จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุไว้ว่า ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปี 2566 ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งนับว่าเป็นประเทศไทยที่ 2 ของอาเซียน รองมาจากประเทศสิงคโปร์ มีผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนไม่น้อยกว่า 10% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ
ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากอัตราการเกิดที่ลดลงเรื่อยๆ และความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการแพทย์ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน และดูแลให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างแข็งแรง แน่นอนว่า การมีชีวิตยืนยาวนั้น เป็นอีกหนึ่งความปรารถนาของคนกลุ่มใหญ่ การวางแผนสุขภาพในระยะยาวจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วย
ตามกฎหมายของประเทศไทย ประชาชนที่มีอายุ 60 ปี จะนับว่าเป็นวัยเกษียณอายุการทำงานแล้ว จึงมีผู้สูงวัยจำนวนมากที่อยู่บ้านเฉยๆ บ้างก็เลี้ยงหลาน บ้างก็อยู่บ้านเหงาๆ นั่นทำให้หลายๆ คนกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต ที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิต แต่สุดท้าย บั้นปลายชีวิตก็ต้องมาอยู่บ้าน รอรับเบี้ยคนชราเดือนละ 600 บาท แบบเหงาๆ เซ็งๆ
และสิ่งที่ตามมาของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุนั่นคือ ความเป็นห่วงใยของลูกหลาน ที่เมื่อบุคคลในครอบครัวมีอายุที่มากขึ้น และในอนาคตจะมีอาการเจ็บป่วยสุขภาพตามมา การช่วยเหลือตัวเองจะมีได้น้อยลง นั่นอาจจะเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ในอนาคต
บุคคลที่มีความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ คล่องแคล่ว ว่องไว กลับทำอะไรได้ช้าลง ทำให้ความรู้สึกในตัวเองเปลี่ยนแปลง และแน่นอนว่า เมื่อมีอะไรไม่ได้ดั่งใจมากๆ ก็จะเกิดอารมณ์ขุนมัวจนกลายเป็นปัญหาในตอนท้ายที่สุด ฉะนั้นการตั้งรับกับก้าวต่อไปในการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดภาระและความเป็นห่วงของลูกหลาน รวมไปถึงสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง
การมีสุขภาพที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพจิตที่ดีด้วย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น
1. ดูแลสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย
2. รับทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
5. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
6. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
เพราะผู้สูงวัยมักจะมีความเสี่ยงสูงต่อโรคร้ายใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ – อัมพาต หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ อย่างแน่นอน
ในส่วนของการมีสุขภาพจิตที่ดี ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ควรทำใจให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งความเสื่อม และสึกหลอต่างๆ และหมั่นทำจิตใจให้เบิกบาน และมีความสุขกับปัจจุบันให้มากที่สุด รู้จักปล่อยวาง และหากิจกรรมที่ไม่หนักสมองจนเกินไปเพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุขด้วย
ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากอัตราการเกิดที่ลดลงเรื่อยๆ และความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการแพทย์ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน และดูแลให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างแข็งแรง แน่นอนว่า การมีชีวิตยืนยาวนั้น เป็นอีกหนึ่งความปรารถนาของคนกลุ่มใหญ่ การวางแผนสุขภาพในระยะยาวจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วย
ตามกฎหมายของประเทศไทย ประชาชนที่มีอายุ 60 ปี จะนับว่าเป็นวัยเกษียณอายุการทำงานแล้ว จึงมีผู้สูงวัยจำนวนมากที่อยู่บ้านเฉยๆ บ้างก็เลี้ยงหลาน บ้างก็อยู่บ้านเหงาๆ นั่นทำให้หลายๆ คนกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต ที่ทำงานหนักมาทั้งชีวิต แต่สุดท้าย บั้นปลายชีวิตก็ต้องมาอยู่บ้าน รอรับเบี้ยคนชราเดือนละ 600 บาท แบบเหงาๆ เซ็งๆ
และสิ่งที่ตามมาของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุนั่นคือ ความเป็นห่วงใยของลูกหลาน ที่เมื่อบุคคลในครอบครัวมีอายุที่มากขึ้น และในอนาคตจะมีอาการเจ็บป่วยสุขภาพตามมา การช่วยเหลือตัวเองจะมีได้น้อยลง นั่นอาจจะเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตได้ในอนาคต
บุคคลที่มีความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ คล่องแคล่ว ว่องไว กลับทำอะไรได้ช้าลง ทำให้ความรู้สึกในตัวเองเปลี่ยนแปลง และแน่นอนว่า เมื่อมีอะไรไม่ได้ดั่งใจมากๆ ก็จะเกิดอารมณ์ขุนมัวจนกลายเป็นปัญหาในตอนท้ายที่สุด ฉะนั้นการตั้งรับกับก้าวต่อไปในการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดภาระและความเป็นห่วงของลูกหลาน รวมไปถึงสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง
การมีสุขภาพที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพจิตที่ดีด้วย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น
1. ดูแลสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย
2. รับทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
5. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
6. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
เพราะผู้สูงวัยมักจะมีความเสี่ยงสูงต่อโรคร้ายใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ – อัมพาต หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ อย่างแน่นอน
ในส่วนของการมีสุขภาพจิตที่ดี ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ควรทำใจให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งความเสื่อม และสึกหลอต่างๆ และหมั่นทำจิตใจให้เบิกบาน และมีความสุขกับปัจจุบันให้มากที่สุด รู้จักปล่อยวาง และหากิจกรรมที่ไม่หนักสมองจนเกินไปเพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุขด้วย
