ต้องบอกว่านี่เป็นอีกขั้นของความสำเร็จอย่างงดงามในวงการแฟชั่นดีไซน์และการรีไซเคิลเพื่อโลก ที่ SPACEBAR VIBE อยากบอกต่อ โดยบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งล่าสุดได้ประกาศความสำเร็จของโครงการ RECO Collective 2025 อย่างยิ่งใหญ่ด้วยการจัดงาน Final Show ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ณ Gaysorn Urban Resort กรุงเทพฯ

สำหรับงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของ 6 แบรนด์ SME ที่รังสรรค์คอลเลคชั่นรักษ์โลกผ่านการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ตอกย้ำถึงบทบาทของแบรนด์เหล่านี้ในการกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย
…รู้หรือไม่?
วันที่ 18 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันรีไซเคิลโลก” หรือ Global Recycling Day เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการรีไซเคิล การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พร้อมกระตุ้นให้ทุกคนดำเนินการเพื่อลดขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม

Circular Design ความยั่งยืนไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นมาตรฐานใหม่
การริเริ่มโครงการ RECO Collective 2025 มาจากความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนความยั่งยืนให้กลายเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจ โดยสนับสนุนแบรนด์น้องใหม่เหล่านี้ด้วยการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรจากต้นทาง การให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมแบบครบวงจร (Closing the Loop) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ และของตกแต่งบ้าน นำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ โดยเฉพาะเส้นใยโพลีเอสเตอร์ rPET จากขวด PET รีไซเคิล แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) การผสมผสานความยั่งยืนเข้ากับความสามารถในการสร้างผลกำไร และการวางตำแหน่งให้ SMEs เป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
6 แบรนด์ SME กับคอลเลคชั่นพิเศษ
สร้างมาตรฐานใหม่ในวงการแฟชั่นด้วย Circular Design
ด้วยความสามารถด้านการดีไซน์ผสานหัวใจรักษ์โลก ทำให้ 6 แบรนด์ SME ที่ผ่านการคัดเลือกรังสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างน่าทึ่ง เพราะไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีดีไซน์ที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่และใช้งานจริง ประกอบด้วย

Endless Holiday โดย ฤดีมาศ สกุลพงศ์ไพศาล และกานต์ วิสราญกุล
คอลเลคชั่น “Very Endless Holiday” สนุกกับสีสันซัมเมอร์แบบตะโกน สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการแฟชั่นที่ยั่งยืน ด้วยการผสมผสานลายพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ โทนสีสันที่สดใส และวัสดุที่เป็นนวัตกรรมรักษ์โลก

tISI โดย ธันยพร กิจจาเสถียรพันธุ์
คอลเลคชั่น “VANCANS” ของแบรนด์นี้ ผสมผสานผ้าจากเส้นใย rPET เข้ากับงานทอผ้าพื้นเมือง ช่วยให้มั่นใจว่าความยั่งยืนนั้นทั้งมีสไตล์และใช้งานได้จริง

KH EDITIONS โดย นภัต ตันสุวรรณ และปาณิสรา มณีรัตน์
ด้วยคอลเลคชั่น “SIAM ISLAND” แบรนด์นี้ได้ผสมผสานเทคนิคงานฝีมือและอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์การผสมผสานระหว่างศิลปะและแฟชั่น ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทิวทัศน์ชายฝั่งของประเทศไทย

Mobella โดย กฤษดา หนูเล็ก
แบรนด์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความเป็นไทย นำเสนอคอลเลคชั่น “ZERO” ซึ่งเป็นนิยามใหม่ของเฟอร์นิเจอร์แบบ Zero-Waste ที่ผลิตมาจากวัสดุรีไซเคิล PET (rPET) 100% โดยผสานงานหัตถศิลป์ไทยแบบดั้งเดิม เข้ากับแนวคิดความยั่งยืนสมัยใหม่

Anew.Craft.Studio โดย นิชฌาน โคตะวัน
ด้วยการผสานงานฝีมือไม้สักแบบดั้งเดิมเข้ากับดีไซน์สมัยใหม่ แบรนด์นี้ใช้เทคนิค Shou Sugi Ban ในการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์ด้วยดีไซน์เฉพาะตัว มีความทนทาน โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งน้อยที่สุด

Daybreak โดย กฤษณวรรธญ์ ชนชนะ
การนำเสนอรองเท้าไลฟ์สไตล์สำหรับกิจกรรมกลางแจ้งที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งผลิตจากเส้นใยป่านธรรมชาติ แบรนด์นี้ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งผสมผสานเส้นทางมรดกของการเดินป่าเข้ากับความอเนกประสงค์ที่ทันสมัย

โครงการ RECO Collective ไม่ได้เป็นเพียงเวทีแสดงผลงานเท่านั้น แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการลงมือทำ โดยการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพลังของการรีไซเคิลและการเปลี่ยนแปลง เรากำลังทำให้ความทะเยอทะยานนี้กลายเป็นความจริง ภารกิจของเราคือการส่งเสริมให้ SMEs ในท้องถิ่นสามารถนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ ช่วยให้พวกเขาขยายธุรกิจได้ ขณะเดียวกันก็ผนวกความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์การเติบโตของตนเอง
นางอาราธนา โลเฮีย ชาร์มา รองประธานบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าว

RECO Collective 2025 กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิทัศน์ทางธุรกิจ โดยทำให้แนวคิดการหมุนเวียน (Circularity) ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรม ผ่านการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ ความร่วมมือด้านค้าปลีก และการมุ่งเน้นความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจ ทั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส กำลังส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมกับผลักดันการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน PET และโพลีเอสเตอร์ที่ยั่งยืนในระยะยาว