การเลือกตั้งใหญ่ผ่านมาแล้วกว่า 1 เดือน กับ 19 วัน อุณหภูมิทางการเมืองยังคงเร่าร้อน โดยเฉพาะกับ 8 พรรคร่วมพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาล ที่ยังตกลงเรื่อง ‘ประธานสภาผู้แทนราษฎร’ มิได้ กระทั่งใกล้วันเลือกตั้งอยู่รอมร่อ ทำเอากองเชียร์ฝ่ายประชาธิปไตยเป็นกังวลถึงเสถียรภาพ ‘จะไปกันรอดไหม’ แทบเอาฝ่าเท้าเกยหน้าผาก เมื่อไหร่พวกมึง (ขออภัย) พวกท่านจะลงเอยเรื่องนี้ได้เสียที
ยิ่งเห็นเกมคนภายใน ‘พรรคเพื่อไทย’ ที่ดึงดันขอ ‘ฟรีโหวด’ ส่งบุรุษมีชื่อ ‘พ่อมดดำ’ สุชาติ ตันเจริญ เข้าปะทะ ‘หมออ๋อง’ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ยิ่งหวาดหวั่น กลัวเหลือเกินที่จะส่งผลสืบเนื่องไปถึงตำแหน่ง ‘สร.1’ ได้ ‘ป.ป้อม’ เป็นนายกฯ ภายใต้ความชอบธรรม ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ ในจังหวะที่ ‘ด้อมส้ม’ ลงถนนกดดัน ส.ส. - ส.ว.
ประเด็นที่กล่าวไว้เป็นฉากทัศน์แบบมองกาลไกลของ ‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ที่เชื่อว่า หากยังไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่อง ‘บังลังก์หินอ่อน’ ได้ สูตรการจัดตั้งรัฐบาลพิสดาร ที่กังวลก่อนเลือกตั้งมีจะแนวโน้มเกิดสูง
หากสังเกตการเดินเกมของทั้งสองพรรค จะเห็นว่าเป็นการชิงความได้เปรียบทางการเมือง โดยเฉพาะก้าวไกล แม้จริงๆ ตำแหน่งประธานสภาฯ จะไม่ได้ชี้เป็นชี้ตายอะไรได้ แต่เมื่อลึกๆ มากจากความหวั่นใจว่า ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ จะไม่ถึงฝั่งฝัน ในฐานะ ‘เบอร์หนึ่งไทยคู่ฟ้า’ หรือ คิดเลยเถิดไปถึงกรณีที่พรรคส้มจะ ‘ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล’ ดังนั้นการได้เก้าอี้ ‘ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ’ ก็ทำให้อุ่นใจในการขับเคลื่อนสิ่งที่เคยเรียกร้อง ต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้า
แต่หากก้าวไกลไม่ได้เก้าอี้สำคัญนี้ ด้วยการถอยให้เพื่อไทย ภาษีด้าน ‘วุฒิภาวะ’ จะเพิ่มขึ้น จากการแสดงสปิริตสละที่นั่ง ที่ใครๆ หมายปอง ขณะเดียวกันก็สร้างเดตล็อกให้เพื่อไทยไม่ให้ (กล้า) พลิกขั้ว เพราะถือว่ายอมสละตำแหน่งบทบาทสำคัญให้แล้ว
หาใช่เพื่อไทยจะไม่ทันเกม แต่ด้วยองคาพยพแตกออกหลายความคิด แบ่งออกเป็น 2 มุมหลัก คือ หนึ่งสนับสนุนทำงานกับพรรคก้าวไกลในฐานะรัฐบาล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน (ฝ่ายประชาธิปไตย) ขืนทรยศพรรคจะถึงคราวตกต่ำ เลือกตั้งรอบหน้าพรรคส้มจะแลนด์สไลด์
สองคิดว่าต่อให้พลิกขั้วไปจับมือกับพลังประชารัฐ ฐานเสียงเดิมที่เลือก ‘เพราะรัก’ ไม่มีทางจะถอยหนี กลับกันอาจสามารถดึงฐานเสียงจากพรรครัฐบาลเก่าเข้ามาเติมเต็มเพื่อสู้กับก้าวไกลได้ ไม่จำเป็นต้องเสียดายฐานแฟนคลับ ที่เปลี่ยนเฉดสีจากแดงเป็นส้ม คราวเลือกตั้ง 2566
