เพราะไม่รู้ (สึก) จึงสร้าง Digital Pollution ทำไมการออนไลน์ถึงทำร้ายโลก

28 เม.ย. 2567 - 06:30

  • อุปกรณ์ที่หมดอายุกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ปีละกว่า 50 ล้านตันทั่วโลก

  • เบื้องหลังของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การทำงานของ Server และ Data Center ขนาดใหญ่ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาลตลอด 24 ชั่วโมง

  • รากฐานของมลพิษดิจิทัล (Digital Pollution) เกิดจากความไม่รู้และไม่เห็นตัวตนของปัญหา

spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center

ถ้าโลกเป็นร่างกาย มนุษย์คงเป็นมะเร็งร้ายที่กำลังกัดกินโลกให้ตายอย่างช้าๆ

ระบบนิเวศที่มีปกติเป็นความสมดุลค่อยๆ ผิดเพี้ยนจนยากจะกู่กลับ เพราะกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มุ่งตอบสนองการบริโภค เพื่อสร้างผลกำไร โดยห่วงใยเงินในกระเป๋า มากกว่าสิ่งแวดล้อม

spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center

น้ำแข็งขั้วโลกละลาย การเปลี่ยนนิยามจากโลกร้อนกลายเป็นโลกเดือด ฯลฯ ฟังดูอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่รู้หรือไม่ ส่ิงเหล่านี้คือผลลัพธ์ของมวลรวมการใช้ชีวิตของเราแต่ละคน หรือพูดให้ใกล้ตัวและเห็นภาพชัดขึ้น เพียงแค่การส่งอีเมลของคุณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้น (หาคำตอบได้ใน อีเมลก่อมลพิษได้จริงหรือ?) หรือทุกคลิป ทุกภาพที่คุณเซฟไว้ในสมาร์ทโฟนและเก็บไว้ในคลาวด์ กำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย

spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center

ใช่แล้ว, เรากำลังพูดถึง Digital Pollution หรือ มลพิษทางดิจิทัล คลื่นยักษ์ที่กำลังก่อตัวและสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคที่ทุกสิ่งถูกขนย้ายไปบนออนไลน์

“รากฐานของ Digital Pollution เกิดจากความไม่รู้”

ปัญหาของเรื่องนี้มาจากเพราะสิ่งที่อยู่บนโลกดิจิทัลเหมือนไร้ตัวตน เหมือนไม่ได้ใช้ต้นทุนอะไรสร้างขึ้นมา อย่างน้อยก็ประหยัดการใช้กระดาษในงานเอกสารได้มหาศาล แต่หลายคนอาจลืมไปว่า ทุกสิ่งที่ได้มาล้วนมี ‘ต้นทุน’

คุณอยากรู้ไหมว่า ‘ต้นทุน’ ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง?

  • ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่า มนุษย์เชื่อมต่อตัวเองกับโลกออนไลน์ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Device) บริษัทผู้ผลิตเข็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ออกมาทุกปี (หรือถี่กว่านั้น) แล้วใช้ศาสตร์ทางการตลาดและจิตวิทยากระตุ้นให้เราเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์รุ่นใหม่ล่าสุด
  • อุปกรณ์ที่หมดอายุกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ปีละกว่า 50 ล้านตันทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center
  • ทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตและการทำลายล้วนใช้พลังงานและทรัพยากรมหาศาล และยังปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมจากการทำลายที่ไม่ยั่งยืน
  • ขณะเดียวกัน การใช้งานก็ใช้พลังงานไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และอาจรวมถึงทำร้ายสุขภาพกายและใจ (หากใช้เกินพอดี) จนนำไปสู่โรคออฟฟิศซินโดรม เครียด ซึมเศร้า จากการเปรียบเทียบตัวเองกับสังคม
  • เอาล่ะ, การพูดโดยอ้างอิงตัวเลขสถิติจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) น่าจะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดขึ้น...
  • การกดค้นหาบน Google สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ราว 0.2-1.45 กรัม
  • ทุกครั้งที่ส่งอีเมล จะปล่อย CO2 ราว 4-50 กรัม ปัจจุบันทั่วโลกมีการส่งอีเมลมากถึง 347,300 ล้านฉบับต่อวัน
  • การดูคลิปวิดีโอบน YouTube นาน 30 นาที ปล่อย CO2 ประมาณ 3 กรัม
  • ขณะที่การดู Netflix นาน 1 ชั่วโมง ปล่อย CO2 มากกว่านั้นถึง 56-114 กรัม
spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center

เพราะเบื้องหลังการทำงานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สตรีมมิ่ง และการเก็บข้อมูลดิจิทัลที่ไม่มีใครเห็น คือการทำงานของ Server และ Data Center ขนาดใหญ่ที่ต้อง ใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาลทุกวินาทีตลอด 24 ชั่วโมง

ในอนาคตอันใกล้ กิจกรรมบนออนไลน์ ไม่ว่าเอไอ ซอฟต์แวร์ เกม ฯลฯ รวมถึงธุรกิจที่ต้องชี้ขาดกันที่พลังการประมวล จะยิ่งสูบกินพลังงานไฟฟ้าอย่างน่าสะพรึง

spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center
Photo: พลังงานไฟฟ้าราว 35.4% หรือราว 1 ใน 3 ของโลกมีที่มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ว่ากันว่า กิจกรรมออนไน์เหล่านี้ปล่อย CO2 มหาศาลถึงปีละกว่า 1.6 พันล้านตัน ซึ่งมากกว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเทียบเท่าประเทศที่มีการปล่อยมลพิษมากเป็นอันดับ 4 ของโลก

ถ้ายุคเกษตรที่พึ่งพาการเพาะปลูกเป็นหลัก แสงแดดคือลมหายใจของผู้คนยุคนั้น พลังงานไฟฟ้าก็ไม่ต่างจากลมหายใจของผู้คนยุคนี้ ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโลกดิจิทัล

เรื่องตลกร้ายเรื่องหนึ่งคือ “เราทุกคนต่างอยู่ในจุดท่ีเลิกใช้ไม่ได้” ถึงแม้จะรู้ว่า ‘ความยั่งยืน’ คือช้อยส์ที่ดีกว่า เพื่อโลกที่น่าอยู่และชีวิตที่น่าอภิรมย์กว่านี้ แต่ดูเหมือนระบบทุกอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งเน้นการบริโภคมากกว่าความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย จะเดินสวนทางกับการสร้างความยั่งยืนที่แท้จริง

ถ้าความไม่รู้คือรากฐานของ Digital Pollution การอ่านบทความนี้ น่าจะช่วยให้ใครหลายคนรู้ว่า สิ่งที่เราทำล้วนมีต้นทุนที่ต้องจ่าย

แต่มากกว่ารู้ จะเปลี่ยนแปลงได้ต้องลึกกว่ารู้ คือรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและสวนกระแสโลกที่อื้ออึงไปด้วยสื่อโฆษณาที่กระตุ้นเร้าและหลอกล่อให้เราบริโภคตลอดเวลา

หากไม่ต้องการเป็นมะเร็งร้ายของโลกใบนี้ คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องทบทวนอย่างจริงจังถึงการใช้และบริโภคอย่าง ‘พอประมาณ’ ท่ามกลางโลกที่อื้ออึงไปเสียงของความละโมบ

spacebar สเปซบาร์, มลพิษดิจิทัล, Digital Pollution, อินเทอร์เน็ต, Netflix, YouTube, อีเมล, Email, Data Center

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์