คงไม่แปลกที่ใครหลายคน ตั้งคำถามว่า ระบอบการปกครองแบบใด คือ รูปแบบที่เหมาะสมและสร้างสันติสุขให้กับมนุษยชาติได้มากที่สุด มันมาจากผลพวงที่เกิดขึ้นภายในสภาวะทางความคิด ภายใต้ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงบนแผนที่โลก ไม่มีสังคมใดอยู่ร่วมกันโดยปราศจากปัญหา ไม่ว่าจะเป็นโลกที่หนึ่ง สอง หรือสาม แต่สมมุติฐานที่เชื่อถือในสากลอย่างปฏิเสธความจริงมิได้ว่า ‘ประชาธิปไตย’ คือแนวปกครองที่เลวร้ายน้อยที่สุด และเห็นคุณค่าของ ‘ประชาชน’ มากที่สุด เท่าที่นักคิดนักปรัชญาตั้งแต่ยุคบรรพกาล ยันปัจจุบันจะสรรสร้างขึ้นมาได้
สำหรับเมืองไทย หากยึดตามปฏิทินการเมือง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถือเป็นหนังม้วนแรกที่ประชาชนเริ่มรู้จักการปกครองรูปแบบใหม่ โดยคนหนุ่มหัวก้าวหน้ากลุ่มเล็กๆ นาม ‘คณะราษฎร’ ตัดสินใจก่อการพลิกผืนพิภพ หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งประชาธิปไตย แทนรากแก้วเก่าแก่ที่อยู่คู่กับสังคมสยามมาหลายร้อยปี ท่ามกลางข้อถกเถียงคลาสสิคว่าเป็นการ ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ หรือไม่ เฉกเช่นเดียวกับการหาความหมายว่า ประชาธิปไตยไทย ‘สะเด็ดน้ำ’ แล้วหรือยัง
ผู้เขียนตัดสินใจชวน ‘ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร’ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตอบปุจฉาสนองความใคร่รู้ส่วนตัว ในประเด็นที่กล่าวไว้ถึงสองย่อหน้า พร้อมสอดแทรกกลิ่นอายบ้านเมืองปัจจุบัน หลังผ่านศึกเลือกตั้งใหญ่ไปหมาดๆ
เชื่อว่าบทสนทนาต่อจากนี้ อาจพอสร้างประโยชน์กับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย บางอย่างอาจถูกจริต บางสิ่งอาจไม่ถูกใจ ผมให้สิทธิทุกท่านในด้านความเชื่อ เพราะการสังเคราะห์ประเด็น ‘91 ปี แห่งการปฏิวัติสยาม’ มีหลายแง่มุมให้วิเคราะห์ ต้องใช้วิจารณญาณ และองค์ความรู้ช่วยกลั่นกรอง
แม้ขณะนั่งถอดความงานเขียนชิ้นนี้ ผมก็ถุนบุหรี่ไปเกือบซอง ช่วยการขจัดความคิดบางอย่างออกไป แล้ว ‘ประมวลภาพ’ ออกมาให้ได้ดีที่สุด...หวังว่าทุกท่านจะได้ดื่มด่ำกับการถามตอบระหว่างเราทั้งคู่อย่างมีอรรถรส
สำหรับเมืองไทย หากยึดตามปฏิทินการเมือง วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถือเป็นหนังม้วนแรกที่ประชาชนเริ่มรู้จักการปกครองรูปแบบใหม่ โดยคนหนุ่มหัวก้าวหน้ากลุ่มเล็กๆ นาม ‘คณะราษฎร’ ตัดสินใจก่อการพลิกผืนพิภพ หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งประชาธิปไตย แทนรากแก้วเก่าแก่ที่อยู่คู่กับสังคมสยามมาหลายร้อยปี ท่ามกลางข้อถกเถียงคลาสสิคว่าเป็นการ ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ หรือไม่ เฉกเช่นเดียวกับการหาความหมายว่า ประชาธิปไตยไทย ‘สะเด็ดน้ำ’ แล้วหรือยัง
ผู้เขียนตัดสินใจชวน ‘ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร’ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตอบปุจฉาสนองความใคร่รู้ส่วนตัว ในประเด็นที่กล่าวไว้ถึงสองย่อหน้า พร้อมสอดแทรกกลิ่นอายบ้านเมืองปัจจุบัน หลังผ่านศึกเลือกตั้งใหญ่ไปหมาดๆ
เชื่อว่าบทสนทนาต่อจากนี้ อาจพอสร้างประโยชน์กับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย บางอย่างอาจถูกจริต บางสิ่งอาจไม่ถูกใจ ผมให้สิทธิทุกท่านในด้านความเชื่อ เพราะการสังเคราะห์ประเด็น ‘91 ปี แห่งการปฏิวัติสยาม’ มีหลายแง่มุมให้วิเคราะห์ ต้องใช้วิจารณญาณ และองค์ความรู้ช่วยกลั่นกรอง
แม้ขณะนั่งถอดความงานเขียนชิ้นนี้ ผมก็ถุนบุหรี่ไปเกือบซอง ช่วยการขจัดความคิดบางอย่างออกไป แล้ว ‘ประมวลภาพ’ ออกมาให้ได้ดีที่สุด...หวังว่าทุกท่านจะได้ดื่มด่ำกับการถามตอบระหว่างเราทั้งคู่อย่างมีอรรถรส

มีอะไรซ่อนอยู่ในตัวเลข ‘91’ (ปี) หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
