หลังมีข่าวกระทรวงมหาดไทย ได้ปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา เกิดการตั้งคำถามจากสังคมถึงการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะในหมวดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเบี้ยยังชีพ ข้อ 4 ‘เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด’
รายละเอียดกล่าวกันแบบเข้าใจง่ายคือ จะจ่ายเบี้ยให้กับผู้สูงวัยที่เข้าเกณฑ์ว่า ‘ยากจน’ จากการ ‘พิสูจน์’ โดยรัฐ คล้ายคลึงกับช่วยเหลือแบบ ‘รัฐสงเคราะห์’ ไม่ใช่การจ่ายเบี้ยแบบ ‘ถ้วนหน้า’ ตามที่ปฏิบัติมา
หากสะท้อนประเด็นดังกล่าว ผ่านสายตาของ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ขับเคลื่อนเรื่องรัฐสวัสดิการโดยตรง ที่มองว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความ ‘ถอยหลัง’ ของระบบ ‘สวัสดิการถ้วนหน้า’ ที่ผ่านการพิสูจน์เชิงทฤษฎีและปฏิบัติมามากมายจนเกิดผลลัพธ์ แสดงประสิทธิภาพมากในการรักษาพยาบาล หรือดูแลผู้สูงอายุสูงสุด ซึ่งหากสิ้นสุดระบบดังกล่าวย่อมส่งภาระต่อไปยังคนในช่วงวัยต่างๆ ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเองมากขึ้นด้วย
“ผมจึงมองว่าเป็นความถอยหลังของระบบสวัสดิการของเรา และจะทำให้จำนวนผู้สูงอายุจำนวนหลายล้านคนต้องตกอยู่ในสถานะที่ยากลำบาก เป็นลูกโซ่ส่งต่อถึงคนวัยทำงานและเด็กด้วย แบบรุ่นสู่รุ่น”
สำหรับสถิติจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย จากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ระบุข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จะพบว่า ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ (หรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไป) จำนวนทั้งสิ้น 12,698,362 คน คำนวนเป็นได้ร้อยละ 19.21 ของจำนวนประชาการทั้งหมดกว่า 66 ล้านคน
การปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงวัยของกระทรวงมหาดไทย ที่ดูเป็นการ ‘คัดเลือก’ จากการ ‘พิสูจน์ความจน’ เลือกจ่าย ‘แบบไม่ถ้วนหน้า’ นับเป็นมุมมองการบริหารที่สวนทางกับสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ษัษฐรัมย์ ระบุว่า ก่อนหน้านี้หน่วยงานภาครัฐมักจัดกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้ถึงสังคมผู้สูงอายุเยอะแยะมากมาย แต่ความเป็นจริงสิ่งที่ง่ายที่สุด คือการทำให้คนแก่มีชีวิตที่ปลอดภัย บันไดขั้นที่ 1 คือระบบบำนาญ ที่ไม่จำเป็นต้องคิดซับซ้อน เพราะระบบถ้วนหน้าคือระบบที่ส่งต่อถึงคนจนได้ดีที่สุด
“คนจนที่ไหนเขาจะมีเวลาลงทะเบียนขอไม้เท้าขอผ้าอ้อม ใครจะมีเวลาเดินทางข้ามจังหวัดไปยืนยันตัวตน และภาครัฐต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ในการจ้างบุคลากรเพื่อพิสูจน์ความจน เราต้องการสวัสดิการถ้วนหน้า แต่สิ่งที่รัฐบาลทำมันเป็นตรงกันข้าม”
เป็นอีกเสียงสะท้อนของษัษฐรัมย์ ทีเชื่อว่าการหยิบยกเรื่องภาษีมาเป็นข้ออ้างการปรับเกณฑ์ - ตัดสวัสดิการถ้วนหน้าออกไป เพื่อสอดรับกับอนาคตเป็นเพียง ‘ข้ออ้าง’ ของรัฐบาลรักษาการชุดนี้ เพราะความจริงมีงบประมาณรัฐหลายประการที่ยังถูกใช่จ่ายเหมือนเดิม โดยเฉพาะงบประมาณด้านความมั่นคง ในเฟซบุ๊กของเขายังโพสต์เหน็บแนมการบริหารจัดการของรัฐไว้อย่างน่าสนใจ
‘ทหารเกณฑ์ใช้ระบบถ้วนหน้า ส่วนเบี้ยคนแก่ใช้ระบบสงเคราะห์พิสูจน์ความจน’
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องรัฐสวัสดิการมองว่า สิ่งที่กระทรวงการคลังจำเป็นต้องทำ ไม่ใช่ประเด็นการตัดเบี้ยคนแก่ แต่คือการไปเก็บภาษีจากชนชั้นนำทางเศรษฐกิจให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตัดงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ ที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน แล้วเพิ่มระบบบำนาญถ้วนหน้าให้กับประชาชนผู้สูงมากขึ้น จากจำนวนเดิม 600 บาทต่อเดือน ในส่วนการช่วยเหลืออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการมอบสิ่งของเครื่องใช้สามารถทำควบคู่กันได้ แต่ต้องไม่ลืมปัจจัยขั้นแรกคือระบบบำนาญที่จะทำให้ระบบอื่นๆ สามารถทำงานขับเคลื่อนได้ดีขึ้น
“มันต้องนำโดยสวัสดิการถ้วนหน้า ไม่ใช่การสงเคราะห์แบบที่ต้องมาลงทะเบียนพิสูจน์ความจน แต่มันต้องได้ทุกคน ตั้งแต่เจ้าสัวเถ่าแก้ร้านทอง ไปจนถึงคนที่ยากจนที่สุดในสังคมแบบเท่ากัน แล้วคุณจะไปช่วยเหลืออย่างอื่นก็ว่าไป” ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รายละเอียดกล่าวกันแบบเข้าใจง่ายคือ จะจ่ายเบี้ยให้กับผู้สูงวัยที่เข้าเกณฑ์ว่า ‘ยากจน’ จากการ ‘พิสูจน์’ โดยรัฐ คล้ายคลึงกับช่วยเหลือแบบ ‘รัฐสงเคราะห์’ ไม่ใช่การจ่ายเบี้ยแบบ ‘ถ้วนหน้า’ ตามที่ปฏิบัติมา
หากสะท้อนประเด็นดังกล่าว ผ่านสายตาของ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ขับเคลื่อนเรื่องรัฐสวัสดิการโดยตรง ที่มองว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความ ‘ถอยหลัง’ ของระบบ ‘สวัสดิการถ้วนหน้า’ ที่ผ่านการพิสูจน์เชิงทฤษฎีและปฏิบัติมามากมายจนเกิดผลลัพธ์ แสดงประสิทธิภาพมากในการรักษาพยาบาล หรือดูแลผู้สูงอายุสูงสุด ซึ่งหากสิ้นสุดระบบดังกล่าวย่อมส่งภาระต่อไปยังคนในช่วงวัยต่างๆ ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเองมากขึ้นด้วย
“ผมจึงมองว่าเป็นความถอยหลังของระบบสวัสดิการของเรา และจะทำให้จำนวนผู้สูงอายุจำนวนหลายล้านคนต้องตกอยู่ในสถานะที่ยากลำบาก เป็นลูกโซ่ส่งต่อถึงคนวัยทำงานและเด็กด้วย แบบรุ่นสู่รุ่น”
ระบบการดูแลคนแก่ที่สวนทางกับ ‘สังคมสูงอายุ’
จากข้อมูลของสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ประเทศไทยได้กลายเป็น ‘สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์’ (Aged Society) ไปแล้วตั้งแต่ปี 2564 นอกจากนี้ บางรายงานยังเชื่อว่าต่อจากนี้จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ สวนทางกับจำนวนการเกิดที่ลดน้อยลง ส่งผลให้รัฐควรหยิบชูประเด็นสวัสดิการผู้สูงอายุมากขึ้น ในส่วนการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง ประชาชนจะเห็นว่า ทุกพรรคการเมืองต่างพยายามหยิบยกนโยบาย เพิ่มจำนวนเบี้ยผู้สูงอายุด้วยสำหรับสถิติจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย จากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ระบุข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จะพบว่า ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุ (หรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไป) จำนวนทั้งสิ้น 12,698,362 คน คำนวนเป็นได้ร้อยละ 19.21 ของจำนวนประชาการทั้งหมดกว่า 66 ล้านคน
การปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงวัยของกระทรวงมหาดไทย ที่ดูเป็นการ ‘คัดเลือก’ จากการ ‘พิสูจน์ความจน’ เลือกจ่าย ‘แบบไม่ถ้วนหน้า’ นับเป็นมุมมองการบริหารที่สวนทางกับสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ษัษฐรัมย์ ระบุว่า ก่อนหน้านี้หน่วยงานภาครัฐมักจัดกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้ถึงสังคมผู้สูงอายุเยอะแยะมากมาย แต่ความเป็นจริงสิ่งที่ง่ายที่สุด คือการทำให้คนแก่มีชีวิตที่ปลอดภัย บันไดขั้นที่ 1 คือระบบบำนาญ ที่ไม่จำเป็นต้องคิดซับซ้อน เพราะระบบถ้วนหน้าคือระบบที่ส่งต่อถึงคนจนได้ดีที่สุด
“คนจนที่ไหนเขาจะมีเวลาลงทะเบียนขอไม้เท้าขอผ้าอ้อม ใครจะมีเวลาเดินทางข้ามจังหวัดไปยืนยันตัวตน และภาครัฐต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ในการจ้างบุคลากรเพื่อพิสูจน์ความจน เราต้องการสวัสดิการถ้วนหน้า แต่สิ่งที่รัฐบาลทำมันเป็นตรงกันข้าม”
ข้ออ้างของรัฐในการตัดสวัสดิการถ้วนหน้า?
“งบประมาณเบี้ยผู้สูงอายุปัจจุบันอยู่ที่ 7 หมื่นล้าน สมมติคุณเอางบคนแก่ออกไปบางส่วน จะประหยัดได้แค่ 2 หมื่นล้าน ซึ่งมันคือเศษสตางค์ของงบรายจ่ายประจำปี ที่มีอยู่มากกว่าสามล้านล้านบาท มันประหยัดได้ไม่ถึงเรือดำน้ำครึ่งลำด้วยซ้ำ จริงๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่คุณอยากเอางบประมาณพวกนี้ไปทำอย่างอื่น มันชัดเจนเลย”เป็นอีกเสียงสะท้อนของษัษฐรัมย์ ทีเชื่อว่าการหยิบยกเรื่องภาษีมาเป็นข้ออ้างการปรับเกณฑ์ - ตัดสวัสดิการถ้วนหน้าออกไป เพื่อสอดรับกับอนาคตเป็นเพียง ‘ข้ออ้าง’ ของรัฐบาลรักษาการชุดนี้ เพราะความจริงมีงบประมาณรัฐหลายประการที่ยังถูกใช่จ่ายเหมือนเดิม โดยเฉพาะงบประมาณด้านความมั่นคง ในเฟซบุ๊กของเขายังโพสต์เหน็บแนมการบริหารจัดการของรัฐไว้อย่างน่าสนใจ
‘ทหารเกณฑ์ใช้ระบบถ้วนหน้า ส่วนเบี้ยคนแก่ใช้ระบบสงเคราะห์พิสูจน์ความจน’
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องรัฐสวัสดิการมองว่า สิ่งที่กระทรวงการคลังจำเป็นต้องทำ ไม่ใช่ประเด็นการตัดเบี้ยคนแก่ แต่คือการไปเก็บภาษีจากชนชั้นนำทางเศรษฐกิจให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตัดงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ ที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน แล้วเพิ่มระบบบำนาญถ้วนหน้าให้กับประชาชนผู้สูงมากขึ้น จากจำนวนเดิม 600 บาทต่อเดือน ในส่วนการช่วยเหลืออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการมอบสิ่งของเครื่องใช้สามารถทำควบคู่กันได้ แต่ต้องไม่ลืมปัจจัยขั้นแรกคือระบบบำนาญที่จะทำให้ระบบอื่นๆ สามารถทำงานขับเคลื่อนได้ดีขึ้น
“มันต้องนำโดยสวัสดิการถ้วนหน้า ไม่ใช่การสงเคราะห์แบบที่ต้องมาลงทะเบียนพิสูจน์ความจน แต่มันต้องได้ทุกคน ตั้งแต่เจ้าสัวเถ่าแก้ร้านทอง ไปจนถึงคนที่ยากจนที่สุดในสังคมแบบเท่ากัน แล้วคุณจะไปช่วยเหลืออย่างอื่นก็ว่าไป” ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี