แม้ทิศทางการเมืองของประเทศ กำลังเข้าสู่ห้วงเปลี่ยนผ่าน จากรัฐบาลทหารที่เข้ามามีอำนาจเต็ม 9 ปีกว่าๆ สู่รัฐบาลพลเรือน นำโดย ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ที่ ณ ตอนนี้ กำลังเข้าสู่ห้วงตั้งไข่ ‘รัฐบาลข้ามขั้ว’ แต่เมื่อการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นอีกระลอก ก็อดคิดย้อนถึงเรื่องราวในวันวานที่ผ่านมามิได้ ว่าแท้จริงแล้ว สงครามการเมืองในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษมีต้นสายปลายเหตุมาประการใดกันแน่…
หากย้อนความตามสถานการณ์บ้านเมืองร่วมสมัย (ของข้าพเจ้าหรือผู้อ่านหลายๆ ท่าน) คงไม่ผิดที่จะบอกว่า เหตุการณ์ ‘รัฐประหาร 19 กันยายน 2549’ คือชนวนเหตุเพียงประการเดียว ที่ทำให้การเมืองไทยในห้วงหลัง ไม่สามารถไกลเกินกว่าที่ผ่านมาได้ ประหนึ่งพายเรือในวนอ่างน้ำ นึกคิดแล้วช่างประจวบเหมาะ เพราะเมื่อ 17 ปีที่แล้วตรงกับ วัน ว. เวลา ณ. ก่อการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ผู้เขียนคงไม่กล่าวถึงเหตุการณ์ ณ วันนั้นโดยละเอียด เพราะเชื่อว่าผ่านมาหลายขวบปี ทุกท่านย่อมทราบถึงเนื้อในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลทักษิณ และกลุ่มทหาร - ชนชั้นนำ อย่างเข้าใจลึกซึ้งพอสมควรแล้ว แต่ที่จะเขียนบอกเล่าในวันนี้ คือการถอดบทเรียนของตัวละครทางการเมือง ที่เคลื่อนไหวอยู่วงนอก อย่าง ‘ม็อบ’ ที่ให้หลังการยึดอำนาจ ก็ถูกสถาปนาสถานการณ์เป็นสงครามสีเสื้อ ‘เหลืองแดง’ นานนับสิบปี
อนึ่งจะเขียนเรื่องเก่า ที่นักข่าว - นักเขียน หลายท่านรังสรรค์มาแล้ว คงทับซ้อนจำเจ ข้าพเจ้าจึงใคร่นำ แนวคิดจากผู้ร่วมเหตุการณ์ ช่วยอ่านสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน เข้ามาช่วยตกผลึกสิ่งที่เกิดขึ้น ผ่านการตั้งปุจฉา ‘17 ปี รัฐประหาร 2549 สงครามเหลืองแดง จบแล้วหรือยัง ?’
หากย้อนความตามสถานการณ์บ้านเมืองร่วมสมัย (ของข้าพเจ้าหรือผู้อ่านหลายๆ ท่าน) คงไม่ผิดที่จะบอกว่า เหตุการณ์ ‘รัฐประหาร 19 กันยายน 2549’ คือชนวนเหตุเพียงประการเดียว ที่ทำให้การเมืองไทยในห้วงหลัง ไม่สามารถไกลเกินกว่าที่ผ่านมาได้ ประหนึ่งพายเรือในวนอ่างน้ำ นึกคิดแล้วช่างประจวบเหมาะ เพราะเมื่อ 17 ปีที่แล้วตรงกับ วัน ว. เวลา ณ. ก่อการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ผู้เขียนคงไม่กล่าวถึงเหตุการณ์ ณ วันนั้นโดยละเอียด เพราะเชื่อว่าผ่านมาหลายขวบปี ทุกท่านย่อมทราบถึงเนื้อในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลทักษิณ และกลุ่มทหาร - ชนชั้นนำ อย่างเข้าใจลึกซึ้งพอสมควรแล้ว แต่ที่จะเขียนบอกเล่าในวันนี้ คือการถอดบทเรียนของตัวละครทางการเมือง ที่เคลื่อนไหวอยู่วงนอก อย่าง ‘ม็อบ’ ที่ให้หลังการยึดอำนาจ ก็ถูกสถาปนาสถานการณ์เป็นสงครามสีเสื้อ ‘เหลืองแดง’ นานนับสิบปี
อนึ่งจะเขียนเรื่องเก่า ที่นักข่าว - นักเขียน หลายท่านรังสรรค์มาแล้ว คงทับซ้อนจำเจ ข้าพเจ้าจึงใคร่นำ แนวคิดจากผู้ร่วมเหตุการณ์ ช่วยอ่านสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน เข้ามาช่วยตกผลึกสิ่งที่เกิดขึ้น ผ่านการตั้งปุจฉา ‘17 ปี รัฐประหาร 2549 สงครามเหลืองแดง จบแล้วหรือยัง ?’

