajkaNFc9/71e228cca136c16687e524b19c22dd2f/JOY-LIFE-Mania-SPACEBAR-Photo01

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์