พอพูดถึงตัวเลข 91 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘สมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ประชาธิปไตย’ (อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) เราก็รู้สึกว่ามันยาวนานเกือบจะครบศตวรรษแล้ว อาจเกิดคำถามต่อเนื่องว่ามันลงตัวแล้วหรือยัง ทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจ ที่กำลังถกเถียงกันอยู่ไม่จบสิ้น ผมขอเรียนว่าตัวเลข 91 ถ้าเทียบกับประเทศในทวีปยุโรป เริ่มจากอังกฤษที่ หากจะนับว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1688 ปัจจุบันก็ 300 กว่าปี และกว่าจะลงตัวได้ระดับหนึ่งก็ในราวปลายศตวรรษที่สิบเก้า สวีเดนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ.1809 นอร์เวย์ ค.ศ.1814 และเดนมาร์ก ค.ศ.1849 ก็เช่นกัน กว่าจะลงตัวก็ผ่านอะไรมาเยอะในช่วง 91 ปีแรก ฉะนั้นการพิจารณาตัวเลข 91 เราต้องคำนึงว่า ผ่านการเปรียบเทียบกับชาติตะวันตกว่านานหรือไม่การเปลี่ยนแปลงของสยามในวันนั้น
ที่มาการเปลี่ยนแปลงของสยาม ได้รับอิทธิพลจากตัวแบบการปกครองของต่างประเทศ คือเราไม่ได้เป็นประเทศที่คิดรูปแบบการปกครองเองเหมือนของอังกฤษ ที่เป็นมหาอำนาจของโลก ไม่มีประเทศใดมีอิทธิพลหรือนำร่องความคิดเขามาก่อน แต่เป็นปัญหาภายในของอังกฤษเอง ที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการต่อสู้กัน ระหว่างรัฐสภากับชนชั้นปกครองชนชั้นนำสยาม ได้รับรู้เรื่องระบอบการปกครองรูปแบบใหม่ตั้งแต่เมื่อไหร่
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รู้จักคำว่า ‘สภา’ หลัง ‘เฮนรี เบอร์นี’ ตัวแทนเจรจาจากอังกฤษเดินทางมาสยาม จนเกิดการเซ็น ‘สนธิสัญญาเบอร์นี’ ตอนนั้นพระเจ้าอยู่หัว เกิดข้อสงสัยว่า ‘เบอร์นี’ เป็นตัวแทน ‘สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย’ หรือไม่ ปรากฏว่า เขาเป็นตัวแทนของรัฐสภาอังกฤษ (เพราะรัฐสภามีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย) ในหลวงท่านเลยถามว่า ส.ส. ในสภาฯ แต่ละคนมีอำนาจเอง หรือเขาจะมีอำนาจเมื่อเข้าไปทำงานในสภาฯ นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ เพราะบริบทของไทย เวียง วัง คลัง นา มีอำนาจในตัวเอง ขุนนางมีอิสระในการสั่งการ ไม่จำเป็นต้องประชุมเพื่อโหวตกฎหมายต่างๆ จึงถือเป็นคราวแรกเริ่มที่ชนชั้นปกครองสยามรู้จักระบบรัฐสภาต่อมาในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีคนเขียนบัตรสนเท่ห์เป็นภาษาอังกฤษ บอกว่าพระองค์ท่านปกครองแบบ Absolute monarchy (สมัยนั้นยังไม่มีคำว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์) ด้วยความที่ท่านติดตามข่าวสารโลกตะวันตก มีความรู้เรื่องศาสตร์ต่างประเทศเยอะ พระองค์จึงเขียนปฏิเสธไป ว่าอำนาจไม่ได้อยู่กับท่านแต่อยู่ในมือของขุนนางกลุ่มบุนนาค เป็นเพราะสถานการณ์ยุโรปในตอนนั้นเกิดเหตุความวุ่นวายจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีเพียงรัสเซียที่ยังคงเป็นระบอบดั้งเดิมอยู่ ฉะนั้นนี่เป็นข้อมูลที่ระบุว่า ชนชั้นนำไทยรับรู้ถึงความเป็นไปของโลกมาโดยแต่เนิ่นๆ รัชกาลที่ 4 ก็เลยยอมให้ขุนนางบุนนาคมีอำนาจในตอนนั้น
เมื่อถึงคราวรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ (ช่วงแรก) อำนาจยังอยู่ในมือของขุนนางกลุ่มเดิมที่นำโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะผู้สำเร็จราชการ แต่เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะ ท่านก็สามารถดึงอำนาจคืนมา และเขียนในพระราชหัตถเลขาชัดเจน ว่าไม่ต้องการเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจเยอะ แต่มีอำนาจปานกลาง
กระทั่งเกิด ‘กบฏ ร.ศ. 130’ หลังการขึ้นครองราชย์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ซึ่งกบฎเหล่านี้ได้อิทธิพลจากการปฏิวัติในจีน ถ้าได้อ่านบันทึกของพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) จะทราบว่า รัชกาลที่ 6 ก็อยากให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองให้เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะเพื่อความสถาพรต่อระบบเดิม โดยต้องการรักษาสถาบันไว้ด้วยการลดอำนาจลง
‘รัฐธรรมนูญ’ จากชนชั้นนำ
มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 คือ ‘ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยประเพณีสยามฉบับที่ 1’ ที่มีใจความประมาณว่า พระมหากษัตริย์จะไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง แต่ให้เสนาบดีทำงานแทน เผอิญร่างฉบับนี้ไม่สามารถประกาศใช้ได้เพราะปัญหามาตรา 1 ที่เกี่ยวข้องกับอาณาเขตดินแดนในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อเกิดกบฏแล้วท่านก็มีพระราชปณิธานที่จะให้มีรัฐธรรมนูญ แต่เผอิญว่ามีพระบรมวงศานุวงศ์ไม่เห็นด้วย โดยคิดว่าคนสยามยังไม่พร้อม ท่านก็เลยเร่งสร้างพระราชบัญญัติการศึกษา และสถาบันความรู้อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ประชาชนศึกษาเล่าเรียน เตรียมความพร้อม
พอขึ้นสมัยรัชกาลที่ 7 ปีแรกท่านก็เขียนเอกสารภาษาอังกฤษ 2 ฉบับคือ ‘Problems of Siam’ และ ‘Democracy in Siam’ พูดถึงการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยใน ซึ่งพระองค์มีที่ปรึกษาเป็นฝรั่งอย่าง ‘ฟรานซิส บี. แซร’ (พระยากัลยาณไมตรี) และ ‘เรมอนด์ บี สตีเวนส์’ พร้อมทั้ง ‘สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ’ และ ‘สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ฯ’ คอยถกเถียงกันว่าจะเตรียมตัวกันอย่างไร สรุปสั้นๆ คือจะทำอย่างไรเพื่อจะให้มีร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีแนวคิด การแบ่งแยกอำนาจให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี มีสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม และมีเรื่องการเลือกตั้งเทศบาล โดยจะให้เลือกตั้งท้องถิ่นก่อน เพราะถ้าจะเริ่มจากการเลือกตั้งระดับชาติเลย มันอันตรายสำหรับประชาชนที่อาจไม่เข้าใจ โดยเริ่มจากการให้สิทธิ์เลือกคนในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งสามารถติดตามเรื่องราวต่างๆ ทั้ง เรื่องน้ำ เรื่องความสะอาด เรียกว่าประชาธิปไตยเริ่มจากรากฐาน ทั้งหมดนี้ถูกตัดหน้าโดยคณะราษฎร
คำว่า ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ เป็นการนิยามการกระทำของคณะราษฎร์ ถูกต้องหรือไม่
ผมว่าใช้ ‘ชิงตัดหน้า’ ดีกว่าครับ เพราะว่ารัชกาลที่ 7 จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่เรื่องกำหนดการยังไม่แน่ชัด ตอนแรกมีข่าวว่าจะเป็นวันที่ 6 เมษายน 2475 ซึ่งเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายนก็ห่างไม่กี่เดือน ถามว่า ‘ชิงสุกก่อนห่าม’ หรือไม่ คณะราษฎรเองพอขึ้นมาก็ยังไม่ให้เลือกตั้งโดยตรง ไม่น่าจะใช่ ‘ก่อนห่าม’ ผมคิดว่าน่าจะเป็นการ ‘ตัดหน้า’ มากกว่าในทางวิชาการไม่มีใครแน่ใจว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากชนชั้นนำ จะเกิดขึ้น (จริงๆ) เมื่อไหร่
ถ้าวันนั้นไม่มีคณะราษฎร ประเทศไทยก็อาจจะคล้ายๆ กับภูฏาน คือริเริ่มเปลี่ยนแปลงจากชนชั้นปกครอง คณะราษฎรเขาเป็นข้าราชการระดับกลาง และเป็นนักเรียนนอก ดังนั้นอิทธิพลของต่างประเทศเข้ามาตลอดเวลา แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าในหลวงจะพระราชทานเมื่อไหร่ เพราะพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายคนก็ยังเห็นว่าสยามยังไม่พร้อม แต่คิดว่าสักวันหนึ่งก็คงมี แต่อาจจะไม่เป็นแบบ 24 มิถุนายน (2475)
คิดเห็นอย่างไรกับการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ ที่ทำโดยคณะราษฎร
ในแง่หนึ่งต้องยอมรับว่าคณะราษฎรมีความกล้าหาญ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้นมันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ต้องถามต่อว่าพวกเขารู้จักระบบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือการทำงานผ่านกลไกของสภามากน้อยเพียงไร ณ ตอนนั้น ไม่ใช่แค่ประชาชนไม่พร้อม แต่คนในคณะราษฎรเองก็เช่นกัน นอกจากอังกฤษและฝรั่งเศสแล้ว เขารู้จักเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์และเบลเยี่ยม มากแค่ไหนทุกวันนี้ถามจริงครับ นักวิชาการไทยสอนแต่วิชาการเมืองอังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา แต่ยังไม่มีการสอนวิชาการปกครองเบลเยียม เดนมาร์ก หรือสวีเดนเลย ผมก็พยายามเริ่มเขียนเริ่มสอน บางท่านไม่ได้ศึกษามาโดยตรง ไปทำวิทยานิพนธ์เรื่องเมืองไทยนู่นนี่นั่น เสร็จมาอ่านหนังสือแล้วก็สอน ไม่ได้เข้าใจวิวัฒนาการว่ามีมิติตื่นลึกหนาบางแค่ไหน