‘เสื้อเหลือง’ กลับใจ
เป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ชวน ‘วีระ สมความคิด’ อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้ามาพูดคุย เพราะที่ผ่านมาทั้งตัวเขาและแกนนำเสื้อเหลือง ถูกตั้งข้อครหา ว่าเป็นชนวนเหตุความวุ่นวายของบ้านเมือง
วีระ เล่าให้ฟังว่า เขาในฐานะ ‘อดีตเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน’ เป็นแกนนำกลุ่มแรกที่ร่วมจัดตั้งพัเครือข่ายนธมิตรฯ ตั้งแต่ปี 2546 - 2547 ร่วมกับ พิภพ ธงชัย, สุริยะใส กตะศิลา, สุวิทย์ วัดหนู และ จรัล ดิษฐาอภิชัย
โดยเริ่มจากการตรวจสอบ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ และพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงการจัดซื้อทั่วไป อย่าง เครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 หรือการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ไปจนถึงเรื่องคุณสมบัติ และการซุกหุ้น ทั้งๆ ที่ส่วนตัว (วีระ) รู้จักกับทักษิณ ตั้งแต่พรรคพลังธรรม และเคยคิดว่าทักษิณจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ได้
เป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ชวน ‘วีระ สมความคิด’ อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้ามาพูดคุย เพราะที่ผ่านมาทั้งตัวเขาและแกนนำเสื้อเหลือง ถูกตั้งข้อครหา ว่าเป็นชนวนเหตุความวุ่นวายของบ้านเมือง
วีระ เล่าให้ฟังว่า เขาในฐานะ ‘อดีตเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน’ เป็นแกนนำกลุ่มแรกที่ร่วมจัดตั้งพัเครือข่ายนธมิตรฯ ตั้งแต่ปี 2546 - 2547 ร่วมกับ พิภพ ธงชัย, สุริยะใส กตะศิลา, สุวิทย์ วัดหนู และ จรัล ดิษฐาอภิชัย
โดยเริ่มจากการตรวจสอบ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ และพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงการจัดซื้อทั่วไป อย่าง เครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX 9000 หรือการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ไปจนถึงเรื่องคุณสมบัติ และการซุกหุ้น ทั้งๆ ที่ส่วนตัว (วีระ) รู้จักกับทักษิณ ตั้งแต่พรรคพลังธรรม และเคยคิดว่าทักษิณจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ได้

“พี่กับคุณทักษิณรู้จักกันตั้งแต่อยู่พรรคพลังธรรมแล้ว พอคุณทักษิณมาตั้งพรรคไทยรักไทย พี่ก็เป็นคนช่วยหาเสียงนะ (แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค) ตอนนั้นเราศรัทธาคิดว่า คุณทักษิณจะเป็นคนที่เข้ามาทำให้การเมืองไทยพัฒนาขึ้น ด้วยความที่เป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ และที่สำคัญเป็นคนที่ร่ำรวยอยู่แล้ว คงไม่เข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์ แต่หลังจากนั้นเราก็รู้สึกผิดหวัง มันก็ไม่เป็นไปอย่างที่คิด เพราะคุณทักษิณก็ทำอะไรหลายอย่างที่ว่าเอาเปรียบอยู่”
ข้าพเจ้าถามคู่สนทนาต่อทันทีว่า ที่ออกไปม็อบมาจากประเด็นการทุจริตอย่างเดียว หรือเพราะต้องการล้มล้างระบอบทักษิณ ที่กำลังมีคะแนนนิยมสูงสุดด้วยหรือไม่ วีระตอบสวนทันทีว่า เขาพุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบทักษิณ ซึ่งมีข้อมูลรองรับหลายประการว่า ‘ทุจริตจริง’ แต่กรณีที่บอกว่า เพื่อต้องการจะล้มล้าง หรือพยายามสร้างสถานการณ์ ให้ทหารเขามามีบทบาทนั้น ไม่ได้นึกคิดและไม่เคยตั้งใจให้ ‘พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน’ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ก่อการรัฐประหาร ตามที่หลายคนเชื่อ เพราะอดีตเขาก็เคยรวมต่อต้านกระบวนการแทรกแทรงของกองทัพมาแล้ว นับตั้งแต่การต่อสู้ยุคเดือนตุลาคม (2516, 2519) มาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (2535)
“ต้องพูดตรงๆ ว่าเราไม่เคยคิด หรือวจะไปร่วมกันเพื่อก่อการ ที่บอกว่าเป็นสารตั้งต้นในเกิดการรัฐประหาร แต่เราไม่รู้นะว่าตอนหลังๆ ที่มีคนเข้ามาร่วม (พันธมิตรฯ) แล้วก็ถูกแย่งการนำไปนะ โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และคุณจำลอง ศรีเมือง โดยการจัดตั้ง 5 แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 1 ก็ไม่รู้ว่าเขาจะมีความสัมพันธ์ หรือมีการวางแผนอะไรกับใครหรือไม่ เพราะว่าหลายครั้งพี่ก็ไม่ได้ไปร่วมประชุมกับเขา หลายครั้งที่สำคัญๆ เขาก็ไม่เคยให้พี่รู้”
ข้าพเจ้าถามแบบจี้ใจดำว่า หากทราบว่าจะเกิดเหตุบานปลายแบบนี้ จะออกมาเคลื่อนไหวอยู่หรือไม่ วีระตอบกลับมาว่า (ผู้เขียน) จะตั้งคำถามอย่างนี้ไม่ได้ เพราะบริบทมันไม่เหมือนกัน ทุกอย่างมันผ่านมาแล้วไม่มีใครหยั่งรู้อนาคตได้ ที่สำคัญเหตุการณ์บ้านเมืองช่วงปี 2549 มันหลอมรวมความคิดให้ต้องทำเช่นนั้น กระนั้นก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าเป็น ‘ผิดพลาด’ ที่ต่อให้ย้อนเวลากลับไปได้ ก็ไม่สามารถแก้ไขไม่ได้
“เราสู้ผิดมาตลอด แต่ต้องยอมรับว่า ตราบใดที่ยังไม่มีประสบการณ์ ตราบใดที่ยังไม่ได้เห็นสัจธรรม มันก็คิดสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ณ ขณะนั้น ณ เวลานั้น พ.ศ.นั้น แต่พอเวลาที่มันผ่านมา ถึงได้เห็นธาตุแท้ ตอนนั้นเราอาจคิดว่าทักษิณ คือผู้มีอำนาจคือปัญหาประเทศ มันก็แค่ระดับหนึ่งปัญหาประเทศ แต่จริงๆ มันเหนือกว่าทักษิณ นั่นมันคือปัญหาประเทศที่แท้จริง” วีระ กล่าวทิ้งท้าย
ข้าพเจ้าถามคู่สนทนาต่อทันทีว่า ที่ออกไปม็อบมาจากประเด็นการทุจริตอย่างเดียว หรือเพราะต้องการล้มล้างระบอบทักษิณ ที่กำลังมีคะแนนนิยมสูงสุดด้วยหรือไม่ วีระตอบสวนทันทีว่า เขาพุ่งเป้าไปที่การตรวจสอบทักษิณ ซึ่งมีข้อมูลรองรับหลายประการว่า ‘ทุจริตจริง’ แต่กรณีที่บอกว่า เพื่อต้องการจะล้มล้าง หรือพยายามสร้างสถานการณ์ ให้ทหารเขามามีบทบาทนั้น ไม่ได้นึกคิดและไม่เคยตั้งใจให้ ‘พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน’ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ก่อการรัฐประหาร ตามที่หลายคนเชื่อ เพราะอดีตเขาก็เคยรวมต่อต้านกระบวนการแทรกแทรงของกองทัพมาแล้ว นับตั้งแต่การต่อสู้ยุคเดือนตุลาคม (2516, 2519) มาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (2535)
“ต้องพูดตรงๆ ว่าเราไม่เคยคิด หรือวจะไปร่วมกันเพื่อก่อการ ที่บอกว่าเป็นสารตั้งต้นในเกิดการรัฐประหาร แต่เราไม่รู้นะว่าตอนหลังๆ ที่มีคนเข้ามาร่วม (พันธมิตรฯ) แล้วก็ถูกแย่งการนำไปนะ โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และคุณจำลอง ศรีเมือง โดยการจัดตั้ง 5 แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 1 ก็ไม่รู้ว่าเขาจะมีความสัมพันธ์ หรือมีการวางแผนอะไรกับใครหรือไม่ เพราะว่าหลายครั้งพี่ก็ไม่ได้ไปร่วมประชุมกับเขา หลายครั้งที่สำคัญๆ เขาก็ไม่เคยให้พี่รู้”
ข้าพเจ้าถามแบบจี้ใจดำว่า หากทราบว่าจะเกิดเหตุบานปลายแบบนี้ จะออกมาเคลื่อนไหวอยู่หรือไม่ วีระตอบกลับมาว่า (ผู้เขียน) จะตั้งคำถามอย่างนี้ไม่ได้ เพราะบริบทมันไม่เหมือนกัน ทุกอย่างมันผ่านมาแล้วไม่มีใครหยั่งรู้อนาคตได้ ที่สำคัญเหตุการณ์บ้านเมืองช่วงปี 2549 มันหลอมรวมความคิดให้ต้องทำเช่นนั้น กระนั้นก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าเป็น ‘ผิดพลาด’ ที่ต่อให้ย้อนเวลากลับไปได้ ก็ไม่สามารถแก้ไขไม่ได้
“เราสู้ผิดมาตลอด แต่ต้องยอมรับว่า ตราบใดที่ยังไม่มีประสบการณ์ ตราบใดที่ยังไม่ได้เห็นสัจธรรม มันก็คิดสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ณ ขณะนั้น ณ เวลานั้น พ.ศ.นั้น แต่พอเวลาที่มันผ่านมา ถึงได้เห็นธาตุแท้ ตอนนั้นเราอาจคิดว่าทักษิณ คือผู้มีอำนาจคือปัญหาประเทศ มันก็แค่ระดับหนึ่งปัญหาประเทศ แต่จริงๆ มันเหนือกว่าทักษิณ นั่นมันคือปัญหาประเทศที่แท้จริง” วีระ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามสัมภาษณ์ ‘วีระ สมความคิด’ ได้ที่ ‘เสื้อเหลือง’ กลับใจ
