เป็นอีกหนึ่งโรคระบาดที่น่ากลัวและต้องเฝ้าระวัง สำหรับโรคฝีดาษลิงหรือ Monkeypox Virus ต่อจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่พรากชีวิตของผู้คนทั่วโลกไปจำนวนมาก ซึ่งโรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคระบาดใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นโรคที่เคยระบาดแล้วมากกว่า 20 ปีที่ผ่านมา พบมากในประเทศ ทางโซนแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ก็มีการพบผู้ป่วยในประเทศนอกเขตแอฟริกาด้วย อย่างสหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร โดยมักเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศ หรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคระบาดใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นโรคที่เคยระบาดแล้วมากกว่า 20 ปีที่ผ่านมา พบมากในประเทศ ทางโซนแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ก็มีการพบผู้ป่วยในประเทศนอกเขตแอฟริกาด้วย อย่างสหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร โดยมักเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศ หรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ

ย้อนไปเมื่อปี 2565 โรคฝีดาษลิง ได้กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งพบผู้ป่วยฝีดาษลิง ที่ระบาดจากคนไปยังคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ ประเทศ แต่ในปี 2566 นี้ โรคฝีดาษลิงกำลังลุกลามไปทั่วประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยฝีดาษลิงแล้ว ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมโรคระบุว่า “ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยรวม 316 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยภายในเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียวมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 145 ราย และส่วนมากอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเยาวชน 28 ราย”

โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับอีสุกอีใส และไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้อยู่ที่ 1-10% ซึ่งหลังการได้รับเชื้อ ตัวไวรัสจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและใช้เวลาฟักตัว 7-21 วัน จึงแสดงอาการ โดยอาการจะเริ่มจากการมีไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต 1-2 วัน จึงมีผื่น ผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่มีไข้ โดยผื่นจะเริ่มจากมีแผลในปาก จากนั้นจะเริ่มมีผื่น ขึ้นที่ตัว หน้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า โดยผื่นจะมีขนาด 2-10 มิลลิเมตร
ในช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา ผื่นจะค่อยๆ เปลี่ยนจากผื่นนูนแดง เป็นตุ่มน้ำ แล้วจึงเป็นฝี โดยผื่นจะเปลี่ยนรูปแบบพร้อมๆ กัน ทั่วทั้งตัว หลังตุ่มหนองแตกจนแห้งดี ผู้ป่วยก็จะอาการดีขึ้น และหมดระยะในการแพร่กระจายให้ผู้อื่น
ในช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา ผื่นจะค่อยๆ เปลี่ยนจากผื่นนูนแดง เป็นตุ่มน้ำ แล้วจึงเป็นฝี โดยผื่นจะเปลี่ยนรูปแบบพร้อมๆ กัน ทั่วทั้งตัว หลังตุ่มหนองแตกจนแห้งดี ผู้ป่วยก็จะอาการดีขึ้น และหมดระยะในการแพร่กระจายให้ผู้อื่น

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิง มี 5 วิธี ดังนี้...
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ตุ่มหนอง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองของสัตว์หรือจากผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ โดยแยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก เป็นต้น
- ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงแพร่ระบาด
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้ทรพิษ และโรคฝีดาษลิง ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้ถึง 85%

เช็กลิสต์อาการ ฝีดาษลิง เอ๊ะ... ติดหรือยังนะ?
โรคฝีดาษลิงหรือ Monkeypox Virus โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้ ไม่ใช่โรคระบาดใหม่ พบมากในประเทศ ทางโซนแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก โดยในปี 2565 โรคฝีดาษลิง ได้กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งพบผู้ป่วยฝีดาษลิง ที่ระบาดจากคนไปยังคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ ประเทศ
- มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย
- แผลในช่องปาก
- มีผื่นที่ตัว หน้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ขนาด 2-10 มม.
- เป็นตุ่มน้ำและฝีตามผิวหนัง
โรคฝีดาษลิงหรือ Monkeypox Virus โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้ ไม่ใช่โรคระบาดใหม่ พบมากในประเทศ ทางโซนแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก โดยในปี 2565 โรคฝีดาษลิง ได้กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งพบผู้ป่วยฝีดาษลิง ที่ระบาดจากคนไปยังคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ ประเทศ
