แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรีคนดัง ผู้เป็นเบื้องหลังของ ‘เพื่อไทย’ จะหวนกลับคืนสู่เมืองไทย ตามที่ ‘แพทองธาร ชินวัตร’ ลูกสาวคนเล็กประกาศไว้ “พ่อจะกลับมาแล้ว วันที่ 10 สิงหาคมนี้ ที่สนามบินดอนเมือง” หรือไม่ เพราะกระแสข่าวการ ‘เลื่อน’ ณ วันนี้ (3 สิงหาคม 2566) ดูมีแววอาจเป็นจริง
สัญญะที่มาจากทั้งอดีตนายกฯ และคนรอบข้างที่ระบุถึง ‘การกลับบ้าน’ ถูกเผยแพร่ออกมาแล้วทั้งสิ้น 21 ครั้ง (นับตั้งปี 2549 ก่อนการรัฐประหาร จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2566) ภาคการเมืองมองว่า การประกาศแลนดิ้งเมืองไทย กราบแผ่นดินแม่คงเกิดขึ้นแน่ขอแค่เวลาที่แน่นอน ‘หลังการฟอร์มรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น’
นอกจากประเด็นเชิงอำนาจที่ทักษิณมีผลเกี่ยวเนื่องแล้ว ประเด็นเชิงคดีความทางกฎหมายยังคงเป็นที่ตั้งข้อสังเกตอยู่ โดยเฉพาะคดีสำคัญที่ยังไม่หมดอายุความรอเวลคัม ‘นักโทษชาย’ อยู่
ตามข้อมูลชี้ชัดว่า ในรอบ 17 ปีที่ต้องระหกะเหินไปต่างแดน ‘แม้ว’ ต้องโทษคดีความ โดยคำพิพากษาศาลถึงที่สุดแล้ว 4 คดีความ หมดอายุไปแล้ว 1 คดีความถูกตีตกไป 2 คดีความ ทำให้ตอนนี้ เขาเหลืออีก 3 คดีความสำคัญ ซึ่งมีโทษรวมเป็น 10 ปี ได้แก่
1) คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือที่รู้กันใน ‘คดีหวยบนดิน’ โดยศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 2 ปี แบบไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยศาลท่านเห็นว่า การสั่งการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ ดังนั้นเงินที่จ่ายเกินไปกว่ารายได้ของการจำหน่ายสลากจึงถือว่าก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่รัฐ
2) คดีสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ Exim Bank อนุมัติเงินกู้สินเชื่อจำนวนกว่า 4,000 ล้านบาท แก่ ‘รัฐบาลสหภาพพม่า’ กรณีนี้ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 3 ปี แบบไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 (ฉบับเดิม) จากกรณี สั่งการให้ Exim Bank แก่สหภาพพม่า โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน เพื่อนำเงินกู้ดังกล่าวไปใช้ในการซื้อสินค้า และบริการของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
3) คดีให้บุคคลอื่น หรือ ‘นอมินี’ ถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แทน ซึ่ง ‘ ชินคอร์ปฯ’ ถือเป็นคู่สัญญาต่อหน่วยงานของรัฐ และเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในกิจการโทรคมนาคม ศาลฎีกาจึงพิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา
ด้านที่ถูกตีตกข้อกล่าวหาจำนวน 2 คดี ได้แก่
1) คดีกล่าวหาการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบินแบบ A340-500 และ A340-600 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ‘คดีเครื่องบินแอร์บัส’ ในช่วงปี 2545-2547 ทำให้การบินไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น แต่ล่าสุด เมื่อ 26 กรกฎาคม 2566 เลขาธิการ ป.ป.ช.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูล
2) คดีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ ‘จีทูจีล็อตสอง’ ที่สุดคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ตีตกข้อกล่าวหา เนื่องจากเห็นว่าไม่มี ‘เทปลับ’ ที่อ้างถึงการสั่งการของทักษิณ
ในส่วนคดีความที่ถูกยกฟ้องจำนวน 2 คดี ได้แก่ 1) คดีกล่าวหาว่าอนุมัติให้กระทรวงการคลังเข้าไปบริหารจัดการแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TP ถูกยกฟ้อง 2) คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้สินเชื่อเครือกฤษดามหานคร กว่าหมื่นล้านบาทโดยทุจริต
ขณะที่ 1 คดีหมดอายุความ ได้แก่ คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก ที่มีการกล่าวหาผู้เป็นอดีตภารยา ‘คุณหญิงพจมาน ชินวัตร’ กรณีการซื้อที่ดินจำนวน 33 ไร่ 78 ตารางวา ราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหมดอายุความเมื่อ 21 ตุลาคม 2561
ท้ายที่สุด ต้องดูสถานภาพของ ‘นักโทษชายทักษิณ’ ในเรือนจำจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ทางการไทยเขามีแผนรับมือไว้แล้ว โดยเฉพาะท่าที่ของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ที่เปิดเผยข้อมูลขั้นตอน ‘รับตัว’ ในวันเกิดครบรอบ 74 ปี รวมถึงเส้นทางการเดินทางที่ทางตำรวจตระเตรียมไว้แล้วตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างรัดกุม
อย่างไรเสีย สัญญาณที่ต้องการตีตั๋วกลับแผ่นดินไทยของ ‘นายกฯ แม้ว’ จะเป็นไปตามวันที่ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ประกาศหรือไม่ เพราะอย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น ตอนนี้เกิด ‘มหากาพ์การเลื่อน’ ที่กลายเป็น ‘โดมิโน่’ หลังช่วงเช้า มีรายงานว่าทักษิณอาจ ‘เลื่อนวันกลับไทย’ ต่อด้วย ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ประกาศเลื่อนพิจารณาคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมเสนอชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ซ้ำ ไปเป็นวันที่ 16 สิงหาคม ส่งผลให้ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานรัฐสภา ประกาศเลื่อนวันโหวตนายกฯ รอบที่ 3 ออกไปก่อน เพื่อรอศาลรัฐธรรมนูญก่อน และงานแถลงข่าว ‘จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่’ ที่ไม่มี ‘พรรคก้าวไกล’ และนำโดย ‘พรรคเพื่อไทย’ ถูกเลื่อนกระทันหันแบบมีเลศนัย
นักข่าวการเมืองมองว่า ปรากฏการณ์นี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการเคลื่อนไหวของ ‘คนแดนไกล’ ที่แผ่อำนาจครอบงำกลไกการเมืองทั้งๆ ที่ฝ่าเท้ายังไม่ได้แตะแผ่นดินไทยมา 17 ปี
สัญญะที่มาจากทั้งอดีตนายกฯ และคนรอบข้างที่ระบุถึง ‘การกลับบ้าน’ ถูกเผยแพร่ออกมาแล้วทั้งสิ้น 21 ครั้ง (นับตั้งปี 2549 ก่อนการรัฐประหาร จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2566) ภาคการเมืองมองว่า การประกาศแลนดิ้งเมืองไทย กราบแผ่นดินแม่คงเกิดขึ้นแน่ขอแค่เวลาที่แน่นอน ‘หลังการฟอร์มรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น’
นอกจากประเด็นเชิงอำนาจที่ทักษิณมีผลเกี่ยวเนื่องแล้ว ประเด็นเชิงคดีความทางกฎหมายยังคงเป็นที่ตั้งข้อสังเกตอยู่ โดยเฉพาะคดีสำคัญที่ยังไม่หมดอายุความรอเวลคัม ‘นักโทษชาย’ อยู่
ตามข้อมูลชี้ชัดว่า ในรอบ 17 ปีที่ต้องระหกะเหินไปต่างแดน ‘แม้ว’ ต้องโทษคดีความ โดยคำพิพากษาศาลถึงที่สุดแล้ว 4 คดีความ หมดอายุไปแล้ว 1 คดีความถูกตีตกไป 2 คดีความ ทำให้ตอนนี้ เขาเหลืออีก 3 คดีความสำคัญ ซึ่งมีโทษรวมเป็น 10 ปี ได้แก่
1) คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือที่รู้กันใน ‘คดีหวยบนดิน’ โดยศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 2 ปี แบบไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยศาลท่านเห็นว่า การสั่งการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ ดังนั้นเงินที่จ่ายเกินไปกว่ารายได้ของการจำหน่ายสลากจึงถือว่าก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่รัฐ
2) คดีสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ Exim Bank อนุมัติเงินกู้สินเชื่อจำนวนกว่า 4,000 ล้านบาท แก่ ‘รัฐบาลสหภาพพม่า’ กรณีนี้ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 3 ปี แบบไม่รอลงอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 (ฉบับเดิม) จากกรณี สั่งการให้ Exim Bank แก่สหภาพพม่า โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน เพื่อนำเงินกู้ดังกล่าวไปใช้ในการซื้อสินค้า และบริการของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
3) คดีให้บุคคลอื่น หรือ ‘นอมินี’ ถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แทน ซึ่ง ‘ ชินคอร์ปฯ’ ถือเป็นคู่สัญญาต่อหน่วยงานของรัฐ และเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นในกิจการโทรคมนาคม ศาลฎีกาจึงพิพากษาจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา
ด้านที่ถูกตีตกข้อกล่าวหาจำนวน 2 คดี ได้แก่
1) คดีกล่าวหาการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบินแบบ A340-500 และ A340-600 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ‘คดีเครื่องบินแอร์บัส’ ในช่วงปี 2545-2547 ทำให้การบินไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น แต่ล่าสุด เมื่อ 26 กรกฎาคม 2566 เลขาธิการ ป.ป.ช.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูล
2) คดีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ ‘จีทูจีล็อตสอง’ ที่สุดคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ตีตกข้อกล่าวหา เนื่องจากเห็นว่าไม่มี ‘เทปลับ’ ที่อ้างถึงการสั่งการของทักษิณ
ในส่วนคดีความที่ถูกยกฟ้องจำนวน 2 คดี ได้แก่ 1) คดีกล่าวหาว่าอนุมัติให้กระทรวงการคลังเข้าไปบริหารจัดการแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TP ถูกยกฟ้อง 2) คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้สินเชื่อเครือกฤษดามหานคร กว่าหมื่นล้านบาทโดยทุจริต
ขณะที่ 1 คดีหมดอายุความ ได้แก่ คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก ที่มีการกล่าวหาผู้เป็นอดีตภารยา ‘คุณหญิงพจมาน ชินวัตร’ กรณีการซื้อที่ดินจำนวน 33 ไร่ 78 ตารางวา ราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหมดอายุความเมื่อ 21 ตุลาคม 2561
ท้ายที่สุด ต้องดูสถานภาพของ ‘นักโทษชายทักษิณ’ ในเรือนจำจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ทางการไทยเขามีแผนรับมือไว้แล้ว โดยเฉพาะท่าที่ของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ที่เปิดเผยข้อมูลขั้นตอน ‘รับตัว’ ในวันเกิดครบรอบ 74 ปี รวมถึงเส้นทางการเดินทางที่ทางตำรวจตระเตรียมไว้แล้วตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างรัดกุม
อย่างไรเสีย สัญญาณที่ต้องการตีตั๋วกลับแผ่นดินไทยของ ‘นายกฯ แม้ว’ จะเป็นไปตามวันที่ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ประกาศหรือไม่ เพราะอย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น ตอนนี้เกิด ‘มหากาพ์การเลื่อน’ ที่กลายเป็น ‘โดมิโน่’ หลังช่วงเช้า มีรายงานว่าทักษิณอาจ ‘เลื่อนวันกลับไทย’ ต่อด้วย ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ประกาศเลื่อนพิจารณาคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมเสนอชื่อ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ซ้ำ ไปเป็นวันที่ 16 สิงหาคม ส่งผลให้ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานรัฐสภา ประกาศเลื่อนวันโหวตนายกฯ รอบที่ 3 ออกไปก่อน เพื่อรอศาลรัฐธรรมนูญก่อน และงานแถลงข่าว ‘จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่’ ที่ไม่มี ‘พรรคก้าวไกล’ และนำโดย ‘พรรคเพื่อไทย’ ถูกเลื่อนกระทันหันแบบมีเลศนัย
นักข่าวการเมืองมองว่า ปรากฏการณ์นี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการเคลื่อนไหวของ ‘คนแดนไกล’ ที่แผ่อำนาจครอบงำกลไกการเมืองทั้งๆ ที่ฝ่าเท้ายังไม่ได้แตะแผ่นดินไทยมา 17 ปี