ธิดา ท้าวความถึงจุดกำเนิดของคนเสื้อแดงให้ฟังว่า ในช่วงแรกเป็นการรวมตัวของกลุ่มประชาชน ที่มีแนวคิด ต่อต้านการรัฐประหาร (2549) และต่อต้านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 โดยในช่วงแรก ‘สีแดง’ ยังไม่ใช่สีที่ใช้ในการชุมนุม จนเวลาต่อมามีกลุ่ม อดีต สส. จากพรรคไทยรักไทย (ที่ถูกยุบ) เข้าร่วมเป็นองคาพยพ และเกิดเป็น ‘นปก.’ และ ‘นปช.’ (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) ขึ้นมา
ธิดา ขยายความว่า ช่วงการพัฒนามาเป็นเสื้อแดง มวลชนค่อนข้างโดดเดี่ยว ส่วนใหญ่เป็นม็อบประชาชน เธอให้นิยามว่าเป็น ‘ไพร่ชนบท’ และ ‘ไพร่เมือง’ เป็นแนวรบหลัก และมีคนชนชั้นเข้าร่วมแบบบางตตา ส่วนกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือกลุ่มเอ็นจีโอ ส่วนใหญ่ล้วนให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งปัญญาชนบางท่านต่างทราบถึงความเลวร้ายของการรัฐประหาร แต่ก็เข้าร่วมเพราะความเกรงกลัวต่อ ‘ผีทักษิณ’ ที่มีคะแนนเลือกตั้งสูงสุด (ช่วงขณะนั้น)
“ตอนแรกสีแดงยังไม่มีนะ ตอนไปต่อต้านที่บ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยังใส่เสื้อเหลือง ยังโพกผ้าสีเหลืองกันอยู่เลย แต่สีแดงเกิดขึ้นเมื่อคราวการต่อต้านรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อแสดงเจตจำนงค์โหวตโน ฉะนั้น สีแดงที่เกิดขึ้นไม่ใช่สีของพรรคเพื่อไทยหรือไทยรักไทย แต่ เป็นสีของการต่อสู้ของประชาชนที่ต่อต้านเผด็จการทหาร”
ประโยคข้างต้นเป็นคำอธิบายจากปากธิดา หลังถูกถามว่า ‘คนเสื้อแดงเป็นของใคร’ เธอหยิบยกข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า หากย้อนดูข้อเท็จจริงในอดีต พรรคไทยรักไทยใช้สีขาวสีน้ำเงินน้ำ - พรรคพลังประชาชน มีตัวหนังสือเป็นขาวน้ำเงิน ลายธงชาติ และพรรคเพื่อไทย เพิ่งใช้สีแดงในการหาเสียงเมื่อคราวเลือกตั้งที่ผ่าน จึงหมายความว่า คนเสื้อแดงม็อบไม่ได้เป็นของพรรคการเมืองใด
หัวใจคน ‘เสื้อแดง’ ในวันที่ ‘เพื่อไทย’ ตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว
ข้าพเจ้านัด ‘ธิดา ถาวรเศรษฐ’ อดีตประธานกลุ่ม นปช. ที่บ้านพักย่านดอนเมือง ในช่วงจังหวะที่สถานการณ์การเมืองอยู่ในช่วงสุกงอม เพราะเป็น 1 วันก่อนที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ จะเดินทางกลับมาเมืองไทย (สัมภาษณ์วันที่ 21 สิงหาคม 2566) ใจความสำคัญที่สนทนา จึงไม่ใช่แค่เรื่องจุดยืนของ ‘ม็อบเสื้อแดง’ ในวันนี้ แต่พ่วงประเด็นการ ‘กลับบ้าน’ ของคนแดนใกล้เข้ามาด้วยธิดา ท้าวความถึงจุดกำเนิดของคนเสื้อแดงให้ฟังว่า ในช่วงแรกเป็นการรวมตัวของกลุ่มประชาชน ที่มีแนวคิด ต่อต้านการรัฐประหาร (2549) และต่อต้านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 โดยในช่วงแรก ‘สีแดง’ ยังไม่ใช่สีที่ใช้ในการชุมนุม จนเวลาต่อมามีกลุ่ม อดีต สส. จากพรรคไทยรักไทย (ที่ถูกยุบ) เข้าร่วมเป็นองคาพยพ และเกิดเป็น ‘นปก.’ และ ‘นปช.’ (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) ขึ้นมา
ธิดา ขยายความว่า ช่วงการพัฒนามาเป็นเสื้อแดง มวลชนค่อนข้างโดดเดี่ยว ส่วนใหญ่เป็นม็อบประชาชน เธอให้นิยามว่าเป็น ‘ไพร่ชนบท’ และ ‘ไพร่เมือง’ เป็นแนวรบหลัก และมีคนชนชั้นเข้าร่วมแบบบางตตา ส่วนกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือกลุ่มเอ็นจีโอ ส่วนใหญ่ล้วนให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งปัญญาชนบางท่านต่างทราบถึงความเลวร้ายของการรัฐประหาร แต่ก็เข้าร่วมเพราะความเกรงกลัวต่อ ‘ผีทักษิณ’ ที่มีคะแนนเลือกตั้งสูงสุด (ช่วงขณะนั้น)
