รายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งซัสแคทเชวัน ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ระบุว่า คนไข้ในห้องฉุกเฉินที่ได้รับการเยี่ยมเยียนจากสุนัขบำบัด มีความบอบช้ำและเจ็บปวดน้อยกว่าผู้ป่วยในห้องเดียวกันที่ไม่ได้รับการเยี่ยมเยียนจากสุนัขบำบัด "สุนัขบำบัดเหล่านี้ ไม่ใช่แค่เป็นมิตรเท่านั้น แต่เป็นสัตว์เลี้ยงของครอบครัวที่จะตื่นเต้นอย่างมากเมื่อได้ไปเยี่ยมผู้คนในที่ๆ ไม่มีสัตว์เลี้ยง" ดร.คอลลีน เดลล์ (Colleen Dale, PhD) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งซัสแคทเชวัน (University of Saskatchewan) และเป็นหนึ่งในผู้เขียนผลงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าว
ในการทดลองนั้น นักวิจัยได้สอบถามผู้ป่วยกว่า 200 คน เพื่อรายงานระดับความเจ็บปวดของคนไข้กลุ่มนี้ ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้รับการเยี่ยมเยียนจากสุนัขบำบัดนาน 10 นาที ส่วนผู้ป่วยอีกกลุ่มไม่มีสุนัขบำบัดมาเยี่ยมเยียน หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองแล้ว นักวิจัยได้สอบถามผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอีกครั้ง ปรากฏว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการเยี่ยมเยียนจากสุนัขบำบัด 10 นาที มีความเจ็บปวดจากอาการป่วยน้อยลง
เดลล์ และ ดร.เจมส์ สเต็มเพน แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน กล่าวว่า ไม่น่าแปลกใจที่ผลการทดลองออกมาเป็นแบบนี้ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสุนัขบำบัดมีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง เพียงแต่ผลศึกษาวิจัยครั้งนี้ช่วยตอกย้ำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
รายงานวิจัยชิ้นนี้ยังตอกย้ำรายงานจากที่ประชุมแพทย์อเมริกันก่อนหน้านี้ ที่ระบุว่า คนไข้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวเข่าหรือสะโพกเทียม ที่มีการใช้สัตว์มาช่วยบำบัด จะทำให้ใช้ยาแก้ปวดน้อยกว่าปกติประมาณ 50% และเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันนี้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีสุขภาพทั่วไปดีกว่าผู้ที่ไม่เลี้ยง ด้วยเหตุผลว่ามันช่วยให้เจ้าของคลายความเครียดและยังได้ออกกำลังอีกด้วย
นี่เป็นเหตุผลที่ในประเทศอังกฤษมีการสนับสนุนให้ใช้สัตว์ในการบำบัดรักษา โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ตามสถานพยาบาล โรงพยาบาล และสถานดูแลคนชราต่างๆ เพราะฉะนั้นแล้ว ใครที่จิตใจห่อเหี่ยว รู้สึกเหงา ลองหาเพื่อนร่วมโลกสักตัวมาเลี้ยงดูก็คงไม่เสียหายอะไร แถมสุขภาพกายและใจดีขึ้นอีกด้วยนะ
ในการทดลองนั้น นักวิจัยได้สอบถามผู้ป่วยกว่า 200 คน เพื่อรายงานระดับความเจ็บปวดของคนไข้กลุ่มนี้ ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้รับการเยี่ยมเยียนจากสุนัขบำบัดนาน 10 นาที ส่วนผู้ป่วยอีกกลุ่มไม่มีสุนัขบำบัดมาเยี่ยมเยียน หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองแล้ว นักวิจัยได้สอบถามผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอีกครั้ง ปรากฏว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการเยี่ยมเยียนจากสุนัขบำบัด 10 นาที มีความเจ็บปวดจากอาการป่วยน้อยลง
เดลล์ และ ดร.เจมส์ สเต็มเพน แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน กล่าวว่า ไม่น่าแปลกใจที่ผลการทดลองออกมาเป็นแบบนี้ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสุนัขบำบัดมีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง เพียงแต่ผลศึกษาวิจัยครั้งนี้ช่วยตอกย้ำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
รายงานวิจัยชิ้นนี้ยังตอกย้ำรายงานจากที่ประชุมแพทย์อเมริกันก่อนหน้านี้ ที่ระบุว่า คนไข้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวเข่าหรือสะโพกเทียม ที่มีการใช้สัตว์มาช่วยบำบัด จะทำให้ใช้ยาแก้ปวดน้อยกว่าปกติประมาณ 50% และเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันนี้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีสุขภาพทั่วไปดีกว่าผู้ที่ไม่เลี้ยง ด้วยเหตุผลว่ามันช่วยให้เจ้าของคลายความเครียดและยังได้ออกกำลังอีกด้วย
นี่เป็นเหตุผลที่ในประเทศอังกฤษมีการสนับสนุนให้ใช้สัตว์ในการบำบัดรักษา โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ตามสถานพยาบาล โรงพยาบาล และสถานดูแลคนชราต่างๆ เพราะฉะนั้นแล้ว ใครที่จิตใจห่อเหี่ยว รู้สึกเหงา ลองหาเพื่อนร่วมโลกสักตัวมาเลี้ยงดูก็คงไม่เสียหายอะไร แถมสุขภาพกายและใจดีขึ้นอีกด้วยนะ