แก้ง่ายๆ กับทิปส์แก้ง่วงนอนระหว่างวันที่ใครก็ทำได้

24 ม.ค. 2566 - 08:08

  • บรรยากาศช่วงบ่ายทำเอาหลายๆ คนง่วงนอน แก้ง่ายๆ กับทิปส์แก้ง่วงนอนระหว่างวันที่ใครก็ทำได้

  • ปรับเวลานอน เปลี่ยนเวลาตื่น ช่วงเปิดเทอม กับทิปส์ง่าย ๆ ช่วยให้ไม่ง่วงระหว่างวัน

Tips-prevent-daytime-sleepiness-SPACEBAR-Thumbnail
ยอมรับกันมาตามตรงเถอะว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนในช่วงบ่ายหรือไม่ ไม่ว่าจะเรียนหนังสือหรือทำงานก็โฟกัสไม่ไหว SPACEBAR รวบรวม 12 เคล็ดลับพิชิตอาการง่วงนอนระหว่างวันมาฝาก เพื่อช่วยเหลือทุกคนที่ต้องทนทรมานความความง่วงที่ยากจะทานทน 
 

1. นอนให้เพียงพอ   

แม้จะรู้ว่าเวลานอนที่ดีต่อสุขภาพที่สุดคือการนอนให้ครบ 8-9 ชั่วโมง แต่หลายๆ คนก็ใช้เวลาก่อนนอน หรือหลังตื่นนอนในตอนเช้า 1-2 ชั่วโมง เพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานที่ต้องหอบงานกำลับมาทำที่บ้าน หรือน้องๆ มัธยมที่ต้องทำการบ้าน ไหนจะต้องรีแล็กซ์จากการเรียนด้วยการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมสร้างความบันเทิงอื่นๆ แต่แน่นอนว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนให้ครบ 8-9 ชั่วโมงนะ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5bvIvZdcNsbCzItZcRV5oS/ed2b05399a463f4b3edd36cb5dbc3884/Tips-prevent-daytime-sleepiness-SPACEBAR-Photo01

2. ท่องไว้ “เตียงนอน มีไว้ใช้นอนเท่านั้น”   

Avelino Verceles ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก University of Maryland School of Medicine และผู้อำนวยการสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของโรงเรียน บอกไว้ว่า “สงวนพื้นที่เตียงนอน ไว้เพื่อนอนเท่านั้น ไม่ควรอ่านหนังสือ ดูทีวี เล่นเกม หรือนั่งทำงานบนเตียง”   
  

3. ตั้งเวลาปลุกที่สม่ำเสมอ   

สำหรับใครที่ประสบปัญหาง่วงนอนตลอดเวลา เราขอยกคำแนะนำของ Barry Krakow, MD, ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ Maimonides Sleep Arts and Sciences Ltd. ใน อัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก และเป็นผู้เขียนหนังสือ Sound Sleep, Sound Mind: 7 Keys to Sleeping Through the Night ที่ได้บอกว่า การเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกวัน รวมถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วยจะช่วยลดอาการง่วงนอนและการหงุดหงิดระหว่างวันได้ดีกว่าการสุ่มเวลานอน    
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/44kGxNk6arDNqPYZgEMClF/143cdcaf5e328ea88651d04d091136e2/Tips-prevent-daytime-sleepiness-SPACEBAR-Photo02

4. ค่อยๆ ปรับเวลานอน ให้ไวขึ้นเรื่อยๆ    

การปรับเวลานอนให้ไวขึ้นทุกคืน เป็นเวลา 4 คืน คืนละ 15 นาที จะทำให้ร่างกายของเราเข้านอนได้ง่ายมากขึ้น การปรับตารางเวลาทีละน้อยแบบนี้จะได้ผลดีกว่าการพยายามเข้านอนเร็วขึ้นในหนึ่งชั่วโมงแบบกะทันหัน   
   

5. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพแบบสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งสำคัญ   

การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะช่วยป้องกันการขาดพลังงานในระหว่างวันได้ ซึ่งจะทำให้อาการง่วงนอนของเราลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ และก็ค่อยกินอาหารให้อิ่มเรียบร้อยก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง เพื่อการย่อยอาหารที่ดีด้วยเช่นกัน   
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/45OjCc4rE0liBDSJBR84cl/ebd6d4c7013b76c3f7affd4a5355bf3f/Tips-prevent-daytime-sleepiness-SPACEBAR-Photo03

6. จัดตารางเวลาให้ลงตัว   

Avelino Verceles ได้แนะนำว่า ถ้าหากว่าใครไม่สามารถหาเวลานอนได้ครบ 7-9 ชั่วโมงจริง ๆ เนื่องจากติดภารกิจอื่น ๆ อยู่ ก็ลองจัดตารางกิจกรรมในแต่ละวันใหม่ เช่นการโยกย้ายกิจกรรมบางกิจกรรมไปทำในเวลาอื่นแทน เพื่อเพิ่มเวลานอนให้มากขึ้น   
   

7. ถ้าไม่ง่วง อย่าเพิ่งขึ้นเตียงเด็ดขาด   

ถ้าหากว่ามีความรู้สึก เหนื่อย ๆ จากการเรียนการทำงาน หรือเบื่อ ๆ อยากหาอะไรทำ คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการนอนคือ อย่านอนเล่นกลิ้งไปกลิ้งมาเด็ดขาด เพราะมันจะเหมือนการพักผ่อนเบา ๆ แล้วทำให้เรานอนหลับยากขึ้นอีกด้วย   
 

8. ออกกำลังสม่ำเสมอ    

การออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาที เช่นการเต้นแอโรบิก จะช่วยให้นอนหลับง่ายมากขึ้น    
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7hCudWh2AIj8EMVkawUy0N/8537af1aa0d5e5ae0502a6a07128c8a8/Tips-prevent-daytime-sleepiness-SPACEBAR-Photo04

9. พยายามอย่างีบระหว่างวัน  

การงีบระหว่างวัน เหมือนการชาร์จแบตให้ร่างกาย แน่นอนว่า ร่างกายเมื่อมีแบตมากขึ้นก็เหมือนยืดเวลานอนในตอนกลางคืนออกไปอีก ทำให้หลับยากขึ้นนั่นเอง  
   

10. พยายามผ่อนคลายก่อนเข้านอน  

การสร้างความผ่อนคลายก่อนเข้านอน ก็สามารถช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแช่น้ำอุ่น ทำสมาธิ หรือการอ่านหนังสืออ่านเล่นสักเล่ม จะช่วยลดความเครียดที่สะสมมาในระหว่างวันได้อีก หรือการหาเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น ชาแคโมไมล์ หรือนมอุ่น ๆ สักแก้ว ก็สามารถช่วยให้เราก้าวผ่านช่วงเวลากลางคืนไปได้อย่างดี  
   

11. เลิกเชื่อ ‘ดื่มแอลกอฮอล์แล้วทำให้หลับง่าย’  

หลายคนมีความเชื่อว่า การดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยให้นอนหลับง่ายมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ไม่ผิด แต่เมื่อฤทธิ์แอลกอฮอล์หมดลง ร่างกายของเราก็จะกลับมาตื่นตัวตามปกติ  
   

12. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง  

หากทำตามวิธีการข้างบนทั้ง 11 วิธีแล้วยังช่วยไม่ได้ วิธีสุดท้ายที่เราอยากจะแนะนำนั่นคือการเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เพราะอาการง่วงนอนระหว่างวัน บางทีอาจจะเกิดจากสภาวะความผิดปกติของการนอนหลับ ซึ่งการพบแพทย์เฉพาะทางก็เป็นวิธีช่วยเหลือที่ดีและถูกต้องที่สุดนั่นเอง 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5okRH8vRepT6jUX75tAuym/9f2a7ab1fc5cfed6ab9ebc2daafdc49a/Tips-prevent-daytime-sleepiness-SPACEBAR-Photo05
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ การพักผ่อนให้เพียงพอ และการกินอาหารที่มีประโยชน์ ก็สามารถช่วยให้ร่างกายของเรานั้นแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเรื่องอาการง่วงนอนระหว่างวันได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าหากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ๆ สิ่งที่เราอยากแนะนำมากที่สุด ก็คือการเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวิเคราะห์หาอาการและวิธีแก้ไขหรือรับยาเพื่อรักษาอาการต่อไปนั่นเอง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์