“ตอนแรกสีแดงยังไม่มีนะ ตอนไปต่อต้านที่บ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยังใส่เสื้อเหลือง ยังโพกผ้าสีเหลืองกันอยู่เลย แต่สีแดงเกิดขึ้นเมื่อคราวการต่อต้านรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อแสดงเจตจำนงค์โหวตโน ฉะนั้น สีแดงที่เกิดขึ้นไม่ใช่สีของพรรคเพื่อไทยหรือไทยรักไทย แต่ เป็นสีของการต่อสู้ของประชาชนที่ต่อต้านเผด็จการทหาร”
ประโยคข้างต้นเป็นคำอธิบายจากปากธิดา หลังถูกถามว่า ‘คนเสื้อแดงเป็นของใคร’ เธอหยิบยกข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า หากย้อนดูข้อเท็จจริงในอดีต พรรคไทยรักไทยใช้สีขาวสีน้ำเงินน้ำ - พรรคพลังประชาชน มีตัวหนังสือเป็นขาวน้ำเงิน ลายธงชาติ และพรรคเพื่อไทย เพิ่งใช้สีแดงในการหาเสียงเมื่อคราวเลือกตั้งที่ผ่าน จึงหมายความว่า คนเสื้อแดงม็อบไม่ได้เป็นของพรรคการเมืองใด

เมื่อถามว่า คิดอย่างไรกับผลสรุปการจัดตั้งรัฐบาล ที่พรรคเพื่อไทยไปรวมขั้วกับพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม ธิดาตอบกลับมาว่า ส่วนตัวก็รู้สึกโกรธแต่ก็เข้าใจ การเดินเกมของฝ่ายจารีต ที่พยายามบีบให้เพื่อไทยต้องจับมือกับพรรครัฐบาลเก่า ซึ่งอาจสอดคล้องกับ ‘ดีลลับ’ ในการพาทักษิณกลับบ้านด้วย แต่ทั้งนี้ หากเข้าใจบริบทของพรรคและตัวของทักษิณ จะทราบว่าจริงๆ แล้วเพื่อไทยเอง ก็ไม่จำเป็นต้องจับมือกับพรรคก้าวไกล เพราะในเมื่อจุดยืนไม่ได้เหมือนกันขนาดนั้น
“เข้าใจแต่ไม่เห็นด้วย คือเวลาเราเป็นนักต่อสู้ เราต้องศึกษาแก่นแท้แต่ละชนชั้น และอะไรคือผลประโยชน์ของเขา คุณจะไปหวังว่าคุณทักษิณต้องเป็นนักต่อสู้ และต้องทำทุกอย่างให้ถูกใจนักต่อสู้ทั้งหมดมันไม่ได้ ถ้าคุณเน้นหนักไปทางเศรษฐกิจ แปลว่าการเมืองคุณก็ร่วมกับใครก็ได้ แต่คุณไม่ได้เอาเป้าหมายของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนั้นมันจึงง่ายสำหรับเพื่อไทยที่จะข้ามขั้ว คือเราจะต้องเข้าใจเขา เขาอาจจะมองในลักษณะเศรษฐกิจหรือธุรกิจ มันไม่มีคำว่า มิตรแท้ ศัตรูถาวรหรอก”
อดีตประธานกลุ่ม นปช. อธิบายให้ผู้เขียนเข้าใจว่า ปัจจุบันคนเสื้อแดงแบ่งออกได้ 2 เฉด คือ ‘เสื้อแดงอุดมการณ์’ และ ‘เสื้อแดงแฟนคลับ’ อย่างแรกคือผู้ที่ต้องสู่เพื่อให้ประเทศเกิดความเปลี่ยนแปลง และยึดมั่นหลักการประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ซึ่งเธอก็เป็นอย่างแรก เฉกเช่นเดียวกันกับอดีตผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย อย่าง ‘ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ ที่ยื่นลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่แน่ชัดแล้วว่าเพื่อไทย ตัดสินใจร่วมสังฆกรรมกับ ‘พรรคสองลุง’ ส่วนที่สองคือกลุ่มแฟนคลับที่จงรักภักดีต่อพรรคตระกูลชินวัตร และทักษิณอย่างเหนียวแน่น
ข้าพเจ้าถามอีกครั้งว่า การกลับมาเมืองไทยของทักษิณ ยังเป็นภารกิจสำคัญของคนเสื้อแดงหรือไม่ ธิดาตอบกลับแบบทันควันว่า เธอและแกนนำหลายคนที่ต่อสู้ร่วมกันมาตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี 2549 ล้วนมีอุดมการณ์ที่จะเปลี่ยนประเทศไปสู่การพัฒนา ดังนั้นการที่ทักษิณจะกลับบ้านได้หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และไม่เคยเป็นภารกิจของคนเสื้อแดง
“คุณทักษิณมาก็เป็นเรื่องของคุณทักษิณ นี่ไม่ใช่ภารกิจของคนเสื้อแดง เพราะจริงๆ เราต่อสู้กับระบอบเผด็จการคุณทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของคนที่เป็นเหยื่อถูกกระทำ คดีความต่างๆ อาจารย์ว่าไม่เป็นธรรมกับคุณทักษิณ แต่ว่าภารกิจของคนเสื้อแดงคือทวงความยุติธรรม และต้องทวงให้หมด ไม่ใช่ให้แค่คุณทักษิณคนเดียว ถ้าตราบใดที่ประชาชนยังไม่แข็งแรง และประเทศยังไม่มีอำนาจประชาชนแท้จริง พรรคการเมือง (เพื่อไทย) ต้องมาร่วมมือกับประชาชนในการต่อสู้ ไม่ใช่ไปยอมแพ้แล้วไปเลือกอยู่กับกลุ่มปฏิปักษ์ของประชาชน” ธิดา กล่าวทิ้งท้าย