“พรรคก้าวไกลแบ่งให้เพื่อไทย 14 - 15 กระทรวง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีเกรดเอหลายกระทรวง โดยเฉพาะเศรษฐกิจ แต่หากคุณไปอยู่กับพลังประชารัฐ เขา (ภูมิใจไทย) ก็ต้องขอคมนาคม ลุงป้อมก็จองเกษตร ยิ่งหากก้าวไกลเล่นบทพระเอกถูกขับไปเป็นฝ่ายค้าน คะแนนก็จะยิ่งถ่ายเทโดยสะดวกโยธิน เพราะเขาทำหน้าที่ได้ดี และประชาชนที่เชียร์ประชาธิปไตยคงไม่เอาเพื่อไทยแล้ว จากการหักหลัง ” สติธร กล่าว
เมื่อถามว่า กรณีเกิดการเมืองพิสดารแบบนี้ มีแนวโน้มหรือไม่ว่านายกฯ จะไม่ใช่ ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ แต่จะเป็นของพรรคเพื่อไทยเอง สติธรมองว่า เป็นไปได้หมด แต่ต้องอาศัยพลังกดดันจากภาคธุรกิจ เพื่อให้เห็นว่า ถึงวาระที่เหมาะสมแล้วในการผลักดันนายกฯ ที่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ เข็มจะเบนไปที่ชื่อ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ทันที
แต่กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ จะต้องให้ ‘บิ๊กป้อม’ โชว์ฝีมือไปสักระยะเพื่อเป็นข้อต่อรองและสร้างความชอบธรรม
“พอเข้าสูตรนี้รวมไทยสร้างชาติและประชาธิปัตย์ก็จะได้เป็นรัฐบาลด้วยเพราะเขาก็ยกมือให้ลุงป้อมนะ ใครบอกจะถีบให้พรรคลุงตู่ไปเป็นฝ่ายค้านไม่มี ฝ่านค้านจะมีแต่ก้าวไกลกับพรรคเล็กฝ่ายประชาธิปไตยบางพรรคเท่านั้น ทุกอย่างมันจะเห็นภาพตอนโหวตเลือกนายกฯ เนี่ยแหละ พูดตามที่เขาปล่อยข่าวกันเลย เกมจะออกมาแบบนี้ (ถ้าเป็นจริง)”
ทั้งนี้ เมื่อตีความจากภาพ ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เก็บข้างของออกจากทำเนียบรัฐบาล สามารถตีความได้ 2 มุมคือ ‘บิ๊กตู่’ กำลังหลีกหลีกทางให้ ‘รัฐบาลพิธา’ และ ‘รัฐบาลประวิตร’ นัยนี้สามารถคิดได้ว่า กณีการโหวตเลือกนายกฯ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวว่า จะได้พิธาหรือได้ประวิตร
“ถึงไม่ชอบก็ต้องโหวตให้ มิเช่นนั้นก็คิดไม่ออกว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรหากโหวตให้พลเอกประวิตร ในส่วนวันที่ 4 ก.ค. ก็เป็นวันชี้ชะตาสำคัญ อยากให้พรรคร่วมทั้ง 8 มีมติออกมาเป็นเอกฉันท์ กรณีเลือกประธานสภาฯ เพื่อไม่ให้ ส.ว.นำไปใช้เป็นข้ออ้างไม่สนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างมาก โดยเฉพาะเพื่อไทยกับก้าวไกลที่ต้องกลมเกลียวให้ตลอดรอดฝั่ง มิเช่นนั้นสภาสูงจะครหาได้ว่า แค่เก้าอี้ตัวเดียวยังคุยกันไม่จบ เรื่องอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง” สติธร กล่าวทิ้งท้าย
ยิ่งเห็นเกมคนภายใน ‘พรรคเพื่อไทย’ ที่ดึงดันขอ ‘ฟรีโหวด’ ส่งบุรุษมีชื่อ ‘พ่อมดดำ’ สุชาติ ตันเจริญ เข้าปะทะ ‘หมออ๋อง’ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ยิ่งหวาดหวั่น กลัวเหลือเกินที่จะส่งผลสืบเนื่องไปถึงตำแหน่ง ‘สร.1’ ได้ ‘ป.ป้อม’ เป็นนายกฯ ภายใต้ความชอบธรรม ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ ในจังหวะที่ ‘ด้อมส้ม’ ลงถนนกดดัน ส.ส. - ส.ว.
ประเด็นที่กล่าวไว้เป็นฉากทัศน์แบบมองกาลไกลของ ‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ที่เชื่อว่า หากยังไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่อง ‘บังลังก์หินอ่อน’ ได้ สูตรการจัดตั้งรัฐบาลพิสดาร ที่กังวลก่อนเลือกตั้งมีจะแนวโน้มเกิดสูง
หากสังเกตการเดินเกมของทั้งสองพรรค จะเห็นว่าเป็นการชิงความได้เปรียบทางการเมือง โดยเฉพาะก้าวไกล แม้จริงๆ ตำแหน่งประธานสภาฯ จะไม่ได้ชี้เป็นชี้ตายอะไรได้ แต่เมื่อลึกๆ มากจากความหวั่นใจว่า ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ จะไม่ถึงฝั่งฝัน ในฐานะ ‘เบอร์หนึ่งไทยคู่ฟ้า’ หรือ คิดเลยเถิดไปถึงกรณีที่พรรคส้มจะ ‘ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล’ ดังนั้นการได้เก้าอี้ ‘ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ’ ก็ทำให้อุ่นใจในการขับเคลื่อนสิ่งที่เคยเรียกร้อง ต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้า
แต่หากก้าวไกลไม่ได้เก้าอี้สำคัญนี้ ด้วยการถอยให้เพื่อไทย ภาษีด้าน ‘วุฒิภาวะ’ จะเพิ่มขึ้น จากการแสดงสปิริตสละที่นั่ง ที่ใครๆ หมายปอง ขณะเดียวกันก็สร้างเดตล็อกให้เพื่อไทยไม่ให้ (กล้า) พลิกขั้ว เพราะถือว่ายอมสละตำแหน่งบทบาทสำคัญให้แล้ว
คลื่นใต้น้ำใน ‘เพื่อไทย’
ปัญหาต่างที่เกิดขึ้น เป็นเพราะคลื่นใต้น้ำที่มีอยู่ในพรรคเพื่อไทย อาจารย์สติธรยังมองว่า หากยังหาข้อสรุปกันเองไม่ได้ มีสิทธิที่การเมืองเปลี่ยนขั้ว หากฉากทัศน์ออกมาแบบนี้ ในระยะยาวประโยชน์ย่อมตกอยู่กับก้าวไกล และคณะก้าวหน้า เพราะ เฉดสีในบัตรลงคะแนนจะเปลี่ยน ‘แดง’ กลายเป็น ‘ส้ม’ ข้อหาฉีดสัตยาบันหาใช่เพื่อไทยจะไม่ทันเกม แต่ด้วยองคาพยพแตกออกหลายความคิด แบ่งออกเป็น 2 มุมหลัก คือ หนึ่งสนับสนุนทำงานกับพรรคก้าวไกลในฐานะรัฐบาล เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน (ฝ่ายประชาธิปไตย) ขืนทรยศพรรคจะถึงคราวตกต่ำ เลือกตั้งรอบหน้าพรรคส้มจะแลนด์สไลด์
สองคิดว่าต่อให้พลิกขั้วไปจับมือกับพลังประชารัฐ ฐานเสียงเดิมที่เลือก ‘เพราะรัก’ ไม่มีทางจะถอยหนี กลับกันอาจสามารถดึงฐานเสียงจากพรรครัฐบาลเก่าเข้ามาเติมเต็มเพื่อสู้กับก้าวไกลได้ ไม่จำเป็นต้องเสียดายฐานแฟนคลับ ที่เปลี่ยนเฉดสีจากแดงเป็นส้ม คราวเลือกตั้ง 2566
พลิกขั้ว ‘เพื่อไทย’ ได้ประโยชน์จริงหรือ
หากเกิดกรณีเพื่อไทยจับขั้วกับพรรคร่วมรัฐบาล (เดิม) อาจารย์สติธรให้ความเห็นว่า พรรคเพื่อไทยจะเสียทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะจะเกิดแนวคิดที่ 3 จาก 2 มุมมอง (ที่หยิบยกในย่อหน้าที่แล้ว) กลายเป็นว่าพรรคเพื่อไทยจะถึงคราวย่ำแย่ในด้านคะแนนเสียงจากฝ่ายประชาธิปไตย และยังส่งผลต่อ ‘เก้าอี้รัฐมนตรี’ อีกด้วย เนื่องจากมี ‘คนจองไว้’ แล้ว“พรรคก้าวไกลแบ่งให้เพื่อไทย 14 - 15 กระทรวง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีเกรดเอหลายกระทรวง โดยเฉพาะเศรษฐกิจ แต่หากคุณไปอยู่กับพลังประชารัฐ เขา (ภูมิใจไทย) ก็ต้องขอคมนาคม ลุงป้อมก็จองเกษตร ยิ่งหากก้าวไกลเล่นบทพระเอกถูกขับไปเป็นฝ่ายค้าน คะแนนก็จะยิ่งถ่ายเทโดยสะดวกโยธิน เพราะเขาทำหน้าที่ได้ดี และประชาชนที่เชียร์ประชาธิปไตยคงไม่เอาเพื่อไทยแล้ว จากการหักหลัง ” สติธร กล่าว
เมื่อถามว่า กรณีเกิดการเมืองพิสดารแบบนี้ มีแนวโน้มหรือไม่ว่านายกฯ จะไม่ใช่ ‘พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ แต่จะเป็นของพรรคเพื่อไทยเอง สติธรมองว่า เป็นไปได้หมด แต่ต้องอาศัยพลังกดดันจากภาคธุรกิจ เพื่อให้เห็นว่า ถึงวาระที่เหมาะสมแล้วในการผลักดันนายกฯ ที่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ เข็มจะเบนไปที่ชื่อ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ทันที
แต่กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ จะต้องให้ ‘บิ๊กป้อม’ โชว์ฝีมือไปสักระยะเพื่อเป็นข้อต่อรองและสร้างความชอบธรรม
สภาฯ โกลาหล ‘งูเห่า’ ออกจากรู
นักรัฐศาสตร์อ่านเกมตามนัยการเมืองต่อว่า หากมองถึงวันที่มีการโหวตเลือกนายกฯ เพื่อไทยส่วนใหญ่จะโหวตพิธาตามเอ็มโอยู แต่อาจมี ‘งูเห่า’ ลงคะแนนเสียงให้ ‘ประวิตร’ จน 251 เสียง (จากเสียงที่ขั้วรัฐบาลเก่ามี 188 ) เมื่อเกิดความอลม่าน กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยอาจต้องลาออก (หรืออาจจะไปสนับสนุนแค่ 66 เสียงก็ย่อมได้) เป็นเหตุผลให้ ‘ลุงป้อม’ ชวนทั้งสังกัดมาร่วมสังฆกรรมทางการเมือง รวมถึง ‘พรรคลุงตู่’ และ ‘คู่แค้นแสนรัก’ อย่างประชาธิปัตย์ด้วย“พอเข้าสูตรนี้รวมไทยสร้างชาติและประชาธิปัตย์ก็จะได้เป็นรัฐบาลด้วยเพราะเขาก็ยกมือให้ลุงป้อมนะ ใครบอกจะถีบให้พรรคลุงตู่ไปเป็นฝ่ายค้านไม่มี ฝ่านค้านจะมีแต่ก้าวไกลกับพรรคเล็กฝ่ายประชาธิปไตยบางพรรคเท่านั้น ทุกอย่างมันจะเห็นภาพตอนโหวตเลือกนายกฯ เนี่ยแหละ พูดตามที่เขาปล่อยข่าวกันเลย เกมจะออกมาแบบนี้ (ถ้าเป็นจริง)”
ทั้งนี้ เมื่อตีความจากภาพ ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เก็บข้างของออกจากทำเนียบรัฐบาล สามารถตีความได้ 2 มุมคือ ‘บิ๊กตู่’ กำลังหลีกหลีกทางให้ ‘รัฐบาลพิธา’ และ ‘รัฐบาลประวิตร’ นัยนี้สามารถคิดได้ว่า กณีการโหวตเลือกนายกฯ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวว่า จะได้พิธาหรือได้ประวิตร
เกมการเมืองที่ควรจะเป็น
สติธร กล่าวทิ้งท้ายว่า การเมืองที่อยากเห็นต่อจากนี้ คือ ผู้แทนประชาชน ต้องมองบ้านเมืองเป็นสำคัญ โดยยึดผลการเลือกตั้งที่ออกมาเป็นหลัก โหวตเลือกพรรคที่รวมเสียงได้ 312 เสียง ขึ้นเป็นรัฐบาลตามกติกาประชาธิปไตย โดยเฉพาะสมาชิกวุฒิสภา ที่บทบาทสำคัญอย่างยิ่ง“ถึงไม่ชอบก็ต้องโหวตให้ มิเช่นนั้นก็คิดไม่ออกว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรหากโหวตให้พลเอกประวิตร ในส่วนวันที่ 4 ก.ค. ก็เป็นวันชี้ชะตาสำคัญ อยากให้พรรคร่วมทั้ง 8 มีมติออกมาเป็นเอกฉันท์ กรณีเลือกประธานสภาฯ เพื่อไม่ให้ ส.ว.นำไปใช้เป็นข้ออ้างไม่สนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างมาก โดยเฉพาะเพื่อไทยกับก้าวไกลที่ต้องกลมเกลียวให้ตลอดรอดฝั่ง มิเช่นนั้นสภาสูงจะครหาได้ว่า แค่เก้าอี้ตัวเดียวยังคุยกันไม่จบ เรื่องอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง” สติธร กล่าวทิ้งท้าย