ฉะนั้นไม่ต้องถามว่าคณะราษฎร เข้าใจเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เทียบง่ายๆ ว่าระยะเวลาการศึกษาในต่างประเทศเขากับเจ้านายชนชั้นปกครอง มีระยะเวลาศึกษายาวนานต่างกันกี่ปี
อะไรคือเหตุผลที่คณะราษฎรซึ่งเป็นคนหนุ่ม มีความกล้าที่จะกระทำการ ‘อันตรายถึงชีวิต’
คือคนในวัยหนุ่ม อย่างผมเวลาไปเรียนเมืองนอก อายุ 20 ต้นๆ ไปเห็นอะไรที่รู้สึกว่าดี กลับมาผมก็อยากให้มันเกิดแบบนั้นโดยเร็ว เห็นที่อังกฤษเขาข้ามทางม้าลายอย่างปลอดภัยมีสัญญาณไฟจราจร กลับมาเมืองไทยผมก็โกรธคนไปหมด กลายเป็นคน ‘ชังชาติ’ เหมือนกัน ตั้งคำถามทำไม่เป็นอย่างนู้นอย่างนี้ แต่เราจะไปเปลี่ยนแปลงมันยังไง ยึดอำนาจแล้วไปเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของคน มันก็ไม่มีที่ไหนเขาเปลี่ยนได้ ทุกอย่างมันต้องใช้เวลาจริงๆ มันเป็นเรื่องปกติของคนวัยนั้น ที่ไปเรียนเมืองนอก สมัยนี้ก็ยังมีอยู่จบปริญญาตรีเมืองไทยไปเรียนต่อเมืองนอก พอเห็นแสงสีก็คิดว่าบ้านเราล้าหลังและอยากจะมีบ้าง เป็นอุดมคติจากพลังของคนรุ่นใหม่ ที่เกิดขึ้น
มรดกทางความคิดหรือการกระทำของคณะราษฎร์ส่งผลอะไรถึงยุคการเมืองปัจจุบัน
ในแง่หนึ่งต้องยอมรับเมื่อเริ่มเปลี่ยนเร็ว โอกาสที่จะพัฒนาก็เร็วขึ้น (หวังว่าอย่างนั้น) แต่ปัญหาของบ้านเรามันก็มีกรณีอาการแทรกซ้อนระหว่างทางเยอะมาก อาทิ สงครามโลกครั้งที่ 2 กรณีสวรรคต สงครามเย็น หรือแม้แต่ความขัดแย้งแย่งผลประโยชน์กันระหว่างกลุ่มทหาร - คณะราษฎรด้วยกันเอง มันคือความแทรกซ้อนที่ทำให้ประชาธิปไตยเรา ไม่เดินไปอย่างราบรื่นเราปฏิเสธไม่ได้ ว่าหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงระเบียบโลกไม่รู้คืออะไร การเปลี่ยนแปลงด้านทุนด้านต่างๆ มันรวดเร็ว เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า คนไทยก็รับรู้เรื่องราวต่างๆ ทั่วโลก การปลุกระดมคนก็สามารถทำได้ทันที ตั้งแต่สมัย 2549 เราจะพบว่า มวลชนลงไปท้องถนน 2 ฝั่ง มาจากเครื่องมือสื่อสารที่ทำได้ทันที หลังจากนั้นก็เป็นทีวีดาวเทียม - มือถือ ไปจนถึงสื่อมีเดียรูปแบบใหม่ ที่สื่อสารให้ข้อมูลในสิ่งที่คนแต่ละกลุ่มเห็นตรงกนน พอเกิดความขัดแย้งขึ้น 2 ฝ่าย ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียกพรรคพวกเข้าชุมนุม ก่อให้ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งมันมีอยู่ตลอด กลายเป็นตัวเร่งวิกฤติความรุนแรงที่สูงขึ้น มีการพูดปล่อยข่าวว่าสถาบันอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทางการเมืองด้วย
ไหนๆ ก็มีการพูดถึงเรื่องการเมืองในวันนี้แล้ว อาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับกรณีที่พรรคเสรีนิยม อย่าง ‘ก้าวไกล’ และ ‘เพื่อไทย’ ได้คะแนนเสียงทิ้งห่างจากปีกการเมืองฝั่งอนุรักษ์นิยม
ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้ก้าวไกลและเพื่อไทยขึ้นมาได้สูง เกิดจากผลพวงเพียงเพราะการทำรัฐประหารปี 2557 โดย ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ และการอยู่ในอำนาจยาวนาน (มาก) ประกอบกับเจตนารมณ์ในการสร้างรัฐธรรมนูญ 60 ให้ ‘ส.ว.’ มีอำนาจโหวตเลือกนายกฯ ด้วย
ภายใต้กระแสตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในยุคนี้มันรับไม่ได้ เรื่องนโยบายไม่เกี่ยว ที่เกี่ยวคือการ ‘สืบทอดอำนาจ’ เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันทำแบบนี้ถือว่าผิดกาลเทศะอย่างแรง ส่งผลให้คนเบื่อหน่าย
ผลคะแนนที่ออกมามีสัดส่วนของคนที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมมาโหวตสนับสนุนให้พรรคก้าวไกล ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะเกิดทางการเมือง โดยเฉพาะประเทศไทย?
คนมันเบื่อ และ (ขอโทษนะ) ประเด็นก็คือ พรรคที่ไม่ใช่ก้าวไกลและเพื่อไทย เลือกไปก็มีแนวโน้มจับมือส่งให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อ เพราะเคยร่วมงานกันมาแล้วในรัฐบาลที่ผ่านมา เขาเลยไม่เอาไง
กลุ่มอนุรักษ์นิยมต้องเปลี่ยนความคิดไหม เมื่อไปเลือกก้าวไกลแล้วต้องกลายเป็นเสรีนิยม แบบที่พรรคก้าวไกลเป็น หรือแค่ความเบื่อหน่ายเฉพาะการเมืองยุคนี้
ก้าวไกลผมก็ยังพูดยากเลยว่าเขาเป็นเสรีนิยม เพราะรัฐสวัสดิการ มันไม่ได้ให้ประชาชนมีเสรีภาพอะไรมาก อย่างประเทศสวีเดนเป็นรัฐสวัสดิการ เหล้าเขารัฐบาลก็เป็นคนผลิตและผูกขาด และมีการกำหนดโควต้าให้ประชาชนดื่มต่อสัปดาห์ บ้านสวัสดิการประชาชนก็เลือกเองไม่ได้ คือให้อยู่ฟรี แต่เราเลือกไม่ได้ เพราะฉะนั้นคำว่า ‘เสรีนิยม’ กับ ‘รัฐสวัสดิการ’ มันไปด้วยกันไม่ได้
ฉะนั้นคุณต้องบอกว่าก้าวไกลเป็นเสรีนิยมในบางเรื่อง สุราเสรีก็อาจเป็นเสรีนิยม แต่ที่บอกว่าจะต้องมีสวัสดิการนู่นนี่นั่นเยอะแยะมันไม่ใช่ คงเรียกลำบากว่ามันเป็นอะไร มีส่วนที่เป็นหลักทุนนิยมอยู่ไหมก็ยังมี สังคมนิยมก็มี ดังนั้นการแบ่งแบบนี้เป็นแค่ภาษาปากที่พูดกันเอง แต่แน่นอนคนยุคนี้ ถ้าคุณจะมองความต่างระหว่าง ‘อนุรักษ์นิยม’ กับ ‘เสรีนิยม’ ก็คือจุดยืนที่มีต่อสถาบัน นี้อาจจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
ฉะนั้นคุณต้องบอกว่าก้าวไกลเป็นเสรีนิยมในบางเรื่อง สุราเสรีก็อาจเป็นเสรีนิยม แต่ที่บอกว่าจะต้องมีสวัสดิการนู่นนี่นั่นเยอะแยะมันไม่ใช่ คงเรียกลำบากว่ามันเป็นอะไร มีส่วนที่เป็นหลักทุนนิยมอยู่ไหมก็ยังมี สังคมนิยมก็มี ดังนั้นการแบ่งแบบนี้เป็นแค่ภาษาปากที่พูดกันเอง แต่แน่นอนคนยุคนี้ ถ้าคุณจะมองความต่างระหว่าง ‘อนุรักษ์นิยม’ กับ ‘เสรีนิยม’ ก็คือจุดยืนที่มีต่อสถาบัน นี้อาจจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
ซึ่งตอนนี้ดูแล้วค่อนข้างแบ่งความเชื่อได้ชัดเจนมาก ว่าใครคิดใครเชื่ออะไรยังไง?
เรื่องจุดยืนต่อสถาบันก็จะพูดได้ว่า มีพรรคก้าวไกลต้องการแก้มาตรา 112 จะเห็นภาพ ส.ส. ไปประกันตัวประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์ หรือหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ของเพื่อไทยก็เคยมีการสนับสนุนคนในยุคคนเสื้อแดง แต่ว่าก่อนวันเลือกตั้ง หลายพรรคประกาศตัวชัดเจน และมีการแสดงท่าทีว่าจะเอาอย่างไรกับมาตรา 112 เกือบทุกพรรคก็บอกว่าไม่ต้องแตะต้อง
เข้าใจว่าอาจารย์เองก็เคยนำเสนอเรื่องในเมื่อปี 2554 โดยพุ่งไปที่เรื่องการยกเลิก ซึ่งหมายถึงการยกเลิกไปเลย?
ในปี 2554 กระแสของนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์เขาออกมาแก้ไข ตอนนั้นก็จะมีมวลชนเสื้อแดง ที่จะมีการถวายฎีกา ให้อภัยโทษ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ มีการพูดวิพากษ์วิจารณ์สถาบันเยอะ ผมคิดว่าถ้าจะให้แก้ไขในสภาฯ ก็จะรับรู้แต่ในสภาฯ ถึงแม้จะเขียนคำอธิบายออกคนอ่านก็ไม่ใส่ใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรง อาจจะเกิดม็อบปะทะกันก็ได้
ผมเลยคิดว่าถ้าเราเปิดเวทีประชาพิจารณ์ ให้คนที่อยากจะแก้ไขแสดงความเห็น บอกเลยว่าทำไมถึงแก้ คนที่บอกว่าไม่แก้เลย หรือว่าห้ามยกเลิกเลยเขามีเหตุผลอะไร หรือว่าจะปกป้องสถาบันทั้งสองฝั่ง แก้ก็บอกว่าปกป้องสถาบัน เมื่อคุยกันแล้วที่สุด สิ่งที่ตกผลึกมามันจะออกมาได้หลายอย่าง
อาทิ บอกว่าไม่ต้องแก้เพราะอยู่อย่างนี้ดีแล้ว แต่คำว่า ‘ดี’ แล้วตอนนี้มันจะต่างกับตอนที่ไม่คุยกัน หรือยอมรับว่าแก้โทษจำคุกจาก 3 ปี เป็น 1 ปี แต่กระบวนการตอนทำประชาพิจารณ์ก็ต้องดูแลให้ดีๆ เมื่อเปิดให้คุยเต็มที่แล้ว ได้ผลอย่างไรก็ทำประชามติ จะดีกว่าให้สภาประกาศลงมา ประชาชนจำนวนหนึ่งไม่พอใจ ม็อบก็ไม่จบไม่สิ้น
ผมเลยคิดว่าถ้าเราเปิดเวทีประชาพิจารณ์ ให้คนที่อยากจะแก้ไขแสดงความเห็น บอกเลยว่าทำไมถึงแก้ คนที่บอกว่าไม่แก้เลย หรือว่าห้ามยกเลิกเลยเขามีเหตุผลอะไร หรือว่าจะปกป้องสถาบันทั้งสองฝั่ง แก้ก็บอกว่าปกป้องสถาบัน เมื่อคุยกันแล้วที่สุด สิ่งที่ตกผลึกมามันจะออกมาได้หลายอย่าง
อาทิ บอกว่าไม่ต้องแก้เพราะอยู่อย่างนี้ดีแล้ว แต่คำว่า ‘ดี’ แล้วตอนนี้มันจะต่างกับตอนที่ไม่คุยกัน หรือยอมรับว่าแก้โทษจำคุกจาก 3 ปี เป็น 1 ปี แต่กระบวนการตอนทำประชาพิจารณ์ก็ต้องดูแลให้ดีๆ เมื่อเปิดให้คุยเต็มที่แล้ว ได้ผลอย่างไรก็ทำประชามติ จะดีกว่าให้สภาประกาศลงมา ประชาชนจำนวนหนึ่งไม่พอใจ ม็อบก็ไม่จบไม่สิ้น
ดูแล้วทำการประชาพิจารณ์จะเป็นจุดเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาตรงนี้
อย่าเรียกว่าการแก้ไข เรียกว่าจุดเริ่มต้นแห่งการพูดคุย ว่าจะทำอย่างไรกับมาตรา 112 ดีกว่า
หรือตอนนี้สารตั้งต้นไม่เหมือนกัน อย่างอาจารย์บอกว่าอยากให้ยกเลิก แต่วันนี้ก้าวไกลขอเริ่มต้นแก้ไขก่อน ทั้งคู่คิดไม่ตรงกันหรือเปล่า
ที่ผมขอยกเลิก เราจะพบว่า ญี่ปุ่นเขาไม่มีกฎหมายนี้ เขาใช้กฎหมายหมิ่นประมาทแบบกับประชาชนทั่วไป แต่ว่าถ้ามีกรณีหมิ่นประมาทจักรพรรดิ ที่ผมอ่านมานายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลจะเป็นคนดูแลการฟ้อง ของเราถ้าพูดถึงสถาบัน ประชาชนที่มีความจงรักภักดีเขารู้สึกอ่อนไหว ว่าอันนี้จะเป็นการล้มได้ ถ้าคุยกันรู้เรื่องแล้วประชาชนมีวุฒิภาวะ พูดไปแค่ไหนก็ล้มไม่ได้ ดังนั้นโทษจึงไม่จำเป็นต้องรุนแรง
ในฐานะนักรัฐศาสตร์ เหตุผลในทางวิชาการระบอบนี้เป็นระบอบที่ใช้กันได้กัับประเทศไทย ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาสถาบันไว้ อย่าง ‘ศาสตราจารย์ทอม สกินเบิร์ก’ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ที่ธรรมศาสตร์เคยเชิญมาพูดเมื่อ 2 ปีก่อน เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ยังบอกเลยว่าระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญน่าจะเป็นระบอบที่ดีที่สุดในโลก คนอาจจะหาว่าเขาบ้าก็ได้เพราะเขาเป็นคนอเมริกัน น่าจะชื่นชมระบอบแบบประธานาธิบดี แต่กลับเห็นว่าระบอบนี้มันดีที่สุด
ในฐานะนักรัฐศาสตร์ เหตุผลในทางวิชาการระบอบนี้เป็นระบอบที่ใช้กันได้กัับประเทศไทย ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาสถาบันไว้ อย่าง ‘ศาสตราจารย์ทอม สกินเบิร์ก’ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ที่ธรรมศาสตร์เคยเชิญมาพูดเมื่อ 2 ปีก่อน เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ยังบอกเลยว่าระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญน่าจะเป็นระบอบที่ดีที่สุดในโลก คนอาจจะหาว่าเขาบ้าก็ได้เพราะเขาเป็นคนอเมริกัน น่าจะชื่นชมระบอบแบบประธานาธิบดี แต่กลับเห็นว่าระบอบนี้มันดีที่สุด
พูดถึง ‘ด้อมส้ม’ ที่หลายคนมี ‘คณะราษฎร’ เป็นเหมือนไอคอนในการออกมาขับเคลื่อน อาจารย์มองว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่วันนี้ กับคนหนุ่มใน 91 ปีที่แล้ว มีความเหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหนบ้าง
เหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหนเหรอครับ ผมว่าคนหนุ่มสมัยนั้นก็อายุ 30 กว่า แต่เยาวชนสมัยนี้มัน 20 นิดๆ อุดมการณ์คงมีเหมือนกัน คำถามมันก็เลยกลับมาที่ 91 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนมันจบลงแล้วหรือยัง เราเปลี่ยนจากราชาธิปไตยมาเป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเด็กเยาวชนนักวิชาการหรือนักการเมืองบางกลุ่มก็อาจจะบอกว่า มันเป็นการปฏิวัติที่ไม่สิ้นสุด
ฉะนั้นมันต้องมาคุยกันคุณเห็นว่า ระบอบการปกครองทุกวันนี้ ไม่เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขยังไง
หรือจริงๆ แล้วคำว่าประชาธิปไตยในยุคนั้นกับยุคนี้มันมีความเหมือนหรือต่างกัน (ตรงไหน)
ประชาธิปไตยมีประเด็นของมันเอง ต่อให้เราเปลี่ยนแปลงการปกครองเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ 10 ปีแรกแล้ว ประชาธิปไตยที่ไม่มีกษัตริย์แบบอเมริกาก็มีพลวัตร คือเสรีภาพมันไม่ได้หยุดอยู่แค่สมัยที่อเมริกามีรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1787 ทุกวันนี้คนก็เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคมากขึ้น การเมืองอัตลักษณ์เรื่อง LGBTQ+ เขาก็เรียกร้อง
ฉะนั้นโดยลำพังตัวประชาธิปไตย มันเป็นการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุดอยู่แล้ว ไม่รู้เป้าหมายความพอดีของเสรีภาพไม่มีใครรู้เลย เหมือนเดินกลางทะเลทรายจะหาหมุดหมาย ไม่รู้อยู่ตรงไหน ไม่ต้องพูดถึงประเด็นมีสถาบันหรือไม่มีนะครับ
ระบอบประชาธิปไตยเมื่อเริ่มใช้ทั่วโลกแล้ว (ไม่นับพวกประชาธิปไตยจำแลง) มันจะมีปัญหาพวกเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตลอด ซึ่งเราก็ต้องอยู่กับมัน ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ ฉะนั้นประเด็น 91 ปี ก็สามารถสังเคราะห์ได้หลายประการคือ หนึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มันไม่ได้สะเด็ดน้ำ สองถึงแม้มันจะสะเด็ดน้ำแล้วแต่ประชาธิปไตยมันไม่มีวันสะเด็ดน้ำ สามนักการเมืองหรือความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไปดึงเอาสองประเด็นนี้มาปลุกในอารมณ์คน สี่เทคโนโลยีในการสื่อสารที่มันก้าวหน้าให้การปลุกระดมมันมีพลัง
ฉะนั้นโดยลำพังตัวประชาธิปไตย มันเป็นการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุดอยู่แล้ว ไม่รู้เป้าหมายความพอดีของเสรีภาพไม่มีใครรู้เลย เหมือนเดินกลางทะเลทรายจะหาหมุดหมาย ไม่รู้อยู่ตรงไหน ไม่ต้องพูดถึงประเด็นมีสถาบันหรือไม่มีนะครับ
ระบอบประชาธิปไตยเมื่อเริ่มใช้ทั่วโลกแล้ว (ไม่นับพวกประชาธิปไตยจำแลง) มันจะมีปัญหาพวกเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตลอด ซึ่งเราก็ต้องอยู่กับมัน ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ ฉะนั้นประเด็น 91 ปี ก็สามารถสังเคราะห์ได้หลายประการคือ หนึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มันไม่ได้สะเด็ดน้ำ สองถึงแม้มันจะสะเด็ดน้ำแล้วแต่ประชาธิปไตยมันไม่มีวันสะเด็ดน้ำ สามนักการเมืองหรือความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไปดึงเอาสองประเด็นนี้มาปลุกในอารมณ์คน สี่เทคโนโลยีในการสื่อสารที่มันก้าวหน้าให้การปลุกระดมมันมีพลัง
เมื่อพูดถึงการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้วความเชื่อในยุคนี้ คิดน่าจะเป็นทิศทางที่สุดโต่งกันทั้งคู่ แล้วอะไรคือจุดร่วมกัน หรือสิ่งที่เรียกว่าเกิดความประนีประนอมมากที่สุด
คือเราต้องแยก 2 ขั้วนี้ ว่าขั้วหนึ่งต้องการระบบการปกครองแบบนี้อยู่หรือเปล่า หรือคุณแค่พูดแต่ปาก ว่าสิ่งที่เขาต่อสู้เพื่อให้มีระบบการปกครองกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ จริงแล้วเขามีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ ถ้ามียังไงความขัดแย้งก็ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
ถ้าระบบเรามีสิทธิเสรีภาพให้ทางความคิดเห็นต่าง ต้องยอมรับ อย่าใส่ร้ายบิดเบือนหรือหมิ่นประมาทกัน จะอาฆาตมาดร้ายกันไม่ได้ คิดว่าคนในสังคมเราก็แบ่งออกเป็นกลุ่ม ทั้งหัวก้าวหน้า หรือจงรักภักดีปกป้องสถาบันสุดขีด จะบอกว่าเป็นเหลืองแดงก็ได้ หรือมีคนอีกประเภทหนึ่งบอกว่ามีก็ได้ - ไม่มีก็ได้ ซึ่งคนพวกนี้จะลงไม่ลงไปทำอะไรร่วมขบวนฝั่งไหนเลย
ถ้าระบบเรามีสิทธิเสรีภาพให้ทางความคิดเห็นต่าง ต้องยอมรับ อย่าใส่ร้ายบิดเบือนหรือหมิ่นประมาทกัน จะอาฆาตมาดร้ายกันไม่ได้ คิดว่าคนในสังคมเราก็แบ่งออกเป็นกลุ่ม ทั้งหัวก้าวหน้า หรือจงรักภักดีปกป้องสถาบันสุดขีด จะบอกว่าเป็นเหลืองแดงก็ได้ หรือมีคนอีกประเภทหนึ่งบอกว่ามีก็ได้ - ไม่มีก็ได้ ซึ่งคนพวกนี้จะลงไม่ลงไปทำอะไรร่วมขบวนฝั่งไหนเลย

ฉายภาพกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สนับสนุนพรรคที่กำลังจะเป็นว่าที่รัฐบาล และกลุ่มอำนาจเดิมได้หรือไม่
ไม่ได้ๆ คนเลือกพรรคก้าวไกล 14 ล้านเสียง จะมีสักกี่คนที่คิดล้มสถาบัน มันมีไม่เยอะ ถามว่าทำไมมีไม่เยอะเพราะผมคุยกับคนที่อยู่รอบตัว ในฐานะที่เขาเลือกก้าวไกลเขาไม่ได้สนใจเรื่องการปฏิรูปสภาบัน ขณะเดียวกันคนที่เลือกพรรคภูมิใจไทย - ประชาธิปัตย์ เขาก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องปกป้องสถาบันจนตัวตาย ฉะนั้น 14 ล้านหรือ 9 ล้านมันยังตอบไม่ได้ ถึงบอกไงให้ทำมาตรา 112 เป็นประชาพิจารณ์จะเห็นชัดเจน ว่าใครจะเอาแบบไหนยังไงคนเลือกเพราะพรรคก้าวไกลมีจุดยืนชัดเจน ไม่มีลุงไม่มีกู พรรคอื่นมันไม่มีความชัดเจนตรงนี้ ไม่ใช่แค่คนอายุน้อยหรอก คนอายุมากก็เบื่อ เคยเลือกพลังประชารัฐ เคยเชียร์ลุงตู่มาเขาก็เบื่อ มันก็น่าเบื่อจริงๆ นะ 8 ปีแล้วยังจะลงเลือกตั้งต่ออีก ผมก็ไม่เข้าใจว่าคิดอะไรอยู่ เป็นอีกได้แค่ 2 ปี ไม่เข้าใจจริงๆ
ถ้าปี 2562 ไม่มีพลังประชารัฐไม่มีลุงตู่ลุงป้อม ก็ไม่เชื่อว่าพรรคอนาคตใหม่เขาจะมา คงจะเป็นขั้วประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยที่ขับเคี่ยวกันเหมือนเดิม และ ส.ว. จะทำหน้าที่ได้ดีตรงไปตรงมากว่านี้
ท้ายที่สุดอยากให้อาจารย์ฝากอะไรถึง 91 ปีจากเหตุการณ์อภิวัฒน์สยามหน่อยครับ
แต่ก่อนเราไม่มีใครอยากลงเลือกตั้ง มาตั้งแต่ช่วงปี 2475 – 2476 จากไม่ตื่นตัวมาเป็นตื่นตัว สิ่งต่อไปคือเรื่องคุณภาพ ทั้งคุณภาพประชาธิปไตย คุณภาพนักการเมือง และคุณภาพของประชาชนฉะนั้นมันก็มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ให้เห็นอยู่ เราต้องพัฒนาให้คุณภาพของคนที่ใช้สิทธิได้คิดไตร่ตรอง ไม่หลงกลนโยบายประชานิยมแบบสามานย์ ขณะเดียวกันต้องปกป้องสถาบันเบื้องสูงไม่ดึงลงมาเป็นประเด็นทางการเมือง จะไปตีเหมาว่าข้างบนเป็นคนสั่งลงมามันไม่ได้
คำถามสุดท้ายครับ คิดว่าการก่อการของคณะราษฎร์ในวันนั้น เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ หรือเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า
ในความกล้าหาญ ผมยกย่องพวกเขาเพราะมันเสี่ยงต่อชีวิตมาก แล้วสิ่งที่คณะราษฎร์หวังให้ประชาชนได้ประโยชน์ก็ (คง) เป็นเรื่องจริง แต่ถ้าพูดจากจุดยืนนักวิชาการ ท่านไม่ได้เข้าใจระบบการปกครอง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขถ้าไม่เข้าใจดีพอแล้วมาวางรากฐานร่างรัฐธรรมนูญ ควรใช้ประโยชน์จากหลักการที่ประเทศอื่นเขาเปลี่ยนแปลงมาก่อน ท่านต้องศึกษาให้เยอะกว่านี้ วันนี้ผมก็เห็นว่า มีคนที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆ แต่พวกเขาได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศที่ใช้ระบบนี้มาพอสมควรแล้วหรือยัง หรือเข้าใจระบบอังกฤษฝรั่งเศสดีขนาดไหน เป็นเรื่องขององค์ความรู้
ให้พูดจากจุดยืนนักวิชาการ ผมยกย่องคณะราษฎรเรื่องความกล้าหาญ แต่ถ้าเราขาดปัญญาผมคิดว่ามันอันตรายมาก ‘ความกล้าหาญกับปัญญามันต้องไปด้วยกัน’
ติดตามบทสัมภาษณ์ขนาดยาวได้ที่: SPACEBAR POLITICS: 91 ปี 2475 ตามทรรศนะ ‘ไชยันต์ ไชยพร’