“เข้าใจแต่ไม่เห็นด้วย คือเวลาเราเป็นนักต่อสู้ เราต้องศึกษาแก่นแท้แต่ละชนชั้น และอะไรคือผลประโยชน์ของเขา คุณจะไปหวังว่าคุณทักษิณต้องเป็นนักต่อสู้ และต้องทำทุกอย่างให้ถูกใจนักต่อสู้ทั้งหมดมันไม่ได้ ถ้าคุณเน้นหนักไปทางเศรษฐกิจ แปลว่าการเมืองคุณก็ร่วมกับใครก็ได้ แต่คุณไม่ได้เอาเป้าหมายของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนั้นมันจึงง่ายสำหรับเพื่อไทยที่จะข้ามขั้ว คือเราจะต้องเข้าใจเขา เขาอาจจะมองในลักษณะเศรษฐกิจหรือธุรกิจ มันไม่มีคำว่า มิตรแท้ ศัตรูถาวรหรอก”
อดีตประธานกลุ่ม นปช. อธิบายให้ผู้เขียนเข้าใจว่า ปัจจุบันคนเสื้อแดงแบ่งออกได้ 2 เฉด คือ ‘เสื้อแดงอุดมการณ์’ และ ‘เสื้อแดงแฟนคลับ’ อย่างแรกคือผู้ที่ต้องสู่เพื่อให้ประเทศเกิดความเปลี่ยนแปลง และยึดมั่นหลักการประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ซึ่งเธอก็เป็นอย่างแรก เฉกเช่นเดียวกันกับอดีตผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย อย่าง ‘ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ ที่ยื่นลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่แน่ชัดแล้วว่าเพื่อไทย ตัดสินใจร่วมสังฆกรรมกับ ‘พรรคสองลุง’ ส่วนที่สองคือกลุ่มแฟนคลับที่จงรักภักดีต่อพรรคตระกูลชินวัตร และทักษิณอย่างเหนียวแน่น
ข้าพเจ้าถามอีกครั้งว่า การกลับมาเมืองไทยของทักษิณ ยังเป็นภารกิจสำคัญของคนเสื้อแดงหรือไม่ ธิดาตอบกลับแบบทันควันว่า เธอและแกนนำหลายคนที่ต่อสู้ร่วมกันมาตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี 2549 ล้วนมีอุดมการณ์ที่จะเปลี่ยนประเทศไปสู่การพัฒนา ดังนั้นการที่ทักษิณจะกลับบ้านได้หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และไม่เคยเป็นภารกิจของคนเสื้อแดง
“คุณทักษิณมาก็เป็นเรื่องของคุณทักษิณ นี่ไม่ใช่ภารกิจของคนเสื้อแดง เพราะจริงๆ เราต่อสู้กับระบอบเผด็จการคุณทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของคนที่เป็นเหยื่อถูกกระทำ คดีความต่างๆ อาจารย์ว่าไม่เป็นธรรมกับคุณทักษิณ แต่ว่าภารกิจของคนเสื้อแดงคือทวงความยุติธรรม และต้องทวงให้หมด ไม่ใช่ให้แค่คุณทักษิณคนเดียว ถ้าตราบใดที่ประชาชนยังไม่แข็งแรง และประเทศยังไม่มีอำนาจประชาชนแท้จริง พรรคการเมือง (เพื่อไทย) ต้องมาร่วมมือกับประชาชนในการต่อสู้ ไม่ใช่ไปยอมแพ้แล้วไปเลือกอยู่กับกลุ่มปฏิปักษ์ของประชาชน” ธิดา กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามสัมภาษณ์ ‘ธิดา ถาวรเศรษฐ’ ได้ที่ หัวใจคน ‘เสื้อแดง’ ในวันที่ ‘เพื่อไทย’ ตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว
ถึงเวลา ‘เหลืองแดง’ คืนดี ?
ท้ายที่สุดเพื่อความสมบูรณ์ ข้อมูลทุกอย่างต้องถูกสังเคราะห์ ผ่านความเห็นทางวิชาการ ที่เทียบเคียงบริบทตามหลักการที่น่าเชื้อถือได้ ผมจึงชวน ‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า มาช่วยสังคายนาให้ฟัง ถึงบริบทของ ‘ม็อบเหลืองแดง’ ที่ปัจจุบันกลับตาลปัตร ต่างจากยุคแรกเริ่มสติธร อธิบายว่า การเมืองไทยในปี 2549 ตัวละครสำคัญอย่างทักษิณ ได้รับชัยชนะในศึกการเลือกตั้งด้วยแบรนด์นิยมตัวบุคคล และนโยบายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของพรรคไทยรักไทย จึงไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างขั้ว ‘เสรีนิยม’ กับ ‘อนุรักษนิยม’ แต่ทางคู่ขนานของไทยรักไทย มีกลุ่มคนไม่พึงพอใจในตัวนายกฯ คนที่ 21 อันประกอบไปด้วยกลุ่มมวลชนนำโดย ม็อบพันธมิตรฯ และแนวร่วมชนชั้นนำ ทั้งภาคธุรกิจและฝ่ายความมั่นคง จากการทักษิณเอาชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายในปี 2544 และ 2548
ความขัดแย้งในวันนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) บุคคลที่ชอบทักษิณ จากนโยบายการบริหารประเทศที่โดดเด่น และ 2) กลุ่มคนที่เกลียดทักษิณ โดยใช้ปัจจัยทางจริยธรรม และการครอบครองผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นมูลเหตุ ตีความเชิงอุดมการณ์สามารถเปรียบได้ว่า เสมือนเป็นการต่อสู้ของประชาธิปไตย 2 ระบบได้แก่ ‘ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง’ ที่มีแกนหลักคือประชาชนทั่วไปเป็นกระดูกสันหลัง และ ‘ประชาธิปไตยคุณธรรม’ อันมีกลุ่มชนชั้นกลาง และกลุ่มชนชั้นฝ่ายจารีต ผนวกเครือข่ายผลักดัน

หลังการรัฐประหาร ปี 2549 การเมืองเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามความคิดระหว่าง ‘เหลือง - แดง’ สมรภูมิการเลือกตั้ง ถูกต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ความขัดแย้ง ‘กลุ่มเชียร์ทักษิณ’ และ ‘กลุ่มไม่เอาทักษิณ’ จนเกิดการอำนวยให้กลุ่มทหารเข้าก่อการยึดอำนาจอีกระลอกในปี 2557
ส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่า แนวทางระลอกนี้ถือเป็นปฐมบทของปรากฏการณ์ความเชื่อทางการเมืองในมติสากล สอดคล้องกับการพยายามสกัดกั้นผีทักษิณ จากการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อสกัดกั้น ‘พรรคตระกูลชินวัตร’ หลังฝ่ายจารีตถอดบทเรียน ‘รัฐประหารเสียของ’ จนเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งนำมาสู่ความยุ่งเหยิงในปัจจุบัน
สติธร ขยายภาพสะท้อนไว้อย่างชัดเจนที่สุด จากผลการเลือกตั้งปี 2562 ที่ ‘อนาคตใหม่’ กลายเป็นตัวละครสำคัญ ที่กระโดดเข้ามาในวงจรการเมือง ส่งผลให้เกิดการมองมิติทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะการต่อต้านระบบ ‘สืบทอดอำนาจ’ ของรัฐบาลคสช. แปรเปลี่ยนสภาพจาก ‘เหลือง - แดง’ เป็น ‘เอาประยุทธ์ไม่เอาประยุทธ์’ สืบเนื่องมาจนถึงสมรภูมิการเลือกตั้งปี 2566 การเมืองจึงถูกแบ่งผ่านการใช้แนวคิด ‘มีเราไม่มีลุง’ และ ‘มีลุงไม่มีมึง’ จนเกิดกระแสตอบรับจากภาคประชาชน ผลักดัน ‘ก้าวไกล’ สู่การสร้างสถิติเอาชนะคู่แข่งท่วมท้น กลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพรรคตระกูลชินวัตรในอดีต ‘ปีศาจตัวใหม่’ จึงเกิดขึ้น สร้างความกลัวเก่าๆ จนผีทักษิณกลายเป็นเรื่องเล็กทันที
“ผีตัวใหม่เกิดขึ้นมานานแล้ว เมื่อก่อนเขาเคยบอกว่า มีผีทักษิณ และปีศาจธนาธร แต่ว่ามรดกที่ธนาธรทิ้งไว้คือพรรคก้าวไกล มันจึงกลายเป็นปัจจัยให้ฝั่งขั้วอำนาจเก่า ต้องชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างว่า 2 สิ่งนี้อะไรน่ากลัวมากกว่ากัน พอผลการเลือกตั้งปี 2566 ออกมา กลายเป็นว่า ผีสีแดงน่ากลัวน้อยกว่าปีศาจสีส้มโดยปริยาย จึงไม่แปลกที่เขาจะลืมผีตัวเก่าและสร้างปีศาจตัวใหม่เข้ามาเพื่อกวาดล้าง” สติธร กล่าว ทิ้งท้าย
ท้ายที่สุด อาจสรุปได้ว่า ‘การเมืองแบบไทยๆ’ ที่กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมและธุรกิจ ยังมีผลต่อการ ‘ชี้เป็นชี้ตาย’ การพลิกขั้วทางการเมืองของเพื่อไทย จึงอาจเป็นเรื่องธรรมดาในเชิงอำนาจ และการหวนคืนแผ่นดินแม่ของทักษิณกลายเป็นภาพสะท้อนการความขัดแย้งในอนาคตระหว่าง ‘ส้ม - แดงเหลือง’ ที่ต่างฝ่ายอาจเชื่อในระบอบการเมือง ที่มีทั้งจุดร่วมและจุดต่าง อย่าง ‘ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม’ ที่ผลักดันโดยก้าวไกล และ ‘ประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม’ ที่สนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย
ส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่า แนวทางระลอกนี้ถือเป็นปฐมบทของปรากฏการณ์ความเชื่อทางการเมืองในมติสากล สอดคล้องกับการพยายามสกัดกั้นผีทักษิณ จากการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อสกัดกั้น ‘พรรคตระกูลชินวัตร’ หลังฝ่ายจารีตถอดบทเรียน ‘รัฐประหารเสียของ’ จนเกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งนำมาสู่ความยุ่งเหยิงในปัจจุบัน
สติธร ขยายภาพสะท้อนไว้อย่างชัดเจนที่สุด จากผลการเลือกตั้งปี 2562 ที่ ‘อนาคตใหม่’ กลายเป็นตัวละครสำคัญ ที่กระโดดเข้ามาในวงจรการเมือง ส่งผลให้เกิดการมองมิติทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะการต่อต้านระบบ ‘สืบทอดอำนาจ’ ของรัฐบาลคสช. แปรเปลี่ยนสภาพจาก ‘เหลือง - แดง’ เป็น ‘เอาประยุทธ์ไม่เอาประยุทธ์’ สืบเนื่องมาจนถึงสมรภูมิการเลือกตั้งปี 2566 การเมืองจึงถูกแบ่งผ่านการใช้แนวคิด ‘มีเราไม่มีลุง’ และ ‘มีลุงไม่มีมึง’ จนเกิดกระแสตอบรับจากภาคประชาชน ผลักดัน ‘ก้าวไกล’ สู่การสร้างสถิติเอาชนะคู่แข่งท่วมท้น กลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง มีความละม้ายคล้ายคลึงกับพรรคตระกูลชินวัตรในอดีต ‘ปีศาจตัวใหม่’ จึงเกิดขึ้น สร้างความกลัวเก่าๆ จนผีทักษิณกลายเป็นเรื่องเล็กทันที
“ผีตัวใหม่เกิดขึ้นมานานแล้ว เมื่อก่อนเขาเคยบอกว่า มีผีทักษิณ และปีศาจธนาธร แต่ว่ามรดกที่ธนาธรทิ้งไว้คือพรรคก้าวไกล มันจึงกลายเป็นปัจจัยให้ฝั่งขั้วอำนาจเก่า ต้องชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างว่า 2 สิ่งนี้อะไรน่ากลัวมากกว่ากัน พอผลการเลือกตั้งปี 2566 ออกมา กลายเป็นว่า ผีสีแดงน่ากลัวน้อยกว่าปีศาจสีส้มโดยปริยาย จึงไม่แปลกที่เขาจะลืมผีตัวเก่าและสร้างปีศาจตัวใหม่เข้ามาเพื่อกวาดล้าง” สติธร กล่าว ทิ้งท้าย
ท้ายที่สุด อาจสรุปได้ว่า ‘การเมืองแบบไทยๆ’ ที่กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมและธุรกิจ ยังมีผลต่อการ ‘ชี้เป็นชี้ตาย’ การพลิกขั้วทางการเมืองของเพื่อไทย จึงอาจเป็นเรื่องธรรมดาในเชิงอำนาจ และการหวนคืนแผ่นดินแม่ของทักษิณกลายเป็นภาพสะท้อนการความขัดแย้งในอนาคตระหว่าง ‘ส้ม - แดงเหลือง’ ที่ต่างฝ่ายอาจเชื่อในระบอบการเมือง ที่มีทั้งจุดร่วมและจุดต่าง อย่าง ‘ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม’ ที่ผลักดันโดยก้าวไกล และ ‘ประชาธิปไตยแบบอนุรักษนิยม’ ที่สนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย

ติดตามสัมภาษณ์ ‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ได้ที่ ถึงเวลา ‘เหลืองแดง’ คืนดี
อย่างกรณีของพรรคก้าวไกล ที่แม้จะได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 ก็ถูกกลไกจาก สว. และ สส. ฝ่ายจารีตเข้าขัดขวาง จนต้องกลายเป็นฝ่ายค้านในสภาฯ ดั่งเดิม ซึ่งต่อจากนี้เชื่อว่า ‘สงครามเหลืองแดง’ คงจบลง เพราะ ‘ผีทักษิณ’ กำลังจะกลายเป็นเพียงตำนานหน้าหนึ่ง และคงถึงช่วงเวลาแห่งการถือกำเนิดของ ‘ปีศาจ’ ตัวใหม่ อย่างเต็มตัว
สมรภูมิบนท้องถนน หรือในสภาฯ หินอ่อน คงจะแบ่งขั้วกันชัดเจน และดุเดือดมากขึ้น แต่ไฉนเลยจะมีใครยับยั้ง ‘การเปลี่ยนแปลง’ เพราะ ‘ปีศาจกาลเวลา’ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้
ขอทีเถิดเลิกรัฐประหารกันได้แล้ว!
มรดกการรัฐประหาร 2549 สู่การเลือกตั้ง 2566
หัวข้อสุดท้ายคงเป็นบทสรุปที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจากการที่ผู้เขียนพยายามรวบรวมความเห็น บุคคลทั้ง 3 ท่านมองตรงกันว่า ‘มรดก’ การรัฐประหารปี 2549 ยังคงลงเหลือและถ่ายทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นหลุมพรางในกับสกัดกั้น ไม่ให้พรรคฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยมีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างกรณีของพรรคก้าวไกล ที่แม้จะได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 ก็ถูกกลไกจาก สว. และ สส. ฝ่ายจารีตเข้าขัดขวาง จนต้องกลายเป็นฝ่ายค้านในสภาฯ ดั่งเดิม ซึ่งต่อจากนี้เชื่อว่า ‘สงครามเหลืองแดง’ คงจบลง เพราะ ‘ผีทักษิณ’ กำลังจะกลายเป็นเพียงตำนานหน้าหนึ่ง และคงถึงช่วงเวลาแห่งการถือกำเนิดของ ‘ปีศาจ’ ตัวใหม่ อย่างเต็มตัว
สมรภูมิบนท้องถนน หรือในสภาฯ หินอ่อน คงจะแบ่งขั้วกันชัดเจน และดุเดือดมากขึ้น แต่ไฉนเลยจะมีใครยับยั้ง ‘การเปลี่ยนแปลง’ เพราะ ‘ปีศาจกาลเวลา’ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้
ขอทีเถิดเลิกรัฐประหารกันได้แล